Narcissistic Marketing การตลาดหลงตัวเอง ทำไมมีข้อเสียมากกว่าข้อดี?!

Narcissistic Marketing การตลาดหลงตัวเอง ทำไมมีข้อเสียมากกว่าข้อดี?!

Narcissistic Marketing การตลาดหลงตัวเอง ทำไมมีข้อเสียมากกว่าข้อดี?!

บทความนี้ค่อนข้างไปในเชิงจิตวิทยาเล็กน้อย แต่ก็เป็นมุมหนึ่งที่นักการตลาดควรทราบไว้ค่ะ อันดับแรกนุ่นจะขอเกริ่นก่อนเลยว่า Narcissistic มาจากไหน เพื่อให้ทุกเค้าเข้าใจก่อนนำมาเล่าในเชิงการตลาดมากขึ้นนะคะ

โรคคลั่งไคล้ตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder – NPD) อ้างอิงจากคณะจิตวิทยา มหาลัยจุฬาฯ – คนหลงตนเองแบบเปิดเผย (Overt Narcissist) จะมีลักษณะชอบแสดงอำนาจ อิสระ เชื่อมั่น มักก้าวร้าว ชอบเป็นที่สนใจและยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง

และคนหลงตนเองแบบปกปิด (Covert Narcissist หรือ Hypersensitive Narcissist) จะมีลักษณะปกป้องตนเอง อ่อนไหว ขาดความมั่นใจ รู้สึกไม่พอใจตนเอง

เหตุผลที่นุ่นเลือกหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาก่อนจะแชร์ในแง่กลกยุทธ์การตลาด เพราะผู้อ่านจะได้แนวคิดในแง่การทำงานกับคนในองค์กร และการทำงานการตลาดไปพร้อมกันค่ะ อย่างไรค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปพร้อมกันนะคะ ^^

ซึ่งถ้านักการตลาดจะต้องทำงานกับคนในองค์กร หรือลูกค้าที่เข้าข่ายคนหลงตัวเองจนรู้สึก Toxic ตามอย่างเลี่ยงไม่ได้ เบื้องต้นแนะนำให้ฟังหูไว้หู เค้าพูดอะไรมาให้เราหารออก 80% หรือพยายามไม่เก็บเอาคำพูดของคนเหล่านี้มาคิดมากค่ะ เพราะอีกมุมนึงคือ ‘เค้าจะไม่ยอมเป็นคนผิด’ จะมีวิธีพูดหรือทำให้เรารู้สึกผิดเองแบบงง ๆ สุดท้ายเราเองที่จะเสียสุขภาพจิต และเสียความมั่นใจในการเสนอไอเดียใหม่ ๆ ไปค่ะ

แต่ถ้าเลี่ยงได้ตั้งแต่แรก ก็เลี่ยงเถอะค่ะ ไม่คุ้มกับเอฟเฟคทางร่างใจและจิตใจของเราเลย

แล้ว Narcissistic Marketing คืออะไร

Narcissistic Marketing หมายถึงกลยุทธ์การตลาดที่เน้นให้แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่อวดคุณค่าเป็นหลักเกินไป self-aggrandizement และ showcasing the brand’s self-worth officially โดยใช้ความถนัดและความโอ้อวดของแบรน์ในการสร้างความสนใจและความเป็นที่รู้จักในตลาด เน้นการโปรโมทแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์โดยให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของตัวแบรนด์เองมากกว่าคุณค่าของผู้บริโภค โดยใช้เทคนิคต่างอ ๆ เช่น การใช้ภาพถ่ายหรือวิดีโอที่เน้นตัวแบรนด์มากกว่าผู้บริโภค การใช้คำโฆษณาที่เน้นตัวแบรนด์มากกว่าผู้บริโภค ไม่ได้สื่อสารว่าผู้บริโภคจะได้อะไร พูดแต่ฉันดีอย่างไร (แบบเกินงาม)

การตลาดแบบ Narcissistic จะเหมาะสำหรับแบรนด์ที่ต้องการเป็นผู้นำในตลาดและโดดเด่นกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันดุเดือดบนโลกดิจิทัลค่ะ

ซึ่งในยุคนี้แนะนำให้เปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดจากความเห็นแก่ตัว ไปสู่ความเสียสละ เพื่อลูกค้า เพื่อสังคม จะมีโอกาสปังกว่า

ให้ความฉาวหรือดราม่าแรง ๆ ไปอยู่ที่ Industry อื่นอย่างวงการบันเทิงเหมือนเดิมดีกว่าค่ะ ยุคนี้คนเหม็นแล้ว เหม็นเลย ยากจะทำให้ลูกค้ากลับมารักและสื่อสารใหม่ว่าเราทำสินค้ามาเพื่อประโยชน์ของลูกค้าจริง ๆ

Narcissistic Marketing

จริงอยู่ค่ะการใช้เทคนิคการตลาดแบบนี้มันจะทำให้เราประกาศความดีงามของสินค้าเรา ตะโกนว่าแบรนด์เรามันเลิศ มันปังกว่าใครในตลาด จะช่วยให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักได้เร็วและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคบางกลุ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การใช้เทคนิคการตลาดแบบนี้ไม่ได้เหมาะจะนำไปใช้กับทุกแบรนด์นะคะ โดยเฉพาะแบรนด์ที่ขายสตอรี่เพื่อลูกค้า หรือเพื่อสังคม อย่างการบริการที่ชูให้ผู้บริโภคเป็นใหญ่ เพราะการใช้เทคนิคนี้จะทำให้ลูกค้าเหม็นคุณได้ง่าย ๆ เลย นึกภาพคนที่อวดไปเรื่อย ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัวใส่เราทั้งวัน ประมาณนั้นเลยค่ะ

ข้อควรระวังของการทำ Narcissistic Marketing

เดี๋ยวเรามาดูกันนะคะ ว่ามีข้อควรระวังสำคัญแบบไหนบ้าง ที่แบรนด์ต้องรู้เพื่อไม่ให้ Awareness นั้นมาจากดราม่า หรือจากกระแสที่เหม็นแบรนด์เรา 🥲

Excessive self-association

การโฆษณาและการตลาดที่เน้นการแสดงคุณค่าและการโอ้อวดของตนเองอาจทำให้แบรนด์ดูเชื่อถือตัวเองมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกค้ามองว่าแบรนด์มีทัศนคติที่เห็นแก่ตนเอง หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

การละเมิด Privacy

ถ้าแบรนด์เลือกที่จะทำ Narcissistic Marketing ต้องระวังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะอาจอาจเผลอเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าเพื่อเอามาเม้าและโม้เกี่ยวกับแบรนด์ และการละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูกค้าอาจทำให้สูญเสียความเชื่อถือจากลูกค้าไปค่ะ

ภาพลักษณ์คนแบรนด์ขี้โม้

การใช้กลยุทธ์ที่เน้นการโอ้อวดและการอวดคุณค่าของตนเองอาจทำให้ลูกค้ามองว่าแบรนด์มีทัศนคติที่ไม่น่าคบหา หรือมีการโกหกเพื่อกระตุ้นให้ตัวเองดูดี ดูน่าสนใจ ทั้งแบรนด์เล็กและแบรนด์ใหญ่ต้องระวังเลยค่ะ ยุคนี้ลูกค้าสร้างคุณได้ ลูกค้าก็ทำลายคุณได้….

คิดก่อนโพสต์

ภาพลักษณ์ของบางแบรนด์ แอดมินอาจจะชินกับความเป็นกันเองของภาษาที่คุยกับลูกเพจ หรือคอนเทนต์อาจไม่ได้ผ่านการพิจารณาให้ดี จนไปกระทบกับกระแสสังคมจนถูกตีกลับได้ค่ะ นุ่นแนะนำให้ทุกคนในฝ่ายต้องช่วยกันกรอง Meaning ของโพสต์ให้ดี และประเมินถึงผลที่จะตามมาเสมอนะคะ

เปิดคอมเมนต์ / รับฟังข้อเสนอแนะ แม้จะแง่ลบก็ตาม

เราจะหลับหูหลับตาชมตัวเองอย่างเดียวก็แปลก ๆ อยู่นะคะ บางคำให้ลูกค้าเป็นคนพูดจะเหมาะกว่าค่ะ เริ่มต้นง่ายมาก แค่ต้องเปิดคอมเมนต์ งดปิดทุกช่องทางเลย โดยเฉพาะ TikTok ถึงแม้จะเจอคอมเมนต์ที่ไม่ตรงใจคุณก็ตาม ต้องรับมาพิจารณาและวิเคราะห์ปัญหาต่อให้ได้ค่ะ

อย่าพยายามกดแบรนด์อื่นเพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้น

คนที่หลงตัวเองและวิจารณ์คนอื่นมากเกินไปโดยที่คุณก็ไม่ได้รู้ถึงจุดประสงค์ของการตลาดแบรนด์นั้น ๆ มันไม่ได้ทำให้แบรนด์คุณดูดีขึ้นเลยค่ะ เราจะเห็นว่าสื่อโฆษณานอกจากเลี่ยงการพาดพิงเปรียบเทียบคู่แข่งไม่ใช่เพราะกลัวโดนฟ้องนะคะ แต่เป็นเพราะมันไม่ใช่สิ่งที่แบรนด์มืออาชีพเค้าทำกันค่ะ อยากเด่นอยากดี ให้ลูกค้าเป็นคนพูด ให้ลูกค้าเป็นคนเทียบนะคะ

ประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าใช้การตลาดหลงตัวเอง

สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้า

แคมเปญที่ต้องการสร้างแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้า เช่น แบรนด์เสื้อผ้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงโดดเด่นในสไตล์ส่วนตัวของตนเอง ไม่ว่าจะอ้วนผอมเตี้ยดำขาว

สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

ความมั่นใจในสินค้าเป็นภาพลักษณ์ที่โดดใจคนบางกลุ่มค่ะ เค้าจะคิดว่าแบรนด์นี้มั่นมาก ลองหน่อยแล้วกัน ลดระยะเวลาในการพิจารณาซื้อ ไม่ให้ลูกค้าลังเลที่จะหยิบไปจ่ายเงินค่ะ

อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าการรีวิวสมัยนี้ไวรัลเร็วมากถ้าไม่เลิศจริงนะคะ แบรนด์ควรให้ความสำคัญและใส่ใจประโยชน์ที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อไม่ให้เกิดความไม่พึงพอใจจากลูกค้าในระยะยาวค่ะ

ปิดท้ายด้วยข้อแนะนำสำหรับนักการตลาด

เพื่อหลีกเลี่ยงการตลาดแบบหลงตัวเอง ไม่ให้แบรนด์ใช้การตลาดแบบ Narcissistic โดยตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ แบรนด์ต้องยึดมั่นที่จะให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรกค่ะ

ทั้งทรัพยากร วิสัยทัศ การสื่อสาร แผนกลยุทธ์ ต้องมีแกนหลักที่แน่นอนและไม่หลงทาง โดยเครื่องมือที่จะเข้าถึง Insight ของลูกค้าในปัจจุบันมีให้นักการตลาดเลือกช็อปปิ้งมากมายเลย ไม่ว่าจะเป็น Social Listening

หรือขอ Report วิเคราะห์ Audience จากแอคเคาท์ของตัวเองจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือการเริ่มต้นจาก First-Party Data ที่มีอยู่แล้วในมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะวิธีนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้แบรนด์เผลอทำการตลาดแบบหลงตัวเองได้ค่ะ 🙂

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *