Nostalgia Marketing พาแบรนด์ย้อนยุค ใช้ Emotional ดึงดูดกลุ่มลูกค้า

Nostalgia Marketing พาแบรนด์ย้อนยุค ใช้ Emotional ดึงดูดกลุ่มลูกค้า

เวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว และโลกของเราก็พัฒนาอยู่เสมอ แต่คนเราก็มักจะคิดถึงความสุขในวัยเยาว์ อย่างปลื้มก็โตมากับพวก ทามาก็อตจิ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ขนมซองโบราณ แผ่นCD เทปเพลง ตู้โทรศัพท์ MSN รวมถึง Hi5 แต่ตอนนี้หลายๆอย่างไม่มีให้เห็นแล้ว ทีคนเกิด 1998 แบบปลื้มหรืออายุมากกว่านี้ ต้องจำได้แน่ๆ ขอเข้าเรื่องดีกว่าค่ะ วันนี้จะมาพูดถึง Nostalgia Marketing มันคืออะไร และเป็นกลยุทธ์แบบไหน มาฟังกันค่ะ

Nostalgia Marketing คืออะไร?

Nostalgia Marketing หรือ การตลาดที่ทำให้รู้สึกและนึกถึงความทรงจำเก่าๆ เป็นกลยุทธ์ของการใช้แนวคิดเชิงบวกและความคุ้นเคยจากอดีตที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงคุณค่าของการตลาดแบบย้อนอดีต ไม่ว่าเราจะเป็นวัยรุ่นที่ฝันกลางวันเกี่ยวกับการ์ตูนในวัยเด็ก หรือผู้บริหารวัยกลางคนที่เพ้อฝันเกี่ยวกับวันที่เรียบง่ายกว่าอย่างแต่ก่อน ซึ่งความคิดถึงก็มีบางสิ่งที่พิเศษอยู่ในนั้น ที่จะช่วยกระตุ้นและ เป็นกลวิธีในการเชื่อมโยงแบรนด์กับลูกค้า จากสิ่งที่ลูกค้าชื่นชอบและมีความทรงจำที่ดีอยู่แล้ว และมันคือสิ่งที่ทำให้กลยุทธ์การตลาดแบบนี้ยังทรงพลังนั่นเองค่ะ

Case Study: แบรนด์ที่โน้มน้าวใจลูกค้าโดยการตลาดแบบ Nostalgia

ปัจจุบัน แบรนด์ต่างๆ เริ่มเห็นคุณค่าของความคิดถึงในการโฆษณา เพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้า ในรูปแบบของความทรงจำที่มีความสุขและความสบายใจ นี่คือเหตุผลที่แคมเปญของ Nostalgia Marketing ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้แต่แบรนด์ที่ทันสมัยที่สุด ก็สามารถใช้การตลาดดังกล่าว ในออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดให้รู้สึกอบอุ่นหัวใจได้เหมือนกันค่ะ แล้วเราจะสร้างแคมเปญการตลาดในความคิดถึงของคนได้อย่างไร

Nostalgia Marketing พาแบรนด์ย้อนยุค ใช้ Emotional ดึงดูดกลุ่มลูกค้า
Image: Netflix

มีหลายแบรนด์ค่ะ ที่ใช้การตลาดแบบ Nostalgia ซึ่งวันนี้ปลื้มจะยกตัวอย่างแบรนด์เหล่านั้น ให้นักการตลาดได้เห้นแนวทางการใช้ และสามารถต่อยอดได้ เช่น การผสมแนวคิดใหม่และดึงเอาแนวคิดเก่า ๆ มาใช้ อย่างภาพยนตร์ sci-fi เรื่อง “Stranger Things” เป็นผลงานต้นฉบับของ Netflix โดยมีเนื้อหาอ้างอิง เพลง และรูปภาพที่แสดงความเคารพต่อหนังระทึกขวัญเรื่องโปรดของเรา เช่น ET/ X-Files และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การรีเมคหรือภาคต่อ แต่เป็นเนื้อหาต้นฉบับที่ผสมผสานความคิดถึงเข้ากับแนวคิดกับตัวละครใหม่ๆ แล้วมีแบรนด์ไหนอีกบ้าง มาดูกันค่ะ

Spotify

ในปี 2016 Music Streaming อย่าง Spotify ส่งโฆษกใหม่ออกสู่ตลาดในรูปแบบของ Falkor และ Atreyu จากภาพยนตร์ฮิต “The NeverEnding Story” เพื่อทำให้แคมเปญการตลาดแบบ Nostalgia นั้นน่าประทับใจยิ่งขึ้น บริษัทที่อยู่เบื้องหลังโฆษณาจึงได้นำนักแสดงดั้งเดิมสำหรับตัวละครทั้งสองมาแสดงบทบาทของพวกเขาอีกครั้ง

Nostalgia Marketing พาแบรนด์ย้อนยุค ใช้ Emotional ดึงดูดกลุ่มลูกค้า
Image: Spotify

วิดีโอนี้สามารถดึงดูดผู้ชมกลุ่มมิลเลนเนียล หรือ Gen Y ที่มีแนวโน้มจะใช้ Spotify มากที่สุดตั้งแต่แรก การใช้ซาวด์แทร็กจากภาพยนตร์ในโฆษณาทำให้ Spotify สามารถรวมเอาการเน้นที่ดนตรีเป็นหลักเข้ากับธีมที่ชวนให้นึกถึงอดีต เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ดังนั้นการใช้กลยุทธ์ดังกว่าต้องดูกลุ่มลูกค้าของแบรนดืด้วยนะคะ

KBank

จำได้หรือเปล่าเมื่อปี 2017 ธนาคารกสิกรไทยหรือ KBank ได้ออกแคมเปญ “โลกเปลี่ยนไป #ประทับใจเหมือนเดิม” โดยใช้โฆษณา “สบายดีหรือเปล่า” ตอนนี้มียอดการเข้าชมกว่า 27,908,244 ครั้ง แถมยังได้รับรางวัล 1 Ads Leaderboard อีกด้วย แคมเปญนี้สร้างขึ้นเพื่อตอกย้ำความเชื่อในสโลแกน “บริการทุกระดับประทับใจ” ที่ไม่ว่ายุคสมัยหรือการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไป แต่เรื่องของความรู้สึกประทับใจจะคงอยู่เสมอไม่มีวันเปลี่ยนแปลง 

โดยโฆษณาดังกล่าวได้ใช้ความเป็นยุค 80 – 90 เข้ามา และเน้น Emotional ในความประทับใจให้คนดูอินตาม นอกจากนี้ KBank ยังสะท้อน Brand Experience จากสโลแกนอีกด้วย

KitKat

ไม่รู้ทุกคนคิดแบบเดียวกันหรือเปล่า ที่ KitKat ออกแนวทำสินค้าสินค้าลิมิเต็ด เป็นของสะสม อย่างพวก Vintage Car กล่องโทรทัศน์สไตล์วินเทจ และอีกหลายๆ อย่าง แต่สิ่งที่ทำเอาคนตามหากันอย่างหนัก ก็เห็นจะเป็นกล้องฟิล์ม KitKat ใช้แล้วทิ้งนี่แหละค่ะ เหมือนว่าเขาต้องการจับกลุ่มที่มีรสนิยม ความชอบแบบวินเทจ แฟชั่นย้อนยุค อย่างกล้องฟิล์มทำให้คนรุ่นใหม่อยากลองเล่นและคนรุ่นเก่ากลับมาสนใจมันอีกครั้ง จนเป็นกระแสอยู่ครั้งหนึ่งเลหล่ะค่ะ

Nostalgia Marketing พาแบรนด์ย้อนยุค ใช้ Emotional ดึงดูดกลุ่มลูกค้า
Image: KitKatThailand

ตัวอย่างนี้ต้องบอกตรงว่าไม่แน่ใจว่า KitKat ใช้การตลาด Nostalgia หรือเปล่านะคะ แต่ก็ทำให้คนคิดถึงการถ่ายรูปฟิล์มเก่าๆ และยังบันทึกความทรงจำใหม่ๆ ได้อย่างสวยงามทีเดียวค่ะ

Pepsi

Pepsi ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Nostalgia เพื่อดึงดูดผู้ชมและเน้น Emotional เช่นเดียวกับ Coca-Cola โดยเป๊ปซี่ได้นำเครื่องดื่มที่เลิกผลิตไปแล้วจากยุค 90 กลับมาด้วย “Crystal Pepsi” ในปี 2559 ทางแบรนด์ได้กระตุ้นตัวของเครื่องดื่มที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วยแคมเปญโฆษณา และที่น่าสนใจที่สุดของแคมเปญนี้คือเกมที่เรียกว่า “Crystal Pepsi Trail” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเกม “Oregon Trail” ในยุค 70 ซึ่งอัปเดตด้วยคอลแบ็ก 90s เช่น Tamagotchis และ Furbies

Nostalgia Marketing พาแบรนด์ย้อนยุค ใช้ Emotional ดึงดูดกลุ่มลูกค้า
Image: Pepsi

เป๊ปซี่ยังได้สร้างเครื่องดื่มที่เรียกว่า “Pepsi Throwback” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มรูปแบบหนึ่งที่ใช้สูตรที่เครื่องดื่มนี้ติดใจในยุค 80 ส่วนใหญ่ โดยใช้น้ำตาลอ้อยแทนน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มี Fructose สูงอีกด้วยค่ะ

แม้ว่าตัวอย่างเด่นๆ หลายๆ สินค้าจะมาจากแบรนด์ใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจขนาดเล็กจะไม่สามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ แต่เราต้องดูกลุ่มเป้าหมายของเราเป็นสิ่งสำคัญ เช่น หากเรากำหนดเป้าหมายกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียล เราสามารถหาแรงบันดาลใจจากช่วงปี 1990 หรือผู้ที่ชื่นชอบวงดนตรีแนวหน้าในช่วงต้นยุค 2000 

อีกทั้งต้องใส่ใจกับรายละเอียด เมื่อพยายามเลียนแบบยุคใดยุคหนึ่ง การให้รายละเอียดเกี่ยวกับเพลง สี ฟอนต์ และภาพที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ Brand Story ที่ทำให้คนมีอารมณ์ร่วมด้วยนั่นเองค่ะ มีแบรนด์ไหนพร้อมที่จะเดินทางข้ามเวลาหรือยังคะ?

Source : https://www.adroll.com/blog/marketing/nostalgia-marketing-what-is-it-and-why-is-it-hot

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่