Data Visualization ทำเปอร์เซนต์ยอดตัวเลขโตขึ้นหรือลดลงใน Looker Studio

Data Visualization ทำเปอร์เซนต์ยอดตัวเลขโตขึ้นหรือลดลงใน Looker Studio

Google Data Studio ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อไปเป็น Looker Studio เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2022 ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ของ Looker Studio นั้นยังคงให้ใช้ฟรีเหมือนเดิม ซึ่งก็คือ Google Data Studio ตัวเดิมแต่แค่เปลี่ยนชื่อ รวมถึงมีการพัฒนาบริการขึ้นมาใหม่ ตอบโจทย์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ให้สามารถทำงานร่วมกับ Google Cloud Service ,Artificial Intelligence (A.I) ที่มีความต้องการหลากหลาย และ พร้อมรองรับทีมให้ทำงานและตัดสินใจร่วมกัน (Business intelligent)

บริการใหม่นี้ทาง Google จะใช้ชื่อว่า Looker Studio Pro ระบบจะสามารถรองรับการต่อเชื่อมกับแหล่งข้อมูลได้หลายที่มีความยึดหยุ่นสูง ซึ่งส่วนใหญ่องค์กรที่จะใช้งานของ Looker Studio Pro ก็จะใช้ Service ของ Google อยู่แล้วเช่น Google Cloud , Google Big Query เป็นต้น

Looker Studio แบบฟรี ยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถ ให้เราสร้าง Data Visualization ช่วยให้เราทำงานตัดสินใจได้เร็วขึ้น วันนี้จะพามาเรียนรู้ Tips และ Technic เล็กน้อย แต่น่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับองค์กรไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายขาย,ฝ่ายการตลาด หรือ คนที่สนใจ ที่อยากจะนำ Looker Studio ไปใช้งาน

วันนี้เลยอยากจะนำตัวอย่าง การเปรียบเทียบยอดคนมีส่วนร่วม Engagement ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับ 7 วันก่อนหน้านั้น ยอดของคนเข้ามามีส่วนร่วม (engagement) ผลลัพท์โตขึ้นหรือลดลงไปกี่เปอร์เซนต์ (%)

ตัวอย่าง วันนี้เป็นการเก็บข้อมูลจาก Facebook Page มีด้วยกันจำนวน 5 Columns

ตัวอย่างข้อมูลที่นำไปใช้งาน

สามารถ Copy Sheets นี้ไปลองทำดูได้นะครับ Link

5 Columns ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

  • Date/Time : เวลาที่ Facebook ได้ทำการ Post ในข้อมูลจะมีวันที่สุดท้ายคือ 8 มีนาคม 2022
  • Post Channel: ชื่อ Facebook page
  • Platform: Facebook
  • Type Post: มีทั้ง Page Post และ Page reply comment
  • Engagement: ยอดรวมของแฟนเพจที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นในแต่ละวัน

ทำความเข้าใจ Data ก่อน

  • ข้อมูลมีทั้งหมด 609 ROWS
  • Date/Time เริ่มตั้งแต่วันที่ 01-01-2022 ถึงวันที่ 08-03-2022
  • สิ่งที่เราต้องการคือการเปรียบเทียบ Week สุดท้ายเดือน กุมภาพันธ์ 2022 (วันที่ 21-28 กุมภาพันธ์ 2022) เปรียบเทียบกับ 7 วันก่อนหน้านั้น (วันที่ 13-20 กุมภาพันธ์ 2022) ตัวเลขโตขึ้นหรือลดลงกี่เปอร์เซนต์

Looker Studio ทำการเชื่อม Google Sheets เพื่อที่จะหาคำตอบ

การต่อเชื่อมระหว่าง Google Sheets และ Looker Studio ยังคงเหมือนเดิมโดยใช้ URL : https://datastudio.google.com สำหรับคนที่ยังสงสัยการต่อเชื่อมสามารถดูได้จาก Link นี้

รู้จัก Score Card

Score Card การแสดงผลด้วยตัวเลขในรูปแบบ จำนวนผลรวม, ค่าเฉลี่ย,ค่าทางสถิติอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะโชว์ข้อมูลเกี่ยวกับยอดขาย,ยอดรวมเพื่อให้ทราบว่ามีผลลัพท์เป็นจำนวนเท่าไหร่?

เรานำ Score Card มาใช้งาน Dashboard

Score Card

กรณีดูผลรวม Sum Total ในช่องของ SetUp จะต้องใส่ค่าใน Score Card ตามนี้

  • Date Range Dimension = DateTime
  • Metric = Engagement
  • Sum = ค่าของผล Score Card นี้จะใช้ยอด Sum หรือ ผลรวมทั้งหมด
Date Time
Score Card

ถ้าเราต้องการเปรียบเทียบตามโจทย์ที่ให้มา สิ่งที่จะต้องทำต่อจะมีอีก 2 อย่าง

  1. Default date range
  2. Comparison date range

เมนูนี้จะอยู่ถัดจาก Metric ลงมา ในช่อง Setup เราใช้ Mouse หรือ keyboard เลื่อนลงมา

Default date range จะมีให้ตั้งค่าด้วยกัน 2 ค่า

  • Auto : จะแสดงเป็นวันที่ปัจจุบัน
  • Custom การเลือกวัน จะเป็นตัวที่เราจะใช้งานใน Case Study นี้
Date Time Looker

โจทย์ของเราคือ เปรียบเทียบ Week สุดท้ายเดือน กุมภาพันธ์ 2022 (21-28 กุมภาพันธ์ 2022) เปรียบเทียบกับ 7 วันก่อนหน้านั้น (13-20 กุมภาพันธ์ 2022) ตัวเลขโตขึ้นหรือลดลงกี่เปอร์เซนต์

เราจะต้อง Fixed ในช่อง Custom Date จะมี Pop up วันที่ออกมา เราเพียงเลือก วันที่ 21-28 กุมภาพันธ์ 2022 ไว้ก่อน

Comparison date range การเปรียบเทียบในช่วงระยะเวลา

เราสามารถเลือก Menu โดยการเลือกจาก Previous period ซึ่งระบบจะทำการเลือกการเปรียบเทียบให้โดยอัตโนมัติจากวันที่ตั้งต้น (21-28 กุมภาพันธ์ 2022) เป็นวันที่ (13-20 กุมภาพันธ์ 2022)

Data Time ใน Looker Studio
Date Time Looker

หลังจากปรับตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะได้ผลลัพท์เปรียบเทียบว่ายอด engagement นั้นโตขึ้นหรือลดลง จะเป็นการคำนวณในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ให้ทันที

ผลลัพท์ในรูปแบบ Score Card
ผลลัพท์ในรูปแบบ Score Card

สำหรับการเปรียบเทียบในรูปแบบเดือน 30 วันก็ใช้วิธีเดียวกัน แค่เปลี่ยนวันที่ใน Custom เท่านั้นเอง นี่คือ Tips ที่เป็นประโยชน์ของ Looker Studio ที่นำมาช่วยเรื่องของการคำนวณ นอกจากนั้นแล้วประโยชน์ของ Score Card นั้นมีอีกมากมายทั้งข้อมูลสถิตทั้งค่าที่น้อยที่สุด (Min) ค่าที่มากที่สุด (Max) เอาไว้วิเคราะห์ทางด้านการตลาดเป็นต้น

วันนี้ขอส่งมอบประสบการณ์มุมมอง Tips & Technice ที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ แบบลองทำด้วยตัวเองได้ บทความต่อไปก็จะนำเอา Tips ดี ๆ แบบนี้มาบอกต่อกัน

และสำหรับผู้ประกอบการ, SMEs, นักศึกษา, หรือคนที่สนใจอยากจะวิเคราะห์ข้อมูลและทำ Data visualization ด้วยตนเองจากตัวอย่างจริงสามารถลงทะเบียนเรียนได้ตามด้านล่างครับ

คลาสเรียน Data Thinking & Visualization รุ่นที่ 9 กับการตลาดวันละตอน
เรียนออนไลน์วันเสาร์ที่ 5 พ.ย. 2565 เวลา 9:00 – 16:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ > https://bit.ly/Dataviz9

มีชีวิตเพื่อส่งมอบประสบการณ์ ตั้งใจจะเขียนความรู้ถ่ายทอดตามความสามารถที่มี เพื่อส่งต่อให้รุ่นน้อง,หรือคนที่สนใจทางด้านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล หน่วยงานองค์กรไหน อยากให้เข้าไปช่วยเรื่อง Dashboard Marketing ติดต่อได้ที่เพจการตลาดวันละตอนได้เลยครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *