เจาะ Insight วัยรุ่น Gap Year ถ้ายังไม่ใช่ จะทนเรียนไปทำไม?

เจาะ Insight วัยรุ่น Gap Year ถ้ายังไม่ใช่ จะทนเรียนไปทำไม?

เจาะ Insight  วัยรุ่น Gap Year ถ้ายังไม่ใช่ จะทนเรียนไปทำไม?

เพราะหลักสูตรการเรียนทั่วไป “ไม่ใช่ทั้งหมดในชีวิตของเด็กไทยยุคนี้” 

หลายเดือนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สัมผัสกับช่วงเวลาของการเลือกคณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อเรียนต่อในสายการเรียนที่ชอบอีกครั้ง เพราะน้องสาวของผมกำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาของการสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ในไม่อีกกี่เดือนข้างหน้า จนผมพบว่ามีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยเลย ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีความชอบอะไร และต้องการจะเรียนต่อในสายการเรียนแบบไหน 

จุดที่น่าสนใจคือ ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ผมพบว่า เด็กไทย GEN Z เริ่มให้ความสำคัญ กับการค้นหาตัวเองจากการทำ “Gap Year” มากขึ้น ผมจึงเริ่มสืบค้นข้อมูล และทำให้พบ Insight ของเด็กไทยที่น่าสนใจ และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักการตลาดด้วย ถ้าสนใจแล้ว ไปอ่านพร้อม ๆ กันเลยครับ

“Gap Year ไม่ใช่การซิ่ว”

Gap Year คือ หนึ่งในวิธีการค้นหาตัวตนของวัยรุ่น ที่พวกเขาจะใช้ช่วงเวลาตรงกลาง ระหว่างตอนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัย ออกไปทำกิจกรรมหาสิ่งที่ตัวเองชอบ และมีแพชชั่นกับมัน ซึ่งอาจจะเป็นการทำงาน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ท่องเที่ยว หรือหาหลักสูตรการเรียนระยะสั้น เพื่อมองหาอาชีพ ตัวตน หรืออะไรก็ตาม ที่ตัวเองรู้สึกชื่นชอบ และทำให้มีความสุขไปกับมันได้ทั้งชีวิต โดยส่วนใหญ่พวกเขาจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ปี

แต่อย่างไรก็ตาม หลักสูตรการเรียนการสอนของไทย ก็ยังคงไม่เอื้อให้วัยรุ่นไทย สามารถทำ Gap Year ได้อย่างเต็มที่ จนทำให้พวกเขาบางส่วน เลือกที่จะใช้ช่วงเวลานั้น ๆ ด้วยการวางแผนการค้นหาตัวตนด้วยตัวเอง 

ยังไม่เจอทางที่ใช่ จะทนเรียนไปทำไม?

จากการค้นคว้าเรื่องความสนใจในการเรียนต่อ ผ่านการ Search ใน Google Trend พบว่าวัยรุ่นไทยค้นหาคำว่า “เรียนต่ออะไรดี” และ “ดรอปเรียน”สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2565 และมีการค้นหาเกี่ยวกับ Gap Year อย่างต่อเนื่อง นั่นแสดงให้เห็นว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา มีเด็กไทยจำนวนไม่น้อยเลย ที่ค้นหาความชอบของตัวเองไม่เจอ และทนเรียนในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ เพียงเพราะรู้สึกว่าต้องเรียนไปก่อน

เจาะ Inside  วัยรุ่น Gap Year ถ้ายังไม่ใช่ จะทนเรียนไปทำไม?

ไม่กีวันที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับวัยรุ่น 2 คน ซึ่ง 1 คนกำลังทำ Gap Year อยู่ และอีกหนึ่งคนกำลังวางแผนที่จะมี Gap Year เป็นของตัวเองด้วย เรามาดู Inside ของพวกเขาไปพร้อม ๆ กันครับ

Gap Year : อยากลอง มากกว่าอยากเรียน

ในขณะที่วัยรุ่นหลายคน ต้องการพัฒนา และค้นหาตัวเอง ผ่านการเรียนในรั่วมหาวิทยาลัย กลุ่มวัยรุ่นที่ต้องการทำ  Gap Year กลับมองว่า การเข้าไปเรียนในคณะที่สนใจเลยในทันที อาจทำให้พวกเขาเข้าใจสายงานนั้น ๆ หรือทักษะนั้น ๆ เพียงในห้องเรียนเท่านั้น

พวกเขาจึงมองว่า การได้ทดลองไปสัมผัสจากประสบการณ์การทำงานจริง จะทำให้รู้ว่ามีความสุขกับงานสายนั้นจริง ๆ หรือเปล่า และเมื่อค้นหาตัวตนของตัวเองเจอ พวกเขาจะมองหาหลักสูตรการเรียนที่เหมาะกับการพัฒนาตัวเอง ได้อย่างเหมาะสม หรือพวกเขาอาจจะเลือกไม่เรียนต่อ และเดินตามความฝันด้วยแนวทางอื่นก็เป็นได้

Gap Year : อยากใช้เวลา ที่โรงเรียนไม่เคยมีให้

พวกเขามองว่า ช่วงเวลาของการหาประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการค้นหาตัวตน ซึ่งไม่สามารถทำได้เลย เพราะพวกเขาใช้เวลาเรียนเฉลี่ย 8 ชั่วโมต่อวัน เป็นเวลา 20 วันต่อเดือน ซึ่งนั้นหมายความว่า โรงเรียนไม่มีเวลาที่พวกเขาสามารถใช้มันไปกับการหาประสบการณ์ได้เลย

โรงเรียนทางเลือก จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่ทั้งตัวนักเรียน และผู้ปกครอง เริ่มให้ความสนใจ อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการเข้าเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ คุณจะต้องมีงบประมาณมากพอสมควร การวางแผนการทำ Gap Year ด้วยตัวเองจึงเป็นสิ่งที่ นักเรียนหลายคนเลือกมากกว่าการเรียนในโรงเรียนทางเลือกนั่นเอง    

เจาะ Inside  วัยรุ่น Gap Year ถ้ายังไม่ใช่ จะทนเรียนไปทำไม?

Gap Year : อยากค้นหาตัวเอง แบบไม่มีข้อจำกัด

หลายครั้งที่พวกเขาเข้าใจว่าชอบสิ่งหนึ่ง แต่ที่จริงแล้ว พวกเขาไม่ได้มีความสุขกับมันเลย การค้นหาตัวเองด้วยการทำ Gap Year จึงมีความสำคัญ เพราะพวกเขาสามารถเปลี่ยนเเส้นทางที่ตัวเองเดินได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และรู้ว่าความสุขที่แท้จริงในการใช้ชีวิตไปตลอดชีวิตคือกาสรมีไลฟสไตล์แบบไหน นั้นเท่ากับว่า พวกเขาจะสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ด้วยตัวตนที่ชัดเจน และมีเป้าหมายในการเรียนที่ชัดเจนด้วยนั้นเอง

Gap Year : อยากทำตามความฝัน โดยไม่มีวิชามาขัดขวาง

หลายครั้งที่วัยรุ่นเลือกดรอปเรียน หรือพักการเรียน และออกมาหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ก่อนเข้าไปเรียน เพียงเพราะว่าเมื่อพวกเขาเข้าไปเรียนในคณะที่ต้องการแล้ว พวกเขากับรู้สึกว่า วิชาเรียนบางส่วนเป็นองค์ความรู้ที่พวกเขาไม่ได้ต้องการ และอาจจะมีประโยชน์น้อยมาก ๆ ในการเดินตามความฝัน

พวกเขาจึงเลือกที่จะดรอปเรียน และออกมารีเซ็ตความเป็นตัวของตัวเองอีกครั้ง ว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่พวกเขาเลือก“เป็นสิ่งที่ใช่สำหรับพวกเขาหรือเปล่า” จึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นนักเรียนแพทย์ เปลี่ยนมาเรียนนิเทศ นั้นเป็นเพราะพวกเขา คิดว่าตัวเองจะมีความสุขกับมัน แต่ที่แท้จริงแล้ว สายการเรียนนั้น ๆ ไม่ได้ทำให้เขามีความสุขเลย

เห็นไหมครับผู้อ่านทุกท่าน ว่าการให้ความสนใจในการทำ Gap Year มากขึ้น มันไม่ใช่เพราะว่าวัยรุ่นไทยใส่ใจในการเรียนน้อยลง แต่มันเป็นเพราะว่าพวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้นในทุกวัน ทำให้พวกเขาสามารถเรียนรู้สิ่งที่สนใจได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นก่อนที่พวกเขาจะใช้ชีวิตไปกับการเรียนในสายงานนั้น ๆ พวกเขาจึงอยากสัมผัสก่อนว่า ที่แท้จริงแล้วพวกเขามี Passion กับมันจริง ๆ หรือเปล่า 

ในมุมมองของนักการตลาดเอง ความต้องการในการค้นหาตัวเองของพวกเขา ก็เป็นหนึ่งใน Behavior ที่มีความสำคัญมาก ๆ เพราะในอนาคตวัยรุ่นเหล่านี้ กำลังจะกลายเป็นพนักงานออฟฟิศ เจ้าของธุรกิจ นักการเมือง หรือกลายเป็นลูกค้าคนสำคัญที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจของเราได้ มาดูกันครับ ว่ามี Inside ส่วนไหนที่มีความน่าสนใจบ้าง

ประสบการณ์มีค่ากว่าคำโฆษณา

อย่างที่บอกครับ ว่ากลุ่มที่อยู่ในช่วงวัยของการทำ Gap Year คือ Generation Z ซึ่งแน่นอนว่า พวกเขาให้ความสนใจกับประสบการณ์ที่แบรนด์มอบให้ เช่น การบริการ เนื้อหาที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมได้ การปรับตัวของคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวอตของพวกเขามากขึ้น มากกว่าสิ่งที่แบรนด์เผยแพร่ออกไปเพื่อการโฆษณาเท่านั้น

ดังนั้คุณจะเห็นได้ว่าคอนเทนต์และเทรนด์ที่พวกเขาต้องการส่วนใหญ่ จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างประสบการณ์ และแนวทางในการใช้ชีวิต จากคนที่มีประสบการณ์ใกล้เคียงกัน จึงสามารถดึงดูดความสนใจพวกเขาได้ เช่น Lazy Girl Jobs หรือการทำงานแบบสาวขี้เกียจ ที่แสดงให้เห็นถึง Work Life Balance จึงเป็นอะไรที่พวกเขาสนใจมาก ๆ 

เป็นเด็กน้อยสายเปย์

เห็นยังไม่เรียนต่อ หรือยังไม่มีตัวตนที่ชัดเจน ผมบอกเลยว่า พวกเขามีกำลังในการใช้จ่ายมากกว่าที่คุณคิดนะครับ ถึงแม้ต้นทุนของชีวิตสำหรับวัยรุ่นบางคนจะมีไม่มาก แต่พวกเขาก็ตระหนักรู้ว่า เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการค้นหาตัวตน พวกเขาจึงเลือกที่จะทำงาน หาเงินเพื่อเดินตามความฝัน

ดังนั้น พวกเขาจึงมีความสนใจ เรื่องการบริหารจัดการเรื่องการเงินมาก ๆ เพราะเหตุนี้จึงทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งในคนที่มีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยมากกขึ้น ดังนั้น แบรนด์อาจจะต้องให้ความสนใจกับคนกลุ่มนี้ และมองว่าสินค้าหรือบริการของคุณ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการตามความฝันของเขาได้หรือไม่ ถ้าได้บอกเลย เค้ายอมทุ่มเงินให้คุณแน่นอน หนึ่งในวัยรุ่นที่ผมได้คุยด้วย บอกว่า อยากเรียนภาษาที่ต่างประเทศ “มากกว่าเรียนกับครูต่างชาติในไทย” เพราะถึงแม้ต้องจ่ายเงินมากกว่า แต่ก็รู้สึกคุ้มว่ามากกว่านั้นเอง

มองหาสังคมใหม่ ๆ เพื่อหาอุดมการณ์ใหม่ ๆ 

จากการสำรวจ ผมพบว่า พวกเขาเป็นคนขี้เหงา นั้นเป็นเพราะว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ เลือกใช้ Social Media ที่สามารถคุยกับคนที่ไม่รู้จัก แต่อาจมี Passion ใกล้เคียงกันได้อย่างเช่น Clubhouse Bigo live  หรือแอปพลิเคชั่นระบายความรู้สึกอย่าง Alljit มันจึงทำให้พวกเขามีอีกหนึ่ง Communities ที่สามารถพูดคุย และเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่

นั่นหมายความว่า ถ้าสินค้าหรือบริการของเรา สามารถมัดใจใครคนไดคนหนึ่งในกลุ่มนั้นได้ เราอาจจะถูกพูดถึงในกลุ่มของคนที่มีแพชชั่นเดียวกัน และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรม และทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ได้นั่นเอง

พูดอะไร ต้องไปให้สุด

สำหรับพวกเขาการที่แบรนด์จะออกตัวรณรงค์สิ่งไดสิ่งหนึ่งในระยะสั่น อาจถูกมองว่าเป็นการสร้างคอนเทนต์ หรือเนื่อหาเพื่อการโฆษณาเท่านั้น และสุดท้ายแล้วคุณจะถูกลืมไปในที่สุด เพียงเพราะพวกเขาจับได้ว่า คุณไม่ได้มีอุดมการณ์เดียวกับพวกเขาจริง ๆ คุณเพียงต้องการเอาใจพวกเขาก็เท่านั้น

ดังนั้น หากคุณอยากเข้าไปอยู่ในใจพวกเขา หรืออยากให้พวกเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อธุรกิจ ทั้งในมุมของการเป็นลูกค้า และบุคลากร คุณต้องเต็มที่ ไปให้สุดกับอุดมการณ์ที่คุณสร้างขึ้น เช่น หากคุณบอกว่าแบรนด์คุณเป็นสิ้นค้าที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม นั่นเท่ากับว่าตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิตทั้งหมด หรือแม้กระทั้งผู้บริหารและพนักงาน ก็ต้องมีอุดมการณ์เช่นเดียวกันกับแบรนด์ด้วย  


เห็นไหมครับทุกท่าน ว่าวัยรุ่นที่มีความสนใจในการทำ Gap Year ไม่ใช่เด็กที่ไม่มีที่เรียนต่อ หรือไม่ใช่คนที่ไม่มีความสามารถในการออกไปเผชิญโลกกว้าง แต่มันเป็นเพราะพวกเขามองว่าประสบการต่างหากที่เป็นตัวกำหนดเส้นทางของชีวิต ไลฟสไตล์ และอนาคตระยะยาวของพวกเขาให้มีความสุข 

ในฐานะของแบรนด์การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการเดินทางของพวกเขา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เรา อยู่ในสายตาพวกเขาเสมอ และผมขอบอกเลยว่าหากคุณเป็นส่วนหนึงของพวกเขาจริง ๆ วันที่พวกเขาประสบความสำเร็จ พวกเขาจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดีให้กับธุรกิจของคุณอย่างแน่นอน

หากคุณอยากทำความเข้าใจใน Behavior ของคน Gen Z ในปี 2023 มากขึ้น อ่านบทความต่อได้ที่

วีระชน แจ่มจันทร์

นักวางแผนการตลาด (Strategic Planner) / ผู้ดูแลเนื้อหาเพื่อการตลาด (Content Marketing) / นักเขียนบทความทางการตลาดและสังคม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *