ส่อง Insights เกี่ยวกับ ‘พิซซ่า’ ที่ถูกพูดถึงบนออนไลน์

ส่อง Insights เกี่ยวกับ ‘พิซซ่า’ ที่ถูกพูดถึงบนออนไลน์

เมื่อพูดถึงเมนูอาหารฟาสต์ฟู้ดแล้ว ทุกคนคิดถึงเมนูอะไรกันคะ เชื่อว่าคงหนีไม่พ้น ไก่ทอด เบอร์เกอร์ และก็พิซซ่าอย่างแน่นอนใช่ไหมคะ ซึ่งจริงๆ แล้วอาหารแนวฟาสต์ฟู้ดเนี่ยมีเยอะมากเลย แต่วันนี้ปลื้มจะขอเล่า Insights เฉพาะเมนูอาหารยอดนิยมของโลกอย่าง พิซซ่า เพราะล่าสุดพบว่าปีนี้ ผู้คนใช้อิโมจิพิซซ่ามากที่สุด เวลาที่พูดคุยเกี่ยวกับอาหารกัน ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเมนูพิซซ่าของจริงจะเป็นที่นิยมไปด้วยหรือไม่ ถ้าอยากรูเรามาดูพร้อมกันเลยค่ะ

จากข้อมูลการพูดถึงเกี่ยวกับพิซซ่าตั้งแต่ปี 2017 โดย Brandwatch เขาได้ทำการสำรวจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งใน Twitter / Reddit / Tumbir และ Forums ค่ะ จะเห็นว่าตัวเลขลดลงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแนวทางในการบริโภคอาหารของคนเปลี่ยนไป เนื่องจากโรคระบาดครั้งใหญ่นี้ แต่ก็มีการฟื้นตัวขึ้นในเดือนมีนาคม 2020 ตั้งแต่นั้นมาระดับต่างๆ ก็ดูเหมือนจะพบสมดุลใหม่

จากการที่กราฟฟื้นตัวในขณะนั้นเป็นผลมาจากการล็อกดาวน์ที่ทำให้พบว่าการพูดถึงพิซซ่าที่พุ่งขึ้น เกิดจากการ ‘พิซซ่าโฮมเมด’ นั่นเป็นเพราะว่าผู้คนเริ่มเข้าครัวและค้นหาวิธีการทำพิซซ่าด้วยตัวเอง แต่ในทางกลับก็มียังบางกลุ่มที่ยังใช้วิธีการสั่งพิซซ่ามาทานที่บ้านด้วย

เมื่อเทียบดูแล้วทั้งสองหัวข้อระหว่างทำพิซซ่าโฮมเมดเองกับสั่งพิซซ่ามาทานที่บ้าน จะเห็นว่ากราฟในเดือนมีนาคม 2020 มีการพูดถึงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งสองหัวข้อเลย เนื่องจากเป็นช่วงแรกๆ ที่คนกำลังปรับตัวและสนุกกับการอยู่บ้าน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ‘พิซซ่าโฮมเมด’ ก็มีการพูดถึงบนออนไลน์มากกว่าสั่งทานที่บ้าน และไม่ใช่แค่ช่วงที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น แต่แบบโฮมเมดถูกพูดถึงเยอะกว่า Takeout มาตลอด สงสัยคงเพราะการทำโฮมเมดทานเองที่บ้านให้ความสดใหม่เหมือนทานที่ร้าน ไม่ต้องเสี่ยงกับ delivery ที่หน้าพิซซ่าล้มบ้าง เละบ้าง หรือต้องรอคิวนานๆ กว่าจะมาถึงบ้านก็เย็นชืดหมดนั่นแหละค่ะ

ช่วง peak ของพิซซ่าคือช่วงไหน

จะเห็นว่าที่กราฟพุ่งสูงเลยจะเป็นช่วงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ นั่นเป็นเพราะว่าเป็นวันพิซซ่าแห่งชาติในสหรัฐอเมริกาค่ะ และกราฟได้พุ่งอีกครั้ง ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นั่นก็เพราะเป็นวันแห่งความรักที่คู่รักมักจะออกเดทกันในร้านอาหารและพิซซ่าก็เป็นเมนูที่พวกเขาอาจจะนึกถึง

นอกจากนี้การพูดถึงพิซซ่าค่อนข้างคงที่ตลอดทั้งปี ซึ่งแสดงถึงความนิยมอย่างสม่ำเสมอ ว่าไม่มีผลกระทบต่อความสนใจพิซซ่าตามฤดูกาลมากสักเท่าไหร่

หลังจากดูแบบรายเดือนมาแล้ว ต่อไปเรามาดูแบบสัปดาห์กันบ้างค่ะ ซึ่งดูแล้วปลื้มว่าเกือบทุกวันที่มีการพูดถึงพิซซ่านะคะ แต่ถ้ามากที่สุดก็จะเป็นวันจันทร์ และรองมาเป็นวันศุกร์ค่ะ  และสำหรับผู้ขายพิซซ่านั้น ตอนนี้ร้านขายพิซซ่าก็รู้แล้วว่าควรเพิ่มโฆษณาในวันไหน

คนกินพิซซ่ารู้สึกอย่างไรกับสับปะรด?

ส่วนผลในการสำรวจบนออนไลน์ เกี่ยวกับปัญหานี้ในปี 2021 พิซซ่าใส่สับปะรดมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความสุขมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนที่ไม่ชอบใจกับพิซซ่าที่ใส่สับปะรดค่อนข้างมากเหมือนกัน เมื่อเราบวกกับคนที่มีความรู้สึกเชิงลบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เศร้า โกรธ และ กลัว ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ไม่โอเคกับการใส่สับปะรดบนหน้าพิซซ่ามากกว่าเสียอีกนะคะ ซึ่งจริงๆ หัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อที่คนนำมาถกเถียงกันไปมามากกว่า เพราะมันก็มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ เหมือนกับกระแสเรื่องบะหมี่หยกลวกเรื่องลวกเส้นนั่นแหละค่ะ

ปลื้มเชื่อว่าหลายคนต้องมีความรู้สึกบางอย่างเวลากินพิซซ่าหน้าฮาวายเอี้ยน หรือหน้าอื่นๆ ที่มีสับปะรดอยู่ คนอื่นๆ คิดว่ายังไงกันบ้างคะ มาคอมเมนต์ใต้โพสต์นี้ ในเพจการตลาดวันละตอนได้เลย ว่าใครทีมไหน มาแชร์ความรู้สึกกัน อย่างปลื้มเองขออยู่ทีม #พิซซ่าใส่สับปะรด แล้วกันค่ะ เพราะว่ามันตัดเลี่ยนได้ดี ก็เลยไม่ติดอะไรถ้าจะใส่มันลงในพิซซ่าด้วย

จากการสำรวจ Insights ความสนใจเกี่ยวกับพิซซ่านี้ ทำให้เห็นว่า พิซซ่า เป็นเมนูยอดนิยมอีกหนึ่งเมนูที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ ถึงแม้ว่าปี 2021 นี้ การพูดถึงบนออนไลน์ไม่ได้สูงเท่ากับ ปี 2017 แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีหลังเกิดโรคระบาด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของคน สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และค่อนข้างที่จะผันผวนไปมาในช่วงนี้ สังเกตจากกราฟที่พุ่งขึ้นสูงสุดและลงต่ำ เพราะมันอยู่ในระหว่างการปรับตัวในการดำรงชีวิตแบบใหม่ของคนกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นที่ยังไม่ลงตัว

เป็นผลที่ทำให้นักการตลาดต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน และต้องคอยอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ เสมอด้วยค่ะ อย่างพิซซ่าเมื่อเรารู้ว่าคนหันไปทำโฮมเมดเอง ร้านขายพิซซ่าอาจจะต้องปรับตัว เช่น ทำเซตวัตถุดิบ ให้คนไป DIY เมนูเอง ทำคลิปสอนทำพิซซ่าโฮมเมดแบบง่ายๆ หรือสื่อสารให้ผู้บริโภครู้สึกว่าจะทำพิซซ่าเองไปทำไมให้เหนื่อย มาซื้อกับร้านเราสิง่ายกว่ากันเยอะ สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะสามารถช่วยทำให้ยอดขายของร้านเติบโตไปได้ในช่วงเวลานั้นๆ นั่นเองค่ะ

หากนักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจสนใจ Data Research แบบนี้บ้าง ทีมการตลาดวันละตอน รับให้คำปรึกษาค่ะ สามารถติดต่อได้ที่อีเมล [email protected] ได้เลยค่ะ

หรือสนใจอยากเรียนรู้การใช้ Social listening ด้วยตัวเองทางการตลาดวันละตอนในฐานะผู้ที่ใช้อย่างเชี่ยวชาญก็กำลังจะเปิดคลาสสอนในวันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2565 รับจำนวนจำกัด 20 คน ตอนนี้เหลือแค่ครึ่งเดียวแล้ว ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท สนใจอ่านรายละเอียดและสมัครเรียนก่อนเต็มได้ที่ > https://bit.ly/SocialListening4

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

source : www.brandwatch.com

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน