Insight 6 กลุ่มนักช้อปปิ้งออนไลน์ Digital Consumer ที่นักการตลาดไทยต้องรู้

Insight 6 กลุ่มนักช้อปปิ้งออนไลน์ Digital Consumer ที่นักการตลาดไทยต้องรู้

จากรีเสริชของ Facebook และ Bain Company ที่จัดทำขึ้นเพื่อให้นักการตลาดยุคใหม่ได้เข้าใจกลุ่มผู้บริโภคในยุคดิจิทัลที่มีความแตกต่างและหลากหลายสุดชั้ว และหนึ่งในสิ่งที่นักการตลาดยุคใหม่อยากรู้มากที่สุดก็คือ Digital Consumer หรือนักช้อปปิ้งออนไลน์จริงๆ นั้นแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม และแต่ละกลุ่มนั้นต่างกันอย่างไร ระหว่างกลุ่มที่ช้อปหนักมาก กับกลุ่มที่ช้อปน้อยมากนั้นมี Insight ที่ต่างกันตรงไหน วันนี้การตลาดวันละตอนขออาสาเรียบเรียงรายงานฉบับภาษาอังกฤษเดิมให้กลายเป็นภาษาไทยที่อ่านง่ายตามสไตล์เรา ถ้าพร้อมแล้วเราไปทำความรู้จัก Digital Consumer ทั้ง 6 กลุ่มที่นักการตลาดอย่างไรต้องรู้กันดีกว่าครับ

นักช้อปปิ้งออนไลน์สาย High Spenders

นักช้อป Top Spenders คือกลุ่มคนที่ใช้จ่ายบนออนไลน์มากกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไปถึง 1.6 เท่า ถ้าเป็นหมดสินค้าไลฟ์สไตล์จะช้อปออนไลน์มากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 1.2 เท่า

ในขณะเดียวกันกลุ่มนักช้อปทั่วไปที่เป็น Mid Spender หรือกลุ่มคนที่มองหาสินค้าที่มีความคุ้มค่ากับทุกบาทที่จ่ายไป ส่วนในกลุ่มที่ใช้จ่ายบนออนไลน์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หรือที่เรียกว่า Low Spenders ก็มักจะเป็นพวกที่เริ่มช้อปออนไลน์ได้ไม่นาน หรือจะเป็นกลุ่ม Gen Z วัยรุ่นที่ยังมีอายุน้อยเงินน้อย คนกลุ่มนี้จะใช้เงินกับการช้อปออนไลน์เป็นแค่เสี้ยวเดียวเมื่อเทียบกับภาพรวม

Insight 6 types Digital Consumer Thai and ASEAN

กลุ่ม High Spenders มีสัดส่วน 36%

Evolved Shoppers นักช้อปออนไลน์ตัวท็อป มีสัดส่วน 24% ใช้เงิน 1.6x ของค่าเฉลี่ย

มีรายได้ปานกลางถึงสูง ซื้อสินค้าหรือบริการทุกประเภทบนออนไลน์มานานแล้ว และทุกวันนี้ก็ซื้อเป็นประจำ

Lifestyle Shoppers นักช้อปสายไลฟ์สไตล์ มีสัดส่วน 12% ใช้เงิน 1.2x ของค่าเฉลี่ย

รายได้ปานกลางถึงสูง ซื้อของออนไลน์หนึ่งหรือสองประเภทเป็นประจำ เช่น เสื้อผ้า แฟชั่น เครื่องประดับ อะไรก็ตามที่ซื้อบนออนไลน์แล้วสะดวก

กลุ่ม Mide Spenders มีสัดส่วน 33%

Purposeful Shoppers นักช้อปสายคุ้ม มีสัดส่วน 11% ใช้เงิน 0.9x ของค่าเฉลี่ย
ไม่ได้เน้นถูกหรือแพง แต่เน้นความคุ้มค่ากับราคาทุกบาทที่จ่ายไป มีรายได้ปานกลาง ช้อปแค่บางประเภท ช้อปอย่างมีเป้าหมาย รู้ตัวเสมอก่อนช้อป

Value Hunters แม้จะซื้อของถูกแต่ก็ซื้อถี่ 22% ใช้เงิน 0.9x ของค่าเฉลี่ย
รายได้น้อยถึงปานกลาง เปรียบเทียบราคาสินค้าจากทุกเว็บก่อนซื้อเพื่อหาราคาที่ถูกที่สุด หรือหาโปรที่ถูกที่สุด และมักซื้อออนไลน์เป็นประจำ

กลุ่ม Low Spenders มีสัดส่วน 31%

Recent Adapters นักช้อปออนไลน์หน้าใหม่ 17% ใช้เงิน 0.7x ของค่าเฉลี่ย
รายได้ปานกลาง เพิ่งเริ่มช้อปออนไลน์ได้ไม่ถึง 2 ปี

Gen Z วัยรุ่นและนักศึกษามหาวิทยาลัย มีสัดส่วน 14% ใช้เงิน 0.5x ของค่าเฉลี่ย
รายได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา ช้อปออนไลน์แค่บางอย่างเท่านั้น

ความต่างระหว่าง Evolved Shoppers กับ Value Hunters

Insight 6 types Digital Consumer Thai and ASEAN

จาก 6 กลุ่มนักช้อปออนไลน์ทั้งหมด กลุ่ม Evolved Shoppers และ Value Hunters เป็นสองกลุ่มรวมกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจพวกเขาให้ลึกซึ้งกันว่าสองกลุ่มนักช้อปตัวท็อปที่ดูใกล้เคียงกันนั้นแท้จริงแล้วมีความต่างกันอย่างไร

Evolved Shoppers คือกลุ่มนักช้อปออนไลน์ที่ใช้เงินหนักมาก พวกเขายอมจ่ายแพงกว่าเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย พวกเขาชอบซื้อของแปลกๆ ใหม่ๆ โดยเฉพาะสินค้าแปลกๆ เท่ห์ๆ จากต่างประเทศครับ

ในทางกลับกัน กลุ่มนักช้อป Value Hunters เป็นกลุ่มที่ใช้เงินอยู่ในระดับกลางๆ พวกเขาจะให้ความสำคัญกับราคาหรือโปรโมชั่นเป็นหลัก กลุ่มนี้จะชอบเปรียบเทียบราคาจากหลากหลายเว็บไซต์ เพื่อหาเว็บที่ขายในราคาถูกที่สุด ดังนั้น กลุ่มนี้จะเน้นความถูกไม่เน้นความสบาย

แม้ทั้งสองกลุ่มนี้จะมีความต่าง แต่ก็ยังมีความคล้ายกันในหลายเรื่อง เช่น นักช้อปทั้งสองกลุ่มนี้มักจะอยู่ในหัวเมืองใหญ่ แต่กลุ่ม Value Hunters ก็จะอยู่ตามเมืองรองลงมาบ้าง รวมถึงกลุ่มคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป และคนที่มีรายได้ปานกลาง

กลุ่ม High Spenders

Evolved Shoppers พวกเขายอมจ่ายมากขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย 64% ของคนกลุ่มนี้บอกว่าถ้าเจออะไรที่น่าสนใจผ่านมาก็กดซื้อเลยไม่คิดเยอะ แถมยังเป็นกลุ่มคนที่ช้อปบ่อย เพราะ 65% บอกว่าปีนึงซื้อมากกว่า 10 ครั้ง ซื้อมันทุกอย่างไม่มีสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นพิเศษ ชอบซื้อของแปลกๆ ใหม่ๆ และช้อปข้ามประเทศ ดังนั้นขอให้น่าสนใจจนทำให้พวกเขาอยากได้ เมื่อราคาไม่ใช่ปัญหา แม้จะมีค่าส่งสินค้าข้ามประเทศที่ราคาแพงกว่าปกติก็ยินดีจ่าย

กลุ่ม Mid Spenders

Value Hunters เน้นราคาและโปรโมชั่น 60% บอกว่าราคาและโปรโมชั่นเท่านั้นที่จะทำให้พวกเขาอยากช้อป “ของใหม่หรือ ไม่มีผลกับฉันหรอก!” แถมคนกลุ่มนี้ก็ยังช้อปถี่มาก เพราะ 47% บอกว่าในแต่ละปีช้อปมากกว่า 10 ครั้ง เรียกได้ว่ามีของมาส่งที่บ้านเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย และสุดท้ายที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนักช้อปกลุ่มนี้คือกว่า 93% บอกว่าพวกเขาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าหรือบริการที่ตัวเองจะซื้อจากหลายๆ เว็บไซต์เป็นประจำ เพราะจะกลับไปที่การหาราคาที่ดีที่สุด หรือดีลที่ดีที่สุดก่อนซื้อเสมอ

แล้วใครล่ะเป็นนักช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใช้เงินเยอะที่สุด?

Insight 6 types Digital Consumer Thai and ASEAN

ความย้อนแย้งของกลุ่ม Value Hunters คือ พวกเขาใช้เงินน้อยแต่ก็ช้อปออนไลน์บ่อยเหลือเกิน

สรุปได้ว่านักช้อปสาย Value Hunters เป็นพวกที่ชอบควานหาโปรโมชั่นหรือราคาที่ถูกที่สุดเพื่อจะได้จ่ายให้น้อยที่สุด และจากการสำรวจนักช้อปกลุ่ม Value Hunter ทั่วอาเซียนพบว่าพวกเขามีสัดส่วนไม่ถึง 22% ด้วยซ้ำ

แต่อย่าเพิ่งได้ดูถูกพวกเขา เพราะแม้ว่ากลุ่ม Value Hunters จะอยู่ในกลุ่ม Mid Spender หรือใช้เงินบนออนไลน์แบบกลางๆ แต่พวกเขาก็ยังใช้เงินมากกว่ากลุ่ม Gen Z ที่เป็นพวกนักเรียนนักศึกษา หรือกลุ่ม Recent Adapters หรือกลุ่มที่เพิ่งเริ่มช้อปออนไลน์ได้ไม่เกิน 2 ปี ที่มักจะอาศัยอยู่ตามเมืองรองที่ไม่ใช่หัวเมืองใหญ่ในประเทศ

เพราะกลุ่ม Value Hunters หรือนักล่าโปร ใช้เงินบนออนไลน์เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยถึง 0.9 เท่าของการใช้เงินบนออนไลน์ทั้งหมด

แม้กลุ่ม Value Hunters มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองจากทั้งหกกลุ่มของนักช้อปออนไลน์ แต่พวกเขาก็ยังใช้เงินช้อปไม่มากนัก และจำนวนนักช้อปในกลุ่ม Value Hunters นั้นก็มีสัดส่วนที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เมื่อดูจากราฟจะเห็นว่าสิงค์โปรมีสัดส่วนน้อยสุด แค่ 12% ส่วนประเทศที่มีนักช้อปกลุ่มนี้มากที่สุดคือฟิลิปปินส์มีสัดส่วนถึง 29% ส่วนประเทศไทยเรามีนักช้อปกลุ่มนี้อยู่ที่ 21% ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ของอาเซียน

กลุ่ม High และ Mid Spenders คือกลุ่มสำคัญในตลาดออนไลน์อาเซียน โดยเฉพาะในประเทศสิงค์โปรและเวียดนาม

Insight 6 types Digital Consumer Thai and ASEAN

เมื่อเอาตัวเลขของนักช้อปกลุ่มจ่ายหนักและจ่ายปานกลางทั่วอาเซียนมารวมกันแล้วหารค่าเฉลี่ยจะพบว่ามีสัดส่วนมากถึง 62% แต่สัดส่วนของสองกลุ่มนี้จะเพิ่มสูงมากขึ้นถึง 78% ที่ประเทศสิงค์โปร

และถ้าเราโฟกัสกับแค่กลุ่ม High Spenders เราจะพบว่าในประเทศสิงค์โปรจะมีสัดส่วนของนักช้อปกลุ่มนี้มากที่สุดถึง 55% รองลงมาคือเวียดนาม 40% และตามมาด้วยมาเลเซีย 37% ซึ่งทั้ง 3 ประเทศนี้มีนักช้อปกลุ่ม High Spenders เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดอีกด้วยครับ

ส่วนของไทยเรานั้นกลับพบว่านักช้อปกลุ่ม Low Spenders กลับมีสัดส่วนสูงที่สุดคือ 36% ตามมาด้วยกลุ่ม High Spenders 35% และกลุ่มที่น้อยที่สุดคือกลุ่ม Mid Spenders ที่มีสัดส่วนแค่ 28% ครับ

และนี่ก็เป็นรีเสริชภาพรวมของนักช้อปออนไลน์ทั้ง 6 กลุ่ม หรือ Insight Digital Consumer ไทยและอาเซียน ตั้งแต่สายจ่ายหนัก จ่ายน้อย และ จ่ายพอดี

ในตอนหน้าเราจะมาดูกันว่านักช้อปในเมืองกับนอกเมืองมีความต่างกันอย่างไร > https://www.everydaymarketing.co/knowledge/insight-digital-consumer-city-tier-1-and-tier-2-thai-and-asean-from-facebook-report-2020/

รายงาน Digital Consumer in ASEAN 2020 จาก Facebook เมื่อคนมาออนไลน์แต่ยังไม่มีใครมาเติมเต็ม

อ่านบทความแรกของรายงานชุดนี้ Riding the Digital Wave ของ Facebook ประเทศไทย เมื่อ Digital Consumer หรือผู้บริโภคยุคใหม่ในไทยและอาเซียนที่ยังรอให้แบรนด์มาเติมเต็มอีกมากมาย > https://www.everydaymarketing.co/knowledge/insight-digital-consumer-in-asean-2020-from-facebook-report-discover-the-opportunity/

Source > https://www.facebook.com/business/m/riding-the-digital-wave

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่