หา Influencer ที่ใช่ ด้วยการใช้ Data กับ Affable.ai

หา Influencer ที่ใช่ ด้วยการใช้ Data กับ Affable.ai

Influencer Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เรียกได้ว่ากระแสดีไม่มีตก เพราะสามารถช่วยตอบโจทย์ในแง่ของพฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

แต่การจะเลือกใช้ Influencer สักคนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะ Influencer นั้นก็เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์อีกบาน ดังนั้นนอกจากความนิยมในตัว Influencer แล้ว แบรนด์ยังต้องพิจารณาในส่วนของ Audience, Engagement, ความน่าเชื่อถือ, คุณภาพของเนื้อหา, ค่านิยม, ทัศนคติ, ไลฟสไตล์ และความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ด้วยว่าไปด้วยกันได้ไหม ขัดกับภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือจุดประสงค์ของแคมเปญหรือเปล่า ซึ่งเราจะรู้รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ได้ เราก็ต้องสอบถามตรงไปยัง Influencer แต่ละคนเพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันก่อนตัดสินใจ แต่ก็นั่นแหละ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าข้อมูลนั้นเป็นของจริงไหม แล้วอัปเดตล่าสุดเมื่อไหร่?

ครั้งก่อนเราได้เคยพูดถึง Influencer Marketing Platform สำหรับ หา Influencer ได้ครบทุกสายผ่านช่องทาง Social Media ต่างๆ เช่น Instagram / Facebook / TikTok / Youtube และ Twitter แถมยังทำงานได้แบบครบลูป อย่าง Affable.ai กันไปแล้ว ว่ามีข้อดี จุดเด่น และความน่าสนใจอย่างไร วันนี้แบมจะพามาเปิด Demo Version ดูฟีเจอร์ต่างๆ ให้ชัดๆ กันไปเลยว่า Affable.ai นั้นมีความสามารถขนาดไหน

Influencer สายไหนก็หาเจอได้ในแพลตฟอร์มเดียว 

Affable.ai นั้นถือเป็น Influencer Marketing Platform แบบครบวงจร ที่ช่วยให้แบรนด์และเอเจนซีใช้เพื่อค้นหา บริหารจัดการ ติดตาม และวัดผลอินฟลูเอนเซอร์ได้แบบครบลูป

แล้วไม่ใช่ว่าจะค้นหาได้แค่เฉพาะประเทศไทย หรือ Influencer ชื่อดังเท่านั้น เพราะ Affable.ai เค้ามี Data base ของ influencer อยู่กว่า 4 ล้านคนทั่วโลกเลยทีเดียว ถ้าในฝั่งของประเทศก็จะมีอยู่ประมาณ 4 แสนคน จาก 5 ช่องทางคือ  Instagram / Facebook / TikTok / Youtube และ Twitter ที่สำคัญสามารถใช้งานผ่านเว็บไซต์ได้เลย ไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรม

หา Influencer ยังไงให้เหมาะกับแบรนด์

ใน Affable.ai จะมีเครื่องมือที่เรียกว่า Discovery เป็นการ Search หา Influencer ตามความต้องการของแบรนด์นั้นๆ ได้ด้วยการใช้ Keywords ถ้าใครยังนึกไม่ออก ลองคิดถึงการใช้งาน Google ในการ Search หาสิ่งที่ต้องการ เช่น เราอยากรู้ว่ามี Influencer คนไหนมีการพูดถึง Keyword คำว่า  “แปรงสีฟันไฟฟ้า” ใน Caption บ้าง ก็สามารถพิมพ์คำนั่นและกดค้นหาได้ทันที แล้วตัวระบบก็จะดึงเอาข้อมูลของโพสต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่เราตามหามาให้ 

นอกจากใส่ Keyword ได้แล้ว ยังสามารถเลือก Factor อย่างอื่นเพิ่มเติมได้ด้วย เช่น อายุ เพศ หรือจะหาจาก Interest ก็ได้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งถ้าแบรนด์ไหนมีคนในใจอยู่แล้ว แต่อยากดูข้อมูลเพิ่มเลยเพื่อเช็กชัวร์ ก็สามารถ Search ชื่อเข้าไปได้เลย

ดูข้อมูลส่วนไหนของ Influencer ได้บ้าง

เมื่อเรากดเข้าไปดูในหน้า Profile ของ Influencer คนนั้นแล้ว ระบบจะทำการดึง Public Data ขึ้นมา ทำให้ทางแบรนด์สามารถที่จะเข้าไปสกรีนดูเทนต์ภาพรวมได้ว่าส่วนใหญ่แล้วลงเนื้อหาประมาณไหน ซึ่งระบบจะมีการประมวลผลและจัด Category ให้ว่า Influencer คนนี้จัดอยู่ในหมวดอะไร โดยจะใช้หลายๆ Criteria ในการจับและประมวลผล เช่น Keywords Hashtags Captions และ Image Detection 

-รายละเอียดของเนื้อหา

นอกจากภาพรวมเบื้องต้นที่บอกไปแล้ว ถ้าลองกดเข้าไปดูในตัวโพสต์ก็จะแสดงรายละเอียดเนื้อหา วันที่ลง Engagement comment แบรนด์ที่ Influencer คนนั้นแท็กมีแบรนด์อะไรบ้าง 

-Audience 

เราสามารถดูได้เพิ่มเติมว่า Audience ของ Influencer คนนี้เป็นใคร โดยระบบจะประมวลผลจากคนที่มี Engage เป็นหลัก โดยจะแบ่งเป็นช่วงอายุ เพศ ภูมิภาค รวมถึงสิ่งที่สนใจ ไม่จบเท่านั้น…ที่เก๋กว่าคือระบบจะประมวลผลและจัดอันดับ 5 แบรนด์อื่นๆ ที่กลุ่ม Audience ของ Influencer คนนี้มีการ Engage ด้วยว่ามีแบรนด์อะไรบ้าง

เมื่อทางแบรนด์หรือนักการตลาดเห็นข้อมูลในส่วนนี้แล้วก็จะทำให้เราเห็น Mapping ของ Persona ได้ชัดเจนขึ้น แล้วค่อยนำมาวิเคราะห์ต่อได้ว่า Influence คนนี้นั้นเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์หรือไม่

-Engagement 

ระบบจะคำนวณออกมาว่าตัวเลขค่าเฉลี่ย Engagement ของ Influencer คนนี้เป็นจำนวนเท่าไหร่ โดยจะคำนวณจากค่าเฉลี่ยของ 100 รูปล่าสุด นอกจากนี้ระบบยังมีการเทียบเคียงกับ Influence คนอื่นๆ ที่มีลักษณะการทำคอนเทนต์ที่ใกล้เคียงกันด้วย เรียกได้ว่ามี Benchmark มาให้เลย ไม่ต้องไปนั่งเดา

-Suspicious Account

ตัวระบบจะช่วยกรองบัญชีที่อาจจะเป็น Bot เป็นแอคหลุม Fake Account หรือ Account ปกติ แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียเป็นเวลา 90 วันออกไป แล้วเหลือไว้แต่ Account คุณภาพ

-Followers Timeline 

เป็นการดูว่า Influencer คนนี้นังมีคนติดตามต่อเนื่องหรือเปล่า ยังอยู่ในกระแสไหม หรือว่าคนเริ่มไม่พูดถึงกันแล้ว

-Branded Content Distribution 

เป็นธรรมดาในการเลือก Influencer สักคน เราก็ต้องอยากรู้ว่าเขาเคยร่วมงานกับแบรนด์ไหนมาบ้าง มีแบรนด์ที่เป็นกลุ่มสินค้าเดียวกัน หรือเป็นคู่แข่งโดยตรงของเราหรือเปล่า เราก็สามารถดูได้หมดเลยว่าเขาเมนชันถึงแบรนด์ไหน วันไหน ในโพสต์อะไร และได้รับความสนใจมากน้อยแค่ไหน

-ถึงลบโพสต์ไปแล้วก็ยังดูข้อมูลได้

บางครั้ง Influencer อาจจะมีการลบโพสต์หลังจากที่ทำงานเรียบร้อยในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ทำให้ข้อมูลของโพสต์เหล่านั้นหายไปด้วย แต่สำหรับ Affable.ai ถ้าเมื่อไหร่ที่ระบบเจอโพสต์นั้นแล้ว ถึงจะถูกลบไป ก็ยังจะสามารถดูได้เหมือนเดิม

หรือแม้แต่การเก็บข้อมูลในส่วนของ IG Stories ที่จำกัดเวลาหมดแค่เพียง 24 ชั่วโมง แต่แพลตฟอร์มตัวนี้ก็ดึงขึ้นมาให้ได้เช่นกัน

วิเคราะห์ได้เหนือชั้นกว่าด้วยฟีเจอร์ Image Detection 

ฟีเจอร์นี้ใน Affable.ai ทำให้รู้สึกว้าวได้ไม่น้อย เพราะทุกวันนี้การจะกวาดข้อมูลในส่วนของ Keywords หรือ Hashtags นั้นก็สามารถทำกันได้เป็นเรื่องปกติแล้ว แต่ Image Detection นี้น่าสนใจกว่า เพราะเป็นการใช้ Computer Vision ในการเข้าไปอ่านรูปภาพก่อนว่าภาพนี้เป็นภาพเกี่ยวกับอะไร แล้วค่อยนำมาประมวลผลเพิ่ม และถึงแม้ว่าจะไม่มีคำอธิบาย หรือแคปชันที่เกี่ยวกับคำค้นหา ระบบก็สามารถประมวลผลได้ค่อนข้างจะแม่นยำ ซึ่งในส่วนของฟีเจอร์นี้ก็จะช่วยให้การจัด Category ของ Data ให้ง่ายต่อการใช้งาน แบบไม่ต้องมาฟิลเตอร์หาเองให้ยุ่งยาก ก็น่าจะเป็นข้อดีที่ช่วยประหยัดเวลา และถูกใจนักการตลาดอยู่ไม่น้อย

บริหารจัดการ ติดต่อ ประสานงานได้ในแพลตฟอร์มเดียว

นอกจาก Affable.ai จะช่วยให้การหาและเลือก Influencer ง่ายขึ้นแล้ว ก็ยังช่วยให้การบริหารจัดการแคมเปญ และการติดต่อ ประสานงานทำได้ง่ายๆ ผ่านตัวแพลตฟอร์มเช่นกัน โดย AI จะทำการสแกนว่า Influencer ที่เราเลือกมีใครบ้าง รวมถึงดึง Contact จาก Public Data ขึ้นมาให้ แถมยังสามารถกดเลือก Influencer เพื่อส่งอีเมลติดต่อ หรือแจ้งรายละเอียดในการทำแคมเปญได้ทีละหลายๆ คน และเลือกปรับ Status ได้อีกด้วยว่าคนไหนติดต่อไปแล้ว คนไหนยังไม่ติดต่อ หรือคนไหนคอนเฟิร์มแล้ว เรียกได้ว่าเป็นการลดงานและประหยัดเวลาให้นักการตลาดไปได้เยอะเลยค่ะ 

แล้วในส่วนของบทสนทนาในการประสานงาน หรือคุยรายละเอียดผ่านแพลตฟอร์มก็ไม่ใช่ว่า ส่งแล้วส่งเลยแต่ระบบจะทำการ Record เก็บไว้ให้ ไม่มีหล่นหายกลางทางแน่นอน

Track Performance ได้ครบ จบในที่เดียว

เมื่อมีการเริ่มแคมเปญแล้ว แทนที่เราจะต้องไปนั่งไล่ดูว่า Influencer แต่ละคนโพสต์หรือยัง โพสต์เวลาไหน โพสต์ครบถ้วนตามเงื่อนไขหรือเปล่า เราก็จะมาทำการ Setting Campaign ตาม Criteria ที่เราตั้งไว้ หลังจากนั้นระบบก็จะไปดึงข้อมูลให้คอนเทนต์เหล่านั้นไหลมาหาเราแบบอัตโนมัติ ให้เรา Track Performance ได้เลยในหน้าต่างแพลตฟอร์มเดียว แล้วท้ายที่สุดเราก็สามารถเอา Data Performance ทั้งหมดมา Visualize ออกมาตามที่แบรนด์ Customize แบบรายคนไว้ได้ด้วยค่ะ

นอกจากนี้เรายังสามารถ Export ข้อมูลออกมาใช้งานต่อได้ในรูปแบบ Spreadsheet แถมยังทำได้ในทุกๆ ฟีเจอร์เลยด้วย 

เรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์ม Influencer Marketing ที่ครบถ้วนทั่งข้องมูลและกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลย สำหรับใครที่สนใจสามารถเข้าไปลองใช้งาน Free Demo Version ดูก่อนก็ได้นะคะ แล้วถ้าถูกอกถูกใจค่อยไปต่อ

ส่วนใครที่อยากเข้าไปฟังรายละเอียดการใช้งานเพิ่มเติม สามารถเข้าไปรับชมได้เลย คลิก!!

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนในเกี่ยวกับ Influencer Maketing จากการตลาดวันละตอนได้ที่นี่

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *