สำหรับการทำ SEO หรือ การปรับปรุง เว็บไซต์ เพื่อให้ติดอันดับหน้าแรกในการค้นหานั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นแบรนด์ใหญ่ถึงจะทำแล้วได้ผลดี แต่ ธุรกิจ Ecommerce ก็สามารถทำได้เช่นกัน
โดยปกติแล้วหลักการทั่วไปในการ ทำ SEO สำหรับเว็บไซต์ในธุรกิจ แต่ละประเภทนั้นหลักใหญ่ ใจความไม่ได้แตกต่างกันมากนัก มีเพียงรายละเอียด เล็กๆ น้อย ๆ เท่านั้นที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละธุรกิจ เท่านั้น
วันนี้การตลาดวัน ละ ตอน ก็เลยมีคู่มือที่เอาไว้เป็นเช็กลิสต์ในการทำ On-Page SEO สำหรับ ธุรกิจ Ecommerce มาฝากกัน ค่ะ
On-Page SEO คือะไร? การทำ On-Page SEO นั้นก็คือ การปรับแต่ง เนื้อหา บนเว็บไซต์ ของเราให้เหมาะสมกับทั้ง ผู้ ที่เข้ามาใช้งาน รวมถึงตัว Search Engine ด้วย เรียกได้ว่าเป็น ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ในการทำ SEO เลยก็ว่าได้นะคะ เพราะมันจะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่าเว็บไซต์ ของเรามีเนื้อหาเกี่ยว ข้องกับอะไร เป็น ธุรกิจ ประเภท ไหน มีสินค้าและบริการอะไรบ้างนั่นเองค่ะ
เริ่มต้นด้วยการเลือก Keyword ก่อนจะเริ่มลงมือทำ On-Page SEO นั้น อย่างแรกที่เราต้องใส่ใจ ก็คือการเลือก Keyword ยิ่งโดยเฉพาะ กับธุรกิจ ด้วยแล้ว โดยเราควรเลือก Keyword ที่เหมาะสมกับธุรกิจ สินค้า และบริการของเรา เพราะนี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ SEO เลยค่ะ กระซิบบอกตรงนี้ว่าถ้าเลือก Keyword ผิด ชีวิตเปลี่ยน ทำอันดับยากแน่นอน
ซึ่ง Keyword ที่ดีนั้นแย่างที่ย้ำไปทุกครั้งเลยก็คือ นอกจากจะต้องเป็น Keyword ที่มีความเกี่ยวข้องแล้วกับสิ่งที่เราขายแล้ว ยังต้องเป็น Keyword ที่ปริมาณ การค้นหาพอสมควรด้วย เพราะยิ่งมีปริมาณ การค้นหา ที่มากพอ ก็ย่อมหมายถึง โอกาสที่จะมี Traffic เข้ามามากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
สำหรับเรื่องความยากง่ายในการเลือก Keyword มาใช้ในการทำอันดับ ช่วงแรกนั้น แบมแนะนำว่าควรเลือกจาก Keyword ที่สามารถ ทำอันดับได้ง่ายก่อน เมื่อ Keyword นั้นต ิดอันดับแล้วค่อยเลือก Keyword ที่ทำอันดับได้ยากกว่าขึ้นมาตามลำดับ
สำหรับใครที่กำลังสงสัย ว่าแล้วจะมีหลักการในการเลือก Keyword อย่างไร บ้าง ปบมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมในบทความ SEO Keyword Strategy ใช้คำไหนดี ถึงจะเพิ่ม Ranking ได้
21 เช็กลิสต์ ใน การ ทำ On-Page SEO สำหรับ ธุรกิจ Ecommerce เมื่อ Keyword พร้อม เว็บไซต์พร้อมแล้ว เราก็เริ่มต้นทำ On-Page SEO กันเลยค่ะ
มาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะว่าถ้าธุรกิจ Ecommerce จะทำ On-Page SEO นั้นจะต้องประกอบด้วยส่วนไหนบ้าง
1.Trust signals เรื่องของความน่าเชื่อถือ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการขายสินค้าในโลกออนไลน์ เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำให้ลูกค้าเชื่อใจและมั่นใจได้ว่าดรามีตัวตนอยู่จริง โดยการใส่ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทของคุณ เช่น เครดิตการ์ดรักษาความปลอดภัย เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ หรือรายละเอียดการส่งของ เป็นต้น
2.HTTPS HTTPS นั้นถือเป็นมาตรฐานสำหรับทุกเว็บไซต์ และแน่นอน ว่า เป็น เรื่องที่จำเป็นสำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า URL ทั้งหมดถูกให้บริการผ่าน Protocal HTTPS
3.Category Breadcrumb จัดลำดับ Breadcrumbs หรือลำดับตำแหน่ง ของหน้าเว็บไซต์ ในโครงสร้างเว็บให้เป็น หมวดหมู่ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสินค้าต่างๆได้ง่ายขึ้น
4.Customer reviews การใส่ความคิดเห็น หรือรีวิวจากลูกค้าที่เคยซื้อ หรือเคยใช้งาน บริการของคุณ นั้นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าใหม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้ล ูกค้ามั่นใจในประสิทธิภาพ ของสินค้าเรามากขึ้น และมั่นใจได้ว่าเรามีตัวตนจริงๆ
5.Product videos ปัจจุบัน อย่างที่เรารู้กันดีว่าคนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ มากขึ้น ดังนั้น ลองจัดทำวิดีโอให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของคุณ ซึ่งอาจจะเป็น เนื้อหาเกี่ยวกับ รายละเอียดของสอนค้าและบริการ จุดเด่น ฟังก์ชันต่างๆ หรือวิธีการใช้งาน เป็นต้น
6.Search options สร้างช่องการค้นหาให้มีรูปแบบและตำแหน่งที่ชัดเจน ให้ผู้ใช้งานสังเกต ได้ง่าย เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญควรตรวจสอบผลลัพธ์ และความถูกต้องของการใช้งานในการค้นหาด้วยว่าเมื่อค้นหาแล้วจะพาเราไปสู่ลิงก์ที่ลูกต้อง
7.Clear call to action ข้อนี้สำคัญ มาก มากสำหรับเว็บไซต์ Ecommerce เราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าปุ่ม Call to Action ต่างๆ เช่น ปุ่ม Buy หรือสมัคร สมาชิก นั้นมีความชัดเจน มีขนาดใหญ่ สะดุดตา และง่ายต่อการคลิกโดยเฉพาะบนมือถือและที่ สำคัญ ควรใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อบันทึกพฤติกรรมของลูกค้าในหน้านั้นๆ ด้วย
8.Microdata and Schema Microdata นั้นเป็นการบอก Seach Engine ให้เข้าใจได้ว่าข้อมูลชุดนี้ว่าหมายถึงอะไร ส่วน Schema นั้นก็มีวัตถุประสงค์ เหมือน Microdata คือมีไว้เพื่อให้ Search Engine เข้าใจว่า ข้อมูลในหน้านั้นๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แต่แตกต่าง กัน ตรงที่เว็บไซต์ที่มีการใช้ Schema เวลาเราค้นหา ใน Search Engine จะมีข้อมูล ที่เกี่ยวข้องแสดงพ่วงมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราค้นหาสินค้า อะไร สัก อย่าง ถ้าสังเกตดีๆ จะมีราคา หรือวิธีการ ใช้ งาน เพิ่มเข้ามาด้วย เป็น ต้น
9.Q&A Content Q&A Content เป็นเนื้อหาอีกประเภท หนึ่ง ที่ มีประโยชน์ ต่อลูกค้า เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากช่วยให้ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ มีข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจเรา แล้ว ช่วยให้ลูกค้าได้รับคำตอบบางอย่างที่เขาอยากรู้ได้เลยทันที และในส่วนของ SEO นั้น การทำคอนเทนต์ ประเภท นี้จะช่วยให้ Search Engine นำข้อมูลเหล่านี้ไปแสดงที่ผลลัพธ์ในหน้าการค้นห าได้ทันที อีกด้วย
10. Image รูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ ควรเป็นภาพที่ชัดเจน มีความคมชัด และมีคุณภาพสูง แต่ควรระวังไม่ให้ขนาดของภาพใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้เว็บไซต์ ช้าลงนั่นเอง
11.Product Description สำหรับเว็บไซต์ Ecommerce นั้นจำเป็นจะต้องใส่คำอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น use case, bullet Point summaries หรือข้อมูล ทางเทคนิค ที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจในตัวสินค้า มากขึ้น
12.Phone number การลงเบอร์โทร ศัพท์ นี่เป็นอีกสัญญาณความไว้วางใจอีกอย่างหนึ่ง เพราะการให้หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึง เวลาเปิดทำการที่ชัดเจน จะทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
13.Live chat ฟังก์ชัน Live chat นี้เป็นฟังก์ชัน สำหรับการตอบข้อสงสัย ลูกค้าแบบเรียลไทม์ สำหรับผู้ที่ไม่ชอบใช้โทรศัพท์
14.Address and company details ที่อยู่และรายละเอียดของบริษัท รวมถึงเลขทะเบียนบริษัทและเลขภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เพียงแต่จะช่วยแสดงให้เห็นว่าบริษัท ของ คุณเป็นธุรกิจที่มีตัว ตนถูกต้องตามกฎหมาย แต่ลูกค้า B2B บางรายก็อาจต้องการข้อมูล เหล่านี้ สำหรับการซื้อขายด้วยเช่นกัน
15.Page title รวมชื่อสินค้าและ USPs เช่น ส่งฟรีได้รับทันทีในวันถัดไป เพื่อดึงดูดการคลิกจากผลการค้นหา
16.META description
ในส่วน นี้ เปรียบ เหมือน กับการโฆษณา เว็บไซต์ ของเรา ดังนั้นในส่วนนนี้จึงควรมี รายละเอียด สินค้า และ บริการ และ USPs เพื่อดึงดูดความสนใจและเพิ่มโอกาสในการคลิเข้าเว็บ ไซต์
17.Page URL URL น ั้นเปรียบ เหมือนที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตของเว็บไซต์ ดังนั้นในส่วนนี้จึงควรเลือกใช้คำที่กระชับและบ่งบอกว่าหน้านี้นั้นพูดถึงเรื่องอะไร และทางที่ดีควรมี Keyword ประกอบ อยู่ ด้วย
เราควรเรียงลำดับ Header tags ให้ถูกต้อง คือใช้ H1 สำหรับชื่อผลิตภัณฑ์ และ H2+ ในหัวข้อย่อยๆ ที่มีความสำคัญ ลดหลั่นกันลงมา
เป็น ตัวช่วยในการโปรโมตเว็บไซต์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ลิงก์อิน กูเกิล และเว็บไซต์ต่างๆ ที่แชร์เว็บเพจนั้น
20.Responsiveness ตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์ประกอบสำคัญทั้งหมดของการโหลดหน้าเว็บของคุณถูกต้อง และสามารถตอบสนองได้รวดเร็วทั้งในเว็บไซต์ และบนโทรศัพท์มือถือ
รวมลิงก์ที่คล้ายกัน หรือสินค้ายอดนิยมที่มีความเกี่ยวข้อง กัน เพื่อช่วยลูกค้าเปรียบเทียบและตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ไหนดีที่สุดสำหรับพวกเขา
บทความนี้เป็นเหมือน คู่มือที่เป็นใบเบิกทาง แรกให้กับธุรกิจ Ecommerce ที่ต้องการทำ SEO ซึ่งแน่นอนว่ายังมีเทคนิคในส่วนอื่นๆ ที่จะช่วยให้การทำอันดับเว็บไซต์ ของ คุณ ดีขึ้น
ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ SEO แบมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลยค่ะ ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ