สรุปภาพรวมความสำเร็จ งาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT งานสร้างสรรค์ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี

สรุปภาพรวมความสำเร็จ งาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT งานสร้างสรรค์ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี

สรุปภาพรวมความสำเร็จ งาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT งานสร้างสรรค์ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เป็นหน่วยงานเฉพาะด้านที่ทำหน้าที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่าง ๆ ให้เติบโต ส่งเสริมให้ภาคการผลิตนำความคิดสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจและประเทศในระดับสากล

โดยในปีนี้ได้ชูความสำเร็จ งาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างให้เป็นหมุดหมายแห่งงานสร้างสรรค์ครั้งใหญ่ประจำปี มุ่งจุดประกายไอเดียเชื่อมต่อโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้นักสร้างสรรค์ไทย

ตลอดจนสร้างเครือข่ายให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ผ่านกิจกรรม 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ Creativities Unfold, Creative Business Space และ Creative Excellence Awards โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 700 คน

CREATIVITIES UNFOLD

เริ่มต้นด้วยงาน CREATIVITIES UNFOLD งานชุมนุมทางความคิดสร้างสรรค์ ที่จัดขึ้นภายใต้ธีม “VISIONAIRE: Reminisce/The Way Forward – แปลงอดีต เปลี่ยนวิสัยทัศน์อนาคต” โดยได้รับเกียรติจาก 5 ผู้นำความคิดระดับนานาชาติแห่งโลกธุรกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มานำเสนอมุมมองสร้างสรรค์วิถีใหม่ ไม่ว่าจะเป็น

  • Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน)
  • พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร
  • Kentaro Kimura (เคนทาโร คิมูระ)
  • Stephen Jenner (สตีเฟน เจนเนอร์)
  • Lyndon Neri (ลินดอน เนรี่)

Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน) จาก Jaime Hayon Studio

เป็นดีไซเนอร์ชาวสเปน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก โดยเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหัวข้อ “Design Follows Function, and Then What?” ถ่ายทอดมุมมองถึงงานดีไซน์ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงนั้นควรเต็มไปด้วยความสนุกสนาน น่าตื่นเต้น ด้วยการผสานประสบการณ์ต่าง ๆ และปรับแต่งให้เหมาะสมกับบริบทยุคใหม่โดยไม่แปลกแยก

พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร จาก MIT Media Lab 

นักเทคโนโลยี นักวิจัย ที่ลุ่มหลงการผนึกกำลังของมนุษย์และ AI อย่างสร้างสรรค์ ที่มาในหัวข้อ “Human + AI for the Future of Entertainment & Storytelling” แบ่งปันเรื่องราวของเทคโนโลยีสุดล้ำที่น่าตื่นเต้น ไม่ว่าจะเป็น Bio-Digital Symbiosis ไปจนถึง Cyber-Biome ที่เขาเชื่อว่าจะช่วยปลดล็อกความสามารถใหม่ ๆ ได้มากมาย ตั้งแต่ความสามารถในการตัดสินใจที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย Human-AI Symbiosis, สุขภาพที่ดีขึ้นด้วย Closed-Loop Wearables, ความสามารถในการค้นพบตัวตนด้วย Virtual Human และการเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ด้วย AI Generated Character

Kentaro Kimura (เคนทาโร คิมูระ) จาก Hakuhodo

ผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ชาวญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาแนวหน้าของโลก ในหัวข้อ “Unimagined Cultural Solutions: A Global Journey into the Future Creativity” ชวนผู้ฟังเข้าใจความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน ไปพร้อมกับมุมมองในด้านของความคิดสร้างสรรค์จากการนำเสนอ Solutions ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับทุกประเทศ จนเกิดเป็น Solutions ที่เชื่อมโยงไปกับวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน

Stephen Jenner (สตีเฟน เจนเนอร์) จาก Motion Picture Association

creative-business-connext-2023

นักสื่อสารมวลชนและที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์คนสำคัญคนหนึ่งของโลก ในหัวข้อ “Mission Possible: The Rise & Rise of the Asia Pacific Screen Industry” เจาะลึกการเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์กับการเติบโตที่ไม่หยุดยั้งของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในเอเชียแปซิฟิก

Lyndon Neri (ลินดอน เนรี่) จาก Neri & Hu

สถาปนิกเอเชียผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้โลกผ่านผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เน้นแปลงไอเดียให้เต็มเปี่ยมไปด้วยฟังก์ชันการใช้งาน และอ้างอิงถึงบริบทที่เหมาะสม ในหัวข้อ “Liminality: การก้าวข้ามพรมแดนทางการคิดเชิงสถาปัตยกรรม” กับการตอกย้ำแนวคิดต่อนักออกแบบสถาปัตยกรรมไม่ใช่เพียงแค่ ‘สร้าง’ แต่ต้อง ‘รักษา’ เค้าโครงจากอดีตสืบต่อมาจนถึงยุคปัจจุบันด้วย

ส่วนตัวผู้เขียนเองวันที่ได้ฟังในส่วนของงาน CREATIVITIES UNFOLD ที่บรรยายเกี่ยวกับธุรกิจสร้างสรรค์ต่าง ๆ ในธีม Visionaire: Reminisce/The Way Forward แปลงอดีต-เปลี่ยนวิสัยทัศน์อนาคต ได้เจอกับผู้นำวงการธุรกิจ/อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ มากมายจริง ๆ

และมีความชื่นชอบงานของคุณไฮเม่ ฮายอน ดีไซเนอร์ชาวสเปน ออกแบบหลายอย่างมากมายทั้งเฟอร์นิเจอร์ ออกแบบภายใน ฯลฯ ซึ่งเค้าจะแปลงแนวคิดของสิ่งหนึ่งในชีวิต ไปประยุกต์เข้ากับอีกสิ่งหนึ่ง

เช่น เอารูปทรงของจรวดมาทำเป็นโต๊ะ, เก้าอี้ที่เหมือนพิณ หรือเอาไอเดียจากทรวดทรงของร่างกาย หลังของเราที่เป็นเส้นโค้ง เอามาออกแบบเฟอนิเจ้อเก้าอี้ เวลาคนถามทำไมเก้าอี้นั่งสบายจัง เขาก็จะบอกว่าเพราะมันเหมือนหลังของคุณ55555 เรียกได้ว่ามีความ Creative และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้อีกมาก ออกแบบโดยใส่ใจทั้งฟังก์ชัน ความสวยงาม มี Storytelling และการทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น

อีกทั้งคุณพีพี พัทน์ ภัทรนุธาพร เป็นนักวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีที่ MIT Media Lab สนใจเกี่ยวกับเรื่องการใช้ AI กับคน และมีโปรเจคที่ใช้เทคโนโลยี AI-generated คาแรคเตอร์ต่าง ๆ

โดยใช้ภาพการ์ตูน หรือดาราคนดังคนสำคัญ เพื่อมาซัพพอร์ตการเรียนรู้ เช่น หากต้องเข้าโปรแกรม Zoom คุยเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ก็ตั้งให้รูปเราเป็นหน้า AI แทน คนก็จะกล้าพูดมากขึ้น หรือเด็กที่มีปัญหาอยากปรึกษาคุณหมออาจจะกลัว ๆ แต่พอตั้งหน้าหมอเป็นตัวการ์ตูนก็รู้สึกสบายใจขึ้น หรือแม้แต่การเรียนออนไลน์วิชาฟิสิกส์โดยใช้ AI หน้าไอน์สไตน์เป็นคนสอน ทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้นนั่นเอง

Creative Business Space 

ในขณะเดียวกัน ยังมีส่วนของ Creative Business Space ที่เป็นการเปิดพื้นที่ Business Matching ให้กลุ่มสตูดิโอและผู้ประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ ได้แลกเปลี่ยนและต่อยอด เชื่อมโยงโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในหัวข้อ “Creative Gastronomy” 

เพื่อตอบสนองการเติบโตของธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสร้างตัวตน เอกลักษณ์และประสบการณ์ความแปลกใหม่ โดยในงานนี้ได้รวมรวบกลุ่มธุรกิจบริการประเภทอาหารสร้างสรรค์ โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้แก่

  • กลุ่มออกแบบพื้นที่และประสบการณ์ เช่น WhiteSpace, Party/Space/Design, Hiuppu Design, Silpin เป็นต้น
  • กลุ่มที่พัฒนาแบรนด์และคอนเทนต์ เช่น ARN Creative Studio, The Co-Creative, Wide & Narrow เป็นต้น
  • กลุ่มดนตรี เช่น PNR: All about Music เป็นต้น
  • กลุ่มการออกแบบอาหาร และสไตลิสต์ เช่น Karb Studio เป็นต้น
  • กลุ่มเทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ เช่น FabCafe Bangkok, Yellaban เป็นต้น

Creative Excellence Awards หรือ CE Awards 

และสุดท้าย ทาง CEA ยังได้จัดงาน Creative Excellence Awards หรือ CE Awards เวทีประกาศรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกกับการมอบรางวัลให้กับนักสร้างสรรค์ตัวจริงที่นำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการสร้างให้เกิดคุณค่า

และก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ ซึ่งได้รับเกียรติจากนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาเป็นผู้มอบรางวัล โดยในปีนี้แบ่งเป็น 3 สาขา ทั้งหมด 15 ประเภท มีจำนวนทั้งสิ้น 28 รางวัล ประกอบด้วย

สาขา Creative City Awards

รางวัลการพัฒนาย่าน สถานที่ชุมชน หรือเมือง รวมทั้งกิจกรรมที่ดึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่

  1. Festival
  2. Branding
  3. Cultural Asset
  4. Regeneration
  5. Advocacy

สาขา Creative Business Awards 

Sustainability Awards รางวัลสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือโครงการที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ทั้งหมด 4 ประเภท

  1. Sustainable Product Award (For Large Organization) 
  2. Sustainable Product Award (For SME & Community)
  3. Sustainable Project Award (For Large Organization) 
  4. Sustainable Project Award (For SME & Community)

Value Creation Awards รางวัลของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคุณค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจ ทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่

  1. Value Creation
  2. Cross-Sector Collaboration

สาขา Creative Social Impact Awards

รางวัลสำหรับการนำความคิดสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขหรือคลี่คลายประเด็นต่าง ๆ ทางสังคม จำนวน 4 ประเภท ได้แก่

  1. Community Engagement
  2. Creative Well-Being
  3. Creative for Elderly
  4. Creative Education

ยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ต่อยอดไอเดียใหม่ ๆ ให้กับผู้คน

ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวปิดท้ายว่า “ทาง CEA หวังเป็นอย่างยิ่งว่า งาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT จะสามารถช่วยส่งเสริม ต่อยอด และยกระดับความสามารถของบุคลากรสร้างสรรค์ ผ่านเวทีการให้ความรู้ที่สร้างแรงบันดาลใจโดยผู้นำความคิดระดับโลก เกี่ยวกับเทรนด์และทิศทางของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในอนาคต 

อีกทั้งยังมีพื้นที่สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงนักสร้างสรรค์เข้ากับภาคธุรกิจตลอดจนการให้รางวัลสำหรับผู้ที่สร้างผลงานได้ดีเยี่ยมในปีที่ผ่าน ๆ มา เพื่อเป็นแบบอย่างและแนวทางให้กับนักสร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่จะสร้างผลงานสร้างสรรค์ให้กับประเทศต่อไป”

ดังนั้นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และควรหันมาให้ความสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หากเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่าง ๆ ให้เติบโตยิ่งขึ้น ก็จะช่วยส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศให้ไปสู่สากลได้ งาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT ในปี้นี้ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก จึงเรียกได้ว่าเข้ามาสร้างหมุดหมายแห่งงานสร้างสรรค์ครั้งใหญ่ประจำปี ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างไอเดียดี ๆ และโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจให้กับนักสร้างสรรค์ไทย

และทุกคนสามารถติดตามบทความด้านการตลาดเพิ่มเติมได้จากเพจการตลาดวันละตอน ที่ เว็บไซต์ Facebook Instagram TwitterYoutube และ Blockdit ได้เลยค่า

Fern Panassaya

เฟิร์น Junior Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *