แคมเปญการตลาดสินค้า FMCG แบรนด์ดังที่ใช้ได้แบบ Timeless

แคมเปญการตลาดสินค้า FMCG แบรนด์ดังที่ใช้ได้แบบ Timeless

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ บทความนี้นิกมีตัวอย่างของการทำแคมเปญการตลาดสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค FMCG ที่น่าสนใจ และสามารถใช้ได้ไม่ตกยุค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ Digital Marketing ที่มีการเปลี่ยนแปลงของการตลาดค่อนข้างรวดเร็วค่ะ

โดย FMCG หรือ Fast-moving consumer goods คือสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการซื้อขายง่ายและรวดเร็ว ซึ่งมีต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ ราคาขายไม่สูงมาก ที่เรามักใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ในห้องน้ำ หรือสินค้าจำพวกผลิตภัณฑ์ ในครัวเรือน และถือเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ และมีการแข่งขันที่สูงมากๆ (หลายบทความกล่าวว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในโลก) ที่แบรนด์ใหญ่ต่างๆ พยายามแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด ความสนใจของลูกค้า ตลอดจนสร้าง Brand Royalty ให้เกิดขึ้นค่ะ

โดยในบทความนี้นิกจะพาเพื่อนๆ ไปดูตัวอย่างของแคมเปญการตลาดที่ถูกกล่าวถึงว่าใช้ได้ทุกยุคสมัยตลอดกาล 5 แคมเปญจ์ จากแบรนด์สินค้าที่เมื่อพูดถึงแล้วทุกคนต้องร้อง อ๋ออออ,,,, แน่นอนค่ะ^^

ว่าแล้วก็มาเริ่มกันที่แบรนด์ Coca-Cola ที่ออกแคมเปญ “Share a Coke”

#1 Share a Coke จาก FMCG ที่ทุกคนรู้จักอย่าง Coca-Cola

โดยแคมเปญนี้นับว่าเป็นแคมเปญจ์การตลาดของ FMCG ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดการ ที่ให้ลูกค้าสามารถทำขวด และกระป๋องที่สามารถในชื่อลงไปได้ ภายใต้ธีม Personalized and Shareable ให้เราสามารถ Share Coke ที่มีชื่อของเรากับเพื่อนๆ และครอบครัวได้ ซึ่งแคมเปญนี้เปิดตัวในประเทศออนเตรเลียปี 2554 และถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางกว่า 70 ประเทศทั่วโลก จนในที่สุดจากแคมเปญนี้ Coca-Cola สามารถทำกยอดขายจากแคมเปญจ์นี้มากกว่า 1 พันล้านขวด 😎✨📈 (เพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.marketingmag.com.au/news/share-a-coke-campaign-post-analysis/ ค่ะ)

credit: Coca-Cola United

#2 “Real Beauty” จากผลิตภัณฑ์สระผมค่ายดังอย่าง Dove

ซึ่งแคมเปญมาจากความต้องการที่จะตั้งคำถามกับมาตรฐานความสวยงามที่เราเชื่อกันมา โดยผลักดันให้มีเราพิจารณาความหลายหลายของความสวยของผู้หญิง ที่นำเสนอผู้หญิงทุกสีผิว รูปร่าง และทุกวัยในโฆษณา เพื่อส่งเสริมการมองโลกในแง่ดี เคารพในความแตกต่าง และรักตนเอง ตามหลักการทางจิตวิทยาการจูงใจ Principles of Persuasion ที่ว่าเกี่ยวเนื่องกับเรื่อง ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม ในการ Linking (การเชื่อมต่อตัวเองเข้าสู่สังคม) และ Reciprocity (การกลับมาซื้อซ้ำจากความต้องการตอบแทน) โดยเพื่อนๆ สามารถศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ผ่านการวิเคราะห์ตัวอย่างของ Dove เพิ่มเติมได้ที่ https://leeannbaugh.com/principles-of-persuasion-a-look-at-doves-real-beauty-campaign/ ค่ะ 📜👓

credit: Dove firming range

#3 “Red Bull Stratos” แคมเปญจาก FMCG เจ้าใหญ่ของไทยอย่าง Red Bull

Red Bull Stratos แคมเปญจาก Red Bull ที่กระตุ้นการซื้อจากการเป็น Sponsor ในการดิ่งพสุธาจากขอบของอวกาศของ Felix Baumgartner ที่สามารถกลับสู่พื้นโดลกได้อย่างปลอดภัย โดยแคมเปญนี้ทำให้ Red Bull ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางทางออนไลน์ และมีการเข้าดูหลายล้านครั้ง ตลอดจนสามารถช่วยเพิ่มยอดขายของ Red Bull และที่สำคัญที่สุด คือเป็นการสร้างภาพจำของ Red Bull ในฐานะของแบรนด์ที่กล้าออกจากขอบเขต (ก็ข้ามผ่านขอบโลกยังทำมาแล้ว 😎) และกล้ารับความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์แข็งแกร่งขึ้น

credit: redbull.com

#4 “Good Morning World” จากค่ายที่ทุกบ้านคุ้นเคยอย่าง Nescafe

โดยแคมเปญนี้มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมภาพลักษณ์ผ่านข้อความของแบรนด์ในการเริ่มต้นเช้าวันใหม่ ด้วยการนำเสนอชุดวิดีโอที่แสดงจากผู้คนทั่วโลก ที่เริ่มต้นวันใหม่อย่างสดชื่นด้วย Nescafe ถ้วยโปรด ซึ่งแคมเปญนี้ต้องการสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มีการบริโภคกาแฟที่มากขึ้น และมีพฤติกรรมในการหยิบมือถือขึ้นมาดูเป็นกิจกรรมแรกในช่วงเวลาเช้า ทาง Nescafe เลย provide ชุดวิดีโอนี้เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนยุคใหม่ได้มากยิ่งขึ้น

#5 “Do us a Flavour” แคมเปญจาก FMCG ขนมเจ้าตลาดอย่าง Lays

“Do us a Flavour” เปิดตัวในปี 2555 (คิดว่าเพื่อนๆ หลายท่านยังจำได้แน่นอนค่ะ^^) ที่เชิญชวนในผู้บริโภคเสนอแนวคิดของรสชาติของตัวเอง สำหรับมันฝรั่ง Lays ซึ่งแคมเปญนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการสร้าง submission มากกว่า 3.8 subs และสามารถเพิ่มยอดขายอย่างมหาศาลให้กับ Lays ได้อีกด้วย ซึ่งเทคนิคที่ Lays ใช้คือการสร้างความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของ Comunity ของ Lays และได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในสินค้าที่กำลังจะซื้อให้ผู้บริโภค ร่วมกับกลยุทธ์ Hyper Localization ที่พยายามทำความเข้าใจผู้บริโภคในแต่ละท้องที่ โดยแบ่งลูกค้าออกเป็น Segments แล้วนำข้อมูล Insights ในแต่ละพื้นหรือประเทศมาวิเคราะห์และพัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์

ซึ่งจากตัวอย่างของทั้ง 5 แบรนด์ในบทความนี้ หวังว่าจะเป็นไอเดียให้ทุกท่านนำไปปรับใช้กับการสร้างการเข้าถึง และภาพจำที่แข็งแรงของแบรนด์ เพื่อเพิ่มยอดขาย และสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าค่ะ ^^

ป.ล. สำหรับ Keywords ที่น่าสนใจจากในบทความนี้ ที่นิกอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ลองไปศึกษาต่อได้แก่ Principles of Persuasion และ Hyper Localization => แล้วพบกันไปบทความต่อไปนะคะ

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย และเป็นน้องใหม่ของการตลาดวันละตอน ในการทำ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *