เจาะลึก Insight Digital Consumer ความต่างระหว่างผู้บริโภคออนไลน์เมืองหลักและเมืองรอง จาก Facebook

เจาะลึก Insight Digital Consumer ความต่างระหว่างผู้บริโภคออนไลน์เมืองหลักและเมืองรอง จาก Facebook

การจะเข้าใจ Insight Digital Consumer หรือผู้บริโภคออนไลน์ให้ลึกซึ้งในวันนี้แค่ดูจากจำนวนเงินที่ใช้ หรือพฤติกรรมการช้อปนั้นยังไม่พอ แต่ต้องดูถึงพื้นที่ตั้งหรือจังหวัดที่เขาอยู่ด้วย ดังนั้นเราจะมาดูกันว่าระหว่างกลุ่มคนในเมืองหลักและเมืองรองนั้นมีพฤติกรรมการใช้เงินบนออนไลน์ต่างกันอย่างไร และนี่คือ Insight ที่รายงานฉบับนี้จาก Facebook ค้นพบครับ

ก่อนอื่น ทำความเข้าใจระหว่างเมืองหลักกับเมืองรองก่อน

เมืองหลักหรือเมือง Tier 1 เช่น กรุงเทพ จาการ์ตา และ มะนิลา ส่วนเมืองรองหรือเมือง Tier 2 ก็อย่างเช่น โฮจิมิน ปีนัง สระบุรี ราชบุรี เป็นต้น

กลุ่มนักช้อปออนไลน์ที่เป็น High Spenders มีอยู่ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง

Insight Digital Consumer City Tier 1 and Tier 2 Thai and ASEAN from Facebook Report 2020

เมื่อก่อนเราอาจเคยเชื่อว่ากลุ่มคนนอกเมืองหลวงมักไม่ค่อยใช้เงินบนออนไลน์กันเท่าไหร่ แต่วันนี้คุณต้องเข้าใจพวกเขาเสียใหม่ เพราะจากรายงานบอกให้รู้ว่ากลุ่มคนที่อยู่เมืองรองหรือเมือง Tier 2 นั้นก็มีกลุ่มที่ช้อปออนไลน์เป็นประจำไม่น้อยเลยทีเดียว

โดยเฉพาะในประเทศเวียดนามนั้นกลุ่มที่เป็นนักช้อปออนไลน์สายจ่ายหนักที่อยู่ในเมืองรอง Tier 2 นั้นกลับมีสัดส่วนใกล้เคียงกับนักช้อปกลุ่มอื่นอย่างน่าสนใจ และเมื่อเจาะลึกลงไปในกลุ่ม High Spenders ในเมืองรองของเวียดนามก็จะพบว่ามีกลุ่ม Evolved Shoppers (คนที่ใช้เงินบนออนไลน์เป็นประจำ ที่ไม่ได้เน้นของถูกแต่เน้นของดีและเน้นความสะดวกสบายเป็นหลัก) มากถึง 25% เลยทีเดียว

แต่เมื่อดูภาพรวมทั่วอาเซียนพบว่ากลุ่มนักช้อปออนไลน์สายจัดหนักหรือ High Spenders ยังคงมีสัดส่วนอยู่ในเมืองหลักมากกว่าเมืองรองอย่างชัดเจน และแม้แต่จะเจาะรายละเอียดลงไปในรายประเทศก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อย่างเวียดนามและมาเลเซียที่มีสัดส่วนนักช้อปปิ้งออนไลน์ที่เป็น High Spenders ในเมืองหลักมากกว่าเมืองรองถึง 14% ครับ

ส่วนที่น่าสนใจตามมาคือในประเทศอินโดนีเซียมีสัดส่วนกลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ที่เป็น High Spenders ในเมืองหลักสูงกว่าเมืองรองถึงเกือบสองเท่า

ส่วนในประเทศไทยเราสัดส่วนผู้บริโภคออนไลน์ที่เป็น High Spenders ในเมืองหลักมีมากกว่าเมืองรองถึง 42% ครับ

ในประเทศเวียดนามน่าสนใจตรงที่ว่ามีกลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ที่เป็น Evolved Shoppers (กลุ่มที่ซื้อของดีมากกว่าของถูก) ในประเทศมากถึง 33% จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบกับผู้บริโภคออนไลน์ทั่วอาเซียนที่มีตัวเลขผู้บริโภคออนไลน์กลุ่มนี้อยู่ที่แค่ 16-28% เท่านั้น

ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ที่เป็น High Spenders มีอยู่ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง แต่กลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ที่ยังใช้เงินน้อยยังมีสัดส่วนสูงอยู่ในเมืองรองอย่างเห็นได้ชัดในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และไทยเรา ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 42% ของผู้บริโภคออนไลน์ทั้งหมดในเมืองรอง โดยมีเหตุผลเบื้องหลังก็คือกลุ่มคนที่เพิ่งจะเริ่มช้อปปิ้งออนไลน์ได้ไม่นานจากการที่เพิ่งเข้าถึงเทคโนโลยี และกลุ่มวัยรุ่นที่ยังไม่มีกำลังเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยให้มากอย่างที่ใจต้องการ

เมื่อ Consumer กลายเป็น Digital Consumer พวกเขาก็มีความคล้ายกันโดยไม่รู้ตัวไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหลักหรือเมืองรอง

Insight Digital Consumer City Tier 1 and Tier 2 Thai and ASEAN from Facebook Report 2020

แม้ในเมืองหลักจะมีกลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ที่เป็นพวก High Spender มากกว่าเมืองรอง แต่พฤติกรรมของนักช้อปออนไลน์หน้าใหม่ในเมืองรองก็เริ่มมีความคล้ายกับกลุ่มนักช้อปออนไลน์รุ่นใหญ่ที่เป็น High Spenders ในเมืองหลักมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะต้องการของที่ดีขึ้น ยอมจ่ายมากขึ้น หรือแม้แต่ต้องการความสะดวกสบายมากกว่าเดิม และไม่ได้เน้นแต่ของถูกอีกต่อไป

และนั่นก็หมายความว่าในที่สุดแล้วผู้บริโภคออนไลน์ทั้งหมดจะกลายเป็นกลายเป็นกลุ่ม High Spenders และ Evolved Shoppers โดยไม่รู้ตัว ก็เหมือนกับเรายิ่งช้อปปิ้งออนไลน์มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้จักสรรหาของใหม่ๆ และดียิ่งขึ้นมากเท่านั้นครับ

เพราะพวกเขาจะซื้อสินค้าหรือบริการใหม่ๆ จากแบรนด์ใหม่ๆ ที่ได้เจอผ่านออนไลน์และโซเชียลมีเดียมากขึ้น และก็มีแนวโน้มว่าจะเปรียบเทียบร้านค้าต่างๆ จากหลายๆ เว็บไซต์และช่องทางควบคู่ไปด้วย

และนี่คือ 4 key insight ของนักช้อปออนไลน์ของไทยและทั่วอาเซียนครับ

Insight Digital Consumer City Tier 1 and Tier 2 Thai and ASEAN from Facebook Report 2020
  1. 69-70% มักซื้อสินค้าหรือบริการที่ไม่เคยรู้ตัวว่าอยากได้มาก่อน เช่น ไถฟีด Instagram ไปเรื่อยๆ ก็บังเอิญได้เจอของที่ชอบและก็กดสั่งซื้อโดยไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะซื้อของสิ่งนั้น
  2. 53-55% ค้นหาของที่ต้องการผ่านทางโซเชียลมีเดีย
  3. 86% เปรียบเทียบราคาจากหลายแหล่งทั้งบนออนไลน์และออฟไลน์เป็นประจำ
  4. 64-66% เปิดรับแบรนด์ใหม่ๆ แม้จะไม่เคยได้ยินมาก่อนแต่ถ้าโดยใจก็พร้อมจ่าย

เพราะการทำธุรกิจในวันนี้เราจะโฟกัสแค่กลุ่มลูกค้าในเมืองใหญ่หรือหัวเมืองหลักอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป เราต้องเจาะเข้าไปยังเมืองรองและเมืองย่อยทั้งหมดทั่วประเทศให้ครอบคลุม เพราะยังมีผู้คนอีกมากที่พร้อมเป็นลูกค้าใหม่ของคุณในวันนี้ และนั่นก็คือโอกาสทางธุรกิจที่คุณไม่ควรมองข้ามแล้วปล่อยให้คู่แข่งคว้าไปง่ายๆ

สรุป 5 ประเด็นสำคัญที่เราเรียนรู้จากเรื่องนี้

Insight Digital Consumer City Tier 1 and Tier 2 Thai and ASEAN from Facebook Report 2020

1. กลุ่มผู้บริโภคบนออนไลน์ที่ใช้เงินเยอะกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาใช้จ่ายรวมกันมากถึง 25% ของมูลค่าตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ทั้งหมด แถมยังใช้เงินในสินค้าและบริการหลายหมวดหมู่มากขึ้นเรื่อยๆ และคนกลุ่มนี้เองที่ใช้เงินสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 60% ดังนั้นพวกเขาในวันนี้ไม่ได้ต้องการแค่ของถูก แต่ต้องการทางเลือกที่ดีกว่าแค่ราคา รวมไปถึงความสะดวกสบายที่มากขึ้น

2. ผู้บริโภคออนไลน์วันนี้ไม่ได้อยู่แค่บนออนไลน์ แต่พวกเขาชอบเปรียบเทียบในทุกๆ ช่องทางที่สามารถทำได้ กว่า 86% เปรียบเทียบสินค้าทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ หรือทั้งสองช่องทางควบคู่กันไปก่อนตัดสินใจซื้อเป็นประจำ ดังนั้นถ้าธุรกิจคุณมีตัวตนบนออนไลน์ไม่ดีพอ คุณก็กำลังปล่อยโอกาสทางธุรกิจให้หลุดลอยไปครับ

3. แบรนด์ของคุณจะมองข้ามกลุ่มคนที่อยู่นอกเมืองหลวงหรือเมืองหลักไม่ได้อีกต่อไป เพราะเราเห็นแล้วว่ากลุ่มคนที่ใช้เงินหนักบนออนไลน์ หรือ High Spenders นั้นกระจายอยู่ในทุกเมืองทั่วประเทศ

4. พฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์มักมาจากความไม่ตั้งใจ แต่ถูกกระตุ้นให้เกิดความอยากได้ มากถึง 70% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขาไม่รู้ว่าพวกเขาอยากได้อะไร และ 50% เท่านั้นที่รู้ว่าอยากได้และแล้วเข้ามาหาทางโซเชียลมีเดีย นั่นหมายความว่าคนส่วนใหญ่เผลอซื้อของใหม่ๆ นอกรายการที่ต้องการซื้อเป็นประจำครับ

5. พฤติกรรมการช้อปออนไลน์ในแบบทุกช่องทางที่ให้ประสบการณ์แบบราบรื่น หรือ Omni-channel นั้นไม่มีความต่างกันของคนในเมืองหลักและเมืองรอง

ดังนั้นผมขอสรุปส่งท้ายถึง Insight พฤติกรรมของ Digital Consumer ถึงความแตกต่างระหว่างคนที่อยู่ในเมืองหลักและเมืองรองว่า…

Insight Digital Consumer City Tier 1 and Tier 2 Thai and ASEAN from Facebook Report 2020

ท้ายที่สุดแล้วคนที่เริ่มช้อปออนไลน์ในวันนี้ แม้จะยังช้อปไม่เยอะมาก และเน้นแค่หาของถูก ก็จะกลายเป็นกลุ่มคนที่ช้อปออนไลน์เป็นประจำเหมือนคนในเมืองในที่สุด เพราะพวกเขาจะเริ่มหาของที่ดีกว่าแค่เรื่องของราคา เมื่อพวกเขามั่นใจว่าการช้อปออนไลน์นั้นสะดวกสบายกว่ากันอย่างไร

แบรนด์ไหนที่สามารถเข้าใจตรงจุดนี้ก่อน และเลือกที่จะรีบจับกลุ่มนักช้อปออนไลน์หน้าใหม่ที่อยู่ตามเมืองรองได้ก่อน ก็จะมีโอกาสคว้าเค้กส่วนแบ่งทางการตลาดก้อนใหญ่ได้ก่อนใครเพื่อนครับ

ในตอนหน้าที่เป็นตอนส่งท้ายของรายงานฉบับนี้เราจะมาดูกันว่า แบรนด์ในยุคใหม่ควรต้องปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับพฤติกรรมใหม่ของ Digital Consumer ไทยและอาเซียนครับ

Insight Digital Consumer City Tier 1 and Tier 2 Thai and ASEAN from Facebook Report 2020

อ่านบทความเรื่อง Digital Consumer ไทยและอาเซียน 2020 ตอนถัดไป > https://www.everydaymarketing.co/

อ่านบทความตอนก่อนหน้าจากรายงานฉบับนี้ ถึงการเจาะลึก Insight ผู้บริโภคนักช้อปออนไลน์ที่แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลักตามจำนวนเงินที่ใช้ และ 6 กลุ่มย่อยตามพฤติกรรมการช้อป > https://www.everydaymarketing.co/knowledge/insight-6-types-digital-consumer-thai-and-asean/

Insight 6 กลุ่มนักช้อปปิ้งออนไลน์ Digital Consumer ที่นักการตลาดไทยต้องรู้

Source > https://www.facebook.com/business/m/riding-the-digital-wave#sea

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน