CSR Philips ธุรกิจสุขภาพเพื่อสังคม ทำแคมเปญ World Heart Day

CSR Philips ธุรกิจสุขภาพเพื่อสังคม ทำแคมเปญ World Heart Day

CSR Philips ที่ใช้การทำ Social Marketing เสริมกลยุทธ์ขายแบบไม่ขาย กับแคมเปญช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจฉุกเฉินและสอนใช้ AED สร้างจดจำ Philips ในฐานะ สินค้าเพื่อสุขภาพแบบเนียน ๆ ที่ดูแลสุขภาพของทุกคนในสังคม

สวัสดีค่ะชาว Marketer ทุกท่าน สำหรับในบทความนี้ผู้เขียนมีไอเดียการทำการตลาด ขายแบบไม่ขาย สำหรับคนทำธุรกิจสายสุขภาพมาฝาก นั่นก็คือแบรนด์ Philips นั่นเอง แค่ฟังก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ เพราะธุรกิจนี้ค่อนข้างเป็นธุรกิจที่เฉพาะทางเอามาก ๆ เลย แต่มูลค่าของสินค้านั้นสูงมาก และด้วยเพราะเหตุนี้แหละค่ะการแข่งขั้นกันในตลาดสินค้าสุขภาพจึงค่อนสูงสูงมากเลยทีเดียว งั้นเราไปดูวิธีการทำการตลาดของฟิลิปส์กันดีกว่าค่ะ ว่ามีความน่าสนใจยังไง เพื่อทำให้ลูกค้า สนใจอยากเลือกแบรนด์ Philips มาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต และการทำธุรกิจสุขภาพค่ะ 

กลยุทธ์เพื่อเป็นผู้นำด้านธุรกิจสุขภาพ ของ Philips

เนื่องจากฟิลิปส์ มีการขายสินค้าในกลุ่มสุขภาพ รวมถึงเครื่องมือทางการแพทย์ คือ

  • เครื่องมือเอกซเรยต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยเวลาไปตรวจสุขภาพ หรือทางการแพทย์จะเรียกว่าเครื่องมือด้านรังสีวินิจฉัย (diagnostic imaging) และการรักษาด้วยรังสีภาพนำวิถี (image-guided therapy)
  • เครื่องตรวจติดตามสัญญาณชีพ (patient monitoring) 
  • ระบบการจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (health informatics) 

รวมถึงอุปกรณ์สำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน ด้วยการขายสินค้าประเภทนี้มีความละเอียด และซับซ้อนในเชิงเทคนิคเพราะเป็นสินค้าเชิงการแพทย์ จึงไม่เหมาะนักที่จะทำการตลาดในด้าน Product หรือนำเสนอเทคนิคเหนือชั้นใดๆค่ะ เพราะมันเป็นเรื่องไกลตัวผู้บริโภคมากดังนั้นสิ่งที่ ฟิลิปส์ เลือกในฐานะที่เป็นสินค้าที่ดูและด้านสุขภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของวงการแพทย์นั่นก็คือ การวางสินค้าให้เป็น สินค้าที่มีส่วนร่วมในการดูแสสุขภาพของผู้คนในสังคมนั่นเองค่ะ 

Social Marketing สร้าง Top of mind ให้ Philips

การใช้กลยุทธ์ Social Marketing ในครั้งนี้ เพื่อทำให้กลุ่มผู้บริโภคจดจำ Philips ในฐานะ แบรนด์ที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมดีขึ้น เหมือนกับแคมเปญต่าง ๆ ที่ผ่านมา ทั้ง การลดภาะวะโลกร้อน การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และจนถึงแคมเปญล่าสุดคือ การช่วยรณรงค์ให้ผู้คนในสังคมมีความรู้เรื่องโรคหัวใจค่ะ

ทำไมต้องสร้าง Top of mind ให้กับสินค้า?

Top of mind Brand คือความเป็นตัวตนของสินค้าที่อยู่ในใจของลูกค้า เมื่อคิดถึงสินค้าประเภทนั้น ๆ โดยจะต้องสามารถนึกถึงได้ทันที เพียงแค่นับ 1 2 3 เมื่อโดนถามคำถามถึงสินค้าประเภทนั้น ๆ ออกมา สามารถตอบได้ทันทีโดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องนึกเลยค่ะ เช่น 

  • ถามถึงแบรนด์ไก่ทอด = KFC 
  • ถามถึงแบรนด์ไก่ย่าง = ไก่ย่าง5ดาว
  • ถามถึงแบรนด์รถมอเตอร์ไซด์ ขี่เที่ยวเท่ ๆ = Harley davidson
  • ถามถึงแบรนด์สุกี้ในห้างสรรพสินค้า = MK สุกี้

นี่แหละค่ะ คือพลังของ Top of mind มันคือการสร้างพลังแห่งการเป็นตัวตนของสินค้าให้อยู่ในใจของลูกค้านั่นเองค่ะ

การตลาด Philips

แล้วทำไม Philips ใช้กลยุทธ์ Social Marketing ในการทำการตลาด?

อย่างที่ทราบกันดีค่ะว่าในกลุ่มของคนไทย กระแสของการดูแลสุขภาพ และความรู้ในด้านสุขภาพเริ่มเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้บริโภคในยุคนี้ แต่การให้ความสนใจในด้านเทคนิคการแพทย์ หรืออุปกรณ์ด้านสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ไกลตัวเอามาก ๆ คงไม่มีใครเดินเข้าไปตรวจสุขภาพแล้วถาม เจ้าหน้าที่พยาบาล หรือคุณหมอกันอยู่แล้วว่า รายการตรวจเอกซเรย์ปอดรายการนี้ใช้เครื่องมือของแบรนด์ Philips ตรวจหรือป่าว? ใช่ไหมล่ะคะ

ดังนั้นการบ้านที่ฟิลิปส์ต้องทำ คือการเอาความไกลตัวนี้มาทำอย่างไรให้สินค้านั้น ค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปในใจของผู้บริโภคได้ จึงเกิดเป็นการทำแคมเปญล่าสุด คือ การรณรงค์ให้คนในสังคมได้รับความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยอิงการะแสของวันหัวใจโลกหรือ World Heart Day เพื่อให้ความรู้กับผู้คนในสังคมได้มีความรู้เรื่องโรคนี้ให้มากขึ้นค่ะ 

การตลาด Philips ทำเพื่อสังคม กับแคมเปญรณรงค์ให้ความรู้และช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจด้วย AED

การตลาด เพื่อสังคม หรือ Social Marketing : คือกลยุทธ์ที่เน้นทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตัวเองค่ะ เช่นสร้างความรู้ แรงจูงใจ หรือการรณรงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้คนในสังคม มากกว่าการขายสินค้า ที่เน้นจำนวน กำไร กลยุทธ์นี้มักสร้างอิมแพ็คด้านความรู้สึก การจดจำ และส่งผลให้เกิดคุณค่าต่อสินค้าในระยะยาว 

เหตุผลที่ฟิลลิปส์ใช้กลยุทธ์นี้ทำการตลาด เพราะฟิลิปส์ ไม่สามารถขายสินค้าให้กับผู้บริโภคได้เองโดยตรง เพราะเครื่องมือการแพทย์คือสิ่งที่อยู่ในโรงพยาบาล และอุปกรณ์ด้านการแพทย์ก็เป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ด้วยเหตุผลนี้การทำการตลาดให้ผู้บริโภครู้จักเครื่อง AED มากขึ้น และจดจำ Philips ถึงความเป็นสินค้าที่ใกล้ตัวขึ้น เมื่อลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ด้านสุขภาพ ก็จะต้องนึกถึงแบรนด์ Philips นั่นเองค่ะ 

การตลาด Philips เลือกใช้ World Heart Day เพื่อให้ความรู้ และการใช้เครื่อง AED แฝงขายโลโก้ของแบรนด์แบบเนียน ๆ

จากกลยุทธ์ Social Marketing ที่ Philips นำมาทำ CSR ได้วางเอาไว้จึงทำให้ใช้กระแสของวันหัวใจโลกหรือ World Heart Day ที่ถูกจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน ของทุกปี ใช้เป็นตัวสร้างกระแสให้ผู้คนสนใจ และอีกนัยหนึ่ง Philips ก็มีเครื่อง AED เป็นสินค้าที่ขายภายใต้แบรนด์ Philips ด้วยเช่นกัน เป็นการทำการตลาดที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม โดยมีโลโก้ของแบรนด์สินค้าที่ติดไปแบบเนียน ๆ เพื่อสร้างความจดจำให้กับลูกค้าอีกด้วยค่ะ

  • การให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจหยุดเต้นและหัวใจกำเริบที่คนไทยมักสับสน
  • การให้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับโรคหัวใจที่คนไทยควรรู้
  • การให้ความรู้เรื่องการช่วยเหลือผู้มีอาการโรคหัวใจ 
  • การสอนทำ CPR และการใช้เครื่อง AED

และอีกเหตุผลหนึ่งที่ Philips เลือกเล่นแคมเปญกับโรคหัวใจ คือการเกาะกระแสโรคหัวใจเพื่อเป็นกระแสที่คนทั้งโลกให้ความสนใจดพราะเป็นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลกถึง 17 ล้านคนต่อปี และมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น เรื่องๆด้วยค่ะ และถือเป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพของคนไทยอีกด้วยนะคะ

การตลาด Philips

6 ทริคที่ Philips ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจ และการช่วยเหลือด้วย AED

1. ให้ความรู้ด้านการแยกความแตกต่างระหว่างภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (SCA) และภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลัน(Heart Attack) ที่คนไทยมักเข้าใจผิด

1.1 ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานอย่างกระทันหันด้วยความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจ 

อาการของโรคนี้ สามารถเกิดได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ล่วงหน้าเลย และเมื่อเกิดแล้วจะทำให้มีอาการหมดสติภายในไม่กี่วินาที และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยค่ะ

จำเป็นต้องได้รับการช่วยชีวิตด้วยการ CPR และใช้เครื่อง AED 

มักพบบ่อยในผู้ใหญ่วัยกลางคน อายุระหว่าง 30-40 ปี และมักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า

1.2 ภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (Heart Attack) คือ ภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เช่น 

  • อาการเจ็บหน้าอก 
  • เหงื่อออกเยอะ 
  • ใจสั่น หายใจสั่น 
  • รู้สึกหายใจไม่อิ่ม 

เพราะการเกิดภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลันอาจนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ 

2. ให้ความรู้สำหรับผู้ที่เสี่ยงและสาเหตุการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

คนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเฉลี่ยปีละกว่า 54,000 คน หรือประมาณ 6 คนต่อหนึ่งชั่วโมง

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ

  •  ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด หรือในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี 
  •  ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นจาก โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูงหรือการสูบบุหรี่จัด
  • พบได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ การออกกำลังกายหนักเกินไป การตกใจหรือพบเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่รวมทั้งอาจเกิดจากการได้รับยาเกินขนาดหรือแพ้ยา

 จะเห็นได้ว่าภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และกับทุกคน

3. ให้ความรู้เรื่องการช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ด้วยเครื่อง AED 

ปัญหาที่มักพบในคนไทยตอนนี้ คือยังไม่มีความรู้ และไม่รู้วิธีการใช้ เครื่อง AED ถึงแม้จะเริ่มมีการติดตั้งมือตามสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็จะไม่มีประโยชน์เลยหากไม่รู้จักวิธีใช้ โดยเราจะพบเจ้าเครื่องนี้ได้จาก

  • สนามบิน 
  • โรงเรียน
  • สนามกีฬา 
  • สถานีรถไฟฟ้า
  • ห้างสรรพสินค้า

ดังนั้น Philips จึงให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนรู้วิธีการใช้สำหรับให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

4. ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

การช่วยชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ แบ่งไว้ 6 ขั้นตอน ดังนี้

4.1 ประเมินสถานการณ์ และแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินให้เร็วที่สุด (Activation of Emergency Response) หากพบผู้ป่วยหมดสติ หัวใจหยุดเต้น โทรแจ้งที่เบอร์ 1669 และโดยแจ้งอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ ณ ตอนนั้น โดยหากเป็นไปได้ควรระบุเพศและอายุโดยคร่าวๆ ของผู้ป่วยให้ผู้ประเมินสถานการณ์ทราบ

4.2 ทำ CPR อย่างถูกต้องและทันเวลา (High Quality CPR) โดยความสำคัญของการทำ CPR การทำ CPR อย่างถูกวิธีสามารถช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต (Survival Rate) ได้ถึง 3 เท่า โดยการทำ CPR จะมีขั้นตอนคือ

  • เรียกผู้ป่วยว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือมีการตอบสนองหรือไม่
  • หากผู้ให้การช่วยเหลือรู้วิธีการคลำชีพจรให้คลำชีพจรเพื่อตรวจสอบ และหากไม่พบชีพจรให้เริ่มทำการกดหน้าอกผู้ป่วยบริเวณตรงกลางซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของกระดูกหน้าอก 
  • โดยให้กดที่ตำแหน่งครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก ใช้สันมือหนึ่งข้างในการกดพร้อมกับใช้มืออีกข้างหนึ่งล็อคมือที่ใช้กดหน้าอกไว้ กดหน้าอกให้ลึกลงไปประมาณ 2 นิ้ว และควรระวังไม่ให้ลึกเกิน 2.4 นิ้ว 
  • พยายามกดให้แรงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกระตุ้นหัวใจ โดยใช้ความเร็วในการกดหน้าอกที่ 100-120 ครั้งต่อนาที

4.3 ใช้เครื่อง AED ระหว่างรอให้หน่วยกู้ชีพฉุกเฉินเดินทางมาถึง

4.4 ได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced Resuscitation)

4.5 การดูแลหลังภาวะหัวใจหยุดเต้น (Post-Cardiac Arrest Care)

4.6 การดูแลพักฟื้นและติดตามอาการ (Recovery)

จะสังเกตได้ว่าในข้อที่ 4.1- 4.3 คือสิ่งที่คนประชาชนทั่วไปสามารถทำได้ เพื่อช่วยชีวิตผู้ที่มีอาการโรคหัวใจค่ะ นี่คือสิ่งที่ Philips นำมาขยายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้กับประชาชน

การตลาด Philips

5. ความสำคัญของเครื่อง AED ต่อผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

จาก 6 ขั้นตอนห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต (Chain of Survival) จะเห็นได้ว่าในการช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นในขั้นเบื้องต้น จำเป็นต้องใช้เครื่อง AED ร่วมกับการทำ CPR ภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยได้ถึง 45%

6. วิธีการใช้เครื่อง AED เบื้องต้น

  • กดเปิดเครื่อง AED 
  • ฟังตามคำแนะนำของเครื่องในแต่ละขั้นตอน 
  • ถอดเสื้อผู้ป่วย นำแผ่นแพด (Pad) ในเครื่องติดบริเวณหน้าอกผู้ป่วยตามตำแหน่งที่เครื่องแนะนำ โดยติดให้แนบสนิท และต้องแน่ใจว่าหน้าอกผู้ป่วยแห้ง ไม่เปียกน้ำ
  • เครื่อง AED จะทำการประเมินจังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่าจำเป็นต้องทำการช็อตหัวใจหรือไม่ 
  • หากต้องทำการช็อตเครื่องจะสั่งการให้ผู้ช่วยเหลือทำการกดปุ่มช็อตหัวใจ ซึ่งระหว่างกดปุ่มช็อตห้ามโดนตัวผู้ป่วยเด็ดขาด 

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ลิงก์นี้ได้เลยค่ะ https://thaicpr.org/?mod=course

การตลาด Social Marketing สร้างความใกล้ชิดของ Philips กับผู้บริโภคอย่างแท้จริง และยั่งยืน

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับ การตลาด เพื่อสังคมของ Philips ที่ผู้เขียนหยิบขึ้นเพื่อหวังเป็นเคส Study ที่ดีสำหรับธุรกิจที่สร้างความใกล้ชิดระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค แบบขายความรู้สึกดี ๆ ให้กับลูกค้ามากกว่าการขายประสิทธิภาพของสินค้า การทำการตลาดรูปแบบนี้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ในสายตาของผู้บริโภค ในฐานะผู้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม และสำหรับใครที่ทำธุรกิจเช่น โรงงาน หรือแบรนด์ที่ขายสินค้าให้กับธุรกิจที่เป็น B2B ต่าง ๆ สามารถนำการทำการตลาด Social Marketing ไปสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความใกล้ชิดระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค และการทำการตลาดทุกครั้งควรต้องพยายามทำให้สินค้าและแคมเปญลิงก์กันด้วยนะคะ เพื่อการสร้างความจดจำให้กับสินค้า สำหรับบทความนี้ต้องลาไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ

https://www.everydaymarketing.co/category/knowledge/

อัพเดทข่าวสาร เพื่อติดปีกให้คุณเป็นนักการตลาดที่ไม่ OUT !!!  อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม คลิกที่ลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ เพจการตลาดวันละตอน เว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit

Chulee.

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และสื่อสารการตลาด / นักเขียนบทความการตลาด ชอบงานศิลปะ งานครีเอท ไอเดีย เจ๋ง ๆ จึ้ง ๆ! น้องใหม่ทีมการตลาดวันละตอน ฝากผลงานด้วยนะคะ :) ♥รักเวลา... เวลามีค่ามากที่สุด⏰

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *