หา Topic ที่คนอยากอ่าน มาทำ Content ด้วย 7 วิธีนี้

หา Topic ที่คนอยากอ่าน มาทำ Content ด้วย 7 วิธีนี้

เพราะ Content ต้องเขียน ต้องทำทุกวัน ใครไม่ได้ลงมือทำเอง นั่งคอมเมนต์งานอย่างเดียวอาจไม่รู้ ว่าหลายครั้งมันก็หมดไอเดีย จนต้องวนกลับมาหัวข้อ Topic เดิมๆ เพียงหยิบมันมาเล่าในรูปแบบใหม่เท่านั้น ในฐานะที่เพลินก็เป็นคนที่เขียนคอนเทนต์เหมือนกัน ก็เลยอยากมาแชร์ 7 วิธีการ หา Topic ที่คนอยากอ่าน มาทำ Content จากทีม Audiense ให้ฟังกันค่ะ

1. วิเคราะห์การค้นหาของคนอ่าน

รู้หรือไม่ว่าเราสามารถดูได้หลังบ้านนะคะ ว่าคนเข้าหาเว็บไซต์ของเราด้วย Search Keywords อะไรบ้าง? ไม่ว่าจะเป็นการเข้าหลังบ้าน Google Analytics หรือจะแอบดูของเว็บคู่แข่งเพิ่มก็ได้ว่า คนเข้าหาเว็บคู่แข่งด้วยคำว่าอะไรที่พวกเค้าสนใจบ้าง? ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราสามารถจับประเด็นหัวข้อหรือ Topic ที่เอาไปขยี้หรือเขียนต่อได้ แถมยังเป็นหัวข้อที่คนต้องการอยากจะรู้จากเราหรือคู่แข่งที่ทำอะไรคล้ายเราด้วย

2. ถามไปตรงๆ เลย

การ หา Topic ที่คนอยากอ่าน ด้วยการโพสต์ถามไปตรงๆ เลย

นอกจากการวิเคราะห์หลังบ้านแล้ว การ หา Topic ที่คนอยากอ่าน ยังมีในส่วนของการถามไปตรงๆ เลยนี่แหละที่ช่วยได้ วิธีนี้ก็ง่ายมาก แค่เข้าไปที่ช่องทาง Social Media ของเราที่มีอยู่ เสร็จแล้วก็ลองตั้งโพสต์ถามดูเลย ว่าอยากให้เราทำคอนเทนต์หรือเขียนบทความเรื่องอะไรเพิ่มอีกบ้างไหม? นอกจากนี้ยังเป็นการถามโดยรวมได้ด้วยว่า พวกเค้าชื่นชอบคอนเทนต์แบบไหนของเราบ้าง? ทั้งนี้ก็เพื่อเอาไปปรับใช้หรือปรับมุมมองการเล่าใหม่ในเรื่องเดิมนั่นเอง ข้อดีของการทำโพสต์ถามไปตรงๆ นอกจากจะได้คำตอบเป็น Topic ชัดๆ แล้ว ยังสามารถเพิ่ม Engagement ในเพจหรือสื่อโซเชียลของเราเองได้ด้วย

3. มองหาคำถามที่ไหลเข้ามา

ลองถามตัวเองเพิ่มว่า เราเคยไหมที่จะไป Monitor ว่ามีคนเค้ามาตอบ เข้ามาถาม เข้ามาคอมเมนต์อะไรในเพจหรือเว็บของเราบ้าง? คำถามพวกนี้ล้วนแต่มีค่าในการนำไปต่อยอดเป็น New Content ใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ Direct Message ที่เราเองก็ต้องเข้าเยี่ยมชมบ่อยๆ ด้วยว่าส่วนมากคนที่ Inbox เข้ามาเค้าถามหาอะไร ต้องการคำอธิบายตรงไหนเพิ่มเติมบ้าง ยิ่งถ้าหากแบรนด์ของเรามีทีม Admin ที่จัดการตอบคำถามหน้าเพจและหลังบ้านอยู่แล้ว เราอาจจะมอบหมายให้ Admin ของเราช่วยรวบคำถามที่น่าสนใจมาให้ทุกสิ้นเดือนเป็น Report ก็ได้ค่ะ

4. สอดส่องคู่แข่ง

แน่นอนว่าคู่แข่งของเราย่อมมีกลุ่ม Prospect Audience ของเรารวมอยู่ด้วย ดังนั้นการที่เราใส่ใจไปสอดส่องว่าคู่แข่งเค้าทำอะไรบ้างย่อมเป็นสิ่งที่ต้องทำ ทั้งนี้ก็หาตัวเปรียบเทียบให้ทีมของเราผลักดันตัวเองให้เก่งหรือทำให้ดีกว่าเดิมด้วย อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องอย่ามองเฉพาะคู่แข่งสายตรงกับเราอย่างเดียว ให้ลองมองคู่แข่งอ้อมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือขายสินค้าและบริการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้เหมือนกับเราดูเพิ่มด้วย ลองพิจารณาว่าเค้าทำอะไรได้ดี ที่เรายังทำไม่ได้ แต่ก็ระวังว่าเราเรียนรู้คู่แข่งเพื่อเอามาพัฒนาทีมของเรา และต่อยอดเท่านั้น ไม่ใช่การ Copy & Paste แต่หากอันไหนที่มีคนทำได้ดีกว่า เราอาจจะมีการเข้าไปพูดคุยขอแชร์ลงสื่อของเราพร้อมให้เครดิตอันนี้ก็เป็นไปได้เช่นกันค่ะ

5. คอยดูว่าอะไรกำลังมา

หา Topic ที่คนอยากอ่าน ด้วยเครื่องมือ Mandala Analytics Cosmo Trends

อีกแหล่งนึงที่เราจะสามารถ หา Topic ที่คนอยากอ่าน ได้ก็คือการติดตามเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น ยิ่งใหม่ แล้วเรากระโดดลงไปเล่นได้ยิ่งดี แต่ตรงนี้ก็มีข้อ Concern ว่าอย่ารีบเสียจนลืมคิดหน้าคิดหลังว่าคอนเทนต์ที่เรากระโดเข้าไปตามเทรนด์นั้นจะส่งผลดีผลเสียอะไรตามมาบ้าง? ซึ่งการตามเทรนด์นั้นก็สามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การนั่ง Monitor เทรนด์ Twitter หรือจะเป็นการใช้แพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์การรวมเทรนด์มาให้อย่าง Mandala Analytics ที่เพลินเคยเขียนสรุปไว้ก่อนหน้าก็ได้เช่นกันค่ะ

6. คุยกับพนักงานขาย

หากบริษัทของคุณมีทีม Sales หรือพนักงานขายอยู่ด้วย ต้องรีบจับมานั่งคุยหรือวานให้ช่วยสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นหน้างานขณะขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าเพิ่มเติมแล้ว เพราะทีมงานกลุ่มนี้คือกลุ่มคนที่เข้าถึงลูกค้าโดยตรงแล้วยังเป็นกลุ่มทีมที่เข้าใจความต้องการของลูกค้ามากที่สุดด้วยว่า ลูกค้าส่วนมากจะมักกังวลเรื่องอะไร ต้องขายแบบไหนที่ทำให้คน Switch brand ได้ หรือพูดอย่างไรที่จะเพิ่ม Basket Size ได้ เป็นต้น ดังนั้นแบ่งแวลาสักช่วงนึงในการคุยกับทีมขายเหล่านี้ค่ะ พยายาม Frame คำถามเพื่อคุยให้ดี เปิดโล่งให้เค้าได้เล่าในสิ่งที่พวกเค้าเจอ หรือให้เค้าได้เล่าเทคนิคขายของของเค้าออกมา

7. ใช้ Social Listening Tools

เครื่องมืออย่าง Social Listening Tools แน่นอนว่าช่วยให้เราหาหัวข้อเพื่อไปต่อยอด Content ได้ เพราะมันคือการใส่ Keywords ที่เราอยากติดตามเข้าไป ทั้งนี้ก็เพื่อมองหาแง่มุม คำถาม หรือบทสนทนาที่เกิดขึ้นในสื่อโซเชียลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อยอด หลายครั้งเรามักจะเจอแง่มุมใหม่ที่เราคิดไม่ถึง อย่างใครจะไปรู้ว่าตลาดคนผมร่วงนั้น มีอาการอะไรอื่นๆ อีกบ้างที่เราควรแตะลงไปเพิ่ม ไม่ใช่แค่เราขายสินค้าผมร่วงก็มุ่งเน้นแต่เรื่องผมๆ อย่างเดียว นอกเหนือจากนั้นอย่างที่เพลินเคยบอกไปในข้อ 5 ว่าเครื่องมือ Social Listening อย่าง Mandala Analytics เนี่ย นอกจากจะเป็นเครื่องมือดักฟังโซเชียลแล้ว ยังมีฟีเจอร์ Cosmo Trends ที่เพิ่มมาใหม่ ที่คอยรวบอะไรที่เป็นกระแสมาให้ด้วย ตรงนี้หากใครยังคิดภาพไม่ออก สามารถคลิกตรงนี้เพื่อดูภาพเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ 7 วิธีการ หา Topic ที่คนอยากอ่าน มาทำ Content ที่จะช่วยให้ทีมทำคอนเทนต์ของคุณทำงานได้ไหลลื่นมากขึ้น และมีเนื้อหามาเสนอมากขึ้น บอกก่อนว่าไม่ขอพูดว่าจะเร็วขึ้นนะคะ เพราะการทำ Research เหล่านี้แน่นอนว่าต้องมีการใช้เวลาเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่อาจจะไม่คุ้นชิน เพราะต้องเปลี่ยนจากการมโน Topic เขียนเอาเองตามใจฉัน มาสู่เรื่องของการใช้ Data มากขึ้น ก็ย่อมมีอะไรที่ขรุขระอยู่บ้าง แต่เชื่อเถอะค่ะว่าผลลัพธ์มันดีแน่นอน ลองดูนะคะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *