การตลาด After you ใช้ Adaptability ผสาน Data Driven Business

การตลาด After you ใช้ Adaptability ผสาน Data Driven Business

สวัสดีค่ะนักอ่านทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนจะเล่าถึง การตลาด After you ให้ฟังค่ะ โดยแบรนด์นี้เกิดจากความชอบของเจ้าของแบรนด์จนเกิดมาเป็นร้านขนมที่เรารู้จัก นั่นคือ After you ค่ะ

จากเดิม After you คือความชอบ จนพัฒนานำเอาข้อมูลสถิติมาใช้ จนกระทั่งเปลี่ยนผ่านช่วงวิกฤตโควิด-19 ผู้เขียนเลยจะว่าเล่า การตลาด After you ที่สามารถ Adaptability ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการพัฒนาของแบรนด์ให้ทุกท่านฟังค่ะ

ทำความรู้จัก After you กัน

ร้าน After you ก่อตั้งโดย คุณเม กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ โดยเริ่มจากความฝันตั้งแต่วัยเด็กของคุณเมที่อยากจะเปิดร้านขนมเป็นของตัวเอง เพราะตัว คุณเมเอง ก็มีความชื่นชอบของหวานอยู่แล้ว 

ประกอบกับชอบเดินทางชิมขนมหวานจากทั่วโลก เลยกลายเป็นแรงบันดาลใจ
ให้คุณเมต่อยอดสูตรขนมหวานในแบบฉบับของตนเอง 

โดยมี คุณแม่ทัพ ต.สุวรรณ หรือ คุณหมิง เป็นผู้ดำเนินธุรกิจ และขยายกิจการให้กับบริษัทค่ะ โดยจริง ๆ แล้วทั้ง 2 ท่านเคยร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหารมาแล้ว แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ก็เลยได้นำประสบการณ์จากธุรกิจเดิมมาปรับใช้กับร้าน After you ด้วยค่ะ

เริ่มจากความชอบ สู่การพัฒนาเมนูใหม่ ๆ จากข้อมูลสถิติ

ผู้เขียนเชื่อว่า คงมีนักอ่านหลายท่านเคยทานแบรนด์ After you หรือ บางท่านอาจไม่เคยทานแต่เห็นผ่านตามาบ้าง นักอ่านรู้มั้ยคะ ว่านอกจาก การตลาดAfter you ที่ร้านเกิดจากความชอบขนมหวานของคุณเม เมนูขนมในช่วงแรกก็เกิดจากความชอบของคุณเมเช่นกัน 

โดยคุณเมบอกว่า ตอนแรกเมนูทั้งหมดของ After You มาจากความชอบของคุณเม แต่พอธุรกิจมีการขยายใหญ่ขึ้น เวลาออกขนมใหม่ ๆ ถ้าตัวขนมมีความซับซ้อนมากเกินไป คนจะเริ่มไม่เก็ต หรือ ไม่เข้าใจในขนมนั้น ๆ ทำให้เกิด การตลาด After you แบบใหม่ ๆ

การตลาด After you ใช้ Adaptability จากชอบ สู่ Data ไปยังวิกฤต Covid
ขอขอบคุณภาพจาพ IG : afteryoudessertcafe

แต่เดิมการออกเมนูใหม่ ๆ จากเมนูมาจากความชอบของคุณเม ก็เปลี่ยนเป็นทางคุณเมก็จะมีประชุมกับทีมทุกเดือน

โดยเอาข้อมูลสถิติของแต่ละเดือนมานั่งดู ว่าเมนูไหนขายดีหรือเมนูไหนขายไม่ดี
แล้วสไตล์แบบไหนที่คนชอบ

เพื่อใช้ในการตัดสินใจเวลาที่ทำเมนูใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งตอนแพลนยอดขายของเมนูนั้น ๆ 

ทำให้เวลาคิดเมนู ทุกคนในทีมจะใส่วัตถุดิบกันหนักมาก เสร็จแล้วค่อยย้อนกลับไปคิดต้นทุนว่าเป็นไปได้ไหม สามารถวางขายได้หรือเปล่า หากถ้ามันไม่ไหวจริงๆ คุณเมบอกว่าจะไม่ขายเลย เพราะนั่นแสดงว่า หากหน้าตาของขนมมันราคาเท่านี้ แต่ของที่ใส่ลงไปมันเยอะเกิน ถ้าให้ลดลงคุณเมเลือกไม่เอาดีกว่าค่ะ

ใช้ข้อมูลสถิติทำเมนูออกมาเพื่อลูกค้า ทั้งด้านความฟิน และ รสชาติ

สำหรับคุณเม มองว่าขนมไม่ใช่อาหารที่กินเพื่อให้อิ่มท้อง แต่เป็นสิ่งที่เรากินเพื่อเสพสุนทรีภาพในการกิน ดังนั้นถ้าตอนกิน อยากจะฟิน มันต้องสุด เลยเป็นที่มาว่าทำไมถึงใส่วัตถุดิบกันแบบจัดเต็ม 

ลูกค้าจะรู้สึกได้ ว่าของที่เขาทานมันคือของดี ทำให้คุณเมใส่ใจแม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

อย่างปริมาณของเนย อุณหภูมิที่อบ หรือถ้าอบเสร็จแล้วต้องมาเสิร์ฟเร็วขนาดไหนเพื่อให้ขนมยังร้อนอยู่ และไอศกรีมยังเย็น ก็อปปี้รสชาติอาจจะง่าย แต่มันมีรายละเอียดหลายอย่างที่เลียนแบบไม่ได้ค่ะ

การตลาด After you ใช้ Adaptability จากชอบ สู่ Data ไปยังวิกฤต Covid
ขอขอบคุณภาพจาพ IG : afteryoudessertcafe

หลังจากอ่านแล้ว รู้เลยนะคะว่า การทำขนมให้ถูกใจทุกคนไม่ใช่เรื่องง่าย

และถึงแม้ After You เองก็มีเมนู signature ที่ยังไงก็ขายได้
คุณเมก็ยังยืนยันว่าอยากให้ลูกค้าประจำได้ลองรสชาติใหม่ ๆ ค่ะ

เลยเป็นเหตุผลว่าทำไม การตลาด After you ถึงมีเมนูใหม่ออกมาให้ลองกันทุกเดือน 

แต่รู้ไหมคะ ว่ากว่าทีมงานจะคิดเมนูใหม่ออกมาได้นั้น ก็ต้องมีการศึกษาข้อมูลเชิงสถิติกันทุกเดือน เพราะว่าฐานลูกค้าของ After You เอง ก็มีความหลากหลาย มีทั้งเด็ก วัยรุ่น และ ผู้ใหญ่ รวมไปถึงชาวต่างชาติ อีกด้วยค่ะ

ทำให้นอกจาก ความชอบแล้ว การตลาด After you จึงต้องเริ่มสร้างสิ่งใหม่ ๆ
โดยนำข้อมูลสถิติเข้ามาช่วยด้วย เพื่อให้ถูกใจกลุ่มลูกค้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ทำให้เราทราบเลยนะคะว่า การปรับตัวในโลกธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ อย่าง After you จากการทำขนมด้วยความชอบ เริ่มกลับมาฟังเสียงลูกค้า หรือ แม้กระทั่งช่วง โควิด-19 ทาง After you ก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

เปลี่ยนผ่านจากความชอบไปสู่การใช้ข้อมูลลูกค้า
ส่งต่อไปยังการปรับตัวอีกครั้งจากโควิด-19

อย่างที่เราทราบว่าร้าน After you เอง ส่วนมากจะตั้งอยู่บนห้างสรรพสินค้า หรือ อยู่ที่คอมมูนิตี้มอลล์ เรียกว่าเกือบทั้งหมดเลยก็ได้ค่ะ แล้วแต่เดิม การตลาด After you จะดำเนินธุรกิจจากข้อมูลสถิติของลูกค้า และความชอบของคุณเม 

ซึ่งพอเจอวิกฤตโควิดทางคุณเมก็บอกว่านึกไม่ออกเลยค่ะ ว่าการดำเนินธุรกิจ การตลาด After you จะออกไปทางไหน และ พฤติกรรมคนจะเป็นยังไง

จากเดิมที่พอจะบอกได้ว่าคนชอบแบบนี้ ขอบอันนี้ คนต้องการแบบนี้
กลับไม่รู้ และ เดาไม่ถูก ว่าสุดท้ายแล้วพฤติกรรมผู้บริโภคจะกลายเป็นยังไงกันแน่ค่ะ

อย่างที่เราทราบกัน ช่วงเกิดโควิด-19 หลายร้านต้องปรับกลยุทธ์มาใช้ การเดลิเวอรี่ ทาง After you ก็เช่นกันค่ะ แต่ After you เอง ก็มีปัญหาเพราะ 1 ในเมนูที่เป็น Signature อย่างน้ำแข็งไส “คาคิโกริ” ตอนนั้นไม่แน่ใจว่าจะสามารถส่งผ่านเดลิเวอรี่ได้หรือ เปล่า

และส่วนตัวของคุณเมก็ไม่ยอมให้สั่งเดลิเวอรี่ เพราะคุณเมเองกังวลในหลาย ๆ เรื่อง

  • รู้สึกว่าสินค้าที่ส่งไปมันไม่ 100% เหมือนกับที่เสิร์ฟที่หน้าร้าน
  • กังวลเรื่อง Texture ที่เปลี่ยนไป
  • การประกอบน้ำแข็งไสที่ไม่ได้อยู่ในที่ที่ควรประกอบ

ทั้งหมดอาจจะทำให้คนรู้สึกว่ามันไม่อร่อย ทำให้คุณเมไม่อยากขายกลับบ้านค่ะ 

ขอขอบคุณภาพจาพ IG : afteryoudessertcafe

แต่พอโควิด-19มา โจทย์ก็เปลี่ยน เพราะไม่มีทางเลือก สุดท้ายต้องทำ แล้วก็เขียนบอกกับลูกค้าว่าอาจจะทำได้แค่ 95% นะคะ ไม่สามารถได้ 100% เท่าหน้าร้าน แล้วก็สอนวิธีประกอบไปค่ะ

หลังจากสามารถ เดลิเวอรี่น้ำแข็งไสได้ ทำให้เมนูที่หน้าร้านทุกอย่างไม่มีปัญหา สามารถเดลิเวอรี่ได้หมด แต่ปัญหาไม่หมดเพียงเท่านั้น พอถึงช่วงที่คนแพนิคมาก ๆ ทุกคนก็แห่ไปซื้อชองตุนไว้ ทำให้ของหมด และ ของบางอย่างก็ขาดตลาดค่ะ 

ก็ต้องกลับมาดูมามีสินค้าอะไรที่อายุยาวบ้าง เลยมีเหลือแค่ Pancake Mix ตัวเดียว
สุดท้ายก็ต้องขาย เพราะตอนนั้นก็ไม่มีทางเลือกแล้ว 

ทำให้คุณเม ตัดสินใจเอาตัว Pancake Mix มาเพิ่มปริมาณเพื่อที่จะขายหน้าร้าน และก็ได้ทำคลิปวิดีโอ สอนทำขนมโตเกียว สอนทำโอโคโนมิยากิ ทำทาโกะยากิ จาก Pancake Mix  

หรือการทำ Collab กับ Bar B Q Plaza หรือ บาร์บีก้อน เพื่อทำสินค้า “โอโคโนมิยากิ แพนเค้ก มิกซ์” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันระหว่าง แป้งแพนเค้ก After You กับน้ำจิ้มบาร์บีคิว ของบาร์บีก้อน 

การตลาด After you ใช้ Adaptability จากชอบ สู่ Data ไปยังวิกฤต Covid
ขอขอบคุณภาพจาพ IG : afteryoudessertcafe

ส่งผลให้ลูกค้าซื้อไปลองทำค่ะ และคุณเม เองก็คิดต่อว่า จะมีสินค้าตัวไหนบ้างที่จะสามารถอยู่ในครัวลูกค้าได้อีก ก็จะมีตัว บราวนี่ลาวา ฟิกกี้พุดดิ้ง ที่ทำเป็น Frozen ให้ลูกค้าสามารถเวฟที่บ้านได้ 

แต่ปัญหายังไม่จบเท่านั้น เพราะทุกท่านคงทราบดีว่าช่วงที่โควิดเข้าสู่ช่วงพีคจริง ๆ
ห้างสรรพสินค้าก็ต้องมีการประกาศปิด ประกาศล็อกดาวน์กันไปหมด 

และ อย่างที่บอกไปว่าร้าน After you เอง ส่วนมากจะตั้งอยู่บนห้างสรรพสินค้า หรือ อยู่ที่คอมมูนิตี้มอลล์ เรียกว่าเกือบทั้งหมดเลยก็ได้ค่ะ

ซึ่งคุณเมเองก็บอกว่า 95% ของร้านอยู่ในห้าง ดังนั้นแปลว่า ร้านก็จะต้องหยุดไปด้วย

สุดท้ายทีมงานและคุณเม ก็ต้องช่วยกันหาวิธี ทำให้เกิดเป็น Cloud kitchen ได้ 7 สาขา ภายใน 48 ชั่วโมง และอีก 2 วันถัดมาเพิ่มเป็น 15 สาขา คุณเม เองก็บอกว่าตอนนั้นมีโอกาส ก็ต้องทำ Cloud kitchen ให้ได้เยอะที่สุดค่ะ 

ขอขอบคุณภาพจาพ IG : afteryoudessertcafe

หลังจากผ่านวิกฤตโควิด-19 มาได้ก็กลายเป็นร้าน After you แบบที่เราเห็นทุกวันนี้ โดยยังคิดค้นเมนูใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ และ มีสินค้าแบบที่ลูกค้าสามารถกลับไปทำทานเองที่บ้านได้อีกด้วย

เป็นไงบ้างคะ การตลาด After You ที่ผู้เขียนนำมาเล่าให้ฟัง ถ้าชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการตลาดแบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วยนะคะ หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยนะคะ 

สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะヽ(•‿•)ノ

Source Source Source Source Source

Mywmint

มิวมิ้น เรียก มิ้น ก็ได้ค่ะ ● ⋏ ● เป็น Junior Marketing Content Creator ของการตลาดวันละตอนค่ะ รับบท Marketer ฝึกหัด ٩(◕‿◕)۶ ตั้งใจสรรสร้างทุกบทความ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และ ชอบนะคะ ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ด้วยฮะ ʕっ•ᴥ•ʔっ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *