Claude 2 แชทบอทตัวใหม่ และการใช้งานเปรียบเทียบความต่างกับ ChatGPT

Claude 2 แชทบอทตัวใหม่ และการใช้งานเปรียบเทียบความต่างกับ ChatGPT

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ท่ามกลางกระแสของ Generative AI โดยเฉพาะการแข่งขันของ AI Chatbot จากค่ายยักษ์ใหญ่ต่างๆ ที่ปล่อยของออกมากันอย่างต่อเนื่อง จนนิกอยากจะบอกว่า พักบ้างงงงง ตามไม่ทันแล้ว 555+ (。・∀・)ノ゙ แต่ก็นั่นแหละค่ะ =>> เขาเหล่านั้นปล่อยของกันออกมาอีก ซึ่งคราวนี้ของที่ว่านั้นมาจากค่าย Anthropic ที่รวมเอาอดีตพนักกงานจาก OpenAI ร่วมกับ AssemblyAI ที่สร้าง Chatbot ตัวใหม่ชื่อ “Claude” ซึ่งถือเป็นสิ่งที่(น่าจะ)สร้างแรงกระเพื่อมในวงการ Generative AI และ LLM ที่มีการใช้โมเดล Claude2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโมเดลด้วยปริมาณ Input ที่ใช้ในการ Train model จำนวนมหาศาล พร้อมกับ Output ที่ provide ให้ User แบบไม่มีกั๊ก

แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่า Claude จาก Anthropic และ ChatGPT จาก OpenAI จะเป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ หรือ LLM เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในหลายส่วน ที่เราจะมาติดตามความแตกต่างนั้นกันต่อ และแนะนำการเข้าใช้งานกันในบทความนี้ค่ะ^^

Claude VS ChatGPT

ขณะที่ Claude ได้รับความสนใจและสร้างกระแสในจากการที่ทีมงานผู้พัฒนาเป็นทีมที่เคยร่วมพัฒนา ChatGPT มาก่อน ในขณะที่ ChatGPT ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากโมเดลภาษาตัวล่าสุดที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายบน internet ในปัจจุบัน ซึ่ง AI Chatbot จากทั้ง 2 ค่ายมีความแตกต่างกันหลักๆ ดังนี้ 😎🧐

# โมเดลภาษา (LLM) ที่อยู่เบื้องหลัง

ทั้ง Claude2 และ GPT-4 เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) ที่สร้างมาเพื่อใช้งานในหลายลักษณะ เช่น ช่วยเรื่องการเขียนบทความ ช่วยเขียนโปรแกรม สร้างสื่อและการนำเสนอ การใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น การวางแผนการเดินทาง ตลอดจนการตอบคำถามยากๆ ที่ต้องรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล (ที่น้องๆ นักเรียน/นักศึกษาใช้ในการทำการบ้าน เป็นต้น)

Claude 2 แชทบอทตัวใหม่ และการใช้งานเปรียบเทียบความต่างกับ ChatGPT
How does Clade, the new LLM from Anthropic compare to ChatGPT?: source

😎 โมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ Anthropic ใช้คือ Claude2 โดยในบทความวิจัยของ Anthropic จะใช้เป็น AnthropicLM v4-s3 ซึ่งใช้พารามิเตอร์ถึง 52 พันล้านพารามิเตอร์ กับ Pre-trained model (เป็น Autoregressive model trained คล้ายกับ ChatGPT) แต่เป็น LLM ที่มีการใช้ RLHF หรือ Reinforcement Learning from Human Feedback ที่มีการรับ Feedback ของผลลัพธ์จากการใช้งานด้วยมนุษย์ โดยความพิเศษของ Claude2 ที่เพิ่มขึ้นมาจากโมเดลรุ่นก่อนหน้าคือคำว่า “Helpful and Harmless” คือมีประโยชน์และ provide results ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูลในการ Train โมเดลที่เป็นข้อมูล Update จนถึงปี 2023 ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะมีความเป็นปัจจุบันมากกว่า ChatGPT ค่ะ

😏 ในขณะที่ ChatGPT ใช้ Generative Pre-trained Transformer (GPT) ที่ใช้เทคโนโลยี Transformer ในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในภาษาธรรมชาติ (NLP) โดยในปัจจุบันตัวโมเดลภาษาล่าสุดที่ ChatGPT คือ GPT3.5 (Reinforcement Learning from Human Feedback (RLHF) ในการเทรนโมเดล–เช่นเดียวกับ Anthropic) และ GPT4 ที่เป็นตัวปัจจุบัน

# Features

Claude (☞゚ヮ゚)☞

🤗😃 ในส่วนของ Features ต่างๆ ที่ Claude มีการ provide ให้กับผู้ใช้งานนั้น ทาง Anthropic มีการเคลมไว้ว่า,,,, โมเดลสามารถให้ Results ที่ทั้งเป็นมิตรและมีความปลอดภัยของคำตอบ (ซึ่งคำว่ามีความปลอดภัยนี่หมายถึงเป็นการ Provide ข้อความที่ไม่เหนี่ยวนำให้เกิดอัตรายหรือผลลัพธ์ที่เลวร้ายขึ้นค่ะ) และที่สำคัญยังมี Feature ที่ฟรี, เร็วกว่าในการตอบสนอง และรองรับจำนวน Input ที่มากกว่า ทั้งในส่วนของ input ที่เป็นข้อความ และเป็นไฟล์ ที่เป็น built-in interface มาอยู่แล้ว เพื่อรองรับการใช้งานในด้านธุรกิจที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น =>> ซึ่งแน่นอนค่ะว่าต้องว้าวววมากๆ สำหรับนักการตลาดและภาคธุรกิจค่ะ

โดย Claude มี Features อื่นๆ ที่มาตอบสนองการใช้งานของพวกเรา ดังนี้ค่ะ^^

  • 📜📜 สามารถรับ Input โดยการ Upload ไฟล์ได้หลายไฟล์ และสามารถใช้การป้อนข้อมูลที่มีความยาวมากขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ แล้วแสดงเป็นคำตอบร่วมกันจากไฟล์หลายไฟล์นั้นได้ ซึ่ง Feature นี้ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นสิ่งที่นิกชอบมากๆ เพราะช่วยให้เราสามารถ compare และ integrate องค์ความรู้ที่มีมาจากไฟล์ต่างๆ ที่เราต้องการในเวลาเดียวกัน
  • 📰 สามารถแสดงข้อความผลลัพธ์ออกมาได้หลายแบบ และยาวมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถ Copy ผลลัพธ์นั้นเพื่อไปแชร์ต่อได้ง่ายๆ ^^
  • 🧐 สามารถใช้งานเป็น Code Generator ได้ นับว่าเป็น Feature ที่มีประโยชน์มากในการช่วยเพิ่มความเร็ว และประสิทธิภาพในการเรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาต่างๆ โดยสามารถช่วยลดเวลาในการช่วยร่างโครงสร้างของ Code เพื่อให้เราสามารถนำไป Edit ต่อได้ไม่อยากเลยค่ะ
Claude 2 แชทบอทตัวใหม่ และการใช้งานเปรียบเทียบความต่างกับ ChatGPT
Feature: Uploading multiple articles 83k tokens

ChatGPT (☞゚ヮ゚)☞

😇🥳 และในส่วนของ ChatGPT จากค่าย OpenAI ที่โดยหลักแล้วจะเป็น Chatbot ซึ่งมี GPT model เป็นเบื้องหลังในการเรียนรู้และสร้างคำตอบให้กับผู้ใช้งาน เพื่อการโต้ตอบที่เป็นธรรมชาติและใกล้เคียงกับการสนทนากับมนุษย์ โดยยังอยู่บนพื้นฐานของการสร้างคำตอบให้เหมาะกับความสนใจและความชอบของผู้ใช้งาน มี Features และคุณลักษณะเด่น ได้แก่

  • 😎 ChatGPT มีความเข้าใจด้านภาษา และความหมายของประโยคเป็นอย่างดี จากการใช้เทคนิคการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ทำให้สามารถให้คำแนะนำและตอบสนองได้ถูกต้องกับบริบทของบทสนทนา
  • 👩‍👩‍👧‍👦 ChatGPT สามารถรองรับได้หลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย
  • 💬 สามารถปับแต่งลักษณะของคำตอบให้ตรงกับความต้องการ ตั้งแต่การเป็น Chatbot ตลอดจนการสร้าง Content การแปลภาษา และการสรุปความ
  • ✨ มี Web browsing, Plugin และ Code interpreter (ซึ่ง 3 Features นี้ เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ OpenAI ทำการปล่อยออกมาระหว่างที่นิกเขียนบทความนี้เลยค่ะ ╰(*°▽°*)╯)
  • ใหม่ !! ตอนนี้ ChatGPT มี Application เข้า ios แล้ว

# ประสิทธิภาพ และการใช้งาน

หากพิจารณาถึงเรื่องประสิทธิภาพในส่วนของ Claude ทำได้ค่อนข้างดีในเทอมของความไว และที่สำคัญคือความฟรีที่รองรับ Input ได้เยอะกว่ามากกกก ก.ไก่ล้านตัวค่ะ (^∀^●)ノシ นอกจากนี้จุดแข็งของโมเดล Claude2 ยังมีจุดเด่นในเรื่องของ Principles of safety ที่ทำให้เราสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย เหมาะสำหรับใช้งานที่มีความสร้างสรรค์และไม่รุนแรง (มีคนลองให้ Claude สร้างบทความเกี่ยวกับสงครามในรัสเซีย ปรากฎว่าโมเดลไม่ยอมทำ ในขณะที่ ChatGPT กลับสร้างบทความดังกล่าวออกมาให้อย่างรวดเร็ว)

และในส่วนของ ChatGPT ที่ถูกสร้างมีเพื่อเป็น Chatbot เป็นหลัก ต้องบอกว่าทาง OpenAI ทำได้ค่อนข้างดี มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นธรรมชาติมาก (นับว่าเนียนนั่นเองค่ะ^^) ซึ่งในจุดนี้เองที่ทำให้ ChatGPT มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการใช้งานเพื่อการตอบสนองต่อวความต้องการของลูกค้า เช่นการแนะนำสินค้าหรือบริการให้กับผู้สนใจ และตอบคำถามลูกค้าแบบกว้างๆ ในเบื้องต้น

โดยในส่วนของการใช้งานส่วนตัวนิกมองว่าการใช้งาน ChatGPT และ Claude ผู้ใช้งานอาจต้องมีความรู้/ความเข้าใจด้านเทคนิค เพื่อสื่อสารผ่าน Prompts ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ต้องการ ^^

การเข้าใช้งาน Claude

มาถึงส่วนการเข้าใช้งานกันค่ะ 😊 ด้วยการเข้าไปสมัครใช้งานได้ผ่าน link: https://claude.ai/ หรือจะ Search ว่า Claude ก็ได้เหมือนกันค่ะ

เมื่อเข้ามาแล้ว ในส่วนของหน้าแรกจะมีอธิบายการใช้งานเป็น 2 ลักษณะคือ Claude for Business และ Constitutional AI ซึ่งจากในหน้านี้เพื่อเข้าใช้งานในส่วนของ Chatbot ให้เรากรอก Email หรือ Continue with Google

โดยหลังจากที่เรากรอก Email เรียบร้อยแล้ว แล้วแพลตฟอร์มจะส่ง Login Code ไปที่ Email ของเรา ค่ะ ซึ่งเราจะต้องนำ Code นั้นมากรอกลงในกล่องข้อความ แล้วกดที่ Continue with login code ได้เลย

หลังจากนั้นหน้า web ก็จะ pop-up ขึ้นมาเพื่อให้เรากรอกข้อมูล ได้แก่ Full name และ What should we call you? และเพิ่มเติมในส่วนของการเชคอายุค่ะว่า เราต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีเพื่อใช้งาน แล้วให้เรากด I agree to Anthopic’s Terms and Privacy Policy แล้วหลังจากนั้น ก็ลองเข้าใช้งานกันได้เลยค่ะ (☞゚ヮ゚)☞

ซึ่งในส่วนนี้หากท่านใดยังไม่มี Idea ในการใช้งานหน้า Meet ก็มีตัวอย่าง Prompt ให้เราทดลองใช้มาให้ 😎✨

โดยนิกจะขอยกตัวอย่างการใช้งานให้ Claude ช่วยสรุปหรือหาคำตอบของข้อมูลจากหลายไฟล์ ซึ่งเป็นการใช้งานที่นิกชอบมากกก =>> สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการลากไฟล์ที่เราต้องการลงในกล่องข้อความได้ดังภาพค่ะ

Claude 2 แชทบอทตัวใหม่ และการใช้งานเปรียบเทียบความต่างกับ ChatGPT

โดยวิดีโอด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของการใช้งาน Cluade ในการสรุป Report ของ Netflix จากไฟล์ Netflix-10.txt ที่ใน prompt สั่งให้ Claude ทำหน้าที่เหมือน Business analyst ค่ะ

https://www.anthropic.com/index/claude-2
This image has an empty alt attribute; its file name is image-114.png

Last but not Least…

สำหรับบทความนี้เป็นบทความที่นิกอยากแนะนำให้เพื่อนรู้จักกับ Claude ในเบื้องต้นก่อนที่จะสามารถ Provide ให้ใช้ได้ในไทย (ตอนนี้ประเทศที่ใช้งานได้จะเป็น US UK ->> ซึ่งหากเพื่อนๆ อยากลองใช้งานอาจด้วยลองวิธี VPN กันดูนะคะ) โดยส่วนตัวนิกคิดว่าเป็นการดีที่เราจะศึกษา Tools อื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อเป็นหนึ่งในตัวเลือกให้มาช่วยการทำงานของเราให้สะดวกขึ้น และหากเพื่อนๆ ลองใช้งานดูแล้ว สามารถมาแลกเปลี่ยน และแนะนำเทคนิคเท่ๆ ในการใช้งานเพิ่มเติมได้ใน comment ==>> หวังว่าจะ Enjoy กันนะคะ (✿◡‿◡)

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย/ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *