แนวคิดของ L’Oréal ที่ใช้ Deep Consumer Insight พลิกกลยุทธ์การตลาดให้ปัง

แนวคิดของ L’Oréal ที่ใช้ Deep Consumer Insight พลิกกลยุทธ์การตลาดให้ปัง

แนวคิดของ L’Oréal ประเทศ Indonesia ที่ใช้ Deep Consumer Insight จาก Consumer Research พลิกกลยุทธ์การตลาดให้ปัง

ถ้าพูดถึงเป้าหมายสำคัญของนักการตลาด คงหนีไม่พ้นการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Market Share ตามสเกลของแบรนด์ใช่ไหมล่ะคะ และนอกจากปัจจัยอื่น ๆ เพื่อไปถึงเปาหมายแล้ว หนึ่งในหัวใจสำคัญคือนักการตลาดต้องเข้าใจลูกค้าเป้าหมายให้ลึกและตรงเป้ามากที่สุด อาจจะใช้เวลาหน่อย แต่มักได้ผลระยะยาวดีกว่ารีบหว่านเม็ดเงินไปกับจุดอื่นแน่นอน

และการจะเข้าใจ Deep Consumer Insight ให้ได้ในยุคที่ทุกคนชอบใช้ Social Media แบบนี้ยิ่งง่ายกับนักการตลาดนะคะ การบ้านที่ต้องเร่งทำคือหาเครื่องมือและวิธีเก็บเทรนด์ เก็บ Insight ให้มัน Real Time และมีประโยชน์กับแบรนด์ ซึ่งปัจจุบันก็มีเครื่องมืออย่าง Social Listening หรืออื่น ๆ ที่สามารถทำ Consumer Research ได้ให้เลือกหลากหลายราคาที่ดึลมาใช้ได้ไม่ยาก อย่าลืมเตรียมบุคลากรที่ต้องนั่งอยู่กับข้อมูลโดยเฉพาะด้วยนะคะ

เพื่อให้นักการตลาดได้เห็นภาพมากขึ้น นุ่นไปเจอข้อมูลดี ๆ จาก Brandwatch ที่แชร์แนวคิดโดยแบรนด์ L’Oréal ประเทศ Indonesia เกี่ยวกับการใช้ Consumer Research ขุดหา Deep Insight ของลูกค้าเพื่อเอามาพลิกโฉมกลยุทธ์การตลาด ปรับตัวเองให้มีพื้นที่บน Beauty Market Share มากขึ้นในฐานะแบรนด์ใหญ่ นักการตลาดที่อยู่ทุกกลุ่มธุรกิจลองอ่านและเก็บไว้เป็นไอเดียเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับแบรนด์ตัวเองดูกันได้เลยนะคะ

เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อขุด deeper insights

นุ่นอยากให้นักการตลาดมองภาพเป็นเลเยอร์ จากภาพกว้าง ๆ จนค่อย ๆ ขุดให้ลึกลง อย่างเช่นแต่เดิม L’Oréal Indonesia มีคลัง Data เกี่ยวกับผู้บริโภคของตัวเองอยู่แล้ว และนุ่นเชื่อว่าตอนนี้ทุกแบรนด์ต้องมีอยู่ในมือไม่มากก็น้อย เพียงแต่ว่าจะต้องเริ่มตีวงอุตสาหกรรม และข้อมูลอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องเช่นกัน เพื่อไม่ให้เราวนอยู่ในอ่าง ไม่ใช่แค่ลูกค้าเก่าหรือลูกค้าคู่แข่ง แต่เป็นคนที่เอาเงิน เอาเวลาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง หรือแทนที่สินค้าเราได้เหมือนกัน 

นอกจากนี้นักการตลาดต้องนำข้อมูลแนวโน้มของตลาด ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมาอยู่ใน dashboard ด้วย ตัวอย่างเช่น การทำความเข้าใจความวิตกกังวลในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด19 ยอดผู้ติดเชื้อที่ยังสูง กิจการบางประเภทยังไม่สามารถให้บริการได้ 100% มีช่องว่างตรงไหนที่สินค้าหรือแบรนด์จะเข้าไปทดแทนหรือปรับแพลนการตลาดให้เข้ากับสถานการณ์ความรู้สึกตรึงเครียดของผู้บริโภคได้บ้าง

ถ้าคุณแม่บ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเราในช่วงนี้ต้องดูแลคนในบ้านเป็นพิเศษเพราะทั้งเรียนออนไลน์และ Work From Home จากที่ขายผงซักฟองขจัดคราบธรรมดา ๆ   ลองให้แคมเปญบิดไปทางกลิ่นหอมมากเอาใจคนในบ้าน ช่วยให้เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนส่งกลิ่น Relax คลายเครียดได้แม้จะต้องนั่งหลังแข็งจ้องจออยู่ในห้องทั้งวันดูน่าจะเวิร์คกว่าไหมนะ?

ใช้เทคนิคหา Deep Consumer Insight จากการทำ Campaign analysis

ข้อนี้สามารถใช้ได้กับแคมเปญเก่า ๆ ของแบรนด์ หรือจะยิ่งดีถ้าเป็นแบรนด์ในหมวดเดียวกันหรือใกล้เคียงแบรนด์เราค่ะ นุ่นคิดว่าขาดไม่ได้เลยที่เราจะทำการบ้านเยอะ ๆ กับส่วนนี้ เพราะนอกจากจะได้เห็นมุมที่ไม่เคยคิดเกี่ยวกับผลตอบรับผู้บริโภคเราแล้ว ยังได้ Case Study ว่าแบบไหนดีไม่ดี ทำแบบไหนถึงจะอุดรอยรั่วแคมเปญเก่า ๆ ได้ และมีลูกเล่นอะไรมาเสริมได้บ้าง L’Oréal Indonesia เองก็ให้ความสำคัญกับ Feedback แคมเปญไม่น้อยค่ะ

ถ้าจะให้ยกตัวอย่างสมมุติว่านักการตลาดได้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาด K-POP มาว่าถ้าเอามาเล่นจะได้ Engagement ถล่มถลาย แฮชแท็กติดเทรนด์ ยอดขายกระฉูดแน่นอน สิ่งที่ควรทำต่อคือลองศึกษาแคมเปญที่เกิดขึ้นจริง เพื่อขุดหา Deep Insight ที่เกิดขึ้น เทรนด์ที่ติดเนี่ยมาจากสแปมหรือด่าแบรนด์เพราะใช้รูปโป๊ของศิลปินหรือเปล่า อธิบายง่าย ๆ คือต้องศึกษาเคสที่เกิดขึ้นจริง เก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดเพื่อปั้นเป็นกลยุทธ์ที่ดีกว่าคู่แข่งหรือแคมเปญเก่า ๆ

นุ่นยกตัวอย่างแบรนด์ที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในวงการ Beauty อย่าง Benefit (ประเทศเกาหลี) ที่ทำแคมเปญการตลาดโดยใช้คุณฮาซองอุน ไอดอลเกาหลีที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ในเรื่องริมฝีปากสวยดึงดูด มาโปรโมท Tint ที่เป็นไลน์สินค้าหลัก ๆ พร้อมมีกระจกลายเซ็นฮาซองอุนแถมให้สำหรับลูกค้าที่ซื้อตามข้อกำหนด 

จากแคมเปญนี้เราจะเห็นวิธีการเลือกพรีเซ็นเตอร์แถมมาด้วย รวมทั้งสามารถศึกษา insight การซื้อสินค้าความสวยความงามคู่กระจก พฤติกรรมของแฟนคลับหรือกลุ่มเป้าหมายว่ามีผลตอบรับดี ยอดเป็นอันดับ 1 ของเว็บไซต์ Shopping เกาหลีในวันที่เปิดขายวันแรก ถ้าแคมเปญที่มีแฮชแท็กนักการตลาดก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลเบื้องต้นของคนซื้อ นักเรียนนักศึกษาชอบซื้อผ่านเว็บใหม่ หรือมีข้อความที่บอกว่าอยากซื้อที่เคาท์เตอร์มากกว่า

หรืออีกแคมเปญจาก Estee Lauder (ประเทศเกาหลี) ที่ใช้ไอดอลเกาหลีชื่อดังวง Twice เพื่อขายสินค้าลิปสติกพร้อมลายเซ็นของเมมเบอร์แต่ละคน เราก็สามารถเข้าไปดูผลตอบรับของแคมเปญนี้ว่าการที่มีลายเซ็นคนดังบนสินค้าผลตอบรับเป็นอย่างไร เหมาะกับเป้าหมายการตลาดเราไหม เป็นต้นค่ะ

สรุปแนวคิดของ L’Oréal ที่ใช้ Deep Consumer Insight พลิกกลยุทธ์การตลาดให้ปัง

L’Oréal Indonesia เน้นการใช้ข้อมูลในเทคนิคเบื้องต้นเพื่อนำมาใช้กับการตลาดของแบรนด์อย่างจริงจัง มีการปรับปรุงทั้งสินค้าและแผนการตลาดตามข้อมูลเชิงลึกและจาก Social Listening ของ Brandwatch รวมทั้งให้เวลากับ Campaign Analysis ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

รวมทั้งเชื่อในการทำ Consumer Research อย่างละเอียดและ Real Time ค่ะ นอกจากนี้นักการตลาดต้องอย่าลืมให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันในองค์กร ให้เข้าใจข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน รับรู้ปัญหาเดียวกัน มี Data นำทางลดเวลาเถียงกันไปได้เยอะเลยค่ะ  ยังไงนักการตลาดลองนำไปเป็นแนวทางการทำงานดูนะคะ

source : www.brandwatch.com

สำหรับผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening Tool เพื่อเข้าถึง Consumer Insight ที่แท้จริงจาก Data การตลาดวันละตอนเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics Boostcamp หลักสูตรเร่งลัดสอนจากประสบการณ์จริงที่ทำ Data Research ให้ลูกค้าหลายราย เรียนวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท สนใจอ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ > https://bit.ly/SLAB3

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *