Twitter Algorithm 2020 – เข้าใจระบบมากกว่า ก็ได้เปรียบ

Twitter Algorithm 2020 – เข้าใจระบบมากกว่า ก็ได้เปรียบ

ถามก่อนเลยว่า มีแฟนๆ การตลาดวันละตอนคนไหนที่ใช้ Twitter เป็นประจำบ้างคะ? แล้วมีนักการตลาดท่านไหนที่ใช้ Twitter เป็น Tools ในการทำการตลาดบ้างเอ่ย? จริงๆ ต้องบอกว่า บทความนี้ ขนาดเพลินที่ใช้ทวิตเตอร์มา 10 ปี แล้ว ยังมีหลายๆ ข้อ ที่อ่านแล้วแอบเซอร์ไพรส์เหมือนกันค่ะ เพราะใช้งานทวิตเตอร์แบบ Consumer มาตลอด ไม่เคยได้มาสนใจระบบการทำงานอะไรแบบนี้เลย จึงอดเอามาแชร์ต่อไม่ได้จริงๆ กับ Twitter Algorithm ในปี 2020 

Twitter Algorithm ในช่วงวัยใส

ช่วงแรกๆ อย่างตอนออกมาใหม่ในปี 2006 นั้น สำหรับ Twitter ระบบการแสดงผลของทวิตเตอร์นั้นก็คล้ายๆ กับ Social Media อื่นๆ ค่ะ เพราะเค้าจะแสดงผลตามลำดับเหตุการณ์ พูดง่ายๆ ก็คือ ตามเวลาของทวีตนั้นๆ อันไหนมาล่าสุดจะเห็นอยู่บนสุด อันไหนมาได้นานแล้ว ทวีตนั้นจะถูกย่นลงไปล่างๆ เรื่อยๆ จนกว่าเราจะไถ Timeline ลงไปจนเจอ

แต่เนื่องจากคนเริ่มเข้ามาเล่น Twitter เยอะขึ้นๆ เดี๋ยวดาราไทยมั่ง ดาราเกาหลีมั่ง บ้านแฟนคลับ แหล่งข่าว เพื่อนติ่งด้วยกันอีก ตัวเลข Following ของเราก็จะเริ่มเยอะไปพร้อมๆ กับจำนวน Tweets จากคนที่เราตามค่ะ สมมุติเราตามเป็น 500 accounts เราก็จะไม่สามารถตามทวีตของทั้ง 500 accounts ได้หมดเลยถ้า Twitter ยังใช้ Algorithm การแสดงผลแบบไล่ลำดับเหตุการณ์ เพราะ 1 account อาจจะทวีตหรือรีทวีตอีกสัก 10-20 ข้อความตอนที่เราไม่ Active อยู่ก็ได้ ตาลายแน่ๆ ทำให้ Twitter ได้เริ่มปรับ Algorithm การแสดงผลนั่นเองค่ะ

การแสดงผล Timeline บน Twitter ถูกแบ่งออกเป็น ส่วนหลัก

1. Timeline ช่วงบนสุด Tweets จะจัดโดย Relevancy Model

สิ่งที่ Twitter ได้เริ่มปรับในปี 2017 ก็คือ การเพิ่ม Relevance Model เข้ามาช่วย เพื่อให้เราได้เห็นทวีตที่มีเนื้อหาที่เราน่าจะชอบ เพราะเราพูดถึงบ่อย หรือรีทวีตเกี่ยวกับมันบ่อยๆ ค่ะ โดย Twitter เค้าก็จะมี Score System ได้การวัดค่า Relevancy ของเนื้อหาตั้งแต่ Keywords ยัน Account ที่พูดถึงเลย 

การแสดงผลช่วงแรกนี้จะไม่ได้มี Header อะไรที่กำกับเป็นพิเศษ แต่เราสังเกตช่วงเวลาการทวีตของข้อความต่างๆ เราจะเห็นว่าเวลามันสลับๆ กัน ไม่ได้ไล่ตามความสดใหม่เหมือนเดิมแล้วค่ะ

ในหมวดช่วงแรกที่ใช้ระบบ Relevancy model นี้ อาจจะมีทวีตจาก account ที่เราไม่ได้ Follow หลงเข้ามาด้วยก็เป็นได้ แต่ที่ทวีตสามารถหลงเข้ามาได้ ก็เพราะคนที่เรากำลัง Follow อยู่ ได้มีส่วนร่วมกับ tweet จาก account นั้นค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการ Reply หรือ Liked Tweet ก็ตามที

2. Timeline ช่วงกลางกับ Account ที่คุณมีส่วนร่วมด้วยบ่อยๆ ในช่วง ‘In Case You Missed It’

หลังจากที่เราไถๆ Timeline ผ่านช่วงแรกที่จัดโดย Relevancy model แล้ว เราก็จะเจอกับช่วง ‘In case you missed it’ หรือข้อความทวีตเก่าๆ จาก account ที่เราติดตามและมี interaction ด้วยบ่อยๆ ซึ่งต้องบอกว่า ช่วงนี้ก็จะเป็นการใช้ระบบ Relevancy อีกตามเคย เพื่อคัดสรรทวีตที่คุณอาจจะพลาดไปตอนไม่ได้ Active อยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งจำนวน Tweets ในช่วงนี้จะมีไม่เยอะมาก จะเลือกแบบที่ตรงใจจริงๆ เท่านั้นตาม Score ของความใกล้เคียงเหมาะสมว่าคุณสนใจจริงๆ ค่ะ

3. Timeline ช่วงสุดท้ายกับ Tweets ที่เหลือตามลำดับเหตุการณ์

ต่อมา ถ้าเราเลื่อนหน้าจอผ่านช่วง In case you missed it แล้ว เราก็จะเจอกับ Tweets ปกติ ที่เรียงตามความสดใหม่ของ Tweet ค่ะ อันไหนมาก่อนก็เจอก่อน อันไหนเก่าแล้ว ทวีตไว้นานแล้ว แถมคะแนนความ Relevancy น้อย ก็จะจมลงไปอยู่ล่างๆ เลย

มาถึงตรงนี้ ถ้าฟังเผินๆ ในแง่ Consumer เหมือนไม่มีอะไรแถมยังรู้สึกดีด้วย ที่แพลตฟอร์มช่างเข้าใจเราอะไรแบบนี้นะ แต่ถ้ามองในฐานะนักการตลาด นี่ก็จะแปลว่าเราต้องทำงานหนักขึ้น เพราะต่อให้เค้า Follow เรา ก็ไม่มีประโยชน์แล้ว เพราะสารอาจจะส่งไปไม่ถึงก็ได้ ถ้า Content ของเราไม่ได้ Relevant กับผู้ใช้งาน คุ้นๆ ไหมคะ? ใช่ค่ะ คล้ายกับ Facebook เลย เพราะงี้การรู้จัก Followers ของเราจึงสำคัญมากๆ เลยค่ะ

วิธีการเพิ่ม Reach หรือการเข้าถึงบน Twitter ด้วย Algorithm นี้

1. Tweet แบบสม่ำเสมออย่างน้อย 10 Tweets ตลอดทั้งวัน

เพราะ Nature ของคนเล่น Twitter คือการเข้ามาส่องแปปๆ แต่ถี่ๆ ค่ะ พอเข้ามาทีก็จะไล่ดูแต่อะไรบนๆ เช็คเทรนด์ เสร็จแล้วตอบ Tweet ให้เสร็จแล้วพวกเค้าก็จะ Logout ออกไปเล่นอย่างอื่น แล้วอีกสักพักก็จะกลับมาใหม่ วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ แบรนด์จึงจำเป็นมากในการสร้าง Content แบบสม่ำเสมอในทุกๆ ช่วงเวลาของวัน เพื่อสร้างโอกาสให้คนที่ Login เข้ามาถี่ๆ เหล่านี้เห็นทวีตของเราที่สดใหม่ในอันดับต้นๆ ค่ะ 

เพราะถึงแม้เราจะอยู่อันดับต้นๆ ด้วย Relevancy model ไม่ได้ แต่ถ้า tweet ของเราสดใหม่ในเวลาที่คน Login เข้ามาพอดี เราจะอยู่อันดับสูงสุดในช่วง timeline ที่ 3 หรือช่วงที่ tweets จะถูกจัดเรียงตามลำดับเหตุการณ์นั่นเองค่ะ ไม่เหมือนกับ Facebook และ Instagram ที่ถ้าหากแบรนด์โพสต์ถี่เกินไป จะเริ่มน่ารำคาญ Twitter Best Practice ออกมาแนะนำแล้วค่ะ ว่าจำนวนทวีตที่แบรนด์ควรโพสต์คือ อย่างน้อยสุด 10 ทวีตต่อวัน หรือถ้าให้ดีอาจจะลามไปถึง 20-30 ทวีตต่อวันด้วยซ้ำค่ะ! 

2. Tweet ในช่วงที่คนออนไลน์มากที่สุด

Heat map จาก SproutSocial ทำให้เราเห็นภาพรวมของ Twitter Global Engagement ว่าคนส่วนมาที่เล่นทวิตเตอร์ออนไลน์หนักสุดในช่วง วันพุธและวันศุกร์ เวลา 9 โมงเช้าเหมือนกันเด๊ะ แต่ถ้าดู Heat ของวันอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็จะเห็นได้ว่าคนส่วนมากเริ่มเข้า Twitter ตอน 9 โมงของทุกวันและความหนาแน่นจะค่อยๆ ลดลงตามเวลา เหมือนพอตื่นมา หลังเตรียมตัวอะไรเรียบร้อย ก็จะขอเช็ค Twitter ตอนเช้าก่อนเริ่มทำงานอะไรประมาณนี้เลยล่ะค่ะ เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ว่าคนส่วนมาก Active กันช่วงไหน เราก็จะสามารถ Tweet ให้ถูกเวลาคนเข้ามา เพื่อเพิ่มโอกาสในการเห็นมากขึ้น และลดความลึกของ Tweet เราที่จะจมหายไปกับ Tweet ของช่องข่าวที่ทวีตอย่างหนักหน่วงอย่างเช่น JS100 นั่นเองค่ะ

3. เลือกรูปแบบ content ที่จะนำเสนอให้น่าสนใจ มี Rich Media

ต้องบอกว่า Twitter ก็คล้ายๆ กับสื่อโซเชียลอื่นๆ ค่ะ ที่จะจัด Ranking Tweet ของเราให้ดีขึ้น หากเราทวีตพร้อม Rich media หรือเนื้อหาที่แนบรูป วิดีโอหรือ GIF ก็ได้ 

Twitter Algorithm จะให้คะแนน content ที่มี rich media สูงกว่า content ที่ไม่มี

ซึ่งนอกเหนือจาก Content เหล่านี้แล้ว แบรนด์อาจจะลองทำ Content หลายๆ แบบเพื่อหาโอกาสเพิ่มยอด Engagement นั่นเอง เพราะ Algorithm ของ Twitter ยังวัดค่าความ Impact ของทวีตด้วย ถ้าได้คะแนนดี ก็มีสิทธิที่เราจะโผล่ในอันดับต้นๆ ทำให้ยอด Reach สูงขึ้นค่ะ เพราะฉะนั้นลองพิจารณา Content หลายๆ แบบดูนะคะ ไม่ว่าจะเป็น

  • การถามคำถามชวนตอบโต้ เพื่อเพิ่ม Engagement
  • การพูดถึงหรือรีทวีตข่าวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของแบรนด์บ้าง
  • การใช้ GIFs หรือ Memes ที่ทำให้แบรนด์พูดได้มากกว่าแค่ 280 ตัวอักษร
  • การจัด Twitter Polls เก็บข้อมูลไม่พอ ยังสนุกด้วย
  • คำคม Quotes เสี่ยว แต่น่า Retweet
  • การอิง Trends ณ เวลานั้น พร้อม Hashtag #

4. ตอบกลับ Replies บ่อยๆ และทันที

อย่างที่บอกว่า Twitter Algorithm เค้าให้ความสำคัญกับความสดใหม่และการมีส่วนร่วมของผู้คนที่เห็นโพสต์ทวีตเรา เพราะฉะนั้นการที่เราตอบ Replies ของคนที่เข้ามา Reply Tweet ของเรานั้นจึงเป็นเรื่องดีมากๆ เพราะมันจะดับ Tweet ของเราขึ้นไปอันดับต้นๆ ทุกครั้งที่มีการตอบโต้ใหม่ๆ เกิดขึ้นค่ะ

โดยเวลาที่คนส่วนมากคาดหวังว่าแบรนด์จะตอบกลับนั้น เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่ระยะเวลาที่แบรนด์ใช้กว่าจะโต้กลับได้นั้นอยู่ที่เฉลี่ย 10 ชั่วโมงค่ะ ถือว่านานมากๆ เลย เพราะขนาดเพลินในฐานะลูกค้า เวลามีคำถามอะไร ก็คาดหวังว่าแบรนด์จะตอบภายใน 30 นาทีด้วยซ้ำค่ะ ยิ่งแบรนด์ไหนตอบเร็วนะ อือหื้อ… ประทับใจเว่อ

ซึ่งการตอบกลับลูกค้าเพื่อเพิ่ม Reach นั้นก็ทำได้ 3 แบบค่ะ ไม่ว่าจะเป็น:

  • ตอบกลับเมื่อมีใคร Tweet เกี่ยวกับแบรนด์เรา ไม่ว่าจะ @mention เราหรือไม่ก็ตาม
  • ตอบกลับเมื่อมีคนเข้ามา Reply ทวีตที่เราลงไป
  • ตอบกลับเมื่อคน Retweet สิ่งที่เราทวีตออกไปค่ะ

Added Note – วิธีการปิดระบบ Relevancy Model

การปิดรระบบ Twitter Algorithm แบบ Relevancy model

เห็นแบบนี้ จริงๆ Twitter เค้าก็มี Option ให้คนเลือกปิด Algorithm แบบ Relevancy แล้วใช้งานตามลำดับเหตุการณ์หรือ Recency ก็ได้นะคะ วิธีการก็ง่ายมาก ถ้าเราหรือผู้ใช้งานกดปุ่มสัญลักษณ์ Wip Wup เหมือนใหม่ ตรงแถบบนสุด แค่นี้ Tweets ทุกอย่างก็จะไล่เรียงตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังแล้วล่ะค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ Algorithm ของ Twitter ที่จริงๆ ก็เหมือนกับสื่อโซเชียลอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับความสดใหม่เป็นอันดับแรก นอกเหนือจากนั้นก็คือ ยอด Engagement ของทวีต ที่สามารถเพิ่มขึ้นได้ง่ายๆ ถ้าเราแค่ใส่ Rich media เข้าไปค่ะ อย่างไรก็ตามระบบ AI Algorithm เหล่านี้ก็ต้องมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด อย่าลืมอัปเดตข้อมูลกันบ่อยๆ นะคะ 

ส่วนวันนี้การตลาดวันละตอนก็มี Twitter เหมือนกันนะคะ อย่าลืมมา follow กันบ้างน้า อิอิ

อ่านบทความเกี่ยวกับ Feature Ad บน Twitter 2020 เพิ่มจากการตลาดวันละตอน

ที่มา: https://sproutsocial.com/insights/twitter-algorithm/

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *