วิธีอ่าน Social Data เวลาน้อยก็รู้เรื่อง! – ตัวอย่างเคสเปิดตัว Galaxy S22 Series

วิธีอ่าน Social Data เวลาน้อยก็รู้เรื่อง! – ตัวอย่างเคสเปิดตัว Galaxy S22 Series

วิธีอ่าน Social Data เวลาน้อยก็รู้เรื่อง! – ตัวอย่างเคสเปิดตัว Galaxy S22 Series

จริงอยู่ที่ Social Data ถือเป็น Big Data และเป็นพื้นที่สุดรกไม่มีระเบียบแต่มี Customer Insight หลายด้านที่รอให้มาเก็บเกี่ยวอยู่ แล้วทำอย่างไรให้คนที่มีเวลาน้อยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนโซเชียลที่มีอยู่อย่างสาธารณะได้บ้างล่ะ?

ซึ่งในการทำการตลาดมีเครื่องมือทั้งหลังบ้านหน้าบ้านช่วยวิเคราะห์อยู่แล้ว ตามขนาดธุรกิจหรือองค์กร ในบทความนี้นุ่นจะขอมาแชร์ 1 วิธีในการอ่านและเข้าใจ Social Data ที่เกี่ยวกับเทรนด์หรือสินค้าค่ะ สามารถใช้งานได้ทั้งในพาร์ท Research, Monitor หรือดู Feedback แม้กระทั่งทำ Report รูปแบบต่าง ๆ ก็ได้เลย ผ่านการใช้ Social Listening Tools : Mandala

Social Listening Tools อย่างที่การตลาดวันละตอนได้แชร์กันมาหลายบทความเกี่ยวกับลักษณะการใช้งานของแบรนด์ดังต่าง ๆ และอธิบายฟีเจอร์ที่น่าสนใจผ่านเคสนั้น ๆ ขั้นตอนการทำงานจริงใช้เวลามากเลยที่จะคลีนเลือกเฉพาะ Data ที่เราต้องการจริง ๆ แต่ทุกวันนี้ฟีเจอร์ของ Mandala มี Data Visualizations ที่ช่วยให้เราอ่านข้อมูลง่าย  ใครอยากจะเริ่มศึกษาก็ลองที่ตัวนี้ได้ค่ะ เวลาน้อยก็รู้เรื่อง 

ดึงข้อมูลตัวอย่างเคสเปิดตัว Galaxy S22 Series

เพื่ออธิบายให้ทุกคนเก็นภาพมากขึ้น ขอใช้เคสการเปิดตัวสินค้า Galaxy S22 Series จากแบรนด์ Samsung และมาดูกันว่าเห็นอะไรบ้างถ้ามีเวลาอันน้อยนิดในการทำพาร์ทนี้ 

นุ่นสร้างโปรเจคโดยใช้ Keyword : GalaxyS22, Galaxy S22, Galaxy S22+ และ Galaxy S22 Ultra ซึ่งเป็นชื่อรุ่นต่าง ๆ การทำงานของ Social Listening Tools คือดึงโพสต์สาธารณะบนแพลตฟอร์มออนไลน์เข้ามา 

การวิเคราะห์ จะมัดรวมทั้ง Series เพื่อดูภาพรวมเป็นตัวอย่างนะคะ ไม่ได้วิเคราะห์แยกรุ่นกัน

ตั้ง Time Fame : 01/01/2022 – 31/03/2022 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังเปิดขายในไทย 1 เดือนค่ะ

ได้จำนวน Mentions หรือ Social Data ที่พูดถึงอย่างในภาพ ถือว่าเยอะมากเลยค่ะในเวลาแค่นี้ แต่ยังเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ Fliter ภาษา หรือคลีนโพสต์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวไม่ต้องการออกนะคะ เช่นโพสต์จากร้านตู้ขาย/ซ่อมโทรศัพท์ ร้านขายเคส ขึ้นตอนคลีนสำคัญที่สุด แต่กรณีมีเวลาน้อยมาก (สั่งเช้าเอาไม่เกินบ่ายโมง) เราสามารถดูอะไรแบบเร็ว ๆ ได้บ้างมาดูกันค่ะ 

Timeline การพูดถึงบนโซเชียล พุ่งขึ้นวันที่ 24 ก.พ 65 จาก Twitter

แมชแรกเราต้องมาดูเส้น Timeline กันก่อนเลยว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร จุดที่พุ่งขึ้นก็คือวันที่มีการพูดถึงสูงที่สุดค่ะ โดยเส้นจะแบ่งเป็นสีแต่ละแพลตฟอร์มชัดเจน เพื่อให้เราอ่านได้สะดวก

จะเรียกดูแบบ Day Week Months ก็ย่อมได้ตามสะดวก และถ้าอยากเรียกดูโพสต์ของวันที่พุ่งว่ามาจากแอคเคาท์ไหน ก็ให้กดไปที่จุดกลม ๆ ของวันนั้นได้เลยค่ะ

ถ้าจิ้มเข้ามาแล้วจะมีหน้าต่างแบบนี้เด้งขึ้นมา แสดงโพสต์ทั้งหมดของวันที่ 24 ก.พ. 65 แพลตฟอร์ม Twitter ไล่ดูแล้วก็รู้เลยว่ามาจาก #SmartWattanawithGalaxyS22 ที่แฟน ๆ ตั้งขึ้น เป็นภาพจากเพจ อารมณ์นิยม ที่ทำคอนเทนต์ถ่ายภาพในที่แสงน้อยด้วย Samsung Galaxy S22 Ultra 5G นำเสนอ Night Potrait ผ่านนายแบบฐานแฟนคลับแน่นอย่างคุณสมาร์ท หนึ่งในผู้เข้าแข่งขันรายการ LAZ iCON และ Samsung ก็ต่อยอดคอนเทนต์จากเดิมที่จ่ายให้คุณช่างภาพเพจอารมณ์นิยม เอามาโพสต์ต่อกระแสบนทวิตเตอร์พร้อมใช้แฮชแท็กเดียวกับแฟน ๆ ถือว่ารวดเร็วและเป็นตัวอย่างที่ดีในการโปรโมตสินค้าจริง ๆ ค่ะ 

แบรนด์ไหนที่กำลังจ้างแล้ว จ่ายค่า Ads แล้วก็คิดว่าจบไปอาจจะไม่ได้ Value อื่น ๆ เพิ่มขึ้นแบบนี้ก็ได้นะคะ เพราะฉะนั้นถ้าทำอะไรได้บนตลาดออนไลน์วันนี้ก็ให้รีบทำกันนะคะ อย่าให้คู่แข่งแซงเราไปไกลได้

ดูการพูดถึงโดยรวมบน Word Cloud / Hashtag Cloud

คำที่มีขนาดใหญ่สุด ก็คือคำที่ถูกใช้มากเมื่อโพสต์ถึง Keyword ของเรา ณ ที่นี่อ่านแว๊บแรกก็ทราบเลยว่า​ Samsung เน้นขายรุ่น Ultra มาที่สุด เพราะทั้งดูแบบคำและแฮชแท็กต้องมีรุ่นนี้อยู่ TOP3

ประโยชน์ของฟีเจอร์นี้ต่อนักการตลาดคือสามารถดูได้ว่าแฮชแท็กที่เราทุ่มเทผลักดัน มันถูกใช้ถึงเป้าหรือไม่ หรือมีคำอื่น ๆ กระแสอื่น ๆ ที่อยู่ในแวงวงเดียวกับสินค้าเรา แต่ยังไม่ได้หยิบมาทำอะไรต่อหรือไม่ 

มีเคสตัวอย่างการใช้ฟีเจอร Word / Hashtag Cloud ได้น่าสนใจจาก Coca Cola ที่เค้าเห็น Relate Trend จนพัฒนามาเป็นโค้กรสชาติไม่มีน้ำตาลที่เราทุกคนคุ้นเคยเดินไปเปิดตู้เย็นหรือหน้าปากซอยก็ต้องเจอ 

Sentiment และ Gender คนที่พูดถึง Galaxy S22 คิดประมาณไหน เพศอะไร

เจ้า Sentiment อาจจะเชื่อถือได้แค่เล็กน้อย เท่านั้นนะคะ เพราะ AI จับจากคำว่า ดี แย่ ห่วย ไม่โอ แต่ดวยภาษาไทยของเรา ‘ดีเหลือเกิน’ น้องก็จะจับเข้า Positive ทั้ง ๆ ที่จริงผู้โพสต์อาจประชดประชันก็ได้ค่ะ หรือถ้า Keyword เราเป็นชื่อสินค้าที่มีคำว่า Good ก็เขียวทั้งแถบแน่นอน เพราะฉะนั้น นุ่นแนะนำคนที่มีเวลาน้อยมากจนแวะอ่านไม่ได้เลยให้กระโดดข้ามไปก่อน

ส่วนเรื่องของเพศ อธิบายว่า AI เค้าจับจาก ค่ะ คะ ครับ เลยทำให้แยกได้ประมาณนี้เลย หญิง ชาย และโพสต์ที่ไม่มีคำเหล่านี้จะถูกจัดใน Unknow นั่นเอง ที่บอกว่าให้คนเวลาน้อยดูเพราะมันสามารถช่วยเราตัดสินใจได้ประมาณนึงค่ะ ไม่ควรทิ้ง เป็นมิติของ Data อย่าง Galaxy S22 Series นี้คุณผู้ชายโพสต์มากกว่าผู้หญิงเยอะเลยค่ะ อาจเพราะพอเป็นเรื่อง IT คุณผู้ชายขยันคุยมากขึ้นกว่าเรื่องอื่น ๆ ที่นุ่นเคยวิเคราะห์มา ตอนแรกนุ่นเดาอย่างมั่นใจมากว่าผู้หญิงชัวร์เพราะพรีเซ็นเตอร์ดึงดูดได้ดีจริง ๆ

เลื่อนดู TOP POST แต่ละ Channel ภายในจอเดียว

ขอดูโพสต์ที่มี Engagement เยอะ ๆ ได้ไหมเทียบกัน 4 แพลตฟอร์มหัวหน้าขอด่วน ก็จัดไปค่ะแคปหน้าฟีเจอร TOP Post ไปได้เลย เพราะเค้าแยกเป็น 4 เลนส์มาให้แล้ว ในภาพตัวอย่างนุ่นเลื่อนดูโพสต์ที่มาจาก Influencer หรือเพจของสื่อฯ IT นะคะ เพราะอันดับแรก ๆ มักเป็นของ Samsung เอง

โดยแต่ละ Channel ก็สามารถเลือก Sort ได้ด้วยตัวเองอีกว่าจะเรียงแบบไหน อยากจะเป็นของ Youtube ให้เรียงตามยอดคอมเมนต์เท่านั้น หรือ Facebook อยากให้เรียงจากโพสต์ที่มีคนแชร์เยอะที่สุดก่อนก็ย่อมได้ค่ะ สะดวกไปไหนเนี่ย

แต่จะมีใครสังเกตไหมนะว่าบางโพสต์ของนุ่นถูก Add Tag ติดป้ายไว้ว่าโพสต์พูดถึง Galaxy S22 Series ว่าอย่างไร ซึ่งขั้นตอนนี้ขอเป็นคนที่มีเวลามากพอสมส่วนกับ Data แล้วกันนะคะ….

ขอเวลาเพิ่มอีก (ไม่) นิดเพื่อ Data Insight ทองคำ

ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกว่า เห่ยยย จริง ๆ เราก็มีเวลานะเริ่มสนุกกับ Data แล้ว นุ่นมีอีก 101 อย่างที่อยากแชร์เลย แต่บทความนี้เอาไป 1 ก่อนน้า ^^ 

ด้านบนนุ่นถามว่ามีใครสังเกตเห็น Add Tag บ้างมั้ยนะ นั่นคือวิธีการหนึ่งที่จัดระเบียบ จับกลุ่มข้อมูลให้เราทำงานง่ายขึ้น จากเดิมเป็น Data รก ๆ ยากจะใช้งานแบบลึกซึ้งขั้น Customer Insight 

ตัวช่วยนั้นเรียกว่าฟีเจอร์ Tag Management ค่ะ รายละเอียดการใช้ Tag Management ขั้นตอนการจับกลุ่มข้อมูลให้สะดวกต่อการวิเคราะห์ต่อ นุ่นเคยเขียนไว้ที่บทความนี้นะคะ นักการตลาดสามารถเข้าไปอ่านและใช้งานตามขั้นตอนได้เลย

คนไทยพูดถึง Galaxy S22 Series ในเรื่อง ดีไซน์, เปรียบเทียบ และพรีเซ็นเตอร์มากที่สุด

เสร็จแล้ว Export ออกมาสร้าง Pie chart เองค่ะ เพราะอยากรู้ว่าคนไทยพูดถึง Series นี้ในด้านไหนบ้าง เห็นเป็นเรื่องดีไซน์มากที่สุด หลายโพสต์บอกว่าเรียบหรูบางดี ถือแล้วดูดีมาก และแน่นอนเรื่องของสมาร์ทโฟนจะขนาดคอนเทนต์ประเภท ‘เปรียบเทียบ’ ไปได้อย่างไร ทั้งเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ และใน Series เดียวกันเลย เพื่อให้เห็นถึงความคุ้มค่า และช่วยตัดสินใจซื้อได้มากขึ้นว่าเหมาะหรือไม่เหมาะกับเรา ใครที่จะถอยรุ่นใหม่แล้วคิดหนักคอนเทนต์แบบนี้แหละจะอยู่ในประวัติเต็มไปหมด นุ่นเข้าใจเพราะนุ่นก็เคยเป็นเหมือนกันค่ะ

อย่างว่าถ้าทุกคนอ่านข้างบน ๆ แบบเร็ว ๆ มาทั้งหมดแล้วมีเวลามาทำ Report ฉบับเต็มต่อนุ่นอยากให้ลองฝึกฟีเจอร์นี้จริง ๆ เปลี่ยนจาก Tag managment จากนี้เป็นอื่น ๆ ที่เข้ากับสินค้าของนักการตลาดก็ได้ แต่ควรเป็นเรื่องที่น่าจะมี Data หรือคนพิมพ์ออกมานะคะ ถ้าแคบเกินไปอย่างชื่อสีเฉพาะสินค้าเรา Data อาจจะน้อยมาก ๆ เกินไป

นี่เป็นตัวอย่างการทำแท็กเบา ๆ ใน 1 ชั่วโมงเท่านั้นค่ะให้ทุกคนเห็นเป็นไอเดีย แต่เราสามารถแยก Tag ออกไปได้อีกเป็น 10 หรือ 20 insight เลยถ้ามีเวลา เช่นพรีเซ็นเตอร์เอามาตั้งเป็น 1 กรุ๊ป แล้วย่อยเป็นชื่อของแต่ละคนเพื่อดูว่าการพูดถึงเท่าไหร่ คนชมว่าอะไร ส่วนใหญ่แล้วก็จะชมกล้องสวยค่ะถ่ายพรีเซ็นเตอร์ได้คมชัดเต็มตา

สรุปวิธีอ่าน Social Data เวลาน้อยก็รู้เรื่อง

เป็นอย่างไรคะกับการอ่าน Social Data ฉบับสั่งเช้าขอบ่าย โดยใช้ฟีเจอร์บน Social Listening Tools ที่เลือกมาแชร์กันบางส่วนจากทั้งหมดเท่านั้น แถมส่วนสุดท้ายที่เป็นการพูดถึง Galaxy S22 Series ในด้านในมากที่สุดซึ่งถ้ามีเวลาก็อย่าลังเลที่จะใช้มันค่ะ ใครรู้สึกชอบสามารถลองฝึกด้วยตัวเองแล้วมาสมัครงานที่การตลาดวันละตอนได้นะคะ ตามหาคนรักการอ่าน Social Data ประมาณนี้อยู่เลยค่ะ ^^  

ถ้านักการตลาดอยากอ่านฟีเจอร์อื่น ๆ หรือบทความวิเคราะห์ผ่าน Social Listening เพิ่มเติม สามารถกดที่นี่ ได้เลยนะคะ เรามีอีกหลายเคสตัวอย่าง ที่อยากให้ลองศึกษาดูค่ะ ตั้งใจเขียนทุกบทความเลยจริง ๆ

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้

https://bit.ly/sociallisteningclass

ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อนกัน

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *