3 เทคนิคใช้เก็บ First-Party Data และรู้จักพลังข้อมูล Second-Party Data เพื่อที่สุดของ Performance Marketing

3 เทคนิคใช้เก็บ First-Party Data และรู้จักพลังข้อมูล Second-Party Data เพื่อที่สุดของ  Performance Marketing

3 เทคนิคใช้เก็บ First-Party Data และรู้จักพลังข้อมูล Second-Party Data เพื่อที่สุดของ Performance Marketing

วามท้าทายของนักการตลาด ในวันที่เราอยู่ในยุคผู้บริโภคมีทางเลือกมากมาย ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ จึงทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องงัดกลยุทธ์เด็ดเพื่อให้เข้าถึงและโดดเด่นเตะตาลูกค้าให้ได้ ท่ามกลางความดุเดือดของธุรกิจที่ต้องแข่งขันกันในเวลานี้ ซึ่งไม่ง่ายเลยค่ะ 

ดังนั้นเราควรสร้างความได้เปรียบคู่แข่งแบบด่วน เริ่มได้เลยตั้งแต่วันนี้ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่การตลาดวันละตอนเองก็เน้นย้ำมาตลอดนั่นคือ ‘การเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค’ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ของการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ รู้ว่าต้องขายใคร เค้าเป็นคนยังไง อะไรที่ลูกค้าชอบ-ไม่ชอบ 

ธุรกิจได้จะกำหนดทิศทางด้านการตลาดได้แม่นยำขึ้นแน่นอน หากมี “Data” หรือ “ข้อมูล” ของผู้บริโภคในมือ เป็นเหตุผลว่าทำไมหลายธุรกิจที่ทั้งเคย และไม่เคยปรับตัวตามยุคสมัยต่างหันมาสนใจการใช้ Data-Driven Marketing เพื่อพัฒนาวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้ปังในยุคนี้ โดยเฉพาะการทำ Digital Marketing เพราะเจ้าของธุรกิจยุคใหม่ที่เชื่อในข้อมูล มีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากเมื่อ 3-4 ปีก่อน 

การเก็บและใช้ First Party Data เพื่อทำ Targeting

วิธีการที่เราจะเข้าใจลูกค้าต้วยตัวเองได้เร็วคือการมองข้อมูลรอบตัวที่มีอยู่ในมือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นทุก ๆ วันในธุรกิจของเราเบื้องต้น โดยเราเริ่มเก็บข้อมูลนั้นเอง ไม่จำเป็นจะต้องมีเงินทุนมากมายในการนำ first-party data มาใช้วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า เช่น จะเป็นข้อมูลการสมัครสมาชิก ประวัติการซื้อสินค้า หรือ conversion ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ 

ซึ่งนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจทราบไหมคะว่า data ที่ดีที่สุดในการนำมาทำ audience targeting และ performance campaign คือ first-party data นี่เอง

หากแบรนด์ของนักการตลาดยังพึ่งพาข้อมูลจากช่องทางที่สาม หรือ third-party data เป็นหลักอยู่ก็ถึงคราวจะต้องรีบปรับตัวแล้ว หมดยุคฝากความหวังไว้กับเพื่อนบ้าน ช่องทางการขายต่าง ๆ  เพราะหลายนโยบายความเป็นส่วนตัวใหม่ และยุคสมัยจะทำให้เราได้ข้อมูลยากขึ้น ทั้งยังมีข้อจำกัดมากมาย 

และถ้าอยากเริ่มเก็บ first-party data ด้วยตัวเองง่าย ๆ ทำได้ทันที ลองปรับใช้ 3 เทคนิคดังนี้:

#1 จัดกิจกรรมชิงโชค

วิธีที่ไม่ค่อยตายไมค์ จัดทีไรก็โอกาสได้ coversion สูง ทั้งยังเป็นตัวเลือกทั่วไปที่ทำได้ไม่ยุ่งยากนัก มีสิ่งตอบแทนหรือของล่อตาล่อใจให้ลูกค้าแบ่งปันข้อมูลอย่างเต็มใจแก่แบรนด์ได้เสมอ  

แนะนำสำหรับนักการตลาด 

ความง่ายของยุคสมัยนี้ ที่ทุกอย่างรันได้เร็วผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหมด จะแค่ถ่ายรูป หรือสแกนคิวอาร์โค้ด หรือ Google Forms ก็นิยมใช้กันเพราะความง่ายทั้งฝั่งลูกค้า และข้อมูลลูกค้าก็จะอัปขึ้นฐานข้อมูลออนไลน์ทันที

แต่มีดอกจันทร์ไว้หากจะทำวิธีนี้ ต้องอย่าลืมขออนุญาตเจ้าพนักงาน กรมการปกครองให้เรียบร้อยก่อนนะ ตรวจทานรายละเอียดให้ครบถ้วนรัดกุม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจะเกิดตามหลัง เช่น ผู้บริโภคร้องเรียน สคบ.

#2 ลงทะเบียนรับสินค้าทดลอง

วิธีนี้จะมีความคล้ายคลึงแต่ไม่เหมือนกันกับวิธีแรก การขอให้ลงทะเบียนเพื่อแลกสินค้าทดลอง เราจะเห็นตามที่ผู้คนพลุพล่านบ่อย ๆ เช่นหน้าคลินิก บูธกลางห้าง 

ซึ่งไม่ได้ทำผ่านออฟไลน์ได้เท่านั้น เพราะบางแบรนด์ก็ได้ใช้ตัวช่วยเก็บและตอบคำถามเบื้องด้วย AI อย่าง Chatbot ก็ได้เช่นกัน ปิดดีลได้รวดเร็ว ลูกค้าได้ของฟรี เราได้ข้อมูลมาทำการตลาดต่อ และได้สร้างการรับรู้สินค้าไปพร้อมกัน เป็นมูลค่าคุ้มกับการแลกเปลี่ยน ที่แบรนด์ควรลงทุนซักครั้งหากอยากเก็บ first-party data

ซึ่งข้อมูลคนที่ลงทะเบียนรับสินค้าทดลองนี้ ได้ผลมากในการต่อยอดเป็น performance campaign เช่น การนำไป optimize สำหรับ double day sale (โปรโมชั่น 9.9) บน e-marketplace อย่าง Shopee และ Lazada ไม่ว่าจะผ่าน Facebook, email marketing, SMS หรือ Line

ข้อควรระวัง

ต้องกำหนดจำนวนสิทธิต่อท่านให้ขัดเจน เช่น 1 เบอร์โทร ที่อยู่ ลงทะเบียนได้แค่ครั้งเดียว  ป้องกันการลงทะเบียนซ้ำหลายรอบ โดยเปลี่ยน email และเบอร์มือถือ วิธีแก้ไข อาจใช้การเขียนโค้ดในการเช็คที่อยู่ หากพบว่ามีการลงทะเบียนด้วยที่อยู่ที่ซ้ำกันแล้ว ให้ระบบแจ้งว่าไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้ เป็นต้น

#3 จัดเก็บข้อมูล ณ ร้านค้าจุดขาย

หากธุรกิจของคุณมีหน้าร้าน ควรเทรนและสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานที่ให้ความร่วมมือ กับการช่วยเก็บข้อมูลของลูกค้าที่แวะเวียนมาหน้าร้านซักหน่อย เพราะมันคืองานที่เพิ่มมากขึ้น แต่คุ้มค่าที่จะทำ

เราอาจจะเคยเห็นพนักงานที่ตั้งใจแนะนำแอปของแบรนด์ แนะนำขั้นตอนการสมัครอย่างดี กับบางร้านที่แนะนำแบบส่ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าอารมณ์ไม่ดีหรือเปล่า แต่ดูออกเลยว่าโดนบังคับมา 

เหมาะกับแบรนด์ที่เริ่มมีทรัพยากรเพียงพอ ที่จะกัดฟันแลกข้อมูลจากลูกค้ามากขึ้น วิธีสร้างแรงจูงใจ จากยอดการสมัคร หรือเพื่อให้ได้ข้อมูลลูกค้ามาแบรนด์ควรซัพพอร์ตทั้งแรงใจ และแรงกายให้พนักงาน เช่น technology ต่าง ๆ เครื่อง POS นอกจากจะสะดวกแล้วยังเพิ่มความแม่นยำได้อีกด้วย 

ข้อมูล first-party data เหล่านี้ นอกจากการนำไปต่อยอด retargeting สำหรับ performance campaign ต่อได้แล้ว เจ้าของธุรกิจอาจเผลอมองข้ามการขยายกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าการซื้อซ้ำ อย่างการทำ lookalike audience ที่มีคุณภาพ เพราะข้อมูลตั้งต้นชัดเจน มาจากกลุ่มที่เป็นลูกค้าจริงหรือสนใจขื่นชอบสินค้าของเราจริง ๆ ฟีลแฟนตัวยง

ข้อควรระวัง

ทุกครั้งที่จะจัด campaign เก็บ first-party data เหล่านี้ อย่าลืมที่ขอความยินยอม หรือ consent จากเจ้าของข้อมูลอย่างถูกต้องตาม PDPA

ทำไม่ได้ทั้ง 3 ข้อ ไม่เวลา ยุ่งยากเกินไป?!

หาก 3 เทคนิคข้างต้นที่ได้เล่ามา ดูแล้วไม่มีเวลาค่อนข้างยากและวุ่นวายสำหรับธุรกิจของคุณ ก็ยังมีอีกทางเลือกที่สามารถทำได้ โดยไม่อาศัยแค่ third-party data เพียงอย่างเดียว นั่นก็คือการใช้ Second-Party Data

Second Party Data คืออะไร

Second Party Data
everydaymarketing.co

“First-party data ที่องค์กร A เก็บ เมื่อส่งต่อให้องค์กร B ก็จะกลายเป็น second-party data ขององค์กร B” 

การใช้ second-party data ในการทำการตลาดนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ และอาจจะไม่ได้น่าตื่นเต้นหวือหวาเท่า third-party data จาก social network เจ้าดัง ๆ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องความแม่นยำและเข้มข้นแล้ว second-party data มีความแม่นยำกว่า third-party data ค่อนข้างมาก เพราะเราสามารถรู้ที่มาและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น 

เพราะเอามาจัดการเองดีว่าอาศัยช่องทางที่ 3 มากเกินไปนั่นแหละนะ…

ซึ่งการส่งต่อและใช้ second-party data นั้น มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการดูแลข้อมูลอย่างระมัดระวังและดูแลรักษา data privacy อย่างดีที่สุดตาม PDPA เช่นเดียวกัน

เพื่อให้นักการตลาดเห็นภาพชัดขึ้น

ตัวอย่างเช่นการแชร์ Facebook Custom Audiences จาก customer list จากธุรกิจหนึ่งให้แก่อีกธุรกิจ โดยที่ผู้รับไม่สามารถบ่งบอกตัวตน หรือเห็นรายละอียดข้อมูลทั้งหมดได้ เพียงผู้ที่ต้องการ second-party data ระบุว่าอยากเข้าหากลุ่มเป้าหมายแบบไหนทั้งแง่ demographic และ interest ผู้ที่ถือข้อมูลก็จะส่งต่อข้อมูลเหล่านั้นให้ พร้อมกับ process การปกป้องข้อมูลตามที่กล่าวไป

ซึ่งนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจควรที่จะใช้แพลตฟอร์มหรือเลือกการดูแลอย่างดีจากทีมงานและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการ high quality lead อย่างธุรกิจ real estate และ automotives ที่ควรจะเลือกใช้ data คุณภาพสูงในการทำ targeting optimization บน social media ตั้งแต่วันนี้ 

บริการ StellarData Second-Party Data Targeting โดย TWF Agency

Second Party Data

TWF Agency มีบริการ StellarData ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล second-party data ที่ได้ออกแบบมาจาก data partner คุณภาพสูงหลากหลายที่ เช่น FinTech, RetailTech และ DigitalWallet โดยอ้างอิงข้อมูลที่จำเป็นในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 

ตั้งแต่ ข้อมูลอาชีพ รายได้ต่อเดือน รายจ่ายต่อเดือน ขนาดของครอบครัว ที่อยู่อาศัย ข้อมูล demographic ต่างๆ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่สามารถใช้ในการเข้าหากลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญที่สุด ข้อมูลเหล่านี้ได้รับความยินยอม (consent) จากเจ้าของข้อมูลและปฎิบัติตาม PDPA อย่างเคร่งครัด โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ทั้งสิ้น

ทำไมถึงแนะนำ StellarData?

จุดเด่นที่น่าสนใจของ StellarData คือยังมีการใช้ AI ในการหา signal ว่ากลุ่มเป้าหมายในลิส second-party data เหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะสนใจซื้อสินค้าและบริการ ช่วยเราเดาของที่ลูกค้ากำลังอยากได้อยากมี ส่องบ่อยแต่ยังไม่กดซื้อซักที 

หรือลงทะเบียนกับเรา ยกตัวอย่างเช่น หา signal ว่าคนไหนมีแนวโน้มที่กำลังจะซื้อบ้าน ซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซื้อรถ หรือต้องซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เพื่อลดหย่อน ภาษี หรือซื้อประกันให้ตัวเองและคนในครอบครัว 

และสิ่งหนึ่งที่หลายธุรกิจพลาดไป ไม่ทันระวังทำให้เปลืองบไปเปล่า ๆ นั่นคือต้องให้เทคโนโลยีเก็บและวิเคราะห์ second-party data เพื่อช่วยกรอง signal ว่ากลุ่มเป้าหมายไหนที่เพิ่งซื้อสินค้าของเราไป หรือปิดยอดเรียบร้อยแล้ว ก็นำกลุ่มนั้นออกจาก campaign ไม่ต้องไปยิงโฆษณาใส่ลูกค้าท่านนั้นอีก เพราะนอกจากจะไม่ได้ยอดแล้วยังเสี่ยงรำคาญแบรนด์เราอีกด้วย

หากนักการตลาดสนใจใช้บริการ StellarData พร้อมวางแผนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ติดต่อได้ที่ [email protected] / www.twfagency.com

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *