สรุป เทรนด์ 3C การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค Tiktok Shoppertainment 2024

สรุป เทรนด์ 3C การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค Tiktok Shoppertainment 2024

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา TikTok และ Accenture ได้ร่วมกันเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากรายงาน เทรนด์ 3C Tiktok Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE ที่เป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

จากกลุ่มตัวอย่างตามแต่ละประเทศ คือ 12% ในเกาหลีใต้และประเทศไทย 27% ในประเทศญี่ปุ่น และ 41% ในอินโดนีเซียเน้นย้ำถึงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคที่มีการพัฒนาเนื่องจากอิทธิพลของคอนเทนต์ มาเป็น เทรนด์ 3C

เทรนด์ 3C

เทรนด์ 3C การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมผู้บริโภคครั้งใหญ่

ด้วยการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1. การพิจารณา (Consider)

2. การบริโภค (Consume)

3. การเชื่อมต่อ (Connect)

เทรนด์ 3C

การพิจารณา (Consider) โดยใช้สัญชาตญาณของตน

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการพิจารณาในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยผู้ซื้อมีแนวโน้มพิจารณาซื้อสินค้าและบริการโดยใช้สัญชาตญาณของตน (Intuitive Decisions) ประกอบกับการหาชมคอนเทนต์เพื่อยืนยันแนวคิดของตน มากกว่าการตัดสินใจซื้ออย่างเร่งด่วนทันทีจากโปรโมชั่นและส่วนลด

เห็นได้จากผลสำรวจ Tiktok Shoppertainment ภายในประเทศไทยที่พบว่า

88% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลการช้อปปิงจากคอนเทนต์ที่ไม่เน้นขาย (Non-Promotional content)

2.6x ของผู้บริโภคเชื่อในสัญชาตญาณของตัวเองจากการรีเสิร์ชสินค้าเองผ่านทั้งโซเชียลมีเดีย และ TiKTOK

71% ของผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้า และมีข้อมูลครบถ้วนอยู่ในแพลตฟอร์มเดียว

56% ของผู้บริโภคจะไม่เปรียบเทียบราคาที่ดีที่สุดแล้ว แพลตฟอร์มที่มีครบในที่เดียวจะได้เปรียบ

สะท้อนให้เห็นว่าการมีคอนเทนต์ช่วยประกอบการตัดสินใจภายในแพลตฟอร์มช้อปปิ้งทำให้ผู้บริโภคสามารถเห็นคุณค่าของสินค้าอย่างสะดวกสะบายและไม่ต้องสืบค้นเพิ่มเติมจากช่องทางอื่น

การบริโภค (Consume) เน้น (Effortless Browse-to-Buy)

การสืบค้นข้อมูลสินค้าและตัดสินใจซื้ออย่างไร้รอยต่อ ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนแปลงจากการรับชมคอนเทนต์สินค้าไปสู่การซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย (Effortless Browse-to-Buy) ภายในแพลตฟอร์มดิจิทัลเดียวกัน

เห็นได้จากผลสำรวจ Tiktok Shoppertainment พบว่า

97% ของผู้บริโภคค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า พิจารณา และตัดสินใจซื้อภายในแพลตฟอร์มเดียว โดยมีความชื่นชอบในแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์

93% ของผู้บริโภคหวังว่าอีก 1-2 ปีจะสามารถรีเสิร์ช และแอดสินค้าลงตะกร้าได้ทุกแพลตฟอร์มในที่เดียว

89% ของผู้บริโภคคหวังว่าอีก 1-2 ปี อยากให้มีข้อมูลสินค้า คอนเทนต์ ภายในแพลตฟอร์มเดียว โดยชอบคอนเทนต์ความบันเทิง

80% ของผู้บริโภคหวังว่าจะมีข้อมูลสินค้า รายละเอียดเปรียบเทียบราคา และคุณภาพในแพลตฟอร์มเดียวตอนที่กำลังช้อปปิ้ง

การเชื่อมต่อ (Connect) สู่ Communities

เมื่อผู้บริโภคมีเสรีภาพในการรับชมข้อมูลและการร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์คอมมูนิตี้ ส่งผลถึงการเติบโตของคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์ พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ให้มีส่วนร่วมต่อกันและกันได้ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังมองหาความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์คอนเทนต์

เห็นได้จากผลสำรวจ Tiktok Shoppertainment ที่พบว่า

60% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลทางความคิดจากการได้มีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์คอมมูนิตี้ และเมื่อผู้บริโภคมีเสรีภาพในการรับชมข้อมูลและการร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์คอมมูนิตี้ ส่งผลถึงการเติบโตของคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์ พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ให้มีส่วนร่วมระหว่างกันได้มากขึ้น

11% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากแบรนด์เท่านั้น เพราะผู้บริโภคกำลังมองหาความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์คอนเทนต์

INFLUENCER vs BRAND ผู้บริโภคเลือกฟังใคร ?

เทรนด์ 3C

ปัจจุบันผู้บริโภคมีการตัดสินใจซื้อสินค้าจากการเชื่อใครมากกว่ากันระหว่าง อินฟูเอนเซอร์ กับแบรนด์ จากการสำรวจ Tiktok Shoppertainment กับกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย เวียดนาม และเกาหลีใต้ ได้รับอิทธิพลจากอินฟลูเอนเซอร์สูงกว่าคอนเทนต์จากแบรนด์ เพราะมีพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างนี้มีความเชื่อมั่นคอนเทนต์ที่มาจากอินฟลูเอนเซอร์ที่ผลิตออกมา มากกว่าคอนเทนต์ที่แบรนด์ผลิตออกมา

ตรงกันข้ามจากการสำรวจในประเทศญี่ปุ่น และอินโดนีเซียจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากคอนเทนต์จากแบรนด์ร่วมกับคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์ เพราะผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย มีความเชื่อมั่นในตัวแบรนด์สูงกว่า

3 คอนเทนต์ยอดนิยมสู่การซื้อ จาก Tiktok Shoppertainment

จากผลสำรวจ Tiktok Shoppertainment ที่พบว่า คอนเทนต์ที่ทำให้ผู้บริโภคมีการตัดสินใจซื้อ ได้แก่

  1. ฟังคำแนะนำจาก อินฟูเอนเซอร์และครีเอเตอร์
  2. โปรโมชั่นและส่วนลด
  3. ข้อมูลคุณภาพสินค้าและประโยชน์ของสินค้า

จากผลสำรวจจะทำให้นักการตลาดทราบว่าปัจจุบันผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสนใจกับโปรโมชั่น ส่วนลด เป็นอันดับ 1 แต่ให้ความสนใจและเชื่อในการรีวิวสินค้าจากอินฟูเอนเซอร์และครีเอเตอร์มากกว่า

“เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับเทรนด์ Shoppertainment ที่เติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในประเทศไทย ถือเป็นโอกาสสำคัญที่แบรนด์จะสามารถต่อยอดนำข้อมูลจากกงานวิจัยไปใช้บูรณาการกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้ก้าวตามทันเทรนด์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้กำหนดนิยามแห่งอนาคต” คุณสุนาถ ธนสารอักษร – Managing Director at Accenture Song, ประเทศไทย กล่าวเสริม

สรุป เทรนด์ 3C Tiktok Shoppertainment

เทรนด์ 3C เกิดจากการสำรวจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคที่มีการพัฒนาเนื่องจากอิทธิพลของคอนเทนต์ ด้วยการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การพิจารณา (Consider) การเพิ่มขึ้นของการพิจารณาคอนเทนต์ที่ไม่ส่งเสริมการขายเพื่อตัดสินใจซื้อ โดยผู้บริโภคชาวไทยมากกว่า 88% ได้รับอิทธิพลจากคอนเทนต์ดังกล่าว

การบริโภค (Consume) การสืบค้นข้อมูลสินค้าและตัดสินใจซื้ออย่างไร้รอยต่อ โดย 97% ค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และทำการซื้อภายในพื้นที่เดียวกัน สามารถเปลี่ยนแปลงจากการรับชมคอนเทนต์สินค้าไปสู่การซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย (Effortless Browse-to-Buy)

การเชื่อมต่อ (Connect) การเพิ่มขึ้นของเสรีภาพในการรับชมข้อมูลและการร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์คอมมูนิตี้ โดยผู้บริโภคมากกว่า 60% ได้รับอิทธิพลจากการมีส่วนร่วมของพวกเขา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของคอนเทนต์ในการกำหนดพฤติกรรมการช้อปปิ้งในยุคดิจิทัล

อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Issariya Ittiphumtana

"เฟ'ริน " Junior Marketing Content Creator การตลาดวันละตอน สายออกแบบกราฟฟิก ที่กำลังฝึกเขียนบทความการตลาด ซึ่งมีความชื่นชอบดื่มชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *