Pains insight for business คนบ่นปวดหัว-ปวดไมเกรน ทะลุ 1 ล้านทวีต 

Pains insight for business คนบ่นปวดหัว-ปวดไมเกรน ทะลุ 1 ล้านทวีต 

อยากแนะนำให้นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจ อัปเดต Trend & Insight เพื่อหา Pain ที่แปลได้ทั้งความเจ็บป่วย หรือ Pain point ของลูกค้า ปั้นเป็น Opportunity ให้แก่แบรนด์ค่ะ ซึ่งตอนนี้ insight ปวดหัว มาแรงที่สุด

เหตุผลที่ควรอ่านบทความนี้ให้จบคือนักการตลาดจะได้วิธีหาไอเดียการผลิตหรือปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะขาดการวิเคราะห์คนซื้อไปไม่ได้ หลับหูหลับตาทำการตลาดอย่างเดียวไม่ได้เด็ดขาดเลยค่ะ

ซึ่งบทความนี้นุ่นอ้างอิงจากรายงานของ Brandwatch Consumer Research ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงเกิดโรคระบาดค่ะ มาดูกันว่า Pains insight หรือความเจ็บปวดทางร่างกายจุดไหนบ้าง ที่คนโพสต์บ่นในแพลตฟอร์ม Social Media สาธารณะ

เพื่อที่จะนักการตลาดจะได้มีไอเดียเลือกสินค้าขึ้นมาโปรโมต หรือเจ้าของธุรกิจนำไปต่อยอดเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้า แม่ค้าออนไลน์ตัวแทนจำหน่าย จะได้เลือกสินค้ามาขายต่อ​สร้างรายได้ โดยมีข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้เป็นไกด์เริ่มต้นค่ะ

ภาพรวมข้อมูลย้อนหลัง 2019 – 2022

อ้างอิงจากเครื่องมือของ Brandwatch ที่เก็บจากแพลตฟอร์ม Twitter และ Reddit ซึ่งเป็นพื้นที่ระบาย บ่น และเก็บ insight ได้ดีที่สุดหากเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น เล่าจากประสบการณ์ที่นุ่นมีโอกาสทำรีเสิร์จด้านการขุดขุ้ย insight มา 2-3 ปีในหลาก หลายอุตสาหกรรม 

ปัจจุบันคนเราใช้ Twitter เป็นพื้นที่เล่าเรื่องหรือทวีตบ่นเรื่องที่แชร์บน Facebook ไม่ได้อยู่มากเลยค่ะ แม้จะลงน้ำหนักไปที่ Gen Z แต่ก็เชื่อว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายของหลายแบรนด์ เหมาะแก่การนำมาต่อยอดในรีเสิร์จรูปแบบอื่น ๆ อย่างมาก 

โดยกราฟด้านบนแสดงผลแบบกรอง Retweet ที่เป็น over engagement ออกไป ซึ่งเป็นวิธีลดระดับ Data Bias ได้ จนพบว่าช่วงเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายนปี 2022 ลดลง 10% เมื่อเทียบกับปี 2020 

อย่างไรก็ตามปี 2022 มีการบ่นปวดตรงนู่นตรงนี่สูงกว่าปี 2019 ถึง 23% ค่ะ 

อยากทราบแล้วใช่ไหมคะ ว่าข้อมูลภาพรวมเนี่ยมันมาจากโพสต์ที่บ่นปวดตรงไหนบ้าง ทางแหล่งอ้างอิงได้ปัก Topic จุดปวดไว้ดังนี้ :

  • ศีรษะ
  • หลัง
  • คอ
  • ดวงตา
  • เข่า
  • ข้อมือ
  • สะโพก

มาดูกันว่าแต่ละจุดจะมีสถิติเท่าไหร่บ้างกันค่ะ

คนบ่นปวดหัว-ปวดไมเกรน สูงสุดทะลุ 1 ล้านทวีต 

จากสถิติ insight ปวดหัว ทำให้รู้ว่าเรื่องปวดหัวไม่เข้าใครออกใครจริง ๆ ค่ะ บริบทน่าจะไม่ใช่แค่ความรู้สึกปวดหัว ปวดไมเกรนเท่านั้น แต่เป็นการบ่น ที่หมายถึงยุ่งยากจนหัวจะระเบิด หรืออื่น ๆ ก็ได้เช่นกันค่ะ ถือว่าไม่แปลกใจเท่าไหร่

ถ้าใครกำลังขายสินค้าหรือบริการเกี่ยวกับ Wellness แนะนำให้ดันแพ็กเกจแก้มึนหัว ปวดไมเกรนมาเป็นอันดับ 1 ได้เลย insight ปวดหัว ของคนไทยแม้ไม่ได้ปวดหัวทางกายแบบจัง ๆ แต่แค่รู้สึกเครียดอยากผ่อนคลาย เอาแพ็กเกจนวดหนังศรีษะไปเสนอ เป็นต้นค่ะ 

หรือถ้าเป็นธุรกิจเสริมความงาม ซาลอน รีบเทรนพนักงานให้มีบริการนวดศรีษะเพื่อมัดใจลูกค้ากันนะคะ 

เปรียบเทียบสถิติของปี 2021 vs 2022

หากต้องการเจาะลึกลงไปอีก ลองเปรียบเทียบตัวเลขของปี 2021 กับปี 2022

ใช่ค่ะอาการปวดหัวเป็นอันดับ 1 แต่มองเทียบกับปี 2021 แล้วพบว่าลดลง 11% แต่ยังเป็น TOP Pain เลยยังน่าสนใจที่สุดอยู่นะคะ อีกมุมคืออาการปวดบริเวณสะโพก ที่เพิ่มขึ้น 3% ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสรองจากปวดหัวเลย 

บริเวณอื่น ๆ ที่นุ่นยังไม่ได้พูดถึงอย่างหัวเข่าหรือหลัง ก็อยากให้ธุรกิจ Wellness & Health หรือแม้กระทั่งโต๊ะเก้าอี้ทำงาน ยังคงนำไปเป็นจุดเข้าชาร์จ Pain ของลูกค้าอยู่ แต่มีข้อควรระวังคือไม่ให้คอนเทนต์มีความ trigger มากจนเกินไป แค่สกิดให้ฉุกคิดว่ามีอาการปวดตามจุดเหล่านี้อยู่หรือเปล่า แล้วค่อยเสนอขายสินค้าที่จะช่วยแบ่งเบาอาการ หรือรักษาการปวดบริเวณนั้นได้ เป็นต้นค่ะ

แนะนำสำหรับผู้อ่าน

นุ่นมีบทความเพิ่มเติมที่อยากให้อ่านต่อค่ะ

คือบทความที่นุ่นเคยเขียนไว้แล้วเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ธุรกิจนวดสปา เพราะจะเป็นไกด์ให้ทุกคนเห็นว่าเราจะขุด Insight Data ต่อได้อย่างไรบ้าง ให้หัวข้อคล้ายกันนี้ค่ะ

จะมีรายละเอียดถ้าอยากดูข้อมูลจากบริบทฝั่งลูกค้า จะเลือกใช้คำแบบไหน เลยลองดู Social Data จากโพสต์ที่บ่นปวด บ่นเมื่อย หรืออยากไปนวด อยากไปสปาค่ะ 

และอีกมิติคือมุมมองแบรนด์คู่แข่งค่ะ ด้วยคีย์เวิร์ดที่ส่วนใหญ่อาจโพสต์โดยร้านนวด เพราะเป็นชื่อของบริการต่าง ๆ ให้เรารู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร และใครกำลังทำได้ดี ใครทำบริการแบบไหนแล้วคนไม่ชอบ เป็นต้นค่ะ

นอกจากนี้ อยากแนะนำให้นักการตลาดดูเรื่อง Time Engagement Peak ของลูกค้าเรา คนบ่นปวดนั่นนี่เวลาไหน เป็นเวลาที่ธุรกิจนวดสปาโพสต์คอนเทนต์กันไหมนะ ? ถ้ายังโพสต์ช่วงเช้าเท่านั้นล่ะก็ นุ่นแนะนะให้แบ่งมาเน้นหลังเวลาพีคดูบ้าง ตามที่เครื่องมือสามารถวิเคราะห์ออกมาเบื้องต้นได้ ไม่แน่ว่าสถิติหลังบ้านของคุณจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นนะคะ

เบื้องต้นนุ่นหวังว่าข้อมูล Pains insight for business จาก Brandwatch จะช่วยนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจมองเห็น Opportunity จากพ้อยเหล่านี้นำไปต่อยอดเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้า แม่ค้าออนไลน์ตัวแทนจำหน่าย จะได้เลือกสินค้ามาขายต่อ​สร้างรายได้ต่อไป โดยเริ่มต้นที่อาการปวดหัว เพราะ insight ปวดหัว ของคนไทยสื่อให้เห็นว่ากำลังต้องการบริการหรือสินค้าที่ช่วยคลายเครียดเน้นบริเวณหนังศรีษะก่อนได้ทันที ^^

สุดท้ายยังคงแนะนำให้ธุรกิจด้าน Health เริ่มศึกษาหรือหาทรัพยากรมาใช้ Social listening เพื่อช่วยหา pains point ประกอบกันเพื่อวางแผนกลยุทธ์ ปรับปรุงให้ธุรกิจโตขึ้นไม่หลุดเทรนด์กันค่ะ

และถ้านักการตลาดอยากอ่านบทความวิเคราะห์ผ่าน Social Listening เพิ่มเติม สามารถกดที่นี่ ได้เลยนะคะ เรามีอีกหลายเคสตัวอย่าง ที่อยากให้ลองศึกษาดูค่ะ ตั้งใจเขียนทุกบทความเลยจริง ๆ

แล้วพบกันในบทความหน้าค่ะ

source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *