กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส Circular Fashion ด้วย RECO Collective

กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส  Circular Fashion ด้วย RECO Collective

สวัสดีค่ะนักอ่านทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยถึงเรื่องการทำ Circular Fashion ด้วยการ Upcycle ของแบรนด์กันค่ะ โดยส่วนมากแล้วแบรนด์ที่มีการทำ Upcycle จะเป็นแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยในทางแฟชั่นเองก็จะทำคู่กับการทำ Circular Fashion ด้วยค่ะ เหมือนกับ กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส ที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าให้ฟัง

ก่อนที่เราจะไปดู กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส เรามาทำความรู้จัก Circular Fashion รวมไปถึงการ Upcycle กันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าการ Circular Fashion และ Upcycle นี้มีความสำคัญยังไงและเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมยังไงบ้าง แล้วถ้าผู้อ่านทุกท่านเป็นแบรนด์ที่อยากทำ Circular Fashion หรือ Upcycle สามารถทำได้ยังไงบ้าง

Circular Fashion คืออะไร 

จริง ๆ แล้ว Circular Fashion เป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจากคำว่า Circular Economy ซึ่งผู้เขียนขออธิบายตัว  Circular Economy ก่อน เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

Circular Economy คือ แนวคิดทางด้านเศรษฐกิจ ที่ว่าจะลดขยะเหลือทิ้ง
ลดการทิ้งทรัพยากรต่าง ๆ และ ใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดยจุดมุ่งหมายหลักของ Circular Economy คือ การใช้หรือทำให้ทรัพยากรใดทรัพยากรหนึ่งนั้น อยู่ในระบบให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ และ สร้างมูลค่าให้มากที่สุดนั่นเองค่ะ ซึ่งหลักของ Circular Economy จะมีอยู่ 3 อย่าง คือ

  • Design for Longevity and Reusability : เวลาจะผลิตทรัพยากรสักอย่าง ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้มีความทนทาน และง่ายต่อการซ่อมแซม รวมทั้งสามารถรีไซเคิลหรือใช้ซ้ำจนถึงสิ้นสุดอายุการใช้งานค่ะ
  • Resource Efficiency and Regeneration : เน้นทำให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ โดยการลดการสร้างขยะ ส่งเสริมให้มีการรีไซเคิล การผลิตใหม่อีกครั้ง และการซ่อมแซมเพื่อสร้างวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่โดยต่อยอดจากวัสดุเดิม หรือ ทรัพยากรเดิมค่ะ
  • Closed-Loop Systems : คือมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้าง closed-loop systems ที่วัสดุและทรัพยากรจะถูกวนเวียนกลับมาอย่างต่อเนื่อง ลดความจำเป็นในการสร้าง หรือ หาทรัพยากรใหม่ ๆ ค่ะ

ซึ่งแนวคิดนี้ก็ถูกนำมาใช้กับวงการแฟชั่นค่ะ เพราะต้องยอมรับว่าวงการแฟชั่นถือว่าเป็นอีกหนึ่งวงการที่มีการสร้างขยะค่อนข้างเยอะ หรือ ในช่วงนึงทุกท่านอาจเคยได้ยินคำว่า Fast Fashion ที่ทำให้เกิดขยะล้นโลก 

กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส Circular Fashion ด้วย “RECO Collective”

เพราะ การเปลี่ยนของแฟชั่นที่เร็ว จนทำให้แบรนด์ต้องออกสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มาเพื่อตอบสนองความต้องการ หรือ เทรนด์ในช่วงนั้น ๆ ค่ะ

Circular Fashion คือ แนวคิดที่จะลดการใช้ก่อให้เกิดขยะของวงการแฟชั่น
โดยมุ่งเน้นที่จะสร้าง Closed-Loop Systems เพื่อลดขยะ

รวมทั้งใช้ประโยชน์จากเสื้อผ้าและสิ่งทอต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของอายุการใช้งานนั้นเอง

จริง ๆ แล้วก็สอดคล้องกับหลักการของ Circular Economy ตามที่ผู้เขียนให้อธิบายไป โดยการสร้างแบบแนวคิดใหม่เกี่ยวกับวิธีการออกแบบ การผลิต การใช้งาน และการกำจัดขยะที่มาจากเสื้อผ้าค่ะ โดยจะมีหลัก หรือ จุดมุ่งหมายสำคัญดังนี้ค่ะ

  • Design for Longevity and Durability : เสื้อผ้าจะถูกออกแบบให้มีความทนทาน มีความคลาสสิค และมีคุณภาพสูง เพื่อส่งเสริมการใช้งานในระยะเวลายาวนานและลดความต้องการในการเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ๆ ค่ะ
  • Materials and Production Methods : เน้นการใช้วัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำเข้าวัสดุที่เกิดการกระบวนการ Recycle และ Upcycle  รวมไปถึงการใช้วิธีการผลิตที่ลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • Extended Use and Reuse : ส่งเสริมการเช่าเสื้อผ้า การขายเสื้อผ้ามือสอง และการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อขยายอายุการใช้งานของเสื้อผ้าค่ะ
  • Repair, Remake, and Recycling : ส่งเสริมให้เกิดการซ่อมมากกว่าจะทิ้ง กระตุ้นผู้บริโภคให้ซ่อมและ นำเสื้อผ้ามาปรับเปลี่ยนดีไซน์โดยไม่ต้องทิ้ง พร้อมทั้งสนับสนุนการ Recycle และ Upcycle ของเสื้อผ้าด้วยเช่นกันค่ะ
  • Closing the Loop : สร้าง Loop ที่เสื้อผ้าสามารถ Recycle หรือสามารถย่อยสลายได้ เมื่อเสื้อผ้าถูกใช้จนหมดอายุการใช้งาน เพื่อลดขยะที่จะถูกทิ้งเพิ่มขึ้น แล้วให้เสื้อผ้าที่ย่อยสลายหรือ Recycle มาใช้ใหม่ ซึ่งอาจทำเป็นเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นก็ได้ค่ะ

การที่ธุรกิจหรือวงการแฟชั่นหันมาใช้วิธีการนี้ จะทำให้การใช้งานและการ Recycle ได้ไม่มีที่สิ้นสุด รวมไปถึงลดขยะ ลดมลพิษ และการสร้างเสื้อผ้าใหม่ ๆ ตามเทรนด์ด้วยค่ะ  

ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นส่งเสริมให้ธุรกิจ แบรนด์ด้านแฟชั่นรู้จักรับผิดชอบต่อสิ่งเวดล้อม และสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งช่วยส่งผลกระทบไปยังผู้บริโภคหรือผู้ซื้อให้มีความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วยค่ะ 

ในการพูดถึง Circular Fashion ทุกท่านคงได้เห็นสองคำอยู่บ่อย ๆ คือ Recycle และ Upcycle สองคำนี้เหมือนหรือต่างกันยังไง และมีความสำคัญแบบไหนต่อวงการหรือธุรกิจแฟชั่น ผู้เขียนขออธิบายต่อไปดังนี้ค่ะ

ชวนรู้จัก Upcycle หรือ Upcycling กัน

คำว่า Upcycle หรือ Upcycling ถ้าผู้อ่านสังเกตคำนี้จะคล้ายกับคำว่า Recycle ที่เรารู้จักกันนั้นเอง โดยสองคำนี้มีความเหมือนที่แตกต่างกันอยู่ค่ะ 

ผู้เขียนขออธิบายดังนี้ ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านทุกท่านนึกภาพว่าปกติแล้ววการที่เรา Recycle เราจะนำผลิตภัณฑ์ วัสดุต่าง ๆ ไป Recycle ใช่ไหมคะ โดยวัสดุเหล่านั้นจะเป็นพวกขวดพลาสติก กระดาษใช้แล้ว เป็นต้น 

กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส  Circular Fashion ด้วย “RECO Collective”

ซึ่งหลังจากเราส่งวัสุดเหล่านี้ไปแล้ว จะถูกนำไปสู่กระบวนการหลอม ย่อย ไปให้เกิดเป็นพลาสสิต หรือ กระดาษใหม่ที่ถูก Recycle มา เช่น กระดาษทิชชู่ที่ถูก Recycle เป็นสีน้ำตาล ซึ่งมูลค่าของสิ่งเหล่านั้นจะเท่าเดิมหรือน้อยกว่าเดิมค่ะ และนี่แหละค่ะคือการทำ Recycle ค่ะ

ส่วน Upcycle เราจะต่อยอดวัสดุนั้น ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นแทน ด้วยการดีไซน์เป็นสิ่งใหม่ที่มูลค่าเพิ่มขึ้นแทนค่ะ เช่น การนำเสื้อยืดเก่ามากรีดเป็นเส้นแล้วนำไปทำกระเป๋า หรือ การทำเส้นด้ายรีไซเคิลที่ผลิตจากขวด PET 100% ไปทอเป็นผ้า แบบที่ กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส ทำก็คือการ Upcycle เช่นเดียวกันค่ะ

อินโดรามา เวนเจอร์ส ปฏิวัติวงการแฟชั่นยั่งยืน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก  อินโดรามา เวนเจอร์ส กันก่อนดีกว่าค่ะ โดยบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สนับสนุนการดูแลสิ่งแวดล้อม

ล่าสุดทางอินโดรามา เวนเจอร์สเอง ก็ได้มีจัดแสดงสินค้าแฟชั่นภายใต้โครงการ “RECO Collective” (รีโค่ คอลเลคทีฟ) ณ บ้านดุสิตธานี กรุงเทพฯ ด้วยค่ะ  โดยตัว RECO Collective เป็นแพลทฟอร์มความร่วมมือตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อสร้างสรรค์และสนับสนุนแฟชั่นยั่งยืนจากวัสดุรีไซเคิลให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างค่ะ

กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส  Circular Fashion ด้วย “RECO Collective”

โดยเริ่มที่อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้จับมือกับพันธมิตรทั้ง 3 ราย ได้แก่ Thai-Taffeta , Dapper และ Ecotopia ค่ะ โดยเริ่มจากร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของวัสดุรีไซเคิล พร้อมทั้งสนับสนุนผ้าซึ่งทอจากเส้นด้ายรีไซเคิลที่ผลิตจากขวด PET 100% จัดสรรพื้นที่ขาย และส่งเสริมการตลาดอย่างครบครันด้วยค่ะ

ซึ่งจริง ๆ แล้วที่ผ่านมาทาง อินโดรามา เวนเจอร์ส เองก็ได้ให้ความรู้ด้านการ Recycle และ Upcycle มาเป็นระยะเวลายาวนานอยู่แล้วค่ะ 

มีทั้งให้ความรู้ด้านการ Recycle และ Upcycle ทั้งผ่านโครงการประกวดออกแบบแฟชั่นUpcycleอย่าง “RECO Young Designer Competition” เพื่อให้คนรู้จักและเข้าใจการ Upcycle มากขึ้นผ่านการประกวด โดยการนำวัสดุต่าง ๆ มารีดีไซน์กลายเป็นสิ่งที่มูลค่ามากขึ้น โดยมีกรอบของคำว่า แฟชั่น เข้ามาช่วยให้คนเข้าใจมากขึ้นด้วยค่ะ

และการให้ความรู้ด้านการ Recycle และการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วประเทศไทย เพื่อให้กระบวนการ Recycle มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะหากคัดแยกขยะ แบบถูกต้องแล้วจะช่วยทำให้กระบวนการหลังจากนั้น และ มีประสิทธิภาพด้วยค่ะ

ซึ่งภายในงาน RECO Collective ครั้งนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส ก็ได้มีการเปิดตัวคอลเลคชั่นพิเศษ จากแบรนด์แฟชั่นหมุนเวียนน้องใหม่ 7 แบรนด์ ได้แก่ JIRAWAT GOSH MJSN PREM CHANA ENDPROOF HeARTh เพื่อร่วมปฏิวัติวงการแฟชั่นยั่งยืนและเป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ 

หากผู้อ่านท่านใดสนใจสามารถถติดตาม ผ่านช่องทางที่อินสตราแกรม @reco_collective และ Ecotopia ได้เลยค่ะ นี่แหละค่ะ คือการทำ Upcycle และสร้าง Circular Fashion ซึ่งเป็น กลยุทธ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส ที่ผู้เขียนนำมาฝากหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะคะ

ถ้าชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการตลาดแบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วยนะคะ หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยนะคะ 

สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะヽ(•‿•)ノ

Source Source Source

Mywmint

มิวมิ้น เรียก มิ้น ก็ได้ค่ะ ● ⋏ ● เป็น Junior Marketing Content Creator ของการตลาดวันละตอนค่ะ รับบท Marketer ฝึกหัด ٩(◕‿◕)۶ ตั้งใจสรรสร้างทุกบทความ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และ ชอบนะคะ ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ด้วยฮะ ʕっ•ᴥ•ʔっ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *