Brand Awareness สำคัญต่อธุรกิจแค่ไหน และจะวัดผลได้อย่างไรบ้าง

Brand​ Awareness​ สำคัญ​ต่อธุรกิจ​แค่ไหน​ และจะวัดผลได้อย่างไรบ้าง

การทำธุรกิจ นอกจากเราจะคาดหวังให้สินค้าและบริการได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจนขายดีเป็นเทน้ำเทท่าแล้ว สิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิต้องการไม่แพ้กัน ก็คือเรื่องของ Brand Awareness หรือการทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง

ลองมาดูกันว่าเราจะสามารถสร้าง Brand Awareness ได้อย่างไร และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ เราจะสามารถวัดผลได้อย่างไรว่ากลยุทธ์ต่างๆ ที่เราวางไว้ทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้จักเราได้จริงๆ

Brand Awareness สำคัญต่อธุรกิจมากแค่ไหน

ไม่ว่าสินค้าและบริการของเราจะดีแค่ไหน แต่ถ้าหากผู้บริโภคไม่รู้จัก หรือไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์ในแบบที่เราต้องการแล้วล่ะก็ บอกเลยค่ะว่าเปล่าประโยชน์

ในมุมมองด้านการตลาด Brand Awareness เป็นการสร้างการรับรู้ของแบรนด์  ผ่านการสื่อสารภาพลักษณ์ที่ดี รวมถึงความน่าเชื่อถือของแบรนด์ไปยังกลุ่มผู้บริโภค ให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น เมื่อมีคนรู้จักและจำได้มากขึ้นก็จะดึงดูดให้ลูกค้าสนใจในสินค้าและผลิตภัณฑ์ของเรามากขึ้นด้วยเช่นกัน

ทำไมธุรกิจจึงต้องสร้าง Brand Awareness ที่แข็งแกร่ง

ถ้าเราลองสมมติสถานการณ์ง่ายๆ ถ้าเราต้องการซื้อครีมบำรุงผิวสักยี่ห้องหนึ่ง เราจะเลือกซื้อแบรนด์ไหน ระหว่างแบรนด์ที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยำด้ยินชื่อมาก่อน กับแบรนด์ที่เราคุ้นหูคุ้นตากันดีอยู่แล้ว แบมเชื่อว่ามากกว่า 90% จะต้องเลือกแบรนด์ที่เรารู้จักดีอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและจดจำ ไม่ใช่แค่ชื่อที่ติดหูหรือโลโก้ที่สะดุดตาเท่านั้น แต่เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจที่จะใช้สินค้าและบริการของเรา

คราวนี้เราลองมาดูเหตุผลกันดีกว่าว่า Brand Awareness ที่แข็งแกร่งนั้นช่วยส่งเสริมธุรกิจของเราได้อย่างไรบ้าง

1.สร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า

การสร้าง Brand Awareness นั้นจะทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการมีตัวตนของแบรนด์ ยิ่งลูกค้ารับรู้ในคุณค่าและภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความไว้วางใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งความเชื่อมั่นในแบรนด์นี้จะส่งผลให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น อีกถังยังมีโอกาสสูงมากที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำเนื่องจากมี Brand Loyalty หรือทัศนคติที่ดีกับแบรนด์ของเรา

2.ช่วยให้แบรนด์ของเราโดดเด่นเหนือคู่แข่ง

ในโลกธุรกิจนั้นแน่นอนว่าจะต้องมีคนอื่นๆ ที่ผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบเดียวกับเราอยู่อีกมากมายหลายเจ้า แต่การที่แบรนด์ของเราเป็นที่จดจำในวงกว้างนั้นถือเป็นข้อได้เปรียบกว่าคู่แข่งอย่างน้อยหนึ่งก้าว

เพราะโดยปกติแล้วคนมักจะเลือกซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์ที่คุ้นเคยมากกว่าแบรนด์ที่ตนเองไม่รู้จัก เพราะรู้สึกมั่นใจในภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ ทำให้รู้สึกเชื่อใจในคุณภาพมากกว่านั่นเอง

3.สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์

เมื่อผู้บริโภครู้จักแบรนด์ของเราในวงที่กว้างขึ้นแล้ว เราก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์ได้ด้วยการต่อยอด สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์เดิม ซึ่งจะรวมไปถึงการที่แบรนด์สามารถเพิ่มราคาสินค้าลูกค้าจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการจากแบรนด์ที่พวกเขารู้จักและไว้วางใจ

หากผู้บริโภคมองธุรกิจของคุณในแง่บวก ก็สามารถทำให้ธุรกิจนั้นเป็นที่รู้จักได้ และหากคุณสร้างความประทับใจที่ดีให้กับลูกค้า จนมีฐานลูกค้าที่ภักดีกับแบรนด์มากขึ้น ก็จะทำให้พวกเขาจะกลับมาซื้อสินค้าและบริการอีกเรื่อยๆ จนนำไปสู่ผลกำไรระยะยาวที่สูงขึ้นและทำให้แบรนด์ของคุณเติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ

ตัวอย่างการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ระดับโลก

วันนี้แบมจะลองยกตัวอย่าง 2 แบรนด์ระดับโลกที่ไม่ว่าใครก็ต้องรู้จัก โดยจะแบ่งเป็นฝั่งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวในการสร้าง Brand Awareness จะมีแบรนด์ไหนบ้างไปดูกันค่ะ

Apple

เรามาเริ่มกันกับแบรนด์แรกที่สามารถสร้าง Brand Awareness สำเร็จจนกิดการรับรู้ในวงกว้างอย่สงแบรนด์ Apple ที่มีสาวกอยู่ทั่วทุกมุมโลกกันก่อนดีกว่าค่ะ

อย่างที่เรารู้กันดีว่า Apple นั้นไม่เพียงแค่ขายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ Apple ยังมุ่งเน้นในการขายประสบการณ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ล้ำ นำสมัย เรียกได้ว่าน่าทึ่งเสียจนทำให้คนหลายล้านคนต้องการเป็นเจ้าของ

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์นั่นส่วนหนึ่งก็มาจากชื่อเสียง และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ ในการเป็นผู้นำตลาดด้านสินค้าเทคโนโลยีคุณภาพดี  ซึ่งภาพลักษณ์ที่ Apple สร้างนั้นถือเป็นการสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ที่ยอดเยี่ยมทีเดียว

Meta

แบรนด์ถัดมาคือ Meta หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อเดิมว่า Facebook เราจะเห็นว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา Meta ไม่สามารถแก้ไขภาพลักษณ์ที่เสียหาย และเรียกความมั่นใจของผู้ใช้งานกลับมาได้ ทำได้แค่สร้างการรับรู้ในแง่การเปลี่ยนชื่อเท่านั้น

จะเห็นได้จากกรณีเรื่องอื้อฉาวเช่น Cambridge Analytica ทำให้ชื่อเสียงของบริษัทเสียหายอย่างมาก และฐานผู้ใช้ก็ลดลงเป็นครั้งแรก แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงของ Facebook แต่การรับรู้ถึงแบรนด์ก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน

เราสามารถใช้วิธีไหนในการวัดผลในการสร้าง Brand Awarenessได้บ้าง? 

ในความเป็นจริงแล้วการวัดผลในแง่การรับรู้ของลูกค้านั้นไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เราคิด โดยเราสามารถวัดผลได้ง่ายๆ ดังนี้

-วัดผลโดยใช้แบบสำรวจ

การทำแบบสำรวจ แบบสอบถาม หรือการทำ Focus Group เป็นหนึ่งในวิธีที่หลายธุรกิจนิยมใช้กันมานานแล้ว ซึ่งคำถามเหล่านี้นอกจากจะช่วยวัดว่าผู้บริโภคมีการรับรู้ถึงแบรนด์ของคุณมากน้อยแค่ไหนแล้ว คำถามต่างๆ ยังแสดงให้เห็นถึงมุมมองของผู้ต่อแบรนด์ ทำให้แบรนด์สามารถนำคำตอบเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองลูกค้าได้ดีขึ้นกว่าที่เคยด้วย

เดี๋ยวแบมจะลองยกตัวอย่างคำถามเพิ่มเติมเป็นไกด์ ไว้เผื่อจะช่วยให้แบรนด์นำความคิดเห็นไปต่อยอดนะคะ ตัวอย่างคำถามก็เช่น

  • การที่แบรนด์มีความสอดคล้องกับค่านิยมส่วนบุคคลของลูกมีความสำคัญมากแค่ไหน?
  • ชื่อเสียงของแบรนด์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการมากน้อยเพียงใด?
  • การบริการของพนักงานมีอิทธิพลต่อการรับรู้ที่มีต่อแบรนด์ของมากน้อยแค่ไหน?
  • คุณเคยรู้สึกผิดหวังกับประสบการณ์ที่มีต่อแบรนด์หรือไม่? 
  • คุณชอบสินค้า/บริการอะไรและเพราะอะไร? 
  • อธิบายแบรนด์ด้วยคำสามคำ
  • คุณจะแนะนำแบรนด์ของเราให้กับเพื่อนหรือครอบครัวของคุณหรือไม่?

คำถามข้างบนนี้เป็นเพียงตัวอย่างกว้างๆ เท่านั้นเพราะสุดท้ายแล้วการเลือกประเภทของคำถามนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ทางแบรนด์ต้องการว่าเราต้องการวัดอะไร ต้องการว่าลูกค้ารู้สึกอย่างไรกับแบรนด์ของคุณโดยรวม หรือว่าต้องกาามองหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเฉพาะ

เพราะฉะนั้นนักการตลาดจึงจำเป็นต้องกำหนดสิ่งที่แบรนด์ต้องการเรียนรู้จากแบบสำรวจก่อน เพื่อที่จะได้สร้างคำถามที่เหมาะสม ซึ่งคำถามนั้นจะต้องชัดเจน เข้าใจง่าย และหลีกเลี่ยงกาาใช้ภาษาที่ซับซ้อน นอกจากนี้นักการตลาดควรจะตั้งคำถามแบบปลายเปิดเพื่อรับคำตอบโดยละเอียดมากกว่าคำตอบ ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่’

-ใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวช่วย

เราสามารถใช้ Social Listening Tools มาเป็นตัวช่วยในการติดตามและวัดการรับรู้แบรนด์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ด้วยการวิเคราะห์การสนทนาออนไลน์ หรือการพูดถึงแบรนด์ได้ ว่ามีผู้บริโภคพูดถึงแบรนด์เราบ้างไหม แล้วพูดถึงกันในแง่ไหนบ้าง เพื่อธุรกิจของเราจะได้รับข้อมูลเชิงลึกว่าลูกค้ามีการรับรู้แบรนด์อย่างไร มีสิ่งไหนที่ลูกค้าพูดถึง และส่วนไหนที่ต้องปรับปรุงบ้าง

สำหรับ Social Listening Tools ในปัจจุบันนั้น ก็มีให้เลือกหลากหลาย โดยแต่ละตัวก็มีคุณสมบัติและประโยชน์เฉพาะตัว ซึ่ง Social Listening Tools ที่ได้รับความนิยม ได้แก่Hootsuite Insights,Brandwatch, Talkwalker, wisesight และ Mandala เป็นต้น

การตรวจสอบปละวิเคราะห์แบรนด์ในลักษณะนี้มีความสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงการรับรู้แบรนด์ของตน ด้วยการทำความเข้าใจว่าลูกค้าและผู้อื่นมองบริษัทอย่างไร ธุรกิจจึงสามารถทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของตนได้

-รีวิวจากผู้บริโภค

รีวิวจากผู้ใช้จริงนั้นจะทำให้เราเข้าใจว่าลูกค้าและผู้บริโภคคนอื่นๆ มองแบรนด์เราอย่างไร แล้วจึงค่อยนำความคิดเห็นเหล่านี้มีประมวลเพื่อทำการปรับปรุงภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดีขึ้น

นอกจากนี้การรีวิวจากผู้บริโภคยังสามารถช่วยให้เราเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของแบรนด์กับคู่แข่ง รวมถึงประเมินได้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าและบริการของเรานั้นมีมุมมองต่อแบรนด์เราอย่างไร เพื่อวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้สามารถดึงดูดใจคนกลุ่มนั้นได้ในที่สุด

อย่างที่บอกไปว่าการสร้าง Brand Awareness นั้นก็คือการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้แข็งแกร่ง และดูน่าเชื่อถือ แต่ก่อนที่เราจะสร้างการรับรู้และสื่อสารไปยังผู้บริโภค ทางแบรนด์เองก็ต้องมั่นใจก่อนนะคะว่าเราได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี มีคุณภาพได้ตามความคาดหวังของลูกค้าด้วย มิเช่นนั้นการสร้างการรับรู้ หรือสื่อสารแบรนด์ออกไป อาจทำให้ได้รับการวิจารณ์ที่ไม่ดีต่อใจกลับมาก็เป็นได้ค่ะ

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์และความรู้การตลาดอื่นๆ แบมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลยค่ะ

ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

ที่มา

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *