2023 ชาวออฟฟิศ GenZ  THAI อยากมี Lifestyle แบบไหน ?

2023 ชาวออฟฟิศ GenZ  THAI อยากมี Lifestyle แบบไหน ?

2023 ชาวออฟฟิศ GenZ  THAI อยากมี Lifestyle แบบไหน ?

ปี 2023 นี้ Generation Z ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่มีกำลังขับเคลื่อนการตลาดอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะเราสารถเห็นพวกเขาได้ในเกือบจะทุกบริบทสังคม ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา First Jobber หรือแม้กระทั่งบางคนอาจเป็น Seniour หรือเจ้าของธุรกิจไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

2023 ชาวออฟฟิศ GEN Z  THAI อยากมี Lifestyle แบบไหน ?

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าช่วงอายุของประชากรไทย์ใน GenZ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 22 – 26 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว ดังนั้นคนกลุ่มนี้คือแรงหลักที่มีกำลังในการขับเคลื่อนสินค้า และแบรนด์นั่นเอง (แต่เราก็ยังคงทิ้งกลุ่ม 18 – 21 ปี ไม่ได้ เพราะบางคนอาจมีรายได้จากการทำงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)

ดังนั้นในวันนี้ ผมจะพาทุกคนไปวิเคราะห์คนไทยที่อยู่ใน Generation Z โดยโฟกัสที่กลุ่มของคนทำงาน ด้วยการทำ Mini Focus Group ทั้งหมด 10 คน ที่อยู่ในช่วงอายุ 18 – 26 ปี มาดูไปพร้อม ๆ กันครับ ว่ามีจุดไหนที่น่าสนใจบ้าง

GenZ : ขอเป็นหนี้แบบสบายใจ ดีกว่าเก็บเงินไว้แล้วไม่งอกเงย

จากรีเสิร์จ Generation Z ทั่วโลก พบว่าเรื่องการเงินเป็นเรื่องที่ GenZ ให้ความสนใจ นั่นเป็นเพราะว่า พวกเขาเริ่มหาเงินได้ และเริ่มมีความฝันเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์การใช้เงินในอนาคต

ผมพบว่า 7 ใน 10 ต้องการมิอิสรภาพทางการเงิน แต่ด้วยรายได้ขั้นต่ำของประชากรณ์ไทย และด้วยการที่ส่วนใหญ่ GenZ เป็นเด็กจบใหม่ จึงทำให้พวกเขารู้สึกว่า รายได้ที่มีอาจยังไม่เพียงพอต่อไลฟ์สไตล์การใช้เงินที่พวกเขาต้องการ

แม้เงินในกระเป๋าจะมีไม่มากพอ พวกเขาก็ยังคงโหยหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากที่พักอาศัย เสื่อผ้า ยานพาหนะ หรือแม้กระทั้งอุปกร์การทำงานที่มีคุณภาพ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่พวกเขาพร้อมจะลงทุน ด้วยการใช้เงินในอนาคต 

การ “เป็นหนี้” ไม่ได้เป็นสิ่งที่ GenZ รู้สึกว่าน่าอาย ถ้าพวกเขาสามารถควบคุม และไม่เดือนร้อนจากหนี้นั้น ๆ ดังนั้น แม้ว่าสินค้าหรือบริการจะราคาสูงแค่ไหน ถ้ามีการขายและพ่วงมาด้วยแนวทางบริหารจัดการหนี้ ที่เขาสามารถจัดสรรค์ตามกำลังได้ ก็อาจจะทำให้พวกเขากล้าที่จะลงทุน ทั้ง ๆ ที่เงินในกระเป็นอาจมีไม่ถึง 30% ของราคาเต็มสินค้านั้นก็เป็นได้

GenZ : อาชีพที่สอง คือ Second Lifestyle

จุดที่น่าสนใจอีกหนึ่งจุดเรื่องการเงิน คือ 5 ใน 10 บอกกับผมว่า อยากมีอาชีพเสริมที่มีรายได้มากกว่าอาชีพหลัก เพราะพวกเขามองว่า การทำงานเพียงที่เดียว อาจไม่เพียงพอ พวกเขาต้องการรายได้ที่มากขึ้น ไปพร้อม ๆ กับประสบกาณร์ และการได้รับคอนเนคชั่นที่หลากหลายขึ้น

2023 ชาวออฟฟิศ GEN Z  THAI อยากมี Lifestyle แบบไหน ?

7 ใน 10 มองว่าการทำงานประจำ คือการมองหารายได้ และไลฟ์สไตล์ที่มีความมั่นคง พวกเขาสามารถบริหารจัดการรายได้หลักได้อย่าดีเยี่ยม แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขามองว่า การมีแหล่งรายได้ที่ 2 จะทำให้พวกเขาใช้ชีวิตได้มีความสุขมากขึ้น 

อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องของเงินอย่างเดียวนะครับ เพราะส่วนใหญ่ต้องการมีงานที่สอง ในบทบาทที่ค่อนข้างฉีกออกไปเลยทีเดียว เช่น นักการบัญชีมีงานที่สองเป็นบล็อกเกอร์ขนมหวาน การเป็น Tiktokker หรือแม้กระทั้งการทำ OnlyFan

พวกเขามองว่าทั้งหมดนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องของรายได้อย่างเดียว แต่พวกเขาสามารถใช้ความชื่นชอบส่วนตัว มาสร้างรายได้ และได้อยู่กับอีกสังคมที่ยอมรับในตัวตนของพวกเขาอีกด้านอีกด้วย

GenZ : การสัมภาษณ์งาน ก็เหมือนการดิลงานธุรกิจ

อย่าคิดว่าคุณเป็นคนสัมภาษณ์เขาฝ่ายเดียวนะครับ เพราะเขาก็กำลังสัมภาษณ์คุณอยู่ด้วย การเลือกที่ทำงานของคน GenZ มีปัจจัยมากกว่าจำนวนรายได้ ชื่อเสียงบริษัท และสวัสดิการพื้นฐาน เพราะพวกเขามองว่าเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทควรมอบให้พวกเขาตามกฎหมายอยู่แล้ว

2023 ชาวออฟฟิศ GEN Z  THAI อยากมี Lifestyle แบบไหน ?

8 ใน 10 ของผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์บอกว่า พวกเขามีไลฟ์สไตล์การทำงานที่ใฝ่ฝัน ดังนั้นการเข้าทำงานที่ไดที่หนึ่ง พวกเขาจะทำการค้นหาข้อมูล ทั้งจาก Search Enging และ Social ว่ามีการพูดถึงการทำงานในบริษัทนี้ไหม และเพื่อนร่วมงานในอนาคตมีบุคลิกภาพแบบไหน

ในการสัมภาษณ์งาน พวกเขาไม่ได้ต้องการเป็นผู้ตอบคำถามอย่างเดียว แต่พวกเขาต้องการที่จะถามคำถามกับบริษัทด้วย โดยคำถามที่พวกเขาอยากรู้เกี่ยวกับบริษัทส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของทัศนคติของเพื่อนร่วมงานที่เขาต้องเจอในอนาคต เช่น พวกคุณเคารพวันหยุดของเขาแค่ไหน การทำงานเสร็จก่อนเวลาเท่ากับต้องหางานทำเพิ่มไหม หรือ คุณคิดอย่างไรกับ LGBTQ 

เห็นได้ชัดว่า พวกเขาไม่ได้กำลังเลือกที่ทำงานจากแค่ชื่อบริษัท หรือรายได้ แต่พวกเขากำลังเลือกไลฟ์สไตล์ เพื่อนร่วมงาน และบริษัทที่มีอุดมการเดียวกับพวกเขา

GenZ : เป็นนักบริหารสุขภาพจิต

10 ใน 10 บอกว่า ทุกคนเคยผ่านช่วงเวลาของการจิตตก ไม่มีความสุขในการทำงาน หรือแม้กระทั้งอยากทำร้ายตัวเอง แต่พวกเขาก็สามารถกลับมามีสภาพจิตใจที่แข็งแรงขึ้นได้ ด้วยวิธีการของตัวเอง

พวกเขามองว่าการเข้าคลินิกสุขภาพจิต หรือการพบนักจิตไม่ใช่ความคิดดแรกที่พวกเขามองหา เพราะพวกเขามีวิธีแก้ไขช่วงเวลาที่รู้สึกแย่เป็นของตัวเอง 4 ใน 10 แบ่งที่มาของความเครียดออกเป็น 2 แบบคือ ความเครียดจากสังคม การทำงาน และความเครียดจากครอบครัว 

“ความเครียดจากสังคม การทำงาน” 

พวกเขาเลือกที่จะแก้ไขด้วยการรีเซ็ตตัวเอง เป็นเวลา 1 – 2 วัน ด้วยวิธีการของพวกเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน ทานอาหารอร่อย ๆ ดูหนัง ฟังเพลง ช้อปปิ้ง ปัญหาเหล่านี้จะสามารถหายไปจากจิตใจพวกเขาได้ใน 48 ชม.

“ปัญหาจากครอบครัว”

ไม่ว่าจะเรื่องหนี้สิน ความสัมพันธ์ และอื่น ๆพวกเขาบอกว่าเป็นเรื่องที่ต้องเล่าให้ใครสักคนฟังเท่านั้น เพราะพวกเขาไม่ได้ต้องการเพียงให้ปัญฆาจบไป แต่ต้องการที่มองเห็นว่ายังมีคนที่อยู่เคียงข้างพวกเขา

พวกเขายังบอกด้วยว่าหลายครั้งก็ใช้บริการแอปพลิเคชั่นหาเพื่อนคุย เช่น Alljit Cluphouse หรืออ่น ๆ ที่เราสามารถพูดคุยกับคนแปลกหน้าแบบไม่เปิดเผยตัวตนได้

GenZ : การเมืองกับแบรนด์เป็นเรื่องต้องห้าม

6 ใน 10 บอกกับผมว่าพวกเขามีจุดยืนเป็นของตัวเอง และ 3 ใน 10 เป็นผู้ที่ออกไปขับเคลื่อนทางสังคมด้วย พวกเขาบอกว่าการเปลี่ยนแปลงจะสามารถเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน แต่การขับเคลื่อนก็ยังไม่ใช่สิ่งที่แบรนด์ควรจะทำ

พวกเขามองว่า Value ของแบรนด์ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้จากการมีจุดยืนทางการเมือง เพราะแบรนด์แต่ละแบรนด์ล้วนมีคุณค่าในแบบที่พวกเขาต้องการอยู่แล้ว และจะรู้สึกไม่ดีหรืออาจจะแบนแบรนด์นั้น ๆ ไปเลยถ้ามีจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจน ถึงแม้แบรนด์นั้นจะเป็นแบรนด์ในดวงใจของพวกเขาก็ตาม

จะเห็นได้เลยครับว่า พวกเขาไม่ได้ต้องการอุดมการณ์ใหม่ ๆ จากแบรนด์ แต่พวกเขาต้องการให้แบรนด์ในดวงใจ ขับเคลี่อนสังคมด้วย Value ที่พวกเขารัก อย่างสร้างสรรก็เท่านั้น เพราะสุดท้ายแล้วอะไรที่ใช่ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องโน้มตัวไปหาพวกเขามาก พวกเขาก็พร้อมที่จะเข้าหาคุณ

GenZ : รักษ์โลก ต้องรักษ์ตั้งแต่ต้นทาง

หากเปรียบเทียบ 2 แบรนด์ที่มีอุดมการณ์เกี่ยวกับการลดโลกร้อนเหมือนกัน ระหว่าง แบรนด์ที่ออกมานำเสนอว่าพวกเขา มีกิจกรรม มีการทำประโยชน์ต่อโลกมากมาย กับแบรนด์ที่ไม่ทำอะไรเลย แต่ตัวสินค้าคิดมาแล้วว่าไม่ทำร้ายโลก พวกเขาจะเลือกแบรนด์แบบไหน

2023 ชาวออฟฟิศ GEN Z  THAI อยากมี Lifestyle แบบไหน ?

แน่นนอน 8 ใน 10 เลือกแบรนด์ที่ทำสินค้าออกมาด้วยการคำนึกถึงความยั่งยืนตั้งแต่ตัวสินค้า 4 ใน 10 เลือกแบรนด์ที่ต้องมีทั้งสินค้าที่รักษ์โลก และมีกิจกรรมรักษ์โลกด้วย เพราะพวกเขามองว่า กิจกรรมต่าง ๆ ที่แบรนด์จัดขึ้น เป็นเรื่องยากที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมได้ แต่การเลือกซื้อสินค้าที่คำนึงถึงความยั่งยืนตั้งแต่แรก เป็นเรื่องที่พวกเขาทำได้ง่าย แม้จะต้องจ่ายเงินสูงขึ้นก็ตาม 

จากการสัมภาษณ์ Generation Z ไทยทั้ง 10 คนเห็นได้ชัดเจนเลยว่า พวกเขามีความเป็นนักบริหารจัดการสูงมาก พวกเขาต้องการที่จะควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขาด้วยตัวเอง

ดังนั้น การสื่อสาร หรือการทำการตลาดของแบรนด์ ในเชิงโน้มน้าวจิตใจไปทางไดทางหนึ่ง อาจไม่ได้ผลกับพวกเขาอีกต่อไป แต่แบรนด์ที่มี Solution ที่หลากหลายและพวกเขาสามารถมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่ดีให้ตัวเองได้ต่างหาก กำลังจะกลายเป็นแบรนด์ที่พวกเขามองหา เพราะสุดท้ายแล้ว ไม่มีใครรู้จักตัวเอง ไม่มีใครรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรได้ดีเท่าพวกเค้าเอง

วีระชน แจ่มจันทร์

นักวางแผนการตลาด (Strategic Planner) / ผู้ดูแลเนื้อหาเพื่อการตลาด (Content Marketing) / นักเขียนบทความทางการตลาดและสังคม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *