9 วิธีที่จะทำให้ Google Rank เว็บไซต์เราดีขึ้น

9 วิธีที่จะทำให้ Google Rank เว็บไซต์เราดีขึ้น

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาเรื่องของการทำอย่างไรให้ Google rank เว็บไซต์ของเราในอันดับที่ดีขึ้น วันนี้เพลินขอถามก่อนเลยว่านักการตลาดที่อ่านกันอยู่ได้ใส่ใจในส่วนของ Touchpoint เว็บไซต์มากน้อยแค่ไหน? หากว่าคำตอบคือน้อย-กลางๆ อันนี้เพลินก็ต้องขอบอกเลยว่าต้องกลับไปโฟกัสมันเพิ่มขึ้นแล้ว เพราะเว็บไซต์ควรจะเป็นช่องทางหลักของเราเมื่ออยู่ในโลกออนไลน์เลย ยิ่งถ้าเราทำให้มันเป็น Commerce Channel ด้วยยิ่งต้องอาศัยมันเพิ่มขึ้น มากกว่าจะไปพึ่งพาแต่ Third-party channel ค่ะ

แล้วเมื่อเรามีเว็บไซต์แล้วก็อย่าปล่อยปละละเลย กลับไปทำให้มัน Active ซะ ไม่ว่าจะในแง่ของ Commerce หรือแม้กระทั้งเรื่องของ Content บนเว็บก็ตาม เพราะมันส่งผลต่อ SEM หรือ Search Engine Marketing ด้วย เพราะอย่างไรเสียเมื่อคนที่มี Intention เจอปัญหาอะไร เมื่อเค้าลงมือค้นหา Solution บน Google แล้ว แบรนด์ไหนก็อยากจะเป็นที่ 1 ในผลการค้นหาของ Google แน่นอน แต่อันดับ 1 บนอากู๋มันไม่ได้มากันง่ายๆ ค่ะ มันต้องอาศัยความอดทนทำ แล้วทำแบบต่อเนื่องด้วย ทั้งคอนเทนต์และส่วนอื่นๆ เช่น

1. ทำให้เว็บมันเร็ว

เว็บไซต์ยุคนี้บอกเลยว่าจะปล่อยให้คนเข้าเว็บรอโหลดนานๆ ไม่ได้ เพราะยิ่งเทคโนโลยีมันพัฒนาไปไกลมากขึ้น ความอดทนของ Users ที่เข้าใช้ก็ยิ่งน้อยลงแถมยังคาดหวังมากขึ้นด้วย ว่าเว็บมันต้องเร็วต้องดีและตอบสนองความต้องการที่ชั้นกดเข้าเว็บมาให้ได้ ดังนั้นการทำเว็บให้สะอาดไม่หนักมาก ก็จะส่งผลดีต่อการใช้งานและประสบการณ์การเข้าใช้เว็บของ Users ที่ดีขึ้น ไม่ต้องให้รอนาน คลิกปุ๊ปมาปั๊ป เว็บเราก็ไม่ต้องเสี่ยงกับการกดออกหรือกดปิดทันทีทั้งๆ ที่เนื้อหาข้างในของเราอาจจะดีก็ตามค่ะ

2. ทำให้เว็บมัน Responsive

ต้องยอบรับว่าวันนี้คนเข้าเว็บไซต์อะไรต่างๆ ผ่าน Screen หรือหน้าจอที่มีความหลากหลายมากขึ้นแล้ว ไม่วาจะเป็นหน้าจอคอม หน้าจอ Tablets หรือ Smartphones ก็ตาม ดังนั้นการที่เรายังทำเว็บไซต์ของเราให้ตอบสนองและแสดงผลได้ดีเฉพาะเวลาคนเข้าเว็บของเราผ่าน Desktop ละก็เป็นอะไรที่สิ้นคิดมากๆ ในยุคนี้ แถม Google ยังหักคะแนนเว็บไซต์ที่ไม่ Mobile-friendly ด้วย เนื่องจาก 48% ของผู้บริโภคในวันนี้มักเริ่มการทำการค้นหาผ่านมือถือเป็นอันดับแรกนั่นเองค่ะ

3. ทำเว็บให้สวยงาม

อีกส่วนหนึ่งของการทำเว็บคือเรื่องของภาพลักษณ์ Mood & tone ที่เราต้องการจะสื่อผ่านเว็บไซต์ ดังนั้นเราควรเลือก Color Palette ที่เราจะใช้ เช่น มันอาจจะเป็นสี Primary กับ Secondary Colors ของแบรนด์เรา หรืออาจจะเป็นโทนสีที่เราสนใจอยากได้แล้วมันบ่งบอกตัวตนเราก็ได้เช่นกัน เมื่อเรามีโทนสีคุมแบบนี้ สไตล์การตกแต่งเว็บก็จะไปทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่เว็บหน้านึงสีแดง อีกหน้าสีเหลือง อีกหน้าสีฟ้า อีกหน้าเขียว ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้มันส่งผลโดยตรงกับ User Impression และ Experience ด้วยค่ะ

4. ทำให้เว็บอ่านง่าย

นอกจากเรื่องของดีไซน์การเลือกสีแล้ว เรื่องของการเลือกใช้ Font หรือตัวอักษรในเว็บก็สำคัญเช่นเดียวกัน แนะนำเลยว่าให้เลือกตัวหนังสือที่มีต้องแฟนซีเน้นสวยงามมาก แต่ให้เน้นเรื่องการออกง่าย เห็นและเข้าใจชัดเจนดีกว่า อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ได้หมายความว่าตัวหนังสือเราจะสวยงามไม่ได้เลยนะ แค่หารูปแบบที่มันไปพร้อมๆ กันได้กับเรื่องของภาพลักษณ์ รูปภาพและดีไซน์อื่นๆ ที่เราเลือกใช้ก็พอค่ะ

5. ทำให้สบายตา

ถึงแม้ว่าบนเว็บไซต์มันจะมีเนื้อที่มากให้เรา Fill in ได้ไม่สิ้นสุด แต่นั่นก็มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องยัดทุกอย่างที่เราอยากพูดหรือทุกอย่างที่เรามีเข้าไปให้เต็ม อัดแน่นจนรู้สึกอึกอัด ลายตา ไม่รู้จะโฟกัสสายตาของเราไปอ่านหรือมองรูปไหนก่อน ดังนั้นจึงสำคัญมากที่เราจะต้องรู้จักการบริหารเนื้อที่ กระจายข้อมูลให้คนที่เข้ามาอ่านสะดวก สบายตา ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่อประสบการณ์ของลูกค้าที่เข้าเว็บเราโดยตรงเลย

6. ทำให้คนท่องเว็บเราได้ง่าย

ถัดมาคือเรื่องของ Website Journey พวก Structure ต่างๆ ข้างในว่าคนสามารถท่องเว็บของเราได้ง่ายหรือไม่ เช่นคลิกจากหน้า Home หากมีเรื่องของสินค้าที่ Display อยู่หน้าแรก เราจะสามารถเชื่อมโยงลูกค้าไปทางไหนต่อได้บ้าง จะเป็นหน้า Product ที่มีรายละเอียดสินค้าหรือว่าจะเป็นหน้า Commerce ไปเลย ต้องบอกว่าหลายครั้งนักการตลาดชอบโยง Link สินค้าหนึ่งอย่างเข้าหน้ารวมสินค้าทั้งหมด ทั้งๆ ที่มันไม่ควรเป็นแบบนั้น หรือสร้าง Tab Menu ที่แบรนด์รู้อยู่ฝ่ายเดียว ทำให้คนท่องเว็บได้ยากค่ะ เช่นกรณีเสื้อผ้ามี 6 สี แต่ต้องแยก Display ออกมาทั้ง 6 อัน ทั้งๆ ที่มันสามารถทำแค่ Display ชิ้นเดียวแล้วเข้าไปเลือกดูสีข้างในได้ค่ะ

7. ทำเนื้อหาให้ชัดเจน ไม่งง

จริงๆ เรื่องนี้ก็คือเรื่องเดียวกับการวางโครงสร้างเว็บด้วยเช่นกัน เหมือนกันกับเรื่องของ Journey นั้นแหละค่ะว่า User ที่เข้ามาควรจะเห็นอะไรก่อนหลัง ควรอ่านอันไหนก่อนเพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจก่อน ไม่ใช่มาถึงเจอตัวเลขอะไรงงๆ ยังไม่ทันรู้จักแบรนด์เราเลยอะ เป็นต้น ซึ่งถ้าเราวางเว็บไซต์ได้ไม่ดีพอ มันก็จะสะท้อนกลับมาในรูปแบบของ Entry rates / Exit Rate และ / Bounce Rate ได้ค่ะ เช่น หากเว็บของเรามีคนกดเข้าเยอะ แต่ 80% ของการกดเข้ามานั้นกลับเป็น Bounce ไปหมด แบบนี้ก็ต้องมาตรวจสอบเรื่องโครงสร้างเว็บใหม่แล้วค่ะ

8. ทำเว็บของเราให้ Expertise ด้านใดด้านนึง

ในฐานะแบรนด์ที่ขายหลายสินค้าและบริการสมมุติว่าตั้งแต่ปูนซีเมนต์ไปจนถึงกระดาษ ก็อาจจะทำให้เราที่เป็นเจ้าของแบรนด์อยากเก่งไปทุกอย่างในสายตาคนข้างนอก พอทำเว็บก็อยากจะชูทุกอย่างว่าอันนี้ชั้นก็เก่ง อันนี้ชั้นก็รู้ แต่ในทางกลับกันเรื่องที่ดีคือคุณควรจะมีเรื่องเดียวที่ยืน 1 ถ้าคนคิดถึงสิ่งนี้ต้องคิดถึงแบรนด์เราอย่างเดียวเท่านั้น แบบนี้จะสามารถจับลูกค้าได้ดีและชัดมากกว่า ดังนั้นในเว็บก็เช่นกันถ้ามีหลายสินค้าก็แยกไปเลย อย่าพยายามทำให้มันประปนกัน จนไร้ Positioning เรื่องใดเรื่องนึงค่ะ

9. ทำเว็บของเราให้มีคุณค่า มีประโยชน์

สุดท้ายหลังจากที่เราทำมาทั้งหมด 8 ข้อด้านบนแล้ว มันก็คือเรื่องของเนื้อหาข้างในแล้วแหละว่ามันมีคุณค่าหรือประโยชน์ต่อ Users หรือลูกค้าหรือไม่ เพราะถ้าไม่มี เข้าไปแล้วอ่านไปไม่ได้อะไรเลย คนก็กดปิด แถมเผลอๆ หลายคนจะจำได้ด้วยว่าเว็บนี้เป็นเว็บที่เนื้อหาไม่ค่อยมีคุณภาพ ก็จะไม่กลับมาเยือนเว็บเราอีกเลย ดังนั้นอย่างที่เขียนไปในข้อ 8 หาจุดยืนที่เราอยากเด่นไปเลยด้านนึง แล้วพยายามสร้าง Expertise ด้านนั้นให้ได้ก่อนที่จะขยายไปเรื่องอื่นๆ ต่อไปทีละอย่างค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือการพัฒนาเว็บไซต์ทั้งหมด 9 ข้อที่จะช่วยให้ Google Rank เว็บไซต์ของเราดีขึ้น ยังไม่พอยังสามารถทำให้ลูกค้าประทับใจ ติดกับเว็บเราได้ แถมมีแนวโน้มที่จะ Turn Visitors เป็นลูกค้าได้ด้วยค่ะ ปี 2022 ใกล้เข้ามาแล้ว อย่าลืมใส่ใจเว็บไซต์ไปพร้อมๆ กับช่องทาง Social Media อื่นๆ ด้วยนะคะ

Source: Red Website

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *