6R New Normal Digital Marketing Strategy 2022 กลยุทธ์การตลาดยุคถัดไป
จากทั้งหมดทั้งมวลที่เล่ามากับรายงาย Digital Consumer Insight 2022 จาก Facebook Report 2021 ทำให้เราได้เห็นภาพรวมที่เกิดขึ้นในปีก่อน ปีนี้ และนั่นก็พาไปสู่สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นต่อไปในปีหน้า ก็เลยมาสู่ข้อสรุปกับ 6 แนวทางกลยุทธ์การตลาดและธุรกิจที่อยากจะอยู่รอดและได้ปีต่อในปีถัดๆ ไป ออกมาเป็นบทความสรุปท้ายที่สรุปบทความชุดนี้ที่มีชื่อว่า 6R New Normal Marketing Strategy 2022 ที่นักการตลาดต้องรู้ถ้าอยากไปต่อครับ
อย่างที่รู้กันว่าชายไทยและอาเซียนในช่วงสองปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ที่เข้าสู่โลกออน์ไลน์ครั้งแรกเป็นจำนวนมากศาล มากเทียบเท่ากับประชากรทั้งประเทศอังกฤษเลยทีเดียว และในขณะเดียวกันคนเหล่านั้นก็ไม่ได้แค่ใช้งานออนไลน์เพื่อความสนุกเท่านั้น แต่ยังใช้เงินบนออนไลน์เป็นจำนวนมาก และนั่นก็ส่งผลให้ธุรกิจค้าขายออนไลน์หรือ Ecommerce
และนั่นก็นำมาสู่ข้อสรุปทั้ง 6 ของกลยุทธ์การตลาดที่ธุรกิจต้องนำไปปรับใช้ในปีหน้า ที่มีชื่อว่า 6R New Normal Marketing Strategy 2022 สำหรับธุรกิจที่อยากไปต่อในปีถัดๆ ไปครับ
1. Rewrite a Digital-First Strategy ถ้าอยากไปต่อคิดถึงดิจิทัลก่อนทุกเรื่อง
ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดและล็อกดาวน์มาได้ 2 ปี วันนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่กลายเป็น Digital Consumer มือโปรที่คุ้นเคยกับการทำจับจ่ายใช้สอยทางออนไลน์ด้วยสมาร์ทโฟนในมือ และพฤติกรรมนี้ก็ไม่ใช่แค่สิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราวตอนล็อกดาวน์แล้วจะหายไป เพราะเราแล้วว่าแม้จะเลิกล็อกดาวน์ไปพฤติกรรมทั้งหลายก็ไม่ได้ย้อนกลับไปเป็นเหมือนตอนก่อนล็อกดาวน์อีกแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของใช้ประจำวันทั่วไปผ่านมือถือ การสั่งอาหารผ่านแอป มาวันนี้ไปจนถึงการซื้อของสดทางออนไลน์เรียบร้อย และออนไลน์นี่เองที่เป็นช่องทางหลักของคนส่วนใหญ่ที่จะได้รู้จักสินค้าหรือบริการใหม่ๆ แทนที่จะเป็น TV แบบเดิมอีกต่อไป เมื่อเห็นของที่น่าสนใจจนทำให้เกิดความอยากซื้อแล้วก็ยังหาข้อมูลทางออนไลน์ก่อนจะตัดสินใจใช้เงินว่าของชิ้นนี้จากร้านนี้ดีที่สุดแล้วหรือยัง หลังจากเมื่อซื้อทางออนไลน์ไปก็ยังกลับมารีวิวบอกคนอื่นให้รู้ว่าตัวเองจะตัดสินใจซื้อซ้ำในครั้งหน้าหรือไม่ อยากแนะนำให้คนอื่นที่ยังลังเลอยู่ซื้อหรือเปล่า หรือถ้าได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีก็บอกได้เลยว่าเตรียมรับรีวิวแย่ๆ ได้เลย
ธุรกิจที่จะอยู่รอดต่อไปและกลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้ต้องมี Digital Strategy สำหรับธุรกิจและการตลาด เพราะหัวใจสำคัญคือการยกระดับเครื่อง Customer Experience ด้วย Digital ให้ดีที่สุดเท่าที่เราทำได้และต้องทำให้เหนือกว่าคู่แข่งด้วย เพราะนั่นจะทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อเราซ้ำ อยากจะแนะนำเราให้คนอื่น และท้ายที่สุดก็จะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดเราโตกว่าคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นธุรกิจและแบรนด์ที่จะได้ไปต่อในปี 2022 จะต้องคิดถึงการเตรียมรับลูกค้าในทุกช่องทางออนไลน์เป็นอันดับ ไม่ใช่อันดับสองเหมือนก่อนเกิดโรคระบาดอีกต่อไป เพราะในในช่วงเวลาที่ผ่านมามีธุรกิจน้องใหม่จำนวนมากเกิดขึ้นมาเป็นคู่แข่งเรามากมาย แบรนด์พวกนี้สามารถตีตื้นแบรนด์ใหญ่ๆ ที่อยู่มานานได้สบายๆ ด้วยการใช้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่ฉลาดและฉับไว ทำให้การใช้สื่อเก่าอย่าง TV ที่ใช้งบประมาณมหาศาลเพื่อเข้าถึงคนจำนวนมากเพื่อให้คนรู้จักและเกิดยอดขายในระดับมหาศาลแบบเก่าไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป
เพราะธุรกิจเกิดใหม่ในยุคดิจิทัลต้องคิดถึงการตลาดแบบ Ecommerce marketing ต้องมีความเข้าใจ Algorithm ของแต่ละแพลตฟอร์มว่าทำอย่างไรให้คนค้นหาแล้วเจอเราก่อนคู่แข่ง ไปจนถึงการเข้าใจเรื่อง SEO เป็นอย่างดี การกำหนด Digital Media Strategy ว่าจะใช้แพลตฟอร์มใดบ้างจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และทั้งหมดนี้ก็ทำให้ธุรกิจใหม่ๆ หรือแบรนด์น้องใหม่จำนวนมากสามารถกลายเป็นแบรนด์ที่ใครๆ ก็รู้จักได้ในระยะเวลาอันนั้นแถมยังใช้เงินน้อยกว่าที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ทุ่มลงไปมากมาย
เพราะ Digital Marketing Strategy ไม่ใช่แค่การทำแคมเปญการตลาดสักสองสามอย่าง หรือการทำการตลาดผ่านบางแพลตฟอร์มหรือบางช่องทางที่กำลังดัง แต่เป็นการคิดถึงการใช้ดิจิทัลแบบรอบด้านที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ไม่ใช่การตลาดแบบหลากหลายช่องทางแต่ทำงานแยกกัน แต่ต้องก้าวไปให้ถึงขั้นการทำ Omni channel marketing ที่แท้จริงครับ
เพราะ Omni channel marketing ไม่ใช่แค่การมีทุกช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงเราได้ แต่ทุกช่องทางต้องทำงาประสานเป็นเนื้อเดียวกัน สร้าง Seamless Experienec ให้กับลูกค้ารู้สึกว่าไม่ว่าจะติดต่อผ่านช่องทางไหนก็ยังรับรู้และจำได้ว่าเราเป็นใคร ไม่ใช่ต้องเอาแต่แจ้งบอกตัวตนตัวเองใหม่ทุกครั้งไปเพราะมันน่ารำคาญ
Digital Customer Journey 2022 แบบ Omni-channel
- See เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้ได้มากที่สุดด้วยการเข้าถึงว่าคนที่เราต้องการอยู่ที่ไหน สนใจอะไร และชอบเข้ามาในช่วงเวลาใด และไม่ใช่แค่เข้าหาผ่านแพลตฟอร์มหลักแค่หนึ่งเดียว แต่ต้องมีการเข้าหาแบบต่อเนื่องในทุกๆ แพลตฟอร์มที่ต้องสื่อสารแบบสอดประสานกัน ที่สำคัญต้องดูบริบทของกลุ่มเป้าหมายเราและปรับตัวแบบ Real-time ด้วย
- Find เมื่อลูกค้าหาต้องเห็น เราต้องมีตัวตนให้พร้อมบนออนไลน์ในทุกช่องทาง และที่สำคัญไปกว่านั้นคือเราต้องมีข้อมูลที่คาดว่าลูกค้าจะต้องการไว้ให้พร้อม เพราะถ้าเขาพยายามหาแล้วไม่เห็นอย่าคิดว่าผู้บริโภคยุคใหม่จะใจเย็นพยายามหาข้อมูลของคุณอีกต่อไป ถ้ามีคู่แข่งที่ทำได้ดีกว่าก็มั่นใจได้เลยว่าคุณกำลังส่งลูกค้าไปให้คู่แข่งแบบสบายๆ
- Buy ต้องซื้อง่ายจ่ายคล่อง เพราะผู้บริโภคออนไลน์วันนี้ชอบการจ่ายเงินผ่านแอปมากกว่าเงินสดแล้ว แล้วเราก็ต้องมีการตั้งราคาแบบ Dynamic price ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนราคาให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายตลอดเวลาแบบ Personalization ไปจนถึงการปรับโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดใจลูกค้าตาม Digital Contextual ที่แตกต่างกันไป และก็อย่าลืมว่าต้องมีข้อมูลสำคัญที่ลูกค้าอยากรู้ให้ครบ เพราะถ้าจะซื้อแล้วพวกเขารู้สึกว่าตรงไหนที่สะดุด เป็นได้มากว่าพวกเขาจะเปลี่ยนไปซื้อจากคู่แข่งคุณที่พร้อมปิดการขายดีกว่าในคลิ๊กสุดท้ายครับ
- Repeat ใช้ดาต้าให้ลูกค้าซื้อซ้ำ เพราะการตลาดไม่ได้มีแค่การยิงแอดโฆษณาหาลูกค้าใหม่เข้ามาทำให้เกิดยอดขายเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการทำให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซ้ำ และการจะรู้ได้ว่าลูกค้าคนไหนมีโอกาสจะซื้อซ้ำมากกว่าก็ด้วยการใช้ Data-Driven Decision เริ่มตั้งแต่ต้องหมั่นทดสอบเก็บข้อมูลด้วยการทำ A/B Testing หรือ Experiment ให้มากๆ จากนั้นก็หาระบบ CRM ดีๆ มาใช้เพื่อจะทำการตลาดกลับไปหากลุ่มลูกค้าเก่าที่ใช่ แทนที่จะหว่านข้อความเดียวกันไปหาทุกคน
ถ้าทำได้ครบนี้บอกได้เลยว่าปี 2022 จะเป็นปีที่ธุรกิจคุณจะเติบโตและแบรนด์คุณก็จะเหนือคู่แข่งได้แน่นอน
2. Rewire your business model รื้อธุรกิจใหม่ให้ทันโลกดิจิทัล 2022
อย่ารอให้ใครมา Disrupt เรา เราต้องรีบ Disrupt ตัวเอง นี่คือวิธีคิดแบบ Tech Startup ชั้นนำของโลกตั้งแต่หลายปีก่อนที่ยังใหญ่โตดีจนทำให้วันนี้พวกเขาใหญ่โตยิ่งกว่าเดิม ธุรกิจสมัยก่อนกลัวว่าจะมีใครเข้ามาแย่ง มาแข่ง มาทำลายธุรกิจตัวเองไป จนลืมไปว่าความใหญ่ของตัวเองนี่แหละจะทำร้ายตัวเองให้ตายไปในที่สุด เช่นเดียวกันกับธุรกิจที่จะไปรอดต่อไปได้ในปี 2022 ต้องคิดวิธีเอาชนะบริษัทตัวเองในปัจจุบันให้ได้ก่อนใครที่จะทำ
และการเปลี่ยนแปลงที่ดีก็ไม่ได้มาจากการวางแผนเป็นอย่างดี แต่มาจากการคิดอะไรได้ก็รีบลงมือทำดูว่าได้ผลเป็นอย่างไร ถ้าไม่เวิร์คอย่างที่คิดก็หยุดแล้วรีบคิดใหม่ ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอแนวทางที่ใช่จากนั้นก็รีบทำให้ใหญ่ขึ้นโดยไว หรือสเกลให้เร็วนั่นเอง
พยายามเก็บ Quick win ให้ได้เยอะๆ เพราะมันจะทำให้เราก้าวเข้าสู่ Big win มากขึ้นทุกวัน จงมองจากอนาคตว่าเราอยากจะไปอยู่ตรงจุดไหน เราอยากจะเป็นอย่างไร จากนั้นก็ลงมือทำวันนี้ให้เข้าใกล้เป้าหมาย Business model ใหม่ในอนาคตมากขึ้นทุกวันครับ
10 คำถามเพื่อเช็คว่าเราควร Disrupt Business ตัวเองแล้วหรือยัง
- สภาพแวดล้อมและสังคมของเรากำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน? คนไปออนไลน์มากขึ้นแล้วอย่างไร? คนไม่ค่อยออกจากบ้านแล้วจะเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร?
- กลุ่ม Digital Consumer ที่เกิดขึ้นใหม่มากมายส่งผลต่อกลุ่มธุรกิจเราอย่างไรบ้าง? เช่น อยู่ดีๆ คนหันมาสั่งอาหารทางแอปเป็นปกติ แล้วคอมมูนิตี้เราจะสูญคนที่เคยมาไปมากขนาดไหน ส่งผลต่อร้านเราที่เคยอาศัยคนที่แวะมาซื้ออาหารหรือไม่?
- ใครคือคู่แข่งของเราในวันพรุ่งนี้? อาจจะหมายถึงคนที่ยังไม่มีตัวตนในวันนี้ก็ได้ หรือพาร์ทเนอร์เราในวันนี้อาจจะกลายเป็นคู่แข่งเราในวันหน้าได้หรือไม่? ถ้าวันนึงเราอาจจะต้องแย่งชิงผลประโยชน์กัน หมั่นคิดถึงคู่แข่งให้ครบถ้วนรอบด้านทั้งจากความน่าจะเป็นที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
- คุณมองเห็นโอกาสที่จะโตแบบก้าวกระโดดบนออนไลน์มากน้อยแค่ไหน? ไม่ว่าจะเป็น B2B หรือ B2C เพราะบนออนไลน์ยังมีโอกาสให้เราโตได้อีกมากมายถ้ารู้จักมอง
- ธุรกิจของเรา วิธีการทำงานของเรามีความสามารถในการปรับตัวหรือ Agile เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันและไม่ทันคาดคิดได้ดีแค่ไหน? เพราะอย่างที่เราเห็นกันว่าไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าโลกทั้งใบจะต้องล็อกดาวน์อยู่กับบ้านเป็นเดือนๆ มาก่อน ไปจนถึงเราพร้อมจะปรับตัวเข้าสู่การตลาดแบบ Localization จริงๆ หรือ Personalization จริงๆ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลาแล้วหรือยัง?
- คนในองค์กรเรามีความรู้ความสามารถที่จำเป็นในโลกยุคดาต้า 5.0 แล้วหรือยัง? มีคนเข้าใจเรื่อง Data Thinking ไหม? มีคนทำงานกับ Data โดยตรงไหม? มีคนสามารถใช้เครื่องมืออย่าง MarTech ไหม?
- หน่วยงานภาครัฐหรือกฏหมายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มธุรกิจเรากำลังจะไปในทิศทางไหน? PDPA จะประกาศใช้จริงแล้วเลื่อนต่อไป? จะมีการเก็บภาษีแบบใหม่หรือไม่? หรือจะมีการสนับสนุนแบบใดจากภาครัฐบ้าง?
- เราจะต้องหา Partner แบบไหนถึงจะทำให้ธุรกิจเราเล็กที่สุด? โดยยังคงความสามารถในการทำเงินและกำไรได้เท่าเดิม หรือดีกว่าเดิม เพราะธุรกิจยุคใหม่เน้นความลีน เล็ก เร็ว แต่รวย
- องค์กรเราจะใช้ Data, Marketing Automation หรือเทคโนโลยี Machine learning มาช่วยเพิ่มคุณค่าธุรกิจได้อย่างไร? เพราะเราอยู่ในโลกยุคดาต้า 5.0 และ MarTech มากขึ้นทุกวันแล้ว
- เรื่อง Sustainability และการเป็นบริษัทที่ดีจะส่งผลต่อธุรกิจเราในอนาคตอย่างไร? ในเมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจกับจริยธรรมการทำธุรกิจมากขึ้น
สุดท้ายอย่ามั่วรอให้ใครมา Disrupt จงรีบทำลายธุรกิจของตัวเองทิ้งซะด้วยธุรกิจใหม่ของตัวเอง
3. Reimagine Consumer Engagement ผู้บริโภคออนไลน์ยุคใหม่มี Insight ไม่เหมือนเดิม
ทุกวันนี้ผู้คนต่างค้นหาสินค้าที่ตัวเองต้องการผ่าน Ecommerce เป็นหลักมากกว่า Google แล้ว และในขณะเดียวกันช่องทางอย่างโซเชียลมีเดียเองก็กลายเป็นพื้นที่ใหม่ในการซื้อขายสินค้าด้วยเช่นกัน แต่สินค้าหรือบริการใหม่ๆ จำนวนมากต่างเป็นที่รู้จักหรือพบเห็นครั้งแรกทางหน้าฟีดบนโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องปกติ
แต่ในขณะเดียวกันสัดส่วนการซื้อที่เกิดขึ้นระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ก็ยังคงใกล้เคียงกัน แต่วันนี้ออนไลน์เยอะกว่าเป็นครั้งแรกแล้วแม้จะเล็กน้อยก็ตาม และเมื่อสื่อโฆษณาโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักแทนออฟไลน์ของผู้บริโภคยุคใหม่สมัยนี้ไปแล้ว นักการตลาดยุคใหม่ก็ต้องปรับตัวตามให้ทัน เพราะถ้าใครยังก้มหน้าก้มตาทำการตลาดไปโดยไม่เคยรู้เลยว่าตกลงงบการตลาดช่องทางไหนบ้างที่มีประสิทธิภาพหรือทำยอดขายให้เราได้จริงๆ
สมัยก่อนเราอาจจะพูดกันว่า เรารู้ว่างบการตลาดครึ่งหนึ่งที่สูญเปล่า แต่เราไม่รู้ว่าครึ่งไหน แต่ทุกวันนี้เราสามารถติดตามวัดผลเงินที่ใช้ไปได้ทุกบาท เพราะทุกวันนี้ถ้าช่องทางไหนที่ไม่มีประสิทธิภาพก็จะถูกตัด ลด หรือปรับกลยุทธ์อย่างทันทีเพื่อไม่ให้เงินสูญฟรีอีกต่อไป
และวันนี้ผู้บริโภคดิจิทัลก็มีตัวเลือกมากมายไม่ว่าจะแบรนด์หรือแพลตฟอร์มให้เลือกจับจ่ายใช้สอยก็ตาม ดังนั้นพวกเขาจึงเปลี่ยนทั้งแบรนด์ เปลี่ยนทั้งแพลตฟอร์มได้ง่ายมาก ถ้าเมื่อไหร่พบว่าแบรนด์ที่ซื้อหรือแพลตฟอร์มที่ใช้ไม่ได้สะดวกสบายให้ Customer Experience ที่ดีในการใช้งาน
เพราะลูกค้าวันนี้ต้องการประสบการณ์แบบ Seamless Experience ตั้งแต่การได้เจอสินค้าใหม่ การค้นหาสิ่งที่อยากเจอโดยง่าย แล้วก็ต้องจ่ายเงินสะดวกสบาย สุดท้ายแล้วต้องขนส่งมาถึงอย่างรวดเร็วทันใจในสภาพที่ดี ที่สำคัญคือต้องตรงตามปกที่โพสไว้ ไม่อย่างนั้นดราม่าบนโลกโซเชียลแน่
ธุรกิจที่จะไปต่อได้ในปี 2022 คือต้องสร้างจุดต่างจริงๆ สร้างความต่อเนื่องในการสื่อสาร สร้างประสบการณ์ที่ดีในทุกช่องทางที่มีไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ ไม่ว่าจะโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์ หรือแอป หรือช่องทางใดๆ ก็ตาม
เพราะถ้าลูกค้าจะ Loyalty กับเราหรือเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์ใหม่ก็เพราะทั้งหมดที่กล่าวมานี้แหละครับ ในวันที่ผู้บริโภคมองหาของที่คุ้มค่าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำว่าถูกอย่างเดียวอีกต่อไป การสร้าง Customer Experience ที่ดีได้คือกุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกค้าประทับใจจนไม่อยากย้ายไปที่ไหน แถมยังยอมจ่ายเพิ่มให้กับความถูกใจด้วยซ้ำ
เพราะสุดท้ายแล้วเราต้องไม่ลืมว่าความสามารถในการขายระหว่างออฟไลน์และออนไลน์นั้นต่างกันมหาศาล เพราะถ้าระบบการทำงานข้างในเราไม่ดี ถ้าทีมงานกับทีมการตลาดและทีมบริการหลังการขายไม่ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด การตัดสินใจที่ถูกต้องและรวดเร็วไม่ทันการเพราะขาดข้อมูลที่อัพเดทแบบ Real-time แบบ Dashboard ไม่มีตัวชี้วัดร่วมกันที่ชัดเจนระหว่างทีมการตลาดและทีมขายที่สามารถสะท้อนไปสู่สถานะทางการเงินของบริษัทได้ ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นเรื่องลำบาก เพราะองค์กรเรากำลังทำงานได้ไม่ทันใจลูกค้า
ส่วนสำคัญท้ายที่สุดก็คือการที่เราต้องมีคนเก่งที่มีทักษะสำหรับองค์กรยุคใหม่หลัง Digital Transformation เราต้องปรับวิธีการทำงานและโครงสร้างให้ตอบรับกับพวกเขาด้วย เลิกการทำงานแบบแยกกันระหว่างทีม แต่ทุกทีมต้องมีจุดประสงค์ร่วมกันที่ค้องทำงนให้สอดคล้องกัน เพราะการจะเข้าใจโลกรอบด้าน และเข้าใจลูกค้าแบบ Customer 360 ได้ ต้องเปลี่ยนวิธีการคิดและการทำงานใหม่ ต้องหันมาทำธุรกิจแบบใช้ Data-Driven Business จริงๆ
4. Refresh Product Offerings การตลาดแบบรู้ใจคือกลยุทธ์ของธุรกิจยุคใหม่ที่อยากไปต่อ
เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ในวันนี้นั้นเปลี่ยนใจง่ายมาก ความอดทนต่ำ แถมยังมีตัวเลือกจากแบรนด์คู่แข่งหรือแพลตฟอร์มมากมาย ทำให้พวกเขาถูกสปอยจนเคยชินกับการที่ว่าต้องได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการในทันที ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการใดๆ นั่นหมายความว่าถ้าใครให้คำตอบที่ไม่ใช่ผิดจากที่คาดหวังไว้ก็พร้อมถูกเลื่อนทิ้งหน้าจอไปในพริบตา
และยิ่งจากการแพร่ระบาดบวกกับการล็อกดาวน์ก็ยิ่งส่งผลให้ความต้องการซื้อทางออนไลน์เพิ่มขึ้นสูงมากเป็นประวัติการณ์ นั่นหมายความว่าแบรนด์ยิ่งต้องบริหารจัดการความต้องการของลูกค้าให้ได้ตรงกับใจพวกเขามากที่สุด และนั่นก็หนีไม่ได้กับการที่จะต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะทำการตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing ถ้าอยากแย่งชิงลูกค้ามาจากคู่แข่งให้ได้มากที่สุดครับ
5. Re-envision the role of sustainability ความดีจะทำให้ธุรกิจคุณได้ไปต่อ
แต่ไหนแต่ไรมาเรื่องความยั่งยืน การใส่ใจสิ่งแวดล้อม การทำธุรกิจแบบไม่เอาเปรียบสังคม หรือการเป็นบริษัทที่ดีมีธรรมาภิบาลนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งสำหรับการ PR ภาพลักษณ์องค์กร แต่วันนี้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปไวมากจากภาวะวิกฤตต่างๆ นาๆ ที่รุมเร้าในช่วงเวลาสั้นๆ และก็ดูทรงจะไม่แผ่วเลยสักวัน ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจว่าสินค้าหรือบริการที่พวกเขาจ่ายเงินสนับสนุนนั้นทำธุรกิจแบบมีจริยธรรมหรือเปล่า
หรือแม้แต่หลายครั้งเราเริ่มเห็นแบรนด์ที่มีจุดยืนในเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนก่อตั้งธุรกิจอย่างชัดเจน จนสามารถดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ว่าจะคนวัยไหน ให้ยอมจ่ายในราคาแพงอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อถามถึงเหตุและผลแบบเดิมได้ เพราะเหตุผลหลักคือพวกเขาสนับสนุนในสิ่งนี้ และการแสดงออกว่าสนับสนุนคือการเลือกใช้เงินกับแบรนด์นี้แทนที่จะเป็นแบรนด์อื่น เช่นกระเป๋าจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซนต์อย่าง Freitag ที่ต้องบอกตรงๆ ว่าด้วยวัสดุกับราคาช่างไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย (แต่ผมก็มีคนนึงแหละนะ)
ดังนั้นการทำธุรกิจแบบคนดีมีจริยธรรมในวันนี้ไม่ใช่แค่เพื่อ PR แต่เป็นเพื่อการสร้าง Value Proposition ใหม่ขึ้นมา ไปจนถึงว่าสามารถยกระดับกลายเป็น Premium Lifestyle Brand ได้สบายๆ
และนั่นก็หมายความว่านอกจากเราจะต้องใส่ใจกับการทำงานภายในองค์กรเราแล้ว เรายังต้องออกไปสำรวจบรรดาพาร์ทเนอร์หรือซัพพลายเออร์เราด้วยว่าพวกเขาทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรมเหมือนกับเราหรือเปล่า เพราะในหลายกรณีเหล่าลูกค้าผู้บริโภคก็ออกมากดดันยังแบรนด์ปลายทางที่ตัวเองซื้อเมื่อพบว่าแหล่งวัตถุดิบที่พวกเขารับมาผลิตสินค้านั้นมาจากบริษัทที่มีชื่อเสีย มีข่าวฉาว หรือทำธุรกิจแบบเอาเปรียบสังคม สิ่งแวดล้อม ชาวบ้าน หรือแม้แต่พนักงานในองค์กรด้วยกันเองก็ตาม
แล้วเรื่องนี้จะมาทำแค่นิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ เพราะยิ่งเราประหยัดต้นทุนในเรื่องนี้มากเท่าไหร่แล้วถ้าเมื่อไหร่ที่ถูกผู้บริโภคจับได้รับรางว่าที่ประหยัดไปจะเป็นอะไรที่ไม่คุ้มค่าทางการเงินเอาเสียเลย เพราะแบรนด์คุณกำลังพังไปเสียแล้ว
จำไว้อีกอย่างว่าผู้บริโภคชาวไทยและอาเซียนวันนี้เต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นให้กับธุรกิจที่ดีมีจริยธรรม และนี่ก็เป็น 4 แนวทางในการเริ่มต้นเป็นธุรกิจที่ดีว่าเราจะหาเหตุผลในการขึ้นราคาที่ลูกค้ายอมรับได้เพื่อความยั่งยืนอย่างไร
4 Price Up Strategy for Sustainability กลยุทธ์การขึ้นราคาที่ลูกค้ายอมใจ
1. จ่ายแพงขึ้นเพื่อระยะยาว
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นย่อมมีค่าใช้จ่ายไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นเหตุผลแรกที่จะขึ้นราคาแล้วทำให้ลูกค้าเปิดใจยอมรับ คือการสื่อสารให้ชัดเจนว่าที่เราต้องเริ่มขึ้นราคาในวันนี้ก็เพื่อลดผลกระทบในระยะยาวที่รุนแรงในวันหน้า แต่เราก็จะไม่ได้ปรับขึ้นทีเดียวแบบพรวดพราด แต่เราก็จะค่อยๆ ขยับขึ้นทีละเล็กน้อยให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ครับ
2. จ่ายแพงขึ้นเพื่อชาวบ้านและสิ่งแวดล้อม
บางครั้งการขึ้นราคาคือการขึ้นเพื่อทำไปให้คนต้นน้ำโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน หรือคนที่เลี้ยงสัตว์ ใครก็ตามที่เป็นต้นทางของวัตถุดิบโดยตรงโดยเฉพาะกลุ่มคนเล็กๆ ที่ผลิตวัตถุดิบหรือคนที่ต้องใช้แรงงานผลิตมันขึ้นมา รวมไปถึงธรรมชาติที่เกี่ยวข้องที่อาจจะเคยได้รับผลกระทบจากการพยายามประหยัดต้นทุนแต่เอาของเสียไปลงที่สิ่งแวดล้อมแทน
การขึ้นราคาด้วยเหตุผลแบบนี้ทำให้ผู้บริโภครู้สึกรับได้โดยง่าย เพราะเขาจะไม่รู้สึกว่าแบรนด์ได้อะไร ถ้ามีการสื่อสารที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ว่าเงินทุกบาทที่จ่ายแพงขึ้นนั้นถูกส่งตรงไปให้บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมา แบรนด์มีหน้าที่แค่เป็นตัวกลางพาเงินไปโดยไม่ได้รับไว้เป็นกำไรส่วนเพิ่มสักบาทเดียว
3. จ่ายแพงขึ้นเพราะ Product เดิมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
อีกหนึ่งกลยุทธ์การขึ้นราคาเพื่อความยั่งยืนคือการเปลี่ยนแปลงสินค้าหรือบริการเดิมแบบครั้งใหญ่ ยกโฉมใหม่หมดจรด เพราะของเดิมอาจจะทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อมมานานเกินไป วันนี้รู้ตัวก็เลยต้องการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อหยุดการทำร้ายใครเพียงเพื่อกำไรทางธุรกิจ
ดังนั้นลองหาดูสินค้าหรือบริการในแบรนด์คุณที่กำลังทำร้ายสังคนและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยไม่รู้ตัว รีบเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้ทันก่อนที่จะสูญเสียลูกค้าไปให้คู่แข่งที่ทำได้ดีกว่า
4. ออกสินค้าใหม่ที่แพงขึ้นเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว
ถ้าไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับของเดิมที่เคยทำมาวิธีการที่ง่ายที่สุดก็ดูจะเป็นการออกสินค้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นไลน์การผลิตใหม่ ไลน์สินค้าใหม่ แล้วก็เพิ่มความรักษ์โลกและยั่งยืนเข้าไป ก็เป็นกลยุทธ์การรักษาฐานลูกค้าเก่าของสินค้าเดิมไว้ ในขณะเดียวกันก็ดึงกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ใส่ใจเรื่องนี้เข้ามา และดีไม่ดีเราอาจได้กลุ่มลูกค้าเดิมที่พร้อมจ่ายแพงขึ้นเพื่อความยั่งยืนอีกด้วยครับ
สรุปธุรกิจที่จะได้ไปต่อในปี 2022 ต้องเริ่มคิดถึงการเป็นบริษัทที่ดี การทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม มีธรรมาภิบาล ใส่ใจตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบที่ได้มา ใส่ใจในแรงงานที่ผลิตสินค้าให้ ใส่ใจพาร์ทเนอร์ทั้งหมดที่ทำธุรกิจอย่างเรา เพราะไม่อย่างนั้นแล้วคุณอาจจะต้องขายสินค้าให้ถูกลงเรื่อยๆ หรืออาจจะไม่ได้ไปต่อในปีถัดๆ ไป
6. Realign to the post-pandamic hybrid lifestyle ถ้าอยากไปต่อต้องเข้าใจไลฟ์สไตล์แบบไฮบริดแบบ Home-centric
หลังจากเกิดคำว่า New Normal ขึ้นมาก็ส่งผลต่อวิธีชีวิตของเราทุกคนในทุกด้านอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เมื่อเราต้องใช้เวลาที่บ้านมากกว่าที่เคยเป็นมาตลอดช่วงชีวิต จากเดิมมีไว้แค่นอนและพักผ่อนในวันหยุดบ้าง แต่มาวันนี้เราต้องเรียน ต้องทำงาน ต้องทำทุกอย่างที่บ้านด้วยตัวเองให้ได้ ส่งผลให้การเดินทางไปไหนมาไหนก็ลดลงเพราะต้องการลดการติดเชื้อโดยไม่จำเป็น บริษัทต่างๆ เริ่มปรับนโยบายมาเป็นทำงานแบบ Hybrid คือเข้าออฟฟิศบ้าง สลับกับทำงานที่บ้านควบคู่กัน
และไหนจะพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่เคยต้องออกไปร้านค้า ห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน ก็กลายเป็นคนส่วนใหญ่เลือกที่จะสั่งออนไลน์ให้มาส่งที่บ้าน ยกเว้นว่าร้านอาหารบางอย่างหรือบางสิ่งที่ยังจำเป็นต้องไปออฟไลน์จริงๆ ครับ (เช่นการกินโมโม่)
ดังนั้นธุรกิจที่อยากจะได้ไปต่อในปี 2022 ต้องเริ่มคิดถึงโปรโมชั่นประเภทเน้น Home-centric เป็นหลัก วิธีทำการตลาดก็เช่นกัน และการขนส่งที่ตรงรวดเร็ว และปลอดภัยเชื่อถือได้ก็กลายเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายของธุรกิจ
เมื่อบ้านหนึ่งหลัง ห้องหนึ่งห้อง คอนโดของเรา กลายเป็นพื้นที่หลักของการใช้ชีวิต การแบ่ง Customer Segments จากประเภทของบ้านที่อยู่ จากจำนวนคนที่อยู่ในบ้าน จากห้องหับต่างๆ ก็อาจจะกลายเป็นหนึ่งกลยุทธ์สำคัญสำหรับธุรกิจที่จะได้ไปต่อในปี 2022 ครับ
ลูกค้าออกวิ่งแล้ว ธุรกิจคุณหละวิ่งทันผู้บริโภคหรือเปล่า?
เมื่อภูมิภาคอาเซียนมีการเติบโตทางด้านดิจิทัลและออนไลน์อย่างก้าวกระโดดในช่วงสองปีที่ผ่านมา และบ้านก็กลายเป็นพื้นที่สำหรับทุกสิ่ง ทุกอย่าง ของทุกคนในบ้านพร้อมๆ กัน จนกลายเป็นเทรนด์การใช้ชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า Home-centric ขึ้นมาอย่างกระทันหัน ชีวิตประจำวันทุกอย่างต้องปรับตัวมาให้พร้อมทำงานบนออนไลน์ในทันที ในแง่หนึ่งถือว่าเราได้เกิด Digital Disruption ในช่วงสั้นๆ จาก Covid Disruption ก็ว่าได้
เราได้ช่องทางโซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักที่ผู้คนได้รู้จักสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ที่นำไปสู่การซื้อทางออนไลน์ในทันที ซึ่งสิ่งนี้ก็เข้ามาเปลี่ยนแปลง Customer Journey จากเดิมที่ต้องรับสื่อจากช่องทาง TV เป็นหลักถึงจะได้รู้จักของใหม่ กลายเป็นการเห็นผ่าน Short Video คลิปสั้นๆ 6 วิ อย่าง TikTok ก็ทำให้เราอยากมีหรือถูกป้ายยาได้ง่ายๆ
แถมที่สำคัญไปกว่านั้นเมื่อผู้บริโภคดิจิทัลวันนี้คิดจะซื้อของทางออนไลน์ พวกเขาไม่ได้มองหาแค่ของถูกแบบวันวานเสมอไป แต่พวกเขาเลือกมองหาของที่คุ้มค่ากับเงินที่ใช้ไป ซึ่งยอมจ่ายแพงกว่าถ้ามันคุณภาพดีกว่า และที่สำคัญไปกว่านั้นพวกเขายังใส่ใจว่าแบรนด์ที่จะซื้อนั้นมีจริยธรรมในการทำธุรกิจไหม ถ้าทำธุรกิจแบบทำร้ายสังคม ทำลายสิ่งแวดล้อม ต่อให้ดีแค่ไหนก็ยากจะกลั้นใจซื้อลงไปได้ครับ
และตลาดอาเซียนเองก็เติบโตรวดเร็วมากเป็นอันดับต้นๆ ของทั้งเอเซียแปซิฟิก ซึ่งทำให้แบรนด์ต่างๆ ให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้มากขึ้นกว่าเดิมมาก และการค้าขายออนไลน์ต่างๆ แพลตฟอร์ม Ecommerce ใหญ่ๆ ต่างก็หมายปองจะจับตลาดภูมิภาคนี้ให้ได้ก่อนคู่แข่ง จนกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันทางดิจิทัลที่ดุดเดือดแห่งหนึ่งของโลก
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะการแพร่ระบาดและล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ทำให้อาเซียนเกิด Digital Consumer หน้าใหม่เพิ่มขึ้นมากว่า 70 ล้านคน หรือเทียบกับประชากรทั้งเกาะอังกฤษ นี่คือตลาดที่แบรนด์สำคัญห้ามประมาท เพราะพฤติกรรมที่เกิดขึ้นบนออนไลน์ทั้งหลายไม่ได้หายไปแม้เลิกล็อกดาวน์ เรียกได้ว่าจาก New Normal 2020 เมื่อปีก่อนเรากำลังอยู่ในยุคของ New Normal 2021 และกำลังจะมองไปยัง Next Normal 2022 ด้วยการคาดการณ์จากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้แล้วมองออกไปว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นเป็นสิ่งถัดไป
ดังนั้นนักการตลาดอย่างเราต้องอ่านเกมให้ออก คาดการณ์ล่วงหน้าให้แม่นยำจากข้อมูลที่มีให้ได้มากที่สุด และ 6R New Normal Digital Marketing Strategy 2022 หรือ 6 กลยุทธ์สำหรับธุรกิจที่อยากอยู่รอดและไปต่อในปีหน้า ประกอบด้วย
- Rewrite เริ่มต้นที่ดิจิทัลก่อนและเป็นแก่นหลัก
- Rewire รื้อโครงสร้างธุรกิจใหม่ให้เป็น Digital Business ที่แท้จริง
- Reimagine รื้อความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้ายุคใหม่ให้ดี
- Refresh รื้อเทคโนโลยีสำหรับการตลาดใหม่ เพราะการตลาดแบบรู้ใจกำลังจะกลายเป็นหัวใจของธุรกิจ
- Re-envision รื้อวิสัยทัศน์ธุรกิจใหม่ จะทำธุรกิจแบบไม่ใส่ใจโลกและสังคมไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
- Realign ปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ใหม่ของลูกค้าแบบ Home-centric
เพราะการตลาดและธุรกิจจากนี้ไปต้องตัดสินใจด้วย Insight ที่แท้จริงจาก Data ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างว่องไว ถ้าคุณสามารถทำทั้งหมดที่เล่ามาได้ธุรกิจจะไม่ใช่แค่อยู่รอด แต่จะเติบโตสวนทางคู่แข่งทั้งหมดในตลาดเพราะไม่มีใครสามารถทำในสิ่งนี้ได้ดีเช่นคุณ
สรุปส่งท้าย 6 Key Takeaways สำคัญสำหรับธุรกิจที่อยากอยู่รอดต่อและเติบโตดีในปี 2022
- อาเซียนกลายเป็นผู้นำด้าน Digital Transformation ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก
- พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปกลายเป็น Digital Consumer เต็มตัวเพราะล็อกดาวน์
- การจะทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำ ต้องแข่งที่คุณภาพและประสบการณ์ ไม่ใช่แค่ราคาอีกต่อไป
- Sustainability ไม่ใช่แค่ข่าว PR แต่กลายเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ลูกค้ามองหา และยอมจ่ายมากกว่าเพื่อสิ่งนี้
- Home-centric บ้านคือพื้นที่สำหรับทุกคนในการทำทุกสิ่ง
- เกิดการลงทุนมหาศาลในกลุ่มธุรกิจที่เข้ามา Digital Disruption เช่น FinTech
และทั้งหมดนี้ก็เป็นการสรุปและเรียบเรียงจากรายงาน Facebook South East Asia 2021 ที่บอกให้เห็นถึงเทรนด์ภาพรวมที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยและประเทศอื่นในอาเซียนเพื่อนบ้านเราอย่างครบทุกมิติครับ
อ่านบทความชุด Facebook Insight Report 2021
อ่านบทความตอนที่ 1 Top 10 New Normal & Consumer Insight 2022
อ่านบทความตอนที่ 2 Insight Ecommerce & Online Retail 2022
อ่านบทความตอนที่ 3 Digital Consumer Journey 2022
อ่านบทความตอนที่ 4 Insight Social Commerce 2022
อ่านบทความตอนที่ 5 Insight Shopping Online 2022
อ่านบทความตอนที่ 6 Home-centric become New Normal 2022
อ่านบทความตอนที่ 7 Digital Economy & Commerce Trends 2022
อ่านบทความตอนที่ 8 Trends of Investment in Tech Startup Thailand & Asean 2022