Data Research Insight ชาไทย เมนูไวรัล by Social Listening

Data Research Insight ชาไทย เมนูไวรัล by Social Listening

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังกดเข้ามาอ่านบทความนี้อยู่ ต้องมีเมนู ‘ชาไทย’ เป็นเครื่องดื่มหรือของหวานประจำตัวกันไม่มากก็น้อยใช่ไหมคะ ผู้เขียนก็เช่นกัน จึงกำเนิดเกิดเป็น Data Research Insight ชาไทย เมนูไวรัลยอดฮิตติดอันดับของใครหลาย ๆ คน ในบทความนี้จะพาทุกคนมาเจาะ Insight ชาไทย เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและดูกันให้ชัดว่าคนไทยชอบชาไทยรูปแบบไหน? ใส่ท็อปปิ้งอะไร? เมนูของหวานจากชาไทยยอดฮิต รวมถึงแบรนด์ไหนที่ถูกพูดถึง เราจะพามาวัดจากกระแสบนออนไลน์กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยในหลาย ๆ แง่มุมค่ะ

โดยเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ คือ Social Listening : Mandala เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม​ Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่ พร้อมแล้วไม่รอช้า ตามมาดูกันไปทีละ Step ค่ะ

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ ชาไทย และ ชาเย็น เพราะเป็นคำที่คนเรียกและสื่อถึงเมนูหรือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับเมนูชาไทยที่เราต้องการค่ะ

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/09/2023 – 29/02/2024 หรือประมาณ 6 เดือนย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 26,545 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป อย่างคำว่า ชาไทย นั้นอาจหมายถึงสิ่งอื่น ๆ หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ เช่น ชื่อสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ ที่นี่ ค่ะ

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่ามีการพูดถึงเมนูชาไทย หรือ Insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านชาไทยและเครื่องดื่ม

ซึ่งในขั้นตอนนี้เรียกว่ายังมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อน ทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ 

ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ 

Social Data Stat Overview

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึงชาไทย จะอยู่บนเพจ Facebook มากที่สุด ตามมาด้วย X(Twitter) IG Youtube และ TikTok ตามลำดับค่ะ โดยรูปแบบคอนเทนต์ก็จะมีทั้งรีวิวร้านชาไทยอร่อย ๆ รวมถึงการแจกสูตร สอนทำชาไทย เป็นต้น

การมีส่วนร่วม (Engagement) – ยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagament มีสัดส่วนมากถึง 67% ทั้งนี้คอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement สูง ก็จะเป็นเกี่ยวกับคลิปแจกสูตร สอนทำเมนูเครื่องดื่มชาไทย ทำกินเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

การมีส่วนร่วม ลบยอดวิวยูทูป (Engagement ignore view) – เราจะเห็นศักยภาพของแพลตฟอร์มอื่นเมื่อ Ignore Youtube view ช่วยค่ะ และผู้เขียนได้ปรับมุมมองแบบ​ Timeline โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้รู้ว่าใน Facebook, TikTok และ IG มักมีรีวิวและร้านชาไทยน่าลอง หรือเมนูของหวานจากชาไทยต่าง ๆ ที่เรียกกระแสให้น่าไปตำตามซักครั้ง

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ทำให้เห็นว่าภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงเรื่อง ‘ชาไทย’ คู่กับเรื่องอะไร ใช้แฮชแท็กไหนกันนั่นเองค่ะ เช่น มีกลุ่มคำว่า ชาตรามือ เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่คนนิยมทานเมนูชาไทยกันเยอะ และมีขายในรูปแบบที่ให้ซื้อกลับไปชงกินเองได้ รวมถึงเปิดสาขาในต่างประเทศอีกด้วย

Facebook – ปันกันปรุง แจกสูตรทำชาไทย

X (Twitter) – @lanlalit_fowl พี่จองคัลแลนกินชาไทย

Instagram – kp_talonlak รีวิวชาไทยสลัชชี่ แดรี่ควีน

TikTok – happybeingsai รีวิวชาไทย Owl Cha

@happybeingsai

Owl cha EP.1| เกิดมาไมืเคยพบเคยเจอราคานี้กับรสชาติ ประทับใจมากๆ กินอีกแน่นอน #fypシ #fyp #tiktokพากิน #ชาไทยชีสowl #owlcha

♬ original sound – happybeingsai ( ทราย ) – happybeingsai ( ทราย )

YouTube – คนชากังราว รีวิวร้านหิ้วถุงชา

STEP 5 Categorize Data 

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ 

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารถนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

ก่อนจะเข้าสู่ข้อมูล Insight ต่าง ๆ เรามาเริ่มที่การดูกันก่อนดีกว่าค่ะว่าชาวโซเชียลเรียก ‘ชาไทย’ ว่ายังไงกันบ้าง โดย 72% ใช้คำว่าชาไทย ส่วนอีก 28% ใช้คำว่าชาเย็น ซึ่งก็เป็นคำที่ทุกคนคุ้นเคยกันทั้งสองแบบแล้วแต่คนจะเรียก

ต่อมาสำหรับรูปแบบของชาไทยที่ชาวโซเชียลนิยมรับประทานกันและพูดถึงกันเป็นจำนวนมาก เป็นชาไทยในรูปแบบเย็นถึง 71% ส่วนชาไทยในรูปแบบปั่น หรือที่ทุกคนคุ้นเคยกันในชื่อสเลอปี้หรือสลัชชี่ จะมีสัดส่วน 29% ซึ่งหลาย ๆ แบรนด์ที่เราเห็นกันก็มักจะขายชาไทยทั้งในรูปแบบเย็นและปั่น

ท็อปปิ้งชาไทยยอดฮิต ไข่มุกยังคงครองแชมป์

ก่อนอื่นมาเริ่มดูกันที่ตัว ‘ท็อปปิ้ง’ กันก่อนเลย โดยท็อปปิ้งที่คนพูดถึงกันมากที่สุดจะเป็น ‘ไข่มุก’ 34% ตามมาด้วย ขนมปัง ครีมชีส วิปครีม เฉาก๊วย และพุดดิ้ง ตามลำดับ เรียกได้ว่าค่อนข้างมีความหลากหลายแล้วแต่ชอบ แต่ไข่มุกก็ยังถือเป็นท็อปปิ้งคลาสสิคที่ครองใจใครหลาย ๆ คนอยู่เสมอ

โดยในส่วนต่อไป ผู้เขียนจะพาทุกคนมาเจาะดูกันต่อว่าในแต่ละรสชาติ มี Top Post Engagement เป็นอะไรกันบ้าง ซึ่งจะทำให้เห็นประเด็นที่คนให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญกันมากขึ้น เมื่ออยากจะกินชาไทยกันสักแก้ว ไม่รอช้า ตามมาดูกันต่อเลยค่ะ

Top Post ที่พูดถึงท็อปปิ้งไข่มุก มาจาก กินหนม ชาไทยไข่มุกมรกต ชาตรามือ ประเด็นที่พูดถึงจะมีเรื่องของระดับความหวาน 120% และเพิ่มไข่มุก 5 ช็อต กินสะใจ โดยความพิเศษไม่เหมือนใครก็จะเป็นไข่มุกมรกต หอมใบเตย และมีความหนึบหนับ

ต่อมา Top Post ที่พูดถึงท็อปปิ้งขนมปังบนชาไทย มาจาก กินกับกี้ ทำปังเย็นชาไทยทานเอง โดยประเด็นที่พูดถึงจะเป็นเรื่องของความฉ่ำของขนมปัง และความเข้ากันระหว่างตัวขนมปังสังขยากับชาไทย แต่หากว่าถ้าใช้ขนมปังเนยนม เวลาเนย เจอความเย็นอาจมีความแข็งได้

สำหรับ Top Post ที่พูดถึงท็อปปิ้งครีมชีส มาจาก happybeingsai โดยเป็นการรีวิวชาไทยครีมชีสจากร้าน Owl Cha ประเด็นที่พูดถึงคือครีมชีสมีรสชาติเค็มนำและหวานตาม รสชาตินัว

@happybeingsai

Owl cha EP.1| เกิดมาไมืเคยพบเคยเจอราคานี้กับรสชาติ ประทับใจมากๆ กินอีกแน่นอน #fypシ #fyp #tiktokพากิน #ชาไทยชีสowl #owlcha

♬ original sound – happybeingsai ( ทราย ) – happybeingsai ( ทราย )

ต่อมา Top Post ของท็อปปิ้งวิปครีม มาจาก kp_talonlak รีวิวชาไทยสลัชชี่จากร้าน Dairy Queen โดยประเด็นที่พูดถึงวิปครีมคือสามารถสั่งแบบใส่วิปครีม 5 ช็อตได้ รสชาตินัว ๆ นม ๆ ฟูเบา ละลายในปาก เข้ากับชาไทยเข้มข้นหวานกำลังดี

และมาถึงอันดับ 5 ของเราอีกหนึ่งท็อปปิ้งยอดฮิตสำหรับชาไทย นั่นก็คือเฉาก๊วย โดย Top Post มาจาก punpromotion รีวิวชาไทยลูกนิมิต ร้าน New Holic

โดยประเด็นที่พูดถึงตัวเฉาก๊วย คือการที่ร้านใช้เฉาก๊วยใหญ่แบบ ‘ลูกนิมิต’ เนื้อเฉาก๊วยเด้งกรุบ ๆ แทบจะไม่มีรสหวานเลย ที่น่าสนใจคือมีกิมมิคพ่นทองเหมือนลูกนิมิตด้วย เพิ่มความน่าสนใจให้กับเมนู

ใครกำลังเล็งธุรกิจชาไทยหรือเครื่องดื่มเมนูใหม่ ๆ ใกล้ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ ก็ลองเก็บไว้เป็นไอเดียต่อยอดอะไรที่แปลกใหม่กันได้นะคะ

และท็อปปิ้งอันดับสุดท้ายที่คนนิยมใส่ชาไทยนั่นก็คือพุดดิ้ง โดย Top Post มาจาก kp_talonlak กับการรีวิวเมนูโคตรชาชัก จากร้าน Fresh Me ประเด็นที่พูดถึงคือการใช้พุดดิ้งรสชาไทย เนื้อพุดดิ้งมีความนุ่มเด้ง อีกทั้งยังใช้หลาย ๆ องค์ประกอบในแก้วเป็นรสชาติชาไทยทั้งหมด เช่น วิปครีม ครัมเบิล รวมถึงพุดดิ้ง ทำให้ยิ่งช่วยกันส่งเสริมรสชาติชาไทย จนเกิดเป็นชื่อเมนูโคตรชาชักนั่นเอง

@kp_talonlak

โคตรชาชัก ชาเน้นๆทั้งแก้ว ตั้งแต่น้ำ วิปครีม พุดดิ้ง ครัมเบิล เป็นรสชาไทยหมดเลย พิกัดร้าน Fresh me ทุกสาขา #kpตะลอนแหลก #tiktokuni #ปักหมุดร้านอร่อย #tiktokพากิน #แพรพากิน #freshme #โคตรชาชัก #ชาไทย #คลังเครื่องดื่ม

♬ For cooking and work videos. Marimba is an impressive song – Junya Ota

เมนูของหวานจากชาไทยยอดฮิต ไอศกรีมมากกว่าครึ่ง

มาดูในฝั่งของเมนูของหวานจากชาไทยกันต่อบ้างว่าชาไทยนี่ชาวโซเชียลเขาพูดถึงอะไรกันบ้าง โดย TOP 5 อันดับแรกที่ถูกพูดถึงมากที่สุดเป็นไอศกรีมถึง 54% ตามมาด้วยบิงซู เครป ปังเย็น และชิฟฟอน ตามลำดับค่ะ

โดยในส่วนต่อไป ผู้เขียนจะพาทุกคนมาเจาะดูกันต่อว่าในแต่ละเมนูของหวานจากชาไทย มี Top Post Engagement เป็นอะไรกันบ้าง ซึ่งจะทำให้เห็นประเด็นที่คนให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญกันมากขึ้น

สำหรับเมนูของหวานชาไทย อันดับ 1 คือไอศกรีม/ไอติม โดย Top Post มาจาก foodballstylee เป็นการรีวิวไอติมชาไทย จากร้าน Azabu Sabo ประเด็นที่พูดถึงคือชอบที่เลือกสองรสในหนึ่งโคนได้ และความเข้ากันของรสชาไทยที่กินคู่กับชาเขียว

สำหรับ Top Post ของเมนูของหวานชาไทย อย่างบิงซู มาจาก kp_talonlak รีวิวบิงซูชาไทย ที่งานองค์พระปฐมเจดีย์ โดยประเด็นที่พูดถึงคือเรื่องของบุฟเฟ่ต์ท็อปปิ้ง ตักเครื่องท็อปปิ้งได้ไม่อั้น ส่วนบิงซูชาไทยรสชาติเข้มข้น ไม่หวานมาก

ต่อมา Top Post เมนูของหวานจากชาไทยคือ เครป/เครปเค้ก มาจาก happybeingsai รีวิวเครปเค้กนุ่มชาไทย จากร้าน Bearhouse โดยประเด็นที่พูดถึงคือความนุ่มของเครปเค้ก ซอสชาไทยมีความหอมและเข้มข้น ไม่หวานตัดขาจนเกินไป

สำหรับ Top Post เมนูของหวานชาไทย อย่างปังเย็น punpromotion รีวิวปังเย็นชาไทย ในเซเว่น โดยประเด็นที่พูดถึงคือรสชาติของชาไทยที่หวานกำลังดี ใส่ท็อปปิ้งขนมปังทั้งด้านล่างและบนแก้ว ซึ่งขนมปังก็มีความนุ่มและหวานจากตัวแป้ง ปิดท้ายด้วยการราดนมข้นเพิ่มความเข้มข้น

เดินทางมาถึงเมนูของหวานชาไทยอันดับ 5 อย่างชิฟฟอน โดย Top Post มาจาก ชอบโปร กับการรีวิวชิฟฟอนชาไทย จากร้าน Dairy Queen โดยประเด็นที่พูดถึงคือเรื่องความนุ่มและนิ่มของเค้ก ซอสราดชาไทยเข้มข้น ใส่ไอติมและวิปครีมชาไทย ก็ช่วยเพิ่มความเข้ากันในเมนู

แบรนด์ที่คนพูดถึงเมนูชาไทยกันมากที่สุด

สำหรับ TOP 10 แบรนด์ที่คนพูดถึงเมนูชาไทยกันมากที่สุด อันดับแรกจะเป็น ‘ชาตรามือ’ มากที่สุด 28% ตามมาด้วย Karun ในอันดับที่ใกล้เคียงกันที่ 21% และ Inthanin, Dairy Queen, ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน, Fuku Matcha, Kamu, ชงดี, Dakasi และ Owl Cha ตามลำดับ

โดยบริบทของชาไทยของชาตรามือ ที่มาแรงเป็นอันดับ 1 นั้น นอกเหนือจากการรีวิวร้านหรือเมนูอร่อยแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นคอนเทนต์แจกสูตรสอนทำชาไทย ชงเองได้ที่บ้าน จากผลิตภัณฑ์ของชาตรามือ รวมถึงมีร้านชาตรามือที่ไปเปิดสาขาแรกในอเมริกาอีกด้วย

สำหรับ TOP 5 Facebook Page

  1. ชีวิตติดรีวิว 320.9K Engagement
  2. ชอบโปร – ShobPro 188.7K Engagement
  3. กินหนม 122.1K Engagement
  4. กินไปเหอะ 106.8K Engagement
  5. ชอบกิน – ShobKin 87.2K Engagement

TOP 5 Instagram Account 

  1. punpromotion 453K Engagement
  2. shobkinth 124.2K Engagement
  3. eathere.th 113.3K Engagement
  4. sale_here 63K Engagement
  5. kp_talonlak 54.1K Engagement

TOP 5 Youtuber

  1. คนชากังราว 1.53M Engagement
  2. น็อตฮังกี้ 1.32M Engagement
  3. Eatguide 578.3K Engagement
  4. ร้านเด็ด อเมริกา 513.9K Engagement
  5. ครัวแม่โบ 487.6K Engagement

TOP 5 TikTok Account

  1. happybeingsai 344.3K Engagement
  2. tigercryy 120.9K Engagement
  3. dairyqueenthailand 95.4K Engagement
  4. shobproth 79.4K Engagement
  5. imknothungry1 73.4K Engagement

Data Research Insight ชาไทย เมนูไวรัล by Social Listening

AI-Generated Image by Shutterstock (Prompt: create photography, composition with cups of ice thai tea, wipcream and boba, warm light in background.)

ทั้งหมดนี้ก็คือ Data Research Insight ชาไทย เมนูเครื่องดื่มสุดไวรัล by Social Listening หวังว่าทุกคนจะเข้าใจพฤติกรรมการกินชาไทย คนไทยชอบใส่ท็อปปิ้งอะไร เมนูของหวานจากชาไทยที่คนพูดถึง รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้างกันมากขึ้นนะคะ และสามารถนำไปปรับใช้สร้างสรรค์ออกมาเป็นไอเดียใหม่ ๆ ไปต่อยอดในการทำธุรกิจกันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 21 

คุณอุ้มเป็นผู้เรียน Social Listening Analytics รุ่น 21 ของการตลาดวันละตอนที่กลับมา Present การบ้านหลังจากที่ได้เรียนผ่านไป 1 สัปดาห์ เธอเอาไปทำงานกันของลูกค้าอาหารแมวรายหนึ่ง ทำให้พบ Data Insights มากมายที่คาดไม่ถึง

เธอใช้แนวทาง 8 ขั้นตอนการใช้ Social Listening โดยการตลาดวันละตอน (ที่อยู่ในหนังสือ Social Listening ด้วย) ไล่ทำตามทุกขั้นตอนจนทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนโดยไม่หลงทาง

  1. Set Objective & Research Keywords
  2. Set Social Listening & Collecting Data
  3. Cleansing Data
  4. Conversation Analysis
  5. Categorized Data
  6. Visualization
  7. Summary Insights
  8. Strategy & Recommendation

ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า เธอพบว่าอาหารแมวชนิดไหนได้รับความสนใจมากที่สุด หรือ Insights อาหารแมวจากช่วงวัยที่น่าสนใจ ว่าคนเลี้ยงแมวใส่ใจเมื่อแมวเริ่มอายุเยอะกว่าแมวโตทั่วไป จนสุดท้ายออกมาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไป Set Business Strategy & Marketing Communication ต่อ

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย~

Fern Panassaya

เฟิร์น Junior Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *