Insight ข้อมูลพฤติกรรมซื้อของออนไลน์ จาก The Future Shopper 2023 

Insight ข้อมูลพฤติกรรมซื้อของออนไลน์ จาก The Future Shopper 2023 

ผ่านมาเข้าสู่ปลายปีกันแล้ว หลายๆคนคงกำลังจะเตรียมแผนกลยุทธ์ให้กับธุรกิจหรืองานของคุณกันอยู่ไม่น้อย วันนี้การตลาดวันละตอนเลยจะเอาบทความที่เพื่อนๆผู้อ่านเอาไปต่อยอดได้ นั่นก็คือการนำ insight พฤติกรรมซื้อของออนไลน์ จาก The Future Shopper Report 2023 มาฝากเพื่อนๆกัน

การใช้จ่ายออนไลน์กำลังจะเติบโตขึ้นต่อไปในระยะ 10 ปีข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะโตช้ากว่าปีที่แล้ว 

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทขึ้นเรื่อยๆ และพฤติกรรมของนักช้อปนั้นจะเติบโตขึ้นตามกาลเวลา แต่จากสถิติเมื่อปีที่แล้วพบว่าคนส่วนใหญ่ช้อปปิ้งออนไลน์มากกว่าปีนี้อยู่นิดหน่อย แต่ถ้าหากมองดูรวมๆในระยะยาวแล้ว จากการคาดการณ์จะมีการใช้จ่ายออนไลน์อย่างน้อย 64% ในอีก 10 ปีข้างหน้า 

โดยคนไทยมีแนวโน้มซื้อของออนไลน์มากขึ้นจาก 59% ในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 65% ในอีก 10 ปีข้างหน้า นับว่าเพิ่มมา 6% เลยทีเดียว 

ถ้าหันมาดูภาพด้านขวา ข้อมูลจากทั่วโลก จะเห็นได้ว่าสิ่งที่น่าแปลกใจคืออายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปจะมีการใช้จ่ายมากขึ้นเกิน 10% ในอีก 10 ปี แต่ในอนาคตสัดส่วนที่ที่จะมีแนวโน้มซื้อของออนไลน์มากที่สุดคือกลุ่ม 25-34 ปีนั่นเอง 

“ราคา” คือหัวใจหลักของการซื้อสินค้าออนไลน์​

จากการรวบรวมข้อมูลแน้วโน้มการซื้อของออนไลน์แล้ว ในพาร์ทนี้ยังจะมาดูว่าอะไรคือหัวใจหลักในการที่พวกเขาให้ความสำคัญกับการซื้อของออนไลน์ โดยจากรายงานพบว่าราคาคือหัวใจสำคัญ ซึ่งนั่นก็ตรงกับรายงานเมื่อปีก่อนหน้านั้นด้วย 

อันดับ 1 คือ ราคา 

อันดับ 2 คือ ความถูกต้องของรายละเอียดสินค้า 

อันดับ 3 คือ สินค้านั้นยังมีอยู่ในสต็อก 

ในทางกลับกัน ในปี 2022 คนให้ความสำคัญกับสินค้าคงเหลือในสต็อกและการหาสินค้าที่ต้องการได้ง่ายมากกว่า 

แต่จะพูดง่ายๆเลยก็คือ ความพร้อมในการจำหน่ายสินค้า การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เนื้อหาเข้าถึงได้ และการเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ซับซ้อนเกินไป หาของง่าย จัดหมวดหมู่สินค้าให้เป็นระเบียบนั่นเองค่ะ 

อะไรคือแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้บริโภคซื้อของโดยตรงจากแบรนด์ ? 

เนื่องจากการเข้าถึงของผู้บริโภคนั้นมีหลากหลายช่องทางมาก ซึ่ง Marketplace ต่างๆก็ทำได้ดีเยี่ยม และเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคปราถนาในการช้อปตามเทศกาลต่างๆ แต่ทีนี้เองแบรนด์จะทำยังไงให้สามารถจูงใจลูกค้าได้ ซึ่งนั้นก็ไม่พ้นเรื่องราคา 53% ของนักช้อปจากทั่วโลกยังบอกว่าราคาที่ดีจะทำให้พวกเขาอยากเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์โดยตรง โดยเราจะขอย้ำอีกครั้งว่าราคาไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่ยังคงเป็นส่วนที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบจากการเซอร์เวย์จากปีก่อนหน้า

ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือการส่งฟรี และสะดวกรวดเร็วค่ะ แต่สิ่งที่เห็นการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดคือ Bundle product deals การขายของแบบจัดเซ็ตขายเติบโตขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า 

“Influencer” ใน APAC มีบทบาทในการจูงใจในการซื้อสินค้ามากกว่าภูมิภาคอื่นๆ 

เห็นได้อย่างชัดว่าใน APAC นั้นคนมีแนวโน้มที่จะเชื่อ Influencer มากกว่าในภูมิภาคอื่นๆ และมีแนวโน้มจากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าดูจากเปอร์เซ็นต์ 3 ปีย้อนหลัง รองลงมาคือเชื่อคนในครอบครัว และ เพื่อนๆ ซึ่งถ้าใครทำการตลาดก็อยากให้ลองพิจารณา factors เหล่านี้ก่อนค่ะ ว่าใครคือคนที่จะบอกต่อสินค้าหรือบริการเรา

ช้อปปิ้งผ่าน OMNI-CHANNEL ยังคงเป็นสิ่งที่ลูกค้าเรียกร้อง 

ถึงแม้ว่ากระแสของการซื้อของออนไลน์จะดูเป็นที่พูดถึงและคาดการณ์ไปต่างๆนาๆว่าจะสามารถแซงหน้าการซื้อของแบบออฟไลน์ไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการซื้อของส่วนใหญ่มากจากช่องทางโทรศัพท์มือถือ รองลงมาเป็นแล็ปท็อป แต่ที่จริงแล้วก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นสะทีเดียว เพราะลูกค้าบางคนยังต้องซื้อของได้ทั้งหน้าร้านออฟไลน์และออนไลน์

ในปีที่ผ่านมา 60% ของลูกค้าทั่วโลกบอกว่าต้องการที่จะซื้อของกับร้านค้าหรือแบรนด์ที่มีทั้ง 2 แบบ และในปีนี้ก็ยังพูดเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นแล้วในแง่ของนักการตลาด หรือเจ้าของแบรนด์ควรพัฒนากลยุทธ์ OMNI-Channel เพิ่มมากขึ้น 


ไม่เพียงแค่นั้น เพราะจากการสำรวจพบว่า 76% ของนักช้อปชาวไทยต้องการตัวเลือกในการช้อปปิ้งที่แบรนด์ควรจะมีหน้าร้านออฟไลน์และออฟไลน์ 

นอกจากนั้นสิ่งที่แบรนด์ควรใส่ใจคือการปรับปรุงการสื่อสารทั้ง 2 ช่องทางให้ราบรื่น นั่นเป็นสิ่งที่นักช้อปจากทั่วโลกกว่า 56% ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ 

ประเทศไทยติดโผอันดับ 1 ที่เคยซื้อของผ่าน Social Commerce 

อย่างที่ทุกคนเห็นว่าวันนี้เราสามารถซื้อของออนไลน์ในหลากหลายช่องทางมากขึ้น และ Social Media ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีคอนเท้นท์ที่แปลกใหม่มากกว่าการมาขายของอย่างเดียว ผู้ขาย หรือ Influencer ก็ทำคลิปออกมาได้อย่างน่าสนใจ เล่าเรื่องในมุมที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าได้เพลินเพลินบทโลก Social Media แถมยังได้ของติดไม้ติดมือมาอีกด้วย 

ช่องทางที่มาแรงสุดๆสำหรับ APAC นั่นก็คือ Facebook(18%) ตามมาด้วย TikTok (17%) และ Instagram (15%) ซึ่งไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนมักจะช้อปจากช่องทางเหล่านี้ เพราะว่ามี UX/UI ที่เอื้อต่อการซื้อมากๆ แถมยังเป็นคอนเท้นที่มีรีวิวธรรมชาติจากคนใช้จริงๆ

ตลาดออนไลน์ยิ่งเติบโต ลูกค้ายิ่งคาดหวัง 

สมรภูมิขายของออนไลน์เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความคาดหวังของลูกค้าก็สูงตาม ในแง่ของประสบการณ์ที่ได้รับจากร้านค้า ลูกค้าส่วนใหญ่กล่าวว่าพวกเขาจะไม่ซื้อของกับร้านที่ไม่ตรงตามคาดหวังของเขาถึง 51% 

และส่วนมากก็ต้องการประสบการณ์ความสนุกเมื่อช้อปปิ้งสินค้า แต่เชื่อไหมว่าท็อป 3 ประเทศที่นักช้อปปิ้งบอกว่าการซื้อของออนไลน์เป็นสิ่งน่าเบื่อคือ 1) อินเดีย 54% 2) ไทย 51% 3) สหรัฐอาหรับอมิเรต 50% 

ซึ่งนักช้อปในประเทศไทยยังถือว่าติดอันดับ 3 ที่มีเปอร์เซ็นต์ในการที่จะเลิกซื้อร้านค้าที่ไม่ถูกใจพวกเขา 

เป็นไงบ้างคะกับ insight พฤติกรรมซื้อของออนไลน์ ที่ทางการตลาดวันละตอนเอามาฝาก จะเห็นได้ว่าในทุกๆแง่มุมของการซื้อของออนไลน์ นักช้อปคนไทยนั้นไม่แพ้ชาติใดในโลกเลย ค่อนข้างตื่นตัวเป็นพิเศษ และที่สำคัญคือตลาดนี้ยังเติบโตมากขึ้นในอนาคตด้วย เพราะฉะนั้นแบรนด์หรือเจ้าของธุรกิจควรรู้!

Source

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *