7 กลยุทธ์ เพื่อนวัตกรไทย ปัง! ไปไกลระดับโลก  จาก NIA Academy

7 กลยุทธ์ เพื่อนวัตกรไทย ปัง! ไปไกลระดับโลก  จาก NIA Academy

7 กลยุทธ์ เพื่อนวัตกรไทย ปัง! ไปไกลระดับโลก  จาก NIA Academy


สำหรับวงการธุรกิจในปัจจุบันที่มีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่ทุกวันทำให้ผู้ประกอบการต้องพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ออกมาขายในท้องตลาดอยู่ เสมอ ๆ  และในครั้งนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับหน่วยงานสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้ธุรกิจนวัตกรรมของไทยได้เติบโตก้าวหน้า นั่นก็คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ค่ะ 

NIA มีบทบาทเป็น “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)”
ที่ทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ และหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ NIA ได้ทำมาคือการเป็นแหล่งความรู้ สนับสนุน และพัฒนานวัตกรไทย ซึ่งทำมาแล้วอย่างต่อเนื่อง และมีแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ทั้ง 7 โครงการ ที่จะพานวัตกรไทย ให้ปัง! ไประดับโลก คือ

#1 NIA Academy ศูนย์การเรียนรู้เพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรมให้คนไทยทุกเพศ ทุกวัย

NIA Academy : ศูนย์การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมให้กับคนไทย ตั้งแต่การส่งเสริมให้มีการริเริ่มคิดสิ่งใหม่ ๆ หรือพัฒนาสิ่งเดิมจาก ปัญหาของลูกค้า (Painpoint) ที่มีในปัจจุบันแล้วนำมาปรับปรุงให้มีขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งเป็นผู้ช่วยสำหรับคนที่มีไอเดีย หรือต้องการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นไป และต่อยอดสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ โดยมีหลักสูตรเพื่อพัฒนานวัตกร ให้เหมาะสมกับ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ

  • กลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่
  • กลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริหาร

กลยุทธ์ที่ชัดเจน ของผู้นำ NIA เพื่อไปสู่เป้าหมายการพานวัตกรไทยไปไกลระดับโลก

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ซึ่งเป็นผู้อำนวยการยุคใหม่ไฟแรง ได้ให้นโยบาย ของ NIA ที่จะก้าวไปในปี 2566 นี้ว่า  NIA จะใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อนำประเทศไปสู่การแข่งขันระดับมหภาคได้อีกครั้ง และจะเร่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ 1 ใน 30 ของประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมโลกภายในปี 2573

พร้อมทั้งมีกลยุทธ์เพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานของ NIA คือ  “2 ลด 3 เพิ่ม” 

  • ลดความเหลื่อมล้ำ : ส่งเสริมและเปิดรับแนวคิดใหม่จากสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี เพื่อเติมเต็มจุดอ่อนหรือปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจให้มากขึ้น 
  • ลดอุปสรรค : ลดและแก้ไขกฎระเบียบหรือการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมให้ง่ายขึ้น 
  • เพิ่มโอกาส : การเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน 
  • เพิ่มจำนวน : นวัตกรและผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการจ้างงาน การเพิ่มขึ้นของ GDP และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ “ชาตินวัตกรรม” 
  • เพิ่มศักยภาพ : เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ให้มีโอกาสขยายตลาด และสร้างแบรนด์นวัตกรรมสัญชาติไทยที่พร้อมแข่งขันกับนวัตกรรมจากต่างประเทศ

#2 กิจกรรมพัฒนานวัตกร ตลอดปี มีให้เรียนฟรี!! ทั้ง 16 หลักสูตร

ในปี 2566 นี้ NIA Academy มีหลักสูตรการเรียนที่ ช่วยสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมโดยแบ่ง Target ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่ (2S DEVELOPMENT) : อายุระหว่าง 7-30 ปี เจาะกลุ่มเด็กประถม-คนวัยทำงาน เพื่อมุ่งพัฒนาเยาวชนที่สนใจปลุกศักยภาพนวัตกรและเตรียมความพร้อมที่จะเติบโตในการสร้างธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไกลการพัฒนากลุ่ม 2S ประกอบไปด้วย 2 หลักสูตรดังนี้

1.1 STEAM4INNOVATOR “หลักสูตรพัฒนาเยาวชนสู่การเป็นนวัตกร”  หลักสูตรแผนการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมสำหรับเยาวชนไทยที่ต้องการก้าวไปเป็นนวัตกร ผ่านเครื่องมือที่หลากหลายตามกลุ่มวัย เช่น

  •  ฐานการเรียนรู้ (Learning Station) 
  • ห้องเรียนนวัตกรรม (STEAM4i@School) 
  • ค่ายนวัตกรรุ่นเยาว์ (Innovator Camp) 
  • การฝึกงานเป็นผู้ประกอบการ (Founder Apprentice)

1.2.STARTUP THAILAND LEAGUE “หลักสูตรปั้นเยาวชนให้เป็นเจ้าของธุรกิจ” เป็นหลักสูตรที่พัฒนาศักยภาพกลุ่มเยาวชน ระดับมหาวิทยาลัยใน เพื่อผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ที่เข้มแข็งและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการพัฒนาความเป็น ผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง (Mentor)

2. กลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริหาร (3E DEVELOPMENT) : โดยแบ่งหลักสูตรที่เหมาะกับผู้บริหารทั้ง 3 กลุ่ม คือ

2.1.ENTREPRENEUR (ผู้ประกอบการ) : เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรม เสริมสร้างความรู้การจัดการนวัตกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีหลากหลาย deeptech sector ให้เลือกเรียน ทั้งเกษตร อาหาร อวกาศ Ai IOT 

2.2.ENTERPRISE (องค์กร) : เหมาะสำหรับองค์กรภาครัฐและเอกชนที่ต้องการยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนฐานของการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร ประกอบไปด้วย 3 หลักสูตร

  • IDE to IPO (Innovation Driven Enterprise to Initial Public Offering)  “หลักสูตรเตรียมพร้อมก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์”
  • SME to IBE (SME to Innovation-Based Enterprise)  “หลักสูตรยกระดับความสามารถวิสหากิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การเป็นองค์กรธุรกิจฐานนวัตกรรม”
  • IOP (Innovative Organization Program)  “หลักสูตรบริหารจัดการนวัตกรรมในองค์กร เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่องค์นวัตกรรม”

2.3.EXECUTIVE (ผู้บริหาร) : เป็นหลักสูตรสำหรับผู้นำรุ่นใหม่ที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ตั้งแต่ระดับโครงสร้างเชิงนโยบายของประเทศลงมาถึงระดับนโยบายองค์กร เพื่อขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 หลักสูตร

  • CCIO (Chief City Innovation Officer)  “หลักสูตรผู้บริหารเมืองนวัตกรรม”
  • PPCIL (Public and Private Chief Innovation Leadership)  “หลักสูตรสร้างนวัตกรรมเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปด้วยกัน”

สำหรับใครที่สนใจอยากเรียนสามารถเข้าไปดูรายละเอียดหลักสูตร คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ

#3 การส่งเสริมและพัฒนทักษะของนวัตกรทั้ง 5 ด้าน (T.R.I.B.E.) ช่วยวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนเพื่อพัฒนาศักยภาพ

1. THINKERING นักคิดที่เชื่อว่าสิ่งใหม่ ต้องเริ่มจากการคิดนอกรอบ 2. RESILIENCE นักพัฒนา หรือนักแก้ปัญหาที่เข้าใจ เรียนรู้ ปรับตัวได้ตลอดเวลา 3. INSIGHT นักสังเกตการณ์ที่เข้าใจรอบด้าน ศึกษาข้อมูลอย่างแท้จริง เข้าใจความต้องการของลูกค้า 4. BRIDGING นักสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงงานและผู้คนเพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน  5. ENTREPRENEURSHIP นักสร้าง ที่มีความเป็นผู้ประกอบการสูง ลงมือทำทุกสิ่งที่เชื่อ ตั้งแต่ศูนย์ถึงร้อย

อยากค้นหาความเป็นนวัตกรในตัวคุณสามารถ เข้าไปทำแบบสอบถามการเป็นวัตกรได้ ที่ลิงก์นี้นะคะ

#4 โครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมสำหรับเยาวชน

𝗦𝗧𝗘𝗔𝗠𝟰𝗜𝗡𝗡𝗢𝗩𝗔𝗧𝗢𝗥 𝗖𝗘𝗡𝗧𝗘𝗥 มุ้งปั้นนวัตกรรุ่นเยาว์ ผ่านเครื่องมือสตีมโฟร์อินโนเวเตอร์

NIA ได้มุ่งมั่นพัฒนาสู่การเป็น NEW PLATFORM เพื่อสนุบสนุมให้เยาวชนมีโอกาสในการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมมากขึ้น กับหน่วยงานที่มีหน้าที่เป็นแหล่งการเรียนการสอน

  • สร้างระบบการเชื่อมโยงงานข้ามกระทรวงฯ 
  • ส่งเสริมจุดแข็งด้านนวัตกรรม ผสานเครือข่ายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 

ซึ่งจะเป็นต้นแบบที่ใช้เป็นแนวทางในการขยายผลสู่โรงเรียนอื่น ๆ ทั่วประเทศได้ต่อไปในอนาคต โดยเป้าหมายสำคัญทั้ง 5 มีดังด่อไปนี้

  1. สร้างแรงบันดาลใจ (IGNITION)ในการคิดและสร้างนวัตกรรมในกลุ่มเยาวชน
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจ (CAPABILITY) และความสามารถด้านนวัตกรรมให้กับนักเรียนไทย
  3. สร้างสังคมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และลงมือปฏิบัติรูปแบบใหม่ (CONNECTIVITY)  สร้างสังคมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติรูปแบบใหม่ที่สนุกและวัดผลสําเร็จด้านการศึกษาและการต่อยอดผลงานเพื่อการเป็นผู้ประกอบการได้
  4. สร้างโรงเรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเยาวชน (STEAM4INNOVATOR CENTER) สร้างโรงเรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเยาวชนบนมาตรฐานและการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องยั่งยืนร่วมกับ NIA
  5. สร้างระบบการเชื่อมโยงงานข้ามกระทรวงฯ (NEW PLATFORM) สร้างระบบการเชื่อมโยงงานข้ามกระทรวงฯ เพื่อเสริมจุดแข็งด้านนวัตกรรม โดย NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับระบบการส่งเสริมสถาบันการศึกษาระดับมัธยม ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และโรงเรียน ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ

สร้างโรงเรียน ให้เป็น 𝗦𝗧𝗘𝗔𝗠𝟰𝗜𝗡𝗡𝗢𝗩𝗔𝗧𝗢𝗥 𝗖𝗘𝗡𝗧𝗘𝗥 ด้วย 𝟒𝐂

1.Content : ใช้กระบวนการและเครื่องมือจาก STEAM4INNOVATOR ในการจัดการเรียนการสอน 2.Coaching : ครูและอาจารย์สามารถเป็นโค้ชให้กับนักเรียนได้ 3.Connection :  เชื่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษารอบด้านเพื่อการต่อยอดผลงาน 4.Cluster : เชื่อมโยงเยาวชนในโรงเรียนและระหว่างโรงเรียน เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดและแรงบันดาลใจ มุ่งสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ปฏิบัติจริง และต่อยอดผลงานได้

#5 โครงการองค์กรฐานนวัตกรรม (IBE) เพิ่มศักยภาพ SME ให้ใช้ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจสู่ปรับตัวให้อยู่รอด 

NIA Academy ส่งเสริมให้ธุรกิจ SME ด้วยการขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ฐานนวัตกรรม (Business Transformation) ซึ่งมี 2 คือ

  • IDE (Innovation Driven Enterprise) ที่มุ่งเน้นนำเทคโนโลยีมาสร้างสินค้าหรือบริการไปลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ 
  • IBE (Innovation Based Enterprise) องค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ คือผู้ประกอบการหรือองค์กรที่มุ่งเน้นตั้งแต่ การสร้างนวัตกรรม การพัฒนาองค์กรนวัตกรรม และใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ 

#6 แพลตฟอร์มการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนด้วยตัวเอง (MOOCs)

MOOCs เป็นแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้จามหลักสูตรที่ต้องการ ไม่ว่าจะต้องการเรียนเวลาไหนก็ทำได้แค่ปลายนิ้ว และหากเรียนจบแล้วนอกจากจะได้ความรู้เพื่อนำไปประยุกต์กับการทำงานได้แล้ว ยังได้ใบ Certificate จาก NIA อีกด้วย 

#7 Policy Innovation เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ

นอกจากหลักสูตรการเรียนการสอนที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว NIA ยังมีอีก 2 โปรเจ็คที่มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอีกด้วย 

  • หลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้นำองค์กร ในเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมสำหรับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่

ภาครัฐและเอกชน Public and Private Chief Innovation Leadership (PPCIL) โดยหลักสูตรมีการอบรมมาแล้ว 4 รุ่น และในหลักสูตรอบรมนี้ช่วยให้ผู้ที่อบรม สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพคือ ‘การคิดเชิงนวัตกรรม’ เพราะความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ทั้งการแก้ปัญหา การยกระดับคุณภาพการทำงานได้ 

  • CCIO (Chief City Innovation Officer) เป็นการร่วมกันระหว่าง เมืองและนวัตกรรม ในภาคส่วน (Segment) ของ การบริหารราชการ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรัฐบาลท้องถิ่น ในระดับเทศบาล หรือว่ารัฐบาลในระดับรัฐ เพื่อค้นหาจุดขายเด่น ๆ มาเป็นนวัตกรรมเมือง และผลักดันให้เมืองนั้นกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง 

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ NIA Academy ได้ทำมานานเป็นเวลาหลายปีเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับนวัตกรไทย ทุกเพศ ทุกวัยได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง และพยายามปรับปรุงให้ทุกช่องทางมีประสิทธิภาพในการเข้าถึง ซึ่งทางผู้เขียนก็ขอเป็นกระบอกเสียงอีกช่องทางหนึ่งในการสนับสนุนให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของศูนย์การเรียนรู้นี้นะคะ 

หากท่านไหนสนใจอ่านข้อมูลของ NIA Academy เพิ่มเติมสามารถ คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ

อัพเดทข่าวสาร เพื่อติดปีกให้คุณเป็นนักการตลาดที่ไม่ OUT !!!  อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม คลิกที่ลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ เพจการตลาดวันละตอน เว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนค่ะ

Chulee.

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และสื่อสารการตลาด / นักเขียนบทความการตลาด ชอบงานศิลปะ งานครีเอท ไอเดีย เจ๋ง ๆ จึ้ง ๆ! น้องใหม่ทีมการตลาดวันละตอน ฝากผลงานด้วยนะคะ :) ♥รักเวลา... เวลามีค่ามากที่สุด⏰

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *