Localized Marketing การตลาด Lay’s จีบคนจีนด้วย Local Food

Localized Marketing การตลาด Lay’s จีบคนจีนด้วย Local Food

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว Marketer ทุกคนในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ถือเป็นช่วงที่พวกเรา ชาวการตลาดต้องทำการบ้านกันอย่างหนัก และบวกกับรีบทำการตลาดเพื่อปิดยอดขายให้ทันในเดือนสุดท้ายของไตรมาสกันนะคะ ไม่ว่าใครทำธุรกิจไหนก็ต้องเร่งกันทำยอดสุด ๆ วันนี้ผู้เขียนมีไอเดียการทำการตลาดที่ใช้ Local Food ความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของจีน มาทำ การตลาด Localized Marketing ของ Lay’S มันฝรั่งทอดกรอบเรามันหยิบใส่ตะกร้าเวลาเข้าซุปเปอร์มาร์เกตมาฝากค่ะ ว่าเค้าใช้กลยุทธ์นี้จีบคนจีนให้ติดงอมแงมอย่างไร ไปอ่านกันได้ในบทความนี้เลยค่ะ

การตลาด Lay’s จับความ Local เอาใจความเป็นชาตินิยมของคนจีน

จีนตลาดใหญ่ให้ที่ใคร ๆ ทั่วโลกก็อยากหวังส่วนแบ่งการตลาดกันทั้งนั้น และ Lay’s ก็เป็นหนึ่งแบรนด์ที่อยากตีตลาดจีนให้แตก แต่โจทย์งานยาก งานหิน ของการทำการตลาดในประเทศจีนนั่นก็คือ การเป็นชาตินิยมที่ฝังลึกอยู่ใน DNA ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ค่ะ คนจีนมักจะเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และเป็นบริษัทของคนจีนที่ผลิตขาย รวมทั้งอีกปัญหาหนึ่งคือ Lay’s มีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกันขนมขบเคี้ยวในประเภทเดียวกัน นี่จึงเป็นโจทย์ที่ Lay’s ต้องนำมาแก้ค่ะ 

ที่มา : @peepaoguangzhuo
  • วิธีการอะไรที่จะทำให้คนจีนมานิยมกิน Lay’s ที่เป็นของบริษัทข้ามชาติ? 
  • กลยุทธ์อะไรที่จะสามารถจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ของจีนให้อยู่หมัด?
  • วิธีการไหนที่ส่งผลให้คนในประเทศจีนนิยมซื้อสินค้าของ Lay’s ในระยะยาวได้?

และจากโจทย์ทั้งหมดนี้ ก็ได้ Insight มาหนึ่งอย่างที่สามารถ ลิงก์กับ Lay’s ได้นั่นก็คือ อาหารที่อยู่ในความทรงจำของคนจีน จนเป็นกลยุทธ์ของการทำ Localized Marketing เพื่อเปลี่ยนจาก Lay’s ที่เป็นขนมจากต่างชาติให้กลายเป็น Lay’s สไตล์จีน เพื่อเอาใจกลุ่มลูกค้าจีนค่ะ

ที่มา : mindshareworld.com/china/work/lays-find-your-flavor

3 Insight ทำไม Lay’s เลือกใช้ Localized Marketing มาสร้างความผูกพันธ์กับคนจีน

1.อาหารคือจุดเด่นของประเทศจีน และความหลากหลายแตกต่างตามมณฑ

ด้วยประเทศจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ และมีหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละมณฑณก็มีอาหารพื้นเมืองตามเขตนั้นๆ ที่มีเอกลักษณ์ มีรสชาติที่หลากหลาย และสะท้อนถึงความทรงจำของความเป็นชาวจีนได้มากที่สุด Lay’s จึงได้นำจุดเด่นนี้มาเป็น Gimmic เพื่อลบความเป็นแบรนด์มันฝรั่งข้ามชาติ ให้คนจีนรู้สึกได้ถึงความเป็นสินค้าจีนที่มากขึ้นค่ะ

2.คนจีนมีความเป็นชาตินิยมสูง

ด้วยความเป็นชาตินิยมของคนจีน การจะทำตลาดในคนกลุ่มนี้ก็ต้องแทรกซึมความเป็นชาตินิยมของคนจีนให้ได้ ซึ่งก็เป็นที่มาของการนำ Lay’s มาปรับรสชาติให้เป็นรสชาติของอาหารจีน เพื่อให้ถูกปาก และมีความเป็น Local Food แบบจีนมากขึ้นค่ะ

3.Lay’s ทำ การตลาด สร้างความสัมพันธ์ของสินค้าให้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากที่สุด

ด้วยการลบล้างความรู้สึกของความเป็นแบรนด์สินค้านอกประเทศ นอกจาก Lay’s จะผลิตมันฝรั่งรสชาติสไตล์จีนที่มีขายเฉพาะในประเทศจีนแล้ว ยังมีการนำเสนอความเป็นสินค้าที่เอาใจค่านิยมของคนจีนในด้านอื่น ๆ อีก เช่น

  • การนำเสนอ สถานที่ปลูกมันฝรั่งของ Lay’s ใช้มันฝรั่งที่ปลูกในประเทศจีน
  • การใช้สื่อ Douyin หรือ Tiktok จีน เพราะความเป็น Original ของสื่อนี้ที่เป็นต้นกำเนิดและคนจีนนิยมใช้ค่ะ
  • มีการใช้ KOL และ KOC คนจีน เพื่อโปรโมทให้กลุ่มลูกค้าจีนสนใจ และอยากลองชิมสินค้า

การตลาด Lay’s  กับแคมเปญ Find Your Flavour  จีบคนจีนด้วยรสชาติแห่งมณฑล สร้าง Brand Affinity 

จาก Insight ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ Lay’s ได้นำความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารในแต่ละมณฑลมาเปิดตัวเป็นรสชาติเลย์ที่โดนใจกลุ่มลูกค้าชาวจีน เช่น 

  • Lay’s รสแตงกวา
  • Lay’s รสมะนาว
  • Lay’s รสหม่าล่าหม้อไฟ
  • Lay’s รสหอยนางรม
  • Lay’s รสปลาไหลย่าง

โดยรสชาติเหล่านี้ล้วนเป็นรสชาติที่อยู่ในความทรงจำของคนจีนทำให้เมื่อได้กินเข้าไปแล้วสามารถดึงความรู้สึกร่วมกับสินค้าในคนจีนได้เป็นอย่างดี และยังมีขายเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ไหนใครเคยลองกันแล้วบ้างค่ะ ผู้เขียนก็อยากลองเหมือนกันค่ะ

 ที่มา : mindshareworld.com/china/work/lays-find-your-flavor

วิธีโปรโมทแบบโซเชียลจีน ที่มัดใจคนจีนให้รัก Lay’s

ด้วยความชาตินิยมของคนจีน จึงนิยมใช้โซเชียลมีเดียของตัวเองค่ะ นั่นก็คือ Douyin หรือ Tiktok จีน นั่นเองค่ะ ซึ่งจะสามารถใช้ได้เฉพาะคนจีนเท่านั้นนอกจากจะเป็นกันยิงโฆษณาถูกเป้าแบบ 100% แล้ว ยังสร้างกระแสชาตินิยมของคนจีนได้เพิ่มอีกด้วยค่ะ 

ใช้ KOL และ KOC จีนโปรโมท Lay’s สไตล์จีน ๆ  

นอกจากนี้ยังใช้ KOL และ KOC โปรโมท Lay’s เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและกระตุ้นการซื้อสินค้าอีกด้วยค่ะ เพราะการสื่อสารครั้งนี้ต้องการซื้อใจให้คนจีนมีอารมณ์ร่วมกับสินค้าให้ได้มากที่สุด ทาง Lay’s จึงอัดโฆษณาทุกวัน ผ่านกลุ่ม KOL และ KOC โดยใช้จุดขายความรู้สึกภาคภูมิใจของชาติ และความรักชาติที่มีใน DNA ของคนจีนมาสร้างจุดขายให้สินค้า

พาทำความรู้จักKOL และ KOC เพื่อโปรโมทแคมเปญ ต่างกันอย่างไร?

KOL (Key Opinion Leader) = ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก และถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างการตัดสินใจซื้อสินค้า

KOC (Key Opinion Consumer) = นักรีวิว หรือผู้บริโภคที่มีคนรู้จัก และให้ความสนใจ มีความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าและมีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้า 

@lisanguyen

Trying 4 different Lay’s Potato Chips #Lays #LaysChips

♬ original sound – Lisa Nguyen

ที่มา : @lisanguyen

การตลาด Lay’s ในไทยก็เคยทำ  Localized Marketing นะ!

ถ้าใครยังจำได้ในไทยเราก็มีการผลิด Lay’s รสชาติ Local Food เหมือนกันนะคะ  เช่น รสแกงเขียวหวาน รสต้มยำกุ้ง รสเมี่ยงคำ รสกระเพรา รสปูผัดผงกระหรี่ ซึ่งบางรสก็อาจจะไม่อยู่ในท้องตลาดแล้ว สำหรับผู้เขียนคิดว่าจุดประสงค์ของการทำ Lay’s Local Food ในไทยน่าจะมีความแตกต่างจากที่จีนอยู่ค่ะ เพราะคนไทยมีรสนิยม Open กับอาหารทุกสไตล์ และทุกชาติ แต่จุดประสงค์หลักน่าจะทำเพื่อการจับกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติให้ซื้อเป็นของฝากกลับประเทศกันมากกว่าค่ะ เพราะเราจะไม่สามารถซื้อ Lay’s Local Food ได้จากร้านสะดวกซื้อปกติ แต่จะเห็นตามร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าที่อยู่ในเขตแหล่งท่องเที่ยว

การตลาด Lay’s

ที่มา : marketplus.in.th

Lay’s ใช้ความ Local เพื่อสร้าง Brand Affinity ให้กับลูกค้า

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับแคมเปญนี้ที่ผู้เขียนนำมาฝากกับชาว Marketer ถือเป็นการใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหาชาตินิยมของผู้บริโภคได้อย่างฉลาดเลยค่ะ เหมือสำนวนไทยที่ว่าเข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตามค่ะ คือ หากเราไม่เป็นที่นิยมของบ้านเค้าแบบไหน ก็ไปปรับแก้จุดนั้น เอาความรู้สึก ความรัก ความชอบของกลุ่มลูกค้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการขายสินค้าได้ในระยะยาวนะคะ 


อัพเดทข่าวสาร เพื่อติดปีกให้คุณเป็นนักการตลาดที่ไม่ OUT !!!  อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม คลิกที่ลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ เพจการตลาดวันละตอน เว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit

Chulee.

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และสื่อสารการตลาด / นักเขียนบทความการตลาด ชอบงานศิลปะ งานครีเอท ไอเดีย เจ๋ง ๆ จึ้ง ๆ! น้องใหม่ทีมการตลาดวันละตอน ฝากผลงานด้วยนะคะ :) ♥รักเวลา... เวลามีค่ามากที่สุด⏰

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *