Trade-off Slider ตัวช่วยในการกำหนด สิ่งสำคัญของ Project เพราะถูก เร็ว ดี ไม่มีในโลก

Trade-off Slider ตัวช่วยในการกำหนด สิ่งสำคัญของ Project เพราะถูก เร็ว ดี ไม่มีในโลก

Trade-off slider คืออะไร ก่อนจะไปตรงนั้นอยากเล่าเรื่องอะไรให้ฟังก่อนครับ

ที่ร้านอาหารตามสั่ง เจ้าของร้านมีเมนูหลายอย่างให้เราเลือกสั่ง แต่ละเมนูก็จะมีราคาไว้หมดแล้ว เมนูฮิตคือข้าวกะเพรา

ข้าวกะเพรา หมู/ไก่/ทะเล ราคา 50 บาท

ด้วยราคาที่เท่ากัน ถ้าคนสั่งกะเพราหมู ไก่ ก็จะได้ เนื้อสัตว์ที่เยอะ แต่ถ้าคุณสั่งทะเลคุณก็จะได้ เนื้อสัตว์ที่น้อยลง เป็นตามไปกลไกราคาของของแต่ละอย่างที่เอามาผลิต คุณไม่สามารถที่ได้จ่ายราคา 50 บาท แล้วจะได้ กะเพราทะเลที่ปริมาณเท่ากันกับ กะเพราหมูเลย

ดังนั้นบางร้าน จึงตั้งราคาใหม่

ข้าวกะเพรา หมู/ไก่/ทะเล ราคา 50 บาท

ข้าวกะเพรา ทะเล ราคา 70 บาท

ข้าวกะเพราคั่วโบราณ หมู ราคา 80 บาท (เมนูนี้รอนานนะ เพราะใช้เวลาคั่วนานหน่อย)

เห็นไหมครับว่า ถ้ามองว่าเราต้องการปริมาณที่เท่ากัน ราคาของของข้าวกะเพราแต่ละแบบ ก็จะแตกต่างกันไป หรือ มีบางเมนูต้องใช้เวลาในการทำนานกว่าเมนูอื่นด้วย

พอเห็นภาพแบบนี้ คนสั่งก็จะเลือกได้ว่า เค้าอยากทานแบบไหน และถ้าเค้ามีเวลารออีกหน่อย เค้าอาจจะเลือกทานแบบที่ใช้เวลาทำนานได้

เพราะ กะเพราหนึ่งจาน มีของที่คุณอยากได้ทุกอย่าง ในราคาเดิม และเวลาจำกัด ไม่ได้

ที่สำคัญ! คุณว่าอะไรนะที่สำคัญที่สุดในกะเพราหนึ่งจาน …

คุณภาพความอร่อยที่คงที่ต่างหากที่คุณต้องการมากที่สุดใช่ไหมครับ

Project ที่ทันเวลา, ราคาถูก, ได้ของครบ, และคุณภาพดี จะเอาหมดได้ปะ

เรื่องกะเพราที่เล่ามาก็ไม่ต่างอะไรกับ เวลาเราทำ Product หนึ่งอย่าง แล้วเราอยากได้ Project ที่ทันเวลา, ราคาถูก, ได้ของครบ, และคุณภาพดี มันเป็นไปไม่ได้แน่ๆนะครับ

เวลาเราพูดถึง Project เรามักจะมีแกนหลักสำคัญที่เราต้องคำนึงคือ

  • Scope: ทำได้ตรงตาม Requirement ไหมนะ
  • Cost: ใช้เงินได้ตรงตามที่กำหนดไหมนะ
  • Timeline: ส่งมอบได้ทันเวลาไหมนะ
  • Quality: ต้องมีคุณภาพนะ ไม่มีปัญหาอะไร

และในฐานะเจ้าของ Project หรือ คนออกเงิน เรามักที่จะต้องการให้ทุกสิ่งคงที่ ห้ามปรับเปลียน เป็นสามเหลี่ยมที่มั่นคงอยู่ตลอดเวลา แต่อยากให้ลองนึกถึง Proejct ที่เคยทำ เคยได้ยิน มาในชีวิตจริงดูนะครับ ว่า….. เคยมีไหมนะ ที่มันเป็นได้อย่างนี้

จากตัวอย่างเรื่องกะเพรา จะเห็นได้ว่า เม้นแต่ กะเพราหนึ่งจาน เรายังไม่สามารถได้ของทุกอย่างอย่างที่เราต้องการได้เลยใช่ไหมครับ มันต้องมีการเลือกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราคิดว่าสำคัญที่สุด และ ต้องมีสิ่งอื่นตามมา และสิ่งที่เรายอมให้มันไม่มีไม่ได้เลยคือ คุณภาพของรสชาติ

ถูกและดีไม่มีในโลก

ไม่ต่างอะไรกับ Project ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น Product, Service, Application or Etc.

Quality ควรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราควรจะนึกถึงใช่ไหมครับ

ลองคิดถึง Product หนึ่งที่มี Requirement ครบถ้วน ใช้ Cost ตามที่กำหนด และทำได้ตามเวลาอีก แต่มันไม่มีคนใช้งานเลยครับ อาจเป็นเพราะมันมี Bug เยอะมากกกกก หรือบางทีมันอาจไม่ตอบโจทย์อะไรผู้ใช้งานเลยก็เป็นได้

5 Reasons for New Product Failure in Your Organization
ยิงไปไม่เข้าเป้า เหมือน Product ที่ไม่ตอบโจทย์

Trade-Off Slider

เวลาเราเริ่มทำ Product หรือ Project เราต้องมีการเอาคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาคุยกันใช่ไหมครับ CEO, Sponsor, Project Manager, Marketing, Technial IT and etc. เราก็มาคุยกันครับ ว่าสำหรับ Product หรือ Project ตัวนี้ มันอะไรที่สำคัญที่เราต้องควบคุม

List ทั้งหมดออกมา โดยปรกติแล้วก็จะมีเรื่องหลักๆ เกี่ยงกับ Project เช่น

  • Requirement (Scope)
  • Timeline
  • Cost
  • Quality
  • User Experience
  • Security

อยู่ที่ Product ของคุณมีเรื่องอะไรที่ต้องเกี่ยวข้องบ้าง มีเรื่องไหนที่เป็นสิ่งที่คัญที่ต้องนึกถึงของ Project แต่อย่าให้เยอะเกินไปนัก ดูจากรูปตัวอย่างด้านล่าง

รูปตัวอย่าง Trade-off sliders

หลังจากนั้นก็ให้ทุกคนร่วมกันตัดสินใจ แชร์ข้อมูลความสำคัญของแต่ละหัวข้อเพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน และทำการตัดสินใจว่าสิ่งไหนสำคัญมากยอมลดไม่ได้ สิ่งใดที่สำคัญน้องลงมากพอจะต่อรองเจรจาลดลงได้ การร่วมกันตัดสินใจ จะทำได้โดย การโหวด หรือจะเป็นการให้ คนจ่ายตังค์ คนที่ใหญ่ที่สุด มาตัดสินใจ เป็น Final Decision ก็ได้

เมื่อเรามี Trade-Off Slider แล้ว เราก็จะได้มีข้อตกลงร่วมกันว่าสำหรับ Project ของเราว่าสิ่งไหนที่สำคัญสุดลดไม่ได้ ยอมให้ไม่มีไม่ได้ และ สิ่งใดสำคัญลำดับต่อๆมา

Trade-off Sliders จะเป็นเหมือนหลักยึดเวลาเราทำ Project ครั้บ ดูว่าเราจะให้ความสำคัญสิ่งใดบ้าง เวลาเราพูดถึง Requirement ต่างๆ ของของ Product จะได้เข้าใจตรงกันว่าพวกเราตกลงกันแล้วนะว่าใน Product นี้ อะไรสำคัญที่สุด อะไรสำคัญรองลงมา หรือ เวลาเรามีการทำ Project progress update แล้วเกิดปัญหาอะไรสักอย่าง เราจะได้มีสิ่งนี้เอามาดูได้ว่าเราตกลงกันไว้อย่างไร เช่น เกิดปัญหา ล่าช้า ไม่ตรงตามกำหนด เราก็มาดูว่า ถ้า Project เรา ตกลงกันไว้ว่า สำคัญสุดของเราคือเรื่องของ User Experience ส่วนเรื่องของ Timline เป็นอันดับที่สอง เราก็จะได้มาคุยกันว่า ที่เราข้าเพราะเราต้องใช้เวลาในการทำ User Research มาขึ้น เนื่องจากมีอะไรบ้าง ดังนี้แล้ว ทำให้เราไม่ต้องถกเถียงกันไปมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และหากว่าทีมเห็นตรงกันว่าเราต้องมีการปรับลำดับความสำคัญของ Trade-off Slider ก็สามารถตกลงและปรับเปลี่ยนได้ตามสถาณการณ์

ตัวอย่างการนำไปใช้จริง

ข้อควรระวัง

  • ลำดับควรลดหลั่นกัน ไม่ควรที่จะอยู่ในลำดับเดียวกัน เพราะเราไม่สามารถให้ความสำคัญกับทุกอย่างได้
  • ควรมีคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกด้านเข้าร่วม เพื่อไม่ให้มีความโน้มเอียงในการตัดสินใจ
  • ระวังคนที่มีอำนาจสูงสุดแบบไม่ฟังใครมาเป็นคนตัดสินใจ ถ้าต้องมีแบบนั้นจริงๆ ก็ต้องมีการพูดคุยเหตุผลด้วยว่าในมุมคนที่อำนาจสูงสุดทำไมถึงตัดสินใจแบบนั้น และเค้ายอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแล้ว
  • Trade-off Slider ปรับเปลี่ยนได้ ถ้าทุกคนเห็นตรงกันว่ามันต้องเปลี่ยนจริงๆ

สุดท้ายนี้ Product ที่ดีควรเป็น Product ที่คำนึงถึงลูกค้าและมีคุณภาพ เหมือน กะเพราที่ดีควรจะมีคุณภาพของรสชาติที่ดีโดยนึกถึงคนทานเป็นหลักนะครับ

Minimum Loveable Product (MLP) vs. Minimum Marketable Product (MMP) vs.  Minimum Viable Product (MVP)
Love and Like product

อ่านบทความชุด Service Design ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/tag/service-design/

Tirasak W. (Warm)

Lead Agility Transformation (Digital Transformation) Journey from ITSupport to PM jump into Agile world. The SM/Agile Coach who passionate on Agile, Digital Transformation ,Service Design, UX and People. Teaching and Consult about Agile, Digital Transformation, Scrum, Service Design, Customer Journey, UX, Design Thinking and Etc.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *