Data research insight ‘แว่นสายตา’ ของคนไทย กรอบแบบไหน เลนส์อะไร

Data research insight ‘แว่นสายตา’ ของคนไทย กรอบแบบไหน เลนส์อะไร

อยากรู้ว่าตอนนี้ทุกคนกำลังสวมแว่นเพื่ออ่านบทความนี้อยู่ไหมคะ? หรือใครที่ทำธุรกิจในแวดวงตลาดแว่น อยากรู้ Social Data Insight เกี่ยวกับแว่นสายตาของคนไทย ผ่านเครื่องมือการตลาดที่แนะนำให้มีติดแบรนด์อย่าง Social Listening Tools ฟีเจอร์ Tag Management แล้วล่ะก็ หยิบแว่นมาสวมเพื่ออ่านบทความนี้ให้จบกันค่ะ ไม่ถึงกับตาแตก แต่ตาตึงอยู่นะ~ 

บทความนี้นุ่นจัดมาให้ 2 พาร์ทซึ่งต่อเนื่องกันค่ะ 

Part 1 : How to use ‘Tag management’ บนเครื่องมือ Social Listening เบื้องต้น เพื่อจับกลุ่มข้อมูลขุด Deep Insight

Part 2 : Example หน้าตาของข้อมูลจริงหลังใช้เครื่องมือ กดเซฟไปต่อยอดได้จริง 

โดยจะใช้ Topic Insight เรื่องแว่นสายตา มาเล่าเพื่อให้เห็นภาพนะคะ เพราะเป็นเรื่องหนึ่งที่อยู่รอบตัวนักการตลาดหลาย ๆ คน หวังว่าจะ enjoy reading กันน้า 

รายละเอียดการตั้งค่าเก็บข้อมูล

นุ่นสร้างแคมเปญบนเครื่องมือ โดยใช้ Keyword ‘แว่นสายตา’ เป็นหลักและเสริมด้วยคำว่า ‘ร้านตัดแว่น’ ‘กรอบแว่น’ ‘เลนส์แว่นตา’ ‘ตัดแว่น’ เพราะเป็นคำที่สื่อถึงแว่นสายตามากที่สุด คำเหล่านี้จะต้องเป็นคำที่พอจะเก็บ insight ได้ มีคนโพสต์ถึง 

เช่นนุ่นทวีตว่า ไม่อยากใส่ ‘แว่นสายตา’ แล้ว อยากทำเลสิกอะ โพสต์ของนุ่นก็จะถูกเก็บเข้ามาใน Social Listening Tools ค่ะ ใดใดก็ตามตอนนี้ต้องเป็นไปตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของแต่ละแพลตฟอร์มด้วยนะคะ   

กำหนด Time Fame ที่ 01/06/2022 – 18/11/2022 หรือประมาณเกือบ 6 เดือนย้อนหลังค่ะ 

Platform ที่เลือกเก็บคือ Facebook Twitter Youtube Instagram และ TikTok

ซึ่งสามารถเลือกแค่บางแพลตฟอร์มก็ได้เช่นกันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ข้อการใช้งาน นอกจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็มี Raddit Pantip และ Website ด้วยค่ะ

Keyword Time Fame และ Platform เป็นส่วนที่สำคัญในการตั้งค่าสร้างแคมเปญกวาดข้อมูลของเรามาก ๆ และบ่อยครั้งที่มันไม่ได้จบแค่ครั้งเดียว ปรับแก้รอบสอง รอบสามเป็นเรื่องปกติเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการมากที่สุดค่ะ

Part 1 : How to use Tag management บนเครื่องมือ Social Listening เบื้องต้น

หลังตั้งค่าแคมเปญเรียบร้อย นุ่นได้ Data Found อยู่ที่ 18,798 Mentions คำถามคือ แล้วไงต่อ?

ทุกคนสามารถสนุกกับ Social Data ที่น้อง Social Listening : Mandala กวาดมาให้ผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ เบื้องต้นได้เลยค่ะ แต่ในบทความนี้เราจะล้วงลึก Insight ให้ได้เป็น Stat ออกมามากที่สุดสำหรับบทความนี้นะคะ

– ตั้งโจทย์ อยากรู้อะไร

ทุกคนจะเริ่มจากการตั้งโจทย์ด้วยตัวเองก็ได้ว่าอยากรู้อะไร สำหรับแว่นสายตา นุ่นอยากรู้เรื่องทั่วไปก่อน เช่น วัสดุที่ใช้กรอบแว่น เลนส์แว่น ที่คนพูดถึงเยอะ ๆ เพื่อสำรวจตลาดบน Social Media ซักหน่อย

– หรือจะให้ Data พาไหลไปเจอ Insight ที่คาดไม่ถึงก็ได้

เวลาทำงานกับ Social listening อยากจะแชร์ให้ทุกคนทราบว่า เราจะเจอสิ่งที่ไม่คาดคิด ไม่เคยนึกถึงมาก่อน บ้างอยู่แล้วเพราะฉะนั้นโจทย์ที่ควรเก็บข้อมูลก็คือส่วนนี่นี่แหละ เอาไว้เซอร์ไพร์สหัวหน้าและทีม

-จาก 18,798 Mentions จะจัดการกับมันยังไง เพื่อหาที่สิ่งที่อยากรู้

ในบทความนี้จากโจทย์เกี่ยวกับแว่นสายตา นุ่นจะใช้ Tagmanagement ช่วยจับกลุ่มข้อมูล ให้เป็นก้อนวัสดุกรอบแว่น และเลนส์ต่าง ๆ จะได้เห็นสัดส่วน และขุด Insight เป็นลำดับถัดไปค่ะ

เบลอแค่พอเป็นพิธี ว่าตัวอย่างข้อมูลหลังใช้เครื่องมือแล้วจะนำเสนออย่างไรได้บ้างเบื้องต้น เฉลยมีในพาร์ทถัดไปด้านล่างค่ะ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ค่อย ๆ อ่านนะคะ คว้าแว่นมาสวมแล้วเบิ่งตาต่อกันเล้ยยย

– วิธีใช้ Tag Management

หากใครมี Mandala หรือใช้ Social Listening เจ้าอื่น ๆ อาจมีฟีเจอร์ที่คล้ายกันนี้อยู่แล้ว ถ้ายังไม่มีลองสมัคร Free Trial 7 Day หรือแพ็คเล็ก ๆ Package Anyone 49$ https://www.mandalasystem.com/plans  มาใช้ตามกันได้เลยนะคะ

  1. ให้เอาเมาส์ไปจ่อที่ Tap สีดำมุมซ้าย เพื่อเข้ามาที่ฟีเจอร์ Tag Management
  2. ตั้งชื่อกลุ่มของ Tag
  3. เช่น Coating Option
  4. สร้างแท็กย่อย ที่เราจะใช้งานจริง ๆ ในเคสนี้คือ ชื่อประเภทของ coating lens ต่าง ๆ นั่นเองค่ะ

ไม่ยากเลยใช้ไหมคะ เราจะต้องสร้างแท็กเหล่านี้ก่อนจะเอาไปจับกลุ่มข้อมูลประเภทที่เราอยากรู้ตามโจทย์ค่ะ ขั้นตอนนี้ใช้ต่อเมื่อเรามีโจทย์แล้ว จริง ๆ ก่อนจะตัดสินใจเรื่อง Tag Management นุ่นแนะนำให้ทำความรู้จัก Social Data ที่ได้มาทั้งหมดก่อน ว่ามีอะไรบ้าง โดยเข้าไปเช็กที่ Mantion Console ในภาพด้านล่างก่อนก็ได้เช่นกัน

เริ่มขั้นตอนเอาแท็กไปห้อยติดกัย Social Data แล้วค่ะ อย่าลืมเช็กข้อมูลในเครื่องมือ ว่าวันที่และ Keyword ใช่ที่เราต้องการไหมอีกครั้งนะคะ

การที่เราจะอ่านทุกโพสต์ได้ จะต้องเข้าไปที่ Mention Console แล้วจะเห็นดังนี้ :

Social Data จะถูกแบ่งแยกตามแพลตฟอร์ม Facebook Twitter Instagram TikTok และ Youtube พร้อมตัวเลขจำนวนข้อมูลด้านหลัง

และไม่ใช่ทั้ง 18,798 Mentions นั้นที่เราต้องการใช้งาน มันจะมีโพสต์สแปม หรือบริบทที่ไม่ต้องการปะปนอยู่

ควรจะทำความสะอาดให้ข้อมูลมี Quality มากที่สุด ก่อนนำไปใช้งาน

วิธีเบื้องต้นที่นุ่นแนะนำคือ การนำชื่อเพจ ชื่อ Account ออกจากแคมเปญนี้ไปเลย ทุก ๆ โพสต์จะทยอยลบออกไป อย่างเช่นเพจขายคอนโด ที่มีร้าน ‘ตัดแว่น’ แบบนี้เราควรลบออกไปค่ะ

วิธีที่ 2 คือ ลบ by post แค่โพสต์นั้นโพสต์เดียว

เป็น 2 วิธีเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้ค่ะ หากต้องการรู้ทริคอื่น ๆ อย่างละเอียดเกี่ยวกับการคลีนข้อมูล ให้เลื่อนไปท้ายบทความ จะมีคอร์สของการตลาดวันละตอนที่จะพาทุกคน workshop 1 วันเต็ม เพราะนุ่นอธิบายในบทความนี้ได้ไม่หมดจริง ๆ ค่ะ มันจะยาวมากกก

เมื่อคลีนคร่าว ๆ จนเหลือแต่ข้อมูลที่ต้องการเกี่ยวกับแว่นสายตาแล้ว ก็จะเริ่มเอาแท็กมาห้อยติดโพสต์ได้ค่ะ

– ขั้นตอนการติดแท็ก

นุ่นจะยกตัวอย่างขั้นตอนการติดแท็ก Coating Lens ต่อเลยนะคะ กลุ่มแรกที่จะจับกลุ่มคือเลนส์แบบ Multicoat ใส่คำนี้ในช่องเสิร์ช แล้วข้อมูลต่าง ๆ ด่านล่างจะโชว์แค่โพสต์ที่มีคำนี้ขึ้นมา

นุ่นแนะนำให้อ่านก่อน ว่าข้อมูลคลีนจริงหรือยัง ก่อนกด เพิ่มแท็ก เลนส์ Multicoat ที่เราสร้างไว้แล้วลงไปในโพสต์นั้นค่ะ

ไล่ทำไปให้ครบตามที่เราต้องการทราบกลุ่มข้อมูล แล้วใน Tag management จะโชว์ตัวเลขเป็นจำนวนโพสต์ที่เราติดไว้ดังนี้ :

จะใช้แท็กต่าง ๆ ไปเปิดดูที่หน้า Dashboard โดยใช้ Filter Tag ก็ได้ค่ะ แต่ที่นุ่นใช้เขียนบทความบ่อย ๆ คือจะนำตัวเลขเหล่านี้มาสร้างเป็นชาร์ตต่อให้คนอ่านเข้าใจง่ายมากที่สุด เข้าสู่พาร์ทที่ 2 กันเลยนะคะ

Part 2 : Example หน้าตาของข้อมูลจริงหลังใช้เครื่องมือ กดเซฟไปต่อยอดได้จริง 

วัสดุกรอบแว่นแบบ Titanium คนพูดถึงมากที่สุด

Top5 วัสดุกรอบแว่นชนิดต่าง ๆ ที่ถูกพูดถึงบน Social Media สูงสุดคือ กรอบแว่นที่ทำจากไทเทเนียมค่ะ เป็นวัสดุทนทานกว่าโลหะ มีความยืดหยุ่น และมีน้ำหนักเบากว่าโลหะชนิดอื่นๆ เลยเหมาะกับคนที่เหงื่อออกบ่อย หรืออยากได้แว่นเบา ๆ แต่แข็งแรงหน่อย

ถัดมาคือ กรอบแว่นพลาสติกอะซิเตต Acetate เนื้อเหนียวทนการกระแทกได้ดี สีไม่ลอกง่าย ๆ แบบนี้ก็มีร้านแว่นใช้โปรโมตบ่อย ๆ ค่ะ

Stainless steel เป็นวัสดุกรอบแว่นโลหะ ร้านตัดแว่นจะโปรโมตพร้อมกับจุดเด่นเรื่องความแข็งแรงทนทาน ทนความร้อน และการกัดกร่อนค่ะ

กรอบแว่นพลาสติก TR-90 นุ่นเองก็เคยใช้ เพราะเหมาะกับคนซุ่มซ่ามสุด ๆ สามารถบิดรูปร่างได้ ทนต่อการนั่งทับนอนทับได้ระดับหนึ่งเลย คนบนโซเชี่ยลจะแนะนำกันเพราะมันบิดได้นี่แหละค่ะ

และยังมีกรอบพลาสติกชนิดอื่น ๆ ที่อาจจะมีการพูดถึงไม่เยอะ แต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งบนตลาดกรอบแว่น ราคาจะถูกกว่าอันดับแรก ๆ ที่ร้านแว่นอยากขายค่ะ

Coating Option ของเลนส์แว่นสายตา แบบ Auto+Blue มากที่สุด

TOP4 ที่เป็นตัวเลือกต้น ๆ ที่คนใส่แว่นมักเคลือบให้น้องแว่นสายตาของตัวเองค่ะ

อันดับ 1 คือเลนส์แบบ Auto เหมือนเป็นสารเคลือบพื้นฐานที่ทุกร้านตัดแว่นแนะนำให้เสริม หรือจะปรับโฟกัสได้คมชัด ไม่มึนหัว แต่จะมาคู่กับอันดับ 2 เลยคือ Blue Block ป้องกันแสงสีฟ้าจากหน้าจอ เดี๋ยวนี้นักเรียน นักศึกษา วัยทำงานต่างใช้ต่างจอกันวันละหลายชั่วโมง เลยไม่ค่อยแปลกใจที่ข้อมูลออกมาเป็นแบบนี้เท่าไหร่ค่ะ

ขอแจ้งก่อนว่านุ่นไม่ได้แยกลึกถึงประเภทที่เหมาะกับแต่ละช่วงอายุ เพียงแต่ดูสถิติเบื้องต้นจาก Social Data ที่กวาดมาจาก Keyword และ Timeline ของแคมเปญนี้เท่านั้นนะคะ ^^

Substitute Options ถ้าไม่ใส่แว่นสายตา ก็ใส่คอนแทคเลนส์ 

ถ้าไม่ใส่แว่น แล้วคนไทยจะเลือกอะไร? อิงจาก Substitute Product ของแว่นตา เรื่องสายตา TOP2 ที่เหลือคือ คอนแทคเลนส์ 76.9% และการทำเลสิก 20% ค่ะ

แต่มีคนที่ไม่ชอบใส่ทั้งแว่น และคอนแทคเลนส์ก็มีอยู่เหมือนกันนะคะ ศูนย์เลสิกต้องรีบไปขายของด่วน หรือร้านแว่นต้องเข้าชาร์จแนะนำแว่นที่เบาสบาย ใส่เหมือนไม่ใส่แล้วล่ะค่ะ

แถมข้อมูลปิดท้ายด้วย Campaign ที่น่าสนใจจากร้านแว่นท็อปเจริญ

TOP Spender Campaign ร่วมสนุกเพื่อรับบัตรคอนเสิร์ต NCT127 ในไทยมากถึง 418 รางวัล ถ้าใครมียอดซื้อสูงสุดภายในอันดับดังกล่าว คือได้บัตรไปคอนแน่ ๆ ซึ่งตอนนี้บัตรคอนเสิร์ตได้ถูกขายหมดเกลี้ยง สถานที่จัดอิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี 3 วัน ทำให้มีผู้ร่วมกิจกรรมเยอะมาก ๆ เข้าไปอีก

ยอดซื้อสูงสุดทะลุแสนไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่สร้างยอดขายตัดแว่นเท่านั้น สินค้าอื่น ๆ ภายในร้านเช่นแว่นกันแดด คอนแทคเลนส์ และสินค้าอีกมากมายภายในร้านแว่นท็อปเจริญ สาขาในโลตัสก็ถูกซื้ออย่างบ้าคลั่ง สมกับพลังแฟนด้อม

ทำให้เห็นว่าร้านตัดแว่น ไม่จำเป็นจะต้องทำแคมเปญ Trigger หรือออกบูธตามห้างเท่านั้น แต่ยังรุกกลุ่มเป้าหมายได้ผ่านการเป็นสปอนเซอร์ให้คอนเสิร์ตหรืออีเวนต์ก็ได้เช่นกัน เพราะแว่นเป็นสินค้าที่แมสอยู่กับคนหลายช่วงอายุอยู่แล้ว

ที่หยิบยกมาเป็นตัวอย่างเพราะ Data Peak บน Twitter คนข้างสูงเพราะมีคนแคมเปญนี้ ติดคำว่า ‘ตัดแว่น’ มาค่ะ ถือเป็นสปอนเซอร์ใหม่ ๆ ที่นุ่นไม่ค่อยเห็นจากคอนเสิร์ต แค่พลาสเตอร์บรรเทาปวดว่าแจ่มแล้ว เจอแบรนด์แว่นมาร่วมนี่ว้าวเลย

Social Data Insight ‘แว่นสายตา’ ของคนไทย

ใครที่ทำแบรนด์ แว่นสายตา ลองเอาข้อมูลเบื้องต้นนี้ไปต่อยอด ทำรีเสิร์จแบบอื่น ๆ ประกอบ ก่อนจะทำแพลนการตลาดได้เลย หรือจะนำไปเป็นเคสตัวอย่างการสำรวจตลาดแว่นสายตาผ่านเครื่องมือ Social Listening ก็ยินดีมาก ๆ ค่ะ สรุป Insight ให้แบบนี้นะคะ :

TOP5 วัสดุกรอบแว่นชนิดต่าง ๆ ที่ถูกพูดถึงบน Social Media สูงสุดคือ กรอบแว่นที่ทำจากไทเทเนียมค่ะ

TOP4 ที่เป็นตัวเลือกต้น ๆ ที่คนใส่แว่นมักเคลือบให้น้องแว่นสายตาของตัวเองคือเลนส์แบบ Auto เหมือนเป็นสารเคลือบพื้นฐานที่ทุกร้านตัดแว่นแนะนำให้เสริม คู่กับอันดับ 2 เลยคือ Blue Block ป้องกันแสงสีฟ้าจากหน้าจอ เดี๋ยวนี้นักเรียน นักศึกษา วัยทำงานต่างใช้ต่างจอกันวันละหลายชั่วโมง

ในส่วนของ Substitute Product ของแว่นตา เรื่องสายตา TOP2 ที่เหลือคือ คอนแทคเลนส์ 76.9% และการทำเลสิก 20% ค่ะ

ปิดท้ายด้วยแคมเปญสปอนเซอร์คอนเสิร์ต จัดกิจกรรม Top Spender ชิงบัตรคอนเสิร์ต NCT127 จากร้านแว่นท็อปเจริญ ที่ได้จากการอ่าน Peak Social Data ค่ะ หวังว่าจะตาตึงกันน้า~

หากต้องการอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Social Listening Tools คลิกดูเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

คอร์สเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics Bootcamp รุ่นที่ 21

เนื้อหาที่จะได้เรียน

  1. ทำความรู้จักเครื่องมือ Social listening tool ถึงความสามารถ และข้อจำกัดในการทำงาน
  2. เรียนรู้ผ่าน Case study การใช้ Social listening เพื่อหา Insight และ Opportunity ให้กับธุรกิจจากประสบการณ์ผู้สอนและทีมการตลาดวันละตอน
  3. เรียนผ่านการทำ Workshop ไปด้วยกัน ในการฝึกหา New Insight จาก Data ที่กระจัดกระจายอยู่บนโลกโซเชียล
  4. เรียนผ่านแนวคิด CPVAI Model ตามแบบหนังสือ Data Thinking ในการประยุกต์ใช้จริงเพื่อให้มีประสบการณ์
  5. ปรึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ส่งท้าย สำหรับธุรกิจแต่ละคน

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics รุ่นที่ 21 วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2023 ค่าเรียนคนละ 9,900 รับจำกัด 20 คน อ่านรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ลิงก์นี้เลย https://bit.ly/sociallistening21

หรืออยากลองสมัครมาใช้เอง นุ่นก็มีแพ็คน่ารักปุ๊กปิ๊กแนะนำให้ค่ะ Package Anyone 49$ https://www.mandalasystem.com/plans ลองดูว่าใช้แล้วเป็นอย่างไร ชอบไหม ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวฟีเจอร์ต่าง ๆ ลองคุ้ยดูได้ที่นี่ เลยค่ะ การตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ ^^

ฝากอีกนิดนึงหากใครต้องการข้อมูลไปทำสื่อแชร์ต่อ ทำซ้ำ หรือต่อยอด รบกวนส่ง Backlink กลับมาที่บทความนี้ และสามารถส่งลิงก์สื่อที่คุณนำไปต่อยอดมากระซิบกันได้ที่ [email protected] ได้เลยน้า เพื่อเป็นกำลังใจเล็ก ๆ ให้ผู้เขียนงับ กว่าจะละเมียดบทความวิเคราะห์แบบนี้มาได้ใช้ทั้งแรงกาย แรงใจ และเวลาไปสุดกำลังจริง ๆ นุ่นตั้งใจมาก อยากให้เข้าใจหน่อยน้า

Noon Inch

Noon Inch

นุ่น การตลาดวันละตอน 🙋🏻‍♀️Data Research Analyst Specialist | Content Creator ในเครือการตลาดวันละตอน 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 4 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 3 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣 [email protected]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *