Social Behavior ของคนจะซื้อ Gadget ที่งาน Thailand Mobile Expo 2020

Social Behavior ของคนจะซื้อ Gadget ที่งาน Thailand Mobile Expo 2020

เพราะเห็นกระแสงาน Thailand Mobile Expo 2020 ในวันที่ 1-4 ตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้เพลินอยากลองมาค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับงานนี้บน Social Listening ดู ว่ามีผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง แต่สุดท้ายกลับเจอสิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้น เพราะเครื่องมือ Listening ที่เพลินใช้ในการค้นหาคือ Mandala ทำให้เพลินสามารถเห็นถึง Social Behavior หรือพฤติกรรมการใช้ Social ของคนที่สนใจมือถือ Gadget ก่อน ระหว่าง หรือหลังงาน TME2020 ค่ะ

คนจะเริ่ม Engage แค่วันแรกๆ เท่านั้น

Social Behavior
Social Behavior

จากข้อมูลบน Social Listening จะพบว่าแบรนด์มือถือ อินฟลู ธนาคารและเพจของ Thailand Mobile Expo นั้นต่างแห่กันโพสต์โปรโมตงานและสินค้าของตัวเองภายในงานประมาณ 5 วันล่วงหน้า นั่นก็หมายความว่า หากงานเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม การโปรโมตก็เริ่มตั้งแต่ช่วงวันที่ 25 กันยายนแล้วค่ะ หลังจากนั้นการโปรโมตก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นในวันแรกของงาน ต่างแบรนด์ก็ต่างออกมาพูดว่ามีส่วนลด ของแถมอะไรพิเศษให้ เพื่อเชิญชวนคนมาช้อปกัน

แต่หากเราย้ายมาดูในส่วนของ Engagement สังเกตได้เลยว่า คนมี Participation กับโพสต์โปรโมตต่างๆ แค่ในช่วงวันแรกๆ เท่านั้น เพราะสิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้จากงานแฟร์ลดกระหน่ำ Clearance Sale แบบนี้ คือการสร้าง Content แต่แบบ Promotion หรือการที่เพจอินฟลู เพจบอกโปรต่างๆ จะถ่ายรูปป้ายราคาแล้วแปะรวมๆ เป็น Album ให้คนเข้ามาหากันเองจากตรงนั้น ทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมการค้นหาหรือทำ Research บน Social Media แทน 

ซึ่งหากเราดูจากกราฟที่ปรากฏขึ้นมา จะเห็นได้ว่า คนจะรีบเข้ามาดู Content แจ้งราคา แจ้งของแถม สิทธิพิเศษเฉพาะในวันแรกๆ หลังจากนั้น Engagement ก็จะซาไป เพราะคนรู้ว่าโปรมันไม่ได้เปลี่ยนทุกวันที่มีงาน ถ้าดูวันแรก รู้แล้ว ก็จบแค่นั้น ค่อยตัดสินใจต่อทีหลังว่าจะไปเดินงานหรือไม่ค่ะ

ดังนั้นหากรู้ Insight ข้อนี้แล้ว นักการตลาดแบรนด์มือถือ อุปกรณ์ Gadget ที่จะไปออกงาน ก็อาจจะลองเล่น Tactics การเปลี่ยนราคาในแต่ละวันที่จะออกงานดู เหมือนให้คนลุ้นหวย ว่าวันนี้จะราคาเท่าไร เพื่อรักษา Engagement ให้กลับมาที่เพจและโพสต์ที่ลงไปแบบต่อเนื่อง หรือถ้าใครที่ไม่สามารถปรับราคาแบบขึ้นๆ ลงๆ ได้ ก็จะต้องทำโพสต์วันแรกให้ดีแล้วล่ะ ว่าทำไมคนถึงควรมาเจอคุณที่งาน ก่อนที่ Engagement จะหายไปในวันถัดๆ ไปค่ะ

คนมี Engage กับโพสต์โปรโมตในช่วงหลังพักเที่ยง (13:00) และใกล้เลิกงาน(16:00/18:00)

Social Behavior

หากดูลงในส่วนรายละเอียดของ Engagement ของคนมากขึ้น จะเห็นว่าจริงๆ แล้วคนเข้ามาเช็คและมีส่วนร่วมแค่ในระยะเวลาสั้นๆ เหมือนเปิด Content Album ดู ไถๆ Feed ดูยี่ห้อ ราคาแล้วก็ไป ซึ่งเวลาที่คนจะเข้ามาส่วนใหญ่ เพลินต้องขอเรียกว่าเป็นชั่วโมง Relax ไหมนะ เพราะมันคือช่วงหลังทานข้าวเสร็จ (13:00 PM) แต่ยังไม่ได้เริ่มทำงานในทันที ขอเช็ค Social แปปนึงแล้วลุยต่อ 

อีกเวลานึงที่พีคสุดเลยคือช่วงใกล้เลิกงาน (16:00 PM) และช่วงหลังเลิกงานแล้ว (18:00 PM) ถ้าให้บอก เพลินคิดว่ามันคือชั่วโมงที่คนเริ่มทำงานช่วงบ่ายมาสักระยะ แล้วเริ่มง่วง เริ่มมองนาฬิกาแล้วขอแว็บไป Social พักนึง รวมไปถึงชั่วโมงการเดินทางกลับบ้าน รอรถไฟฟ้า หรือรถติดอยู่ตามสี่แยกต่างๆ ค่ะ

Take Away หลักของข้อนี้ที่เพลินจะเล่าก็คือ การที่แบรนด์ต่างๆ โพสต์โปรโมตตลอดทั้งวัน แถมเวลาโพสต์ที่พีคที่สุด กลับไม่ใช่เวลาที่คนจะ Engage มากที่สุดเลย สำหรับงานครั้งหน้า อาจจะลองโพสต์ในช่วงเวลาเที่ยงเพื่อให้คนเห็นหลังพักเที่ยง หรือช่วงสายๆ ตอนที่คนเริ่มอยากแอบท่องโลกโซเชียลสักพักดูบ้างค่ะ

Flow ของประเภทคำถามและ Engagement ที่เกิดขึ้นบน Social

มาดูในส่วนของ Flow คำถามและ Engagement ที่เกิดขึ้นกันบ้างค่ะ โดยจากกราฟของตัว Tools ทำให้เราเห็นว่าประเภทคำถามนั้นเริ่มจากประเภท People Base (สีเหลือง) ในช่วงวันที่ 28 กันยายน โดยหลังจากที่แบรนด์และเพจต่างๆ เริ่มลงโปรโมชั่น คนก็ถยอยเข้ามา Tag เพื่อนหรือคนที่ตัวเองอยากให้เห็นโพสต์นั้นๆ ของแบรนด์ ซึ่งยังรวมไปถึงประโยคสั้นๆ ที่อาจจะไม่ได้เป็นคำถามอย่างคอมเม้นต์เช่น ดีงามมาก จัดว่าเด็ด หรือไม่พลาดแน่ เป็นต้นค่ะ

Social Behavior

ต่อมาในช่วงวันที่ 29 กันยายน ก็จะเห็นโพสต์จำพวก Doubtful (สีเขียวอ่อน) ข้อสงสัยต่างๆ เพิ่มขึ้นมา ซึ่งคำถามเหล่านี้เกิดจากโพสต์ส่วนลดที่คนเริ่มสงสัยว่าทำไม รุ่นนี้ไม่ลด รุ่นนั้นหายไปไหน เพราะบางที Content Album ก็อาจจะลงสินค้าทุกอย่างในงานไม่ได้ ก็จะมีคนที่เข้ามาถาม Admin เพจเพิ่มเติมในส่วนนี้นั่นเองค่ะ

ซึ่งหลังจากนั้น เราก็จะเห็นคำถามประเภท Request (สีส้ม) ที่เพิ่มขึ้นมาก จากการขอให้ตัวกลางอย่างเพจรีวิวต่างๆ ช่วยถ่ายโปรของแบรนด์นั้น แบรนด์นี้ให้หน่อย หลายๆ คนก็มีการมองหาบริการรับหิ้วด้วย ซึ่งถ้าแบรนด์รู้แบบนี้แล้ว เพลินว่าในงานครั้งถัดไป พอจัดบูธเสร็จ ก็ให้เตรียมภาพของราคาสินค้า ของแถมทุกรุ่นเอาไว้เพื่อรวม Stock ใน Social รองรับคำถามพวกนี้เอาไว้เลยค่ะ

นอกเหนือจากนี้เราก็จะเห็นคำถามประเพจ Time และ Location Based (สีม่วงและสีชมพู) ว่าปิดกี่โมง อยู่ที่ไหน ไปยังไง ไปตอน 1 ทุ่มจะทันไหม ซึ่งคำถามเหล่านี้ก็จะเริ่มมีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ที่เป็นวันแรกของงานมากกว่าช่วง Pre-event ค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็จะเห็นได้ว่า Movement ของ Engagement คนใช้งานเนี่ย มีการปรับเปลี่ยนตามช่วงเวลาและ Content ต่างๆ จากแบรนด์และอินฟลูเป็นหลัก ต่อไปถ้าเรารู้อยู่แล้วว่า คำถามของคนที่จะสนใจงาน Thailand Mobile Expo เป็นประมาณนี้ เราก็จะสามารถตั้ง FAQ Content ออกมา แล้วปล่อยตาม Behavior ของคนในแต่ละวันได้ดีขึ้นค่ะ

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับ Social Behavior คนไปงาน Thailand Mobile Expo 2020 ที่เพลินเอามาแชร์กัน หากนักการตลาดของแบรนด์มือถือได้อ่าน ก็อย่าลืมเอาไปปรับใช้ แพลนเอาไว้ก่อนเลยสำหรับการลง Content ในครั้งหน้า อย่าลืมว่า เพราะการออกงานเรื่องของราคานั้นสำคัญสุด ทำให้คนอยากดู Content และสนใจแต่เรื่องของราคา Promotion ในวันแรกเท่านั้น

ดังนั้น Challenge ต่อไปคือ การโพสต์ Promotion ยังไงให้มันไม่จบแค่ที่ Online แต่ยังสามารถทำให้คนอยากมางานได้อยู่ เหมือนที่เราเห็นว่าคน Engage กับโพสต์ราคาแค่ในวันแรกๆ ถ้าราคาดีก็ไปงาน ราคาเฉยๆ ก็ยอมตัดใจซื้อข้างนอกก็ได้ ดังนั้นเรื่องของ Experience ที่มากกว่าราคาเนี่ยแหละจะเข้ามาตอบโจทย์ในจุดที่ Online ก็แก้ไม่ได้ อย่าลืมเสน่ห์ของงาน Event พวกนี้ ไม่ว่าจะเป็นพริตตี้ กิจกรรม Product Trial ของแจก ขับฉลากอะไรก็ตาม ที่ต่อให้รู้ราคาในออนไลน์แล้ว ก็ยังอยากจะมางานเพื่อ Visit บูธของเราค่ะ ลองดูนะคะ

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

สำหรับนักการตลาดท่านไหนที่อยากดูในส่วนของ Event Marketing เพิ่มเติม สามารถคลิกได้ที่นี่เลยค่ะ >> https://www.everydaymarketing.co/?s=event

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *