Google Bard Extensions: ประโยชน์และการใช้งานที่นักการตลาดต้องรู้

Google Bard Extensions: ประโยชน์และการใช้งานที่นักการตลาดต้องรู้

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google หรือ OpenAI แข่งกันปล่อยของเล่นใหม่ด้าน Generative AI ออกมาไม่หยุด จนผู้ใช้งาน(อย่างนิก)อยากจะบอกว่าพักบ้างงงง ตามไม่ทันแล้วจ้าาา ซึ่งได้แต่คิดในใจนะคะ,,,, ว่าแล้วก็ได้มาตามต่อเหมือนเดิม เลยเป็นที่มาของบทความนี้ค่ะ ที่จะพาทุกท่านไปดูของเล่นใหม่จากค่าย Google นั่นก็คือ Google Bard Extensions ที่ต้องบอกว่า “เห็นละก็ว้าว” เพราะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน Ecosystem ของ Google ซึ่งแข็งแกร่งอยู่แล้ว ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีก

โดย Bard Extensions คือเครื่องมือเสริมสำหรับ Google Chrome ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ของ Google ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่งตอนนี้ Extension ที่ Google ปล่อยออกมาแล้วมี 5 ตัวด้วยกัน ได้แก่ Google flight, Google map, Google hotel, Google workspace และ Youtube และจากความสามารถของ Extensions เหล่านี้นี่เองค่ะ ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการต่างๆ ของ Google ได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการทำการตลาดแบบ Omnichannel ที่มุ่งเน้นให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ในทุกช่องทาง ทั้ง Online และ Offline โดยการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเพื่อความสำเร็จของธุรกิจยุค Digital Marketing ค่ะ

Google Extensions

ถ้าอย่างนั้น อย่างรอช้ากันเลยค่ะ นิกขอพาพวกเราเจาะลึกในส่วนของ Extensions แต่ละตัว และการใช้งานไปพร้อมๆ กัน,, Let’s go \^o^/,,,,

Bard Extensions (for now):
https://bard.google.com/extensions

#1 Google Bard Extension: Google flight

ต่อไปนี้พวกเราจะสามารถค้นหา และจองตั๋วเครื่องบินได้โดยตรงจาก Bard โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเว็บไซต์อีกต่อไป ด้วยความสามารถของ Google Flight โดยพวกเราสามารถค้นหาตั๋วเครื่องบินได้ง่ายๆ โดยคลิกที่ไอคอน Bard Extensions ในแถบเครื่องมือของ Bard

จากนั้นเลือกไปที่ “Google Flight” ซึ่งเมื่อเข้ามาแล้ว ทุกท่านจะเห็นว่า Google Flight สามารถข้อหาได้หลายแบบ และสามารถใส่รายละเอียดได้ด้วย ในจุดนี้ถ้าเพื่อนๆ ไม่รู้จะเริ่มยังไง ทาง Bard Extension ก็มีในส่วนของตัวอย่างมาให้ค่ะ ซึ่งเป็นตัวอย่างการป้อนข้อมูลที่ต้องการค้นหา เช่น ต้นทาง ปลายทาง วันที่เดินทาง เป็นต้น และเมื่อเรากรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เราจะได้รับผลการค้นหาจาก Google Flight ในกล่องคำตอบง่ายๆ ชิลๆ แบบนี้เลยค่ะ

ซึ่งความเท่ของ Google Ecosystem ก็คือ เราสามารรถกดไปที่ “Google Flights” ที่เป็นตัวหนังสือสีฟ้ามีขีดเส้นใต้ด้านล่าง แล้วจะได้รายละเอียดของ Flights ทั้งในส่วนของ เวลา และราคาทั้งหมดโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเอา Keywords หรือเอาแต่ละ Flight ไป Google search ต่อ เท่านั้นยังไม่พอค่ะ ถ้าเพื่อนๆ ได้ไฟลท์ที่ต้องการแล้ว ก็สามารถกดจอง Ticket จาก Google Flight ได้เลย โดยไม่ต้องไปเข้าหน้าอื่นๆ ให้วุ่นวาย (ส่วนตัวนิกเอง,, แค่สิ่งนี้ก็ว้าวแล้วค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่เรารีบๆ อย่างเช่น แม่ให้หาจอง Flight ด่วน 🤣🤣)

ข้อมูลด้านเทคนิค: Google Flight อาศัยความสามารถของ API ของ Google Flight ที่ช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลตั๋วเครื่องบินจาก Google Flight ได้โดยตรง

#2 Bard Extension: Google Map

อีกหนึ่งผู้ช่วยที่ทรงพลังของเรานั่นคือ Google Map โดย Extension นี้ช่วยให้เราสามารถค้นหาเส้นทางการเดินทาง ค้นหาสถานที่ต่างๆ และดูข้อมูลแผนที่ได้โดยตรงจาก Bard โดยไม่จำเป็นจะต้องเปิดเว็บไซต์ของ Google Map ซึ่งเราก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ ด้วยการเปิด Extensions ของ Bard แล้วเลือก “Google Map” ซึ่งเราสามารถทำได้ทั้งตามหาเส้นทาง, หาสถานที่ข้างเคียง, หรือดูว่าเราอยู่ที่ไหนแล้วตอนนี้ หรือป้อนข้อมูลอื่นๆ ที่เราต้องการค้นหาเช่น ข้อมูลต้นทาง ปลายทาง เป็นต้น ยกตัวอย่างตามที่ Bard ให้มาคือ เราต้องการจะเดินจากพระราชวังบัคคิงแฮม ไปยัง บิ๊กเบน ในลอนดอนจะไกลแค่ไหน

ซึ่งผลลัพธ์ที่ Bard provide ให้เราก็ดีงามเหมือนการถามทางเพื่อน ที่บอกทั้งระยะเวลาในการเดิน และเส้นทางแบบละเอียด

และแน่นอนค่ะ ด้วยความเป็น Ecosystems ของ Google อีกเช่นเคย เราสามารถคลิ๊ก “here” ที่เป็นตัวหนังสือสีฟ้า ซึ่งอยู่ด้านหลังเส้นทางที่เราสนใจ แล้วระบบจะทำการ Redirect ไปที่ Google Map ที่แท้ทรูให้ทันทีค่ะ 🤓😱

ข้อมูลด้านเทคนิค: Google Map ใช้ความสามารถของ API ของ Google Map ที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลแผนที่จาก Google Map ได้โดยตรง

#3 Bard Extension: Google Hotel

และความสามารถนี้ที่ผู้ประกอบกิจการธุรกิจท่องเที่ยง(น่าจะ)ต้องให้ความสนใจและทำความเข้าใจ ก็คือ Google Hotels ที่ทำให้เราสามารถตามหาโรงแรมที่ตรงกับความต้องการของเราได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเข้าไปที่ Extension ” Google Hotels ” แล้วกรอกข้อมูลที่เราต้องการได้แก่ จำนวนวันที่เราต้องการไปพัก วันที่หรือเทศกาลที่จะไป และสถานที่ เป็นต้นค่ะ^^

โดยผลลัพธ์ที่เราได้ออกมาคือรายละเอียดของโรงแรมพร้อมราคา ซึ่งของนิกได้ออกมา 5 แห่ง ที่หากเราเลื่อนดูข้อมูลในกล่องคำตอบลงไปเรื่อยๆ จะเห็นว่า Bard provide ให้เราทั้งในส่วนของรายละเอียด และรูปภาพ ซึ่งต้องบอกว่า User Friendly สุดๆ สำหรับนิกเลยค่ะ

ทั้งนี้เมื่อเรากดเลือกไปที่โรงแรมที่เราต้องการก็จะ Redirect ไปที่หน้ารวมข้อมูลของจากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างๆ พร้อมรายละเอียดเรื่องราคาด้วยค่ะ

*ตรงนี้นิกอยากให้เพื่อนๆ สังเกตนะคะว่ามีส่วนที่เป็น “Sponsered” แสดงขึ้นมาด้วย ซึ่งจุดนี้เองค่ะที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจด้านการตลาด

Google Bard Extensions: ประโยชน์และการใช้งานที่นักการตลาดต้องรู้

ข้อมูลด้านเทคนิค: Google Hotel เป็นการใช้ความสามารถของ API ของ Google Hotel ที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลโรงแรมจาก Google และผู้ประกอบการจากแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้โดยตรง

#4 Google Workspace

Google Workspace ช่วยให้เราสามารถใช้งาน Bard ร่วมกับแอปพลิเคชันอื่นๆ ของ Google Workspace ได้ เช่น Google Docs, Google Sheets, Google Slides เป็นต้น

#5 YouTube

โดยใน Extension สุดท้ายที่นิกจะแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก คืออีกสิ่งหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี นั่นก็คือ “YouTube” ค่ะ ^^ ซึ่ง Extension นี้ต้องบอกว่าพยายามออกมาเพื่อสู้กับ TikTok ด้วยความสามารถในการค้นหา และดูวิดีโอ YouTube ได้โดยตรงจาก Bard โดยไม่จำเป็นจะต้องเปิดเว็บไซต์ของ YouTube ผ่านการป้อนข้อมูลที่ต้องการค้นหา เช่น คำค้นหา ช่อง หรือใดๆ ก็ตามที่เราต้องการ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็คือวิดีโอจำนวน 5 คลิปพร้อมตัวอย่าง และคำอธิบายคลิป ซึ่งเราก็สามารถคลิกเลือกไปที่วิดีโอที่เราต้องการเพื่อเข้าไปดูเนื้อหาได้อีกง่ายๆ อีกเช่นเคย

*สำหรับใครที่เป็น Content creator: คำบรรยายที่เราใส่เพื่ออธิบายคลิปของเรา มีผลกต่อการหาเจอ หรือไม่เจอของ Extensions นี้ด้วยนะคะ

Bard Extension กับความเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด

จากการใช้งาน Bard Extension ที่พวกเราดูพร้อมๆ กันมาตามเนื้อหาด้านบน ทุกท่านจะสังเกตเห็นว่า เรื่องของการประมวลผลในการแสดงผลลัพธ์ของ Extensions มีความเปลี่ยนไป ซึ่งแตกต่างจากการใช้งานตามปกติซึ่งสิ่งนี้เองค่ะ ที่เป็นหน้าที่ของนักการตลาดอย่างพวกเราที่จะต้องปรับปรุง SEO ของการทำ Digital Marketing ให้มีความเหมาะสม

โดยเราจะต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่าคือใคร สนใจอะไร ชอบอะไร อย่างชัดเจน และสำหรับการเข้าง่ายของลูกค้า ให้หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาเทคนิคหรือศัพท์เฉพาะทาง เพราะอาจทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจยาก ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกระชับ ร่วมกับการใช้รูปภาพและวิดีโอ (เพื่อนๆ จะสังเกตเห็นว่า Bard Extension ในส่วนของ Google Hotels สามารถประมวลและแสดงคำตอบได้ทั้งในรูปแบบของข้อความและรูปภาพ)

นอกจากนี้หากเราต้องการชิงพื้นที่ในการขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงผลคำตอบของ Bard ให้ได้ จะต้องมีการเลือกใช้ Keyword ให้เหมาะสมกับเนื้อหา (ซึ่งตรงนี้เองค่ะ ที่อาจจะไม่จำเป็นต้องเลือก Keyword ที่มีคนค้นหาเยอะๆ แต่เราอาจสามารถเลือกเป็น Niche สำหรับกลุ่มเฉพาะ ด้วยการเลือกใช้คำที่เจาะจงมากยิ่งขึ้นได้) โดยนิกขอยกตัวอย่างสำหรับธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ ที่น่าจะต้องมีการปรับตัวเรื่องของการสร้างคอนเทนต์โปรโมท ดังนี้

  • ธุรกิจค้าปลีก: ควรสร้าง content รีวิวสินค้าหรือบริการ หรือแนะนำสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ที่เป็นการรีวิวจากลูกค้าจริง หรือผู้ใช้งานจริง ผ่านการใช้คำที่ง่าย สั้น และกระชับ
  • ธุรกิจโรงแรม: ควรสร้าง content แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ใกล้โรงแรมด้วย เพิ่มเติมจากการให้รายละเอียดโรงแรมเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่สามารถเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์สำคัญๆ หรือสิ่งที่กำลังเป็นกระแสได้
  • ธุรกิจการท่องเที่ยว: ควรสร้าง content แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ พร้อมทั้งให้รายละเอียดในเรื่องการเดินทาง ซึ่งส่วนนี้จะใช้เพื่อตอบโจทย์ Ecosystem ของ Google ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันทั้งในส่วนของ Map, Hotel และ Flight นั่นเองค่ะ
  • ธุรกิจขนส่งและการเดินทาง: ควรสร้าง content แนะนำเส้นทางการเดินทาง ระยะเวลาการเดินทางจากสถานที่สำคัญใกล้เคียง ร่วมกับโปรโมชั่นต่างๆ อย่างชัดเจน
Panaya Sudta

Last but not Least…

ท่ามกลางกระแสแห่งการแข่งขันที่ดุเดือดของ Generative AI แน่นอนค่ะว่าคนที่ได้ประโยชน์อย่างสูงสุดคือ User ทั้งหลายทุกวงการ ทั้งวงการการศึกษา การแพทย์ Developer ตลอดจนนักการตลาด โดยเฉพาะ Bard Extensions ที่นิกเล่าให้ทุกท่านอ่านในบทความนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน และภาคธุรกิจที่มีความเข้าใจในแพลตฟอร์ม โดยช่วยให้เราสามารถสร้างเนื้อหา และโฆษณาที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูลและหาโอกาสในการปรับปรุงการทำการตลาด ทั้งแบบ Online และ Offline (Omnichannel) ได้อย่างเหมาะสม (❁´◡`❁) — Hope you’ll enjoy the reading ka^^

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน และเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube & Blockdit ตาม Links ค่ะ^^

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย และเป็นน้องใหม่ของการตลาดวันละตอน ในการทำ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *