Insights พฤติกรรมของผู้บริโภค ยุคดิจิทัล จากรายงาน SYNC Southeast Asia

Insights พฤติกรรมของผู้บริโภค ยุคดิจิทัล จากรายงาน SYNC Southeast Asia

วันนี้ปลื้มได้มีโอกาสเข้าร่วมฟัง รายงานประจำปี SYNC Southeast Asia โดย Meta และ เบน แอนด์ คอมพานี มาเลยอยากเอามาแชร์ ซึ่งภาพรวมระยะยาวของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ พฤติกรรมของผู้บริโภค ดิจิทัลด้วย จะมีแนวโน้มและ การคาดการณ์อย่างไรมาดูกันค่ะ

จากการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคดิจิทัลกว่า 16,000 คน จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทต่าง ๆ กว่า 20 คนจากหกประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมไปถึง ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยทีม Meta และ เบน แอนด์ คอมพานีค่ะ

เพื่อทำความเข้าใจเทรนด์ในปัจุบัน ทิศทางในอนาคต เศรษฐกิจดิจิทัล การเติบโตของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค ซึ่งรายงานก่อนหน้านี้ของ Meta และ เบน แอนด์ คอมพานี ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2565 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีผู้บริโภคดิจิทัลกว่า 370 ล้านคน ในขณะที่จะมีประชากรไทยกว่าร้อยละ 72 ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ภายในปีนี้ 

สำหรับผลการศึกษาโดย Meta และ เบน แอนด์ คอมพานีครั้งนี้ ชี้ไทยเป็นผู้นำในการรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ภาพรวมอีคอมเมิร์ซยังเป็นไปในเชิงบวกแม้สถานการณ์โลกยังผันผวน โดยคาดว่าระหว่างปี 2563 – 2570 ไทยจะเติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 14 แซงหน้าตลาดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีนค่ะ

โอกาสของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Insights พฤติกรรมของผู้บริโภค ยุคดิจิทัล จากรายงาน SYNC Southeast Asia

ขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ อย่างที่เราทราบกันดี ทั้งโรคระบาด สงคราม ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราได้รับผลกระทบที่น้อยกว่า นั่นทำให้ภายในสิ้นปีหน้า ภูมิภาคนี้จะรักษาอัตราการเติบโตของ GDP ตลาดอื่นๆ 

สำหรับไทยแลนด์เรากว่า 72% ของประชากรที่อายุ 15 ปีขึ้นไป จัดอยู่ในกลุ่มผู้บริโภคยุคดิจิทัลค่ะ ซึ่งพบว่าผู้บริโภคชาวไทยเหล่านี้มีการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่  43 เหรียญสหรัฐ หรือเงินไทยอยู่ที่ประมาณ 1,638.30 บาท ในปี 2022 ดังนั้นยอดขายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) เพิ่มขึ้น 14% ระหว่างปี 2022 – 2027 

ทั้งนี้การค้าดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทยยังคงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคต้องการประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ผสมผสานระหว่างออนไลน์ ออฟไลน์ และประสบการณ์อื่น ๆ ได้อย่างลื่นไหลกว่าเคย โดยผู้บริโภคชาวไทยช้อปผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์โดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 16.4 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเมื่อเทียบกับตัวเลขเฉลี่ยของภูมิภาคที่ร้อยละ 15.3

พฤติกรรมของผู้บริโภค ออนไลน์และออฟไลน์

ต้องบอกว่าประสบการณ์ Shopping แบบบูรณาการหลายช่องทางเป็นเครื่องมือผลักดันตลาดดิจิทัล แม้ว่าการซื้อสินค้าแบบออฟไลน์จะเพิ่งเริ่มฟื้นตัว แต่ช่องทางออนไลน์ยังคงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับผู้บริโภคชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แสวงหาช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์ที่สะดวกสบาย ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหาสินค้าไปจนถึงการตัดสินใจซื้อ รวมทั้งบริการหลังการขายด้วย

เพราะพบว่ากว่า 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทย ใช้ช่องทางออนไลน์ในการค้นพบ และพิจารณาสินค้า ซึ่ง Social Media ก็เป็นช่องทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั่นเองค่ะ และสินค้าที่ผู้บริโภค search จากออนไลน์ แต่ไปซื้อออฟไลน์จะเป็นประเภทสินค้าตกแต่งบ้านและของใช้ในครัวเรือนเป็นต้นค่ะ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าการได้สัมผัสดูตัวเองอาจจะเพิ่ม Feeling ในการตัดสินใจซื้อได้ดีกว่า

ในมุมมองของปลื้มรู้สึกว่าพฤติกรรมการชอปปิงในปัจจุบันผู้บริโภคของเรามีทางเลือกที่เยอะขึ้น Omni Channel จึงสำคัญ สนใจที่จะใช้ในการดึงผู้บริโภคจาก Channel หนึ่งไปอีก Chanel หนึ่ง ให้ทำงานผสานกัน จะทำให้เราครอบคลุม  Journey ของผู้บริโภคตลอดการเดินทางเลย แบบไปไหนก็เจออะไรแบบนี้ค่ะ 

การใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยบนออนไลน์

มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าในแต่ละอุตสาหกรรมธุรกิจ เป็นกราฟมาให้ดูเลยว่า คนไทยใช้จ่ายกับสินค้าประเภทไหน โดยเปรียบเทียบระหว่างปี  2021 กับ ปี 2022  พบว่าแต่ละหมวดหมู่มี spending ที่ต่างกัน อย่างบางหมวดหมู่ก็ยังเติบโตต่อเนื่อง เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ 

แต่ก็มีหมวดที่ขยับลดลง อย่างพวกเสื้อผ้า ซึ่งมีการแชร์ว่าหลังจากล็อคดาวน์ ทำให้ผู้คนอยากจะมาเดินช็อปที่ห้างมากกว่าซื้อออนไลน์แบบนี้เป็นต้นค่ะ เอาจริงๆ แล้ว การซื้อเสื้อผ้าอาจจะไม่ได้ลดลง แต่แค่อาจจะมี spending บนออฟไลน์มากกว่าก็ได้ค่ะ

ความนิยม Video มาแรง

คือวีดีโอที่ปลื้มหมายถึงมันไม่ใช่แค่ Content วีดีโอที่ได้รับความสนใจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Video Content ในตอนนี้มาแรงจริงๆ ค่ะ เพราะผลการสำรวจเขาบอกว่าผู้คนค้นพบสินค้าผ่านทาง Video มากที่สุด และที่สำคัญ 34% ของผู้บริโภคซื้อสินค้ากับ Creator มากขึ้นด้วยค่ะ

และที่ปลื้มได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ ว่ามันไม่ใช่แค่ Video Content ที่ปัง แต่ Video streaming เขาเรียกกันว่า Live สด เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในไทยเลยค่ะ

ปลื้มว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดีเลย ถ้าหากว่าแฟนจะเริ่มทดลองใช้ Video มาเป็นเครื่องมือกระตุ้นในการตัดสินใจ และสร้างการรับรู้ของสินค้า เดี๋ยวนี้คนไทยมีความรู้ในการใช้โซเชียลมากขึ้น มีการซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น ทำให้ การเห็นสินค้าผ่านทางวีดีโอ มันก็จะช่วยสร้างประสบการณ์ร่วม อย่างถ้าเจอคลิปรีวิวเช็ดกระจก ก็ช่วยส่งผลให้ผู้ชมรู้สึกว่าอยากซื้อมาเช็ดกระจกที่บ้านเลยอะไรแบบนี้ค่ะ 

มันเป็นการกระตุ้นชนิดหนึ่ง เพราะบางทีสินค้านั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในหัวของเราในตอนแรก แต่ถ้าเราไปเห็นแล้วก็รู้สึกว่า ถ้าเรามีก็คงดีนะ / อยากจะมีไว้บ้างจัง หรือ เป็นปัญหาเดียวกับที่ฉันเจอเลย สินค้านี้ดูตอบโจทย์ฉันเลย แบบนี้เป็นต้น โดยการเขียนหรือแค่รูปภาพ อาจจะทำให้เราไม่ได้รู้สึกอยากได้ขนาดนั้นเมื่อเทียบกับการชมวีดีโอนั่นเองค่ะ

บทความนี้ต้องขอบคุณข้อมูลจาก Meta และ เบน แอนด์ คอมพานี ในการสำรวจเทรนด์และ Insights ผู้บริโภค ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับนักการตลาดและแบรนด์ ที่ทำให้เราสามารถปรับตัวได้เร็ว เพราะหลายแบรนด์ที่เพิ่งเข้ามาในออนไลน์ปีนี้ กำลังงมๆ อยู่กับการโพสต์ขายอย่างเดียว 

ต้องบอกว่าพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปค่อนข้างเร็วเลยในช่วงเวลาสั้นๆ นี้ เราต้องตามเทรนด์อยู่ตลอดเวลาจริงๆ ค่ะ แล้วเรานำหน้าคู่แข่งไปก่อนแน่นอนค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source : https://www.facebook.com/business/m/sync-southeast-asia

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน