Data Visualization เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพ จุดเริ่มต้นของการ Analytics

Data Visualization เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพ จุดเริ่มต้นของการ Analytics

Data Visualization จุดเริ่มต้นของการ Analytics ข้อมูลด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนดาต้าให้กลายเป็นภาพที่อ่านได้ง่ายขึ้นครับ

ก่อนจะเริ่มต้นวิเคราะห์อะไรสักอย่างได้ เราต้องเริ่มจากการเข้าใจสิ่งนั้นได้ก่อน ก็เหมือนกับการจะสรุปวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือสักเล่ม ถ้าเราไม่สามารถอ่านหนังสือเล่มนั้นได้ ก็คงไม่มีทางวิเคราะห์เนื้อหาออกมาเป็นข้อสรุปของเราได้จริงไหมครับ

Visual Analytics คือจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ข้อมูลที่ว่ามา มันคือการเปลี่ยน Dataให้กลายเป็น Visual หรือที่เรียกกันว่าการทำ Data Visualization เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นทักษะสำคัญของนักการตลาดยุคดาต้า 5.0

ลองมาดูกันนะครับว่า Data Visualization นั้นสำคัญอย่างไร ทำไมจึงเป็นสิ่งทุกคนไม่เว้นแต่นักการตลาดควรต้องมีทักษะนี้ ถ้าอยากจะได้ไปต่อในศตวรรษที่ 21 ครับ

เราอยู่ในโลกยุค Data แล้วนะ

เราอยู่ในโลกยุคใหม่ ยุคที่เต็มไปด้วย Data มากมายจนคำว่า Big ยังน้อยไป เราอยู่ในยุคที Data-Driven Everything ตั้งแต่ Marketing ไปจนถึง Business และในขณะเดียวกันที่เราใช้ Data เป็นเครื่องมือหลักในการตัดสินใจ ถ้าเราไม่รู้เท่าทัน Data ก็อาจจะถูกหลอกลวงได้เช่นกัน

ดังนั้นการเข้าใจเรื่อง Data หรือมีทักษะ Data Thinking จึงสำคัญสำหรับคนทำงานในยุค Data ทุกวันนี้

และเราก็มักเห็นสิ่งที่เรียกว่า Data Visualization อยู่ทุกวัน ตั้งแต่บนหน้าปัด Apple Watch ว่าวันนี้เราเดินไปเท่าไหร่ วิ่งไปเท่าไหร่ ลุกยืนเท่าไหร่ หรือนักการตลาดก็อาจเห็นผ่าน GA หรือ Google Aanlytics ว่า Web Traffic วันนี้เราดีกว่าเมื่อวานไหม หรือกราฟยอดขายของเราเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเดือนก่อน หรือแม้แต่ข้อมูลการติดโควิด19 รายจังหวัด จังหวัดไหนสีแดงเข้ม แดงอ่อน ส้ม หรือเขียว (ซึ่งไม่น่ามีแล้ว)

เมื่อ Data Visualization นั้นสำคัญขนาดนี้ คำถามสำคัญถัดไปเห็นจะเป็น เรา Visualization Data ชุดนี้ดีพอหรือยัง เราบิดดาต้าครบทุกแง่มุมหรือยัง หรือเราวิเคราะห์ตีความ Data ได้ถูกต้องแล้วหรือเปล่า?

เริ่มต้น Analytics Data ด้วยการทำ Data Visualization

เมื่อ Data อยู่รอบตัวและล้วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันเราทุกด้าน การทำ Data Visualization จึงสำคัญมากต่อการทำความเข้าใจว่า Data นั้นกำลังบอกอะไรเราอยู่โดยที่เราไม่รู้หรือเปล่า

เครื่องมือที่ช่วยเปลี่ยน Data ให้กลายเป็นภาพ เพื่อให้เริ่มต้นทำ Visual Analytics แบบง่ายๆ ก็มีตั้งแต่ Google Data Studio, Power BI หรือ Tableau แต่ใช่ว่าพอทำ Visualization เป็นแล้วจะวิเคราะห์เห็น Insight ได้ เพราะสิ่งถัดมาที่จำเป็นต้องใช้ก็คือทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยทั่วไป หรือที่เรียกว่า Critical Thinking นั่นเองครับ

Data Visualization จะบอกถึงสิ่งที่ธุรกิจกำลังเป็น เช่น พนักงานขายบางคนทำงานเยอะมาก แต่กลับมียอดขายเกิดขึ้นน้อยมาก ถ้ามองเผินๆ อาจคิดว่าขยัน แต่ถ้ามองจาก Data จริงๆ จะเห็นว่า Performance ไม่ได้เลย

หรือทำไมบางสาขาของเรากลับมีลูกค้าผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ถ้าเราทำการเก็บข้อมูลลูกค้าที่ซื้อทุกรายหรือส่วนใหญ่ไว้ ทำให้เราสามารถปรับแผนการตลาดแบบ Personalization ตามข้อมูลการขายที่เกิดขึ้นจริง เพราะไม่ใช่ทุกสาขาจะต้องทำการตลาดแบบเดียวกันเสมอไป

เห็นไหมครับว่าการอ่านภาษา Data ออกด้วยการทำ Data Visualization เป็นจะส่งผลต่อการวางแผนธุรกิจหรือกลยุทธ์การตลาดมากขนาดไหน เพราะเมื่อเราได้เห็น Insight ที่แท้จริงจาก Data เราก็จะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นกว่าเดิมตั้งแต่เรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่ครับ

3 ตัวอย่าง Data Visualization แบบง่ายๆ แต่สามารถ Apply คลาย Insight ได้ไม่รู้จบ

ลองดูตัวอย่างของ Visualization แบบง่ายๆ แต่เมื่อเอาไปใช้จริงคุณจะพบว่ามันช่วยคลาย Insight ได้มากมายไม่รู้จบ

1. Charts เส้น แท่ง ภาพ

Data Visualization จุดเริ่มต้นของการทำ Data Analytics แบบง่ายๆ ทักษะที่นักการตลาดยุคดาต้า 5.0 ควรมีไว้ กับการใช้ Google Data Studio ครับ

การทำ Data ให้อยู่ในรูปของแท่ง Charts หรือแท่งต่างๆ ไม่ว่าจะแท่งแนวตั้ง แนวนอน หรือทรงกลมโดนัท ก็นับเป็น Chart ประเภทหนึ่ง ที่ทำให้เราง่ายต่อการเปรียบเทียบข้อมูลสองมิติที่แตกต่างกัน โดยใช้ตัวแปรข้างในที่มาจากชุดเดียวกัน

เช่น ข้อมูลการแยกตามเดือน หรือแยกตามวัน หรืออาจจะแยกกันตามสาขา หรือสัดส่วนของยอดขายของสินค้าแต่ละประเภท หรือสัดส่วนวิธีการชำระเงินของลูกค้า เป็นต้น

ซึ่ง Data Visualization ประเภท Charts ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ไว้จะเอามาลงรายละเอียดกันอีกรอบนึงในครั้งหน้าครับ

2. Geospatial แผนที่

Data Visualization จุดเริ่มต้นของการทำ Data Analytics แบบง่ายๆ ทักษะที่นักการตลาดยุคดาต้า 5.0 ควรมีไว้ กับการใช้ Google Data Studio ครับ

การแสดงผลข้อมูลในรูปแบบ Geospatial หรือแผนที่ทำนั้นให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า พื้นที่ไหน เขตใด จังหวัดหรือประเทศอะไรมีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น ในมิติของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด19 จังหวัดไหนสีแดงเข้มก็บอกให้รู้ว่าอันตราย จังหวัดไหนสีส้ม บอกให้รู้ว่าอยู่ในขั้นระวัง หรือจังหวัดไหนสีเขียว บอกให้รู้ว่าปลอดภัย

เช่นเดียวกันก็สามารถให้พื้นที่แสดงผลของข้อมูลที่แตกต่างกัน อาจจะด้วยยอดขาย อาจจะด้วยจำนวนลูกค้าหรือพนักงาน ซึ่งการแสดงผลข้อมูลในรูปแบบแผนที่นี้ ดูเผินๆ อาจทำอะไรไม่ได้มาก แต่เอาเข้าจริงถ้าใช้ดีๆ ก็ทำให้เห็น Insight ของข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบพื้นที่ได้มากกว่าที่คิดเสมอ

เช่น ผมเคยเจอว่ากลุ่มจังหวัดทางภาคเหนือและกรุงเทพมักซื้อสินค้าเหมือนกัน จนนำไปสู่การปรับกลยุทธ์การขายที่แตกต่างกัน และก็ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นตามโดยไม่ต้องลงทุนทำอะไรมากเลย

3. Tables ตาราง

Data Visualization จุดเริ่มต้นของการทำ Data Analytics แบบง่ายๆ ทักษะที่นักการตลาดยุคดาต้า 5.0 ควรมีไว้ กับการใช้ Google Data Studio ครับ

การแสดงผลข้อมูลแบบตารางอาจจะดูน่าเบื่อไม่เร้าใจ ดูเหมือนกับ Google Sheet หรือ Excel ไม่มีผิด แต่ในความเป็นจริงแล้วการทำ Data Visualization ในรูปแบบ Table นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด

อย่างแรกคือทำให้เราตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องกลับไปเปิด Google Sheet หรือ Excel ดู

อย่างที่สองคือทำให้เราเห็นตัวเลขสรุปของข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ได้เร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาใส่สูตรคำนวนอะไรให้วุ่นวายแต่อย่างไร

อยากเห็น Insight ต้องเลือก Visualize ให้เป็น

Data Visualization จุดเริ่มต้นของการทำ Data Analytics แบบง่ายๆ ทักษะที่นักการตลาดยุคดาต้า 5.0 ควรมีไว้ กับการใช้ Google Data Studio ครับ

เครื่องมือ Data Visualization ต่างๆ ไม่สามารถบอกเราได้ว่าจะ Insight ที่ใช่หรือประเด็นสำคัญใน Data เราอยู่ตรงไหน หน้าที่ของนักการตลาดยุคดาต้า 5.0 คือต้องมีทักษะ Data Thinking ที่จะสามารถเลือก Visualize ที่ใช่ให้เห็น ลองดูหลายๆ แบบเผื่อให้ Insight ไหลออกมา

ต้องรู้ว่า Bar Chart นั้นเหมาะกับการแสดงผลข้อมูลแบบไหน หรือ Word Cloud นั้นเหมาะกับ Data ประเภทใด แน่นอนว่าต้องเป็นคำพูดมากกว่าตัวเลข ซึ่งก็จะเห็นว่า Visualize แบบต่างๆ ก็เหมาะกับงานที่แตกต่างกัน

Data ดีแค่ไหนก็ไร้ค่า ถ้าไม่สามารถ Visualized Insight ออกมาให้เห็นได้ เราต้องรู้ก่อนว่าเราอยากเห็นอะไร เราจะต้องดึงดาต้าแบบไหนออกมา และเราจะนำเสนอด้วย Visualized แบบไหนถึงจะทำให้คนดูเข้าใจได้ไวอย่างที่เราต้องการครับ

เพราะหัวใจสำคัญของการทำ Data Visualization คือการสื่อสารกันด้วย Data ในแบบที่มนุษย์ทั่วไปเข้าใจได้ ถ้าทำสวยไปแต่คนดูไม่เข้าใจก็ไร้ค่า ดังนั้นอย่าหลงกับการพยายามทำ Visualized ให้สวยแต่สื่อสารออกไปไม่เข้าใจสักประเด็นที่เราต้องการครับ

เราอาจเอาข้อมูลสองชุดที่แตกต่างกันมาเปรียบเทียบกันด้วยการทำ Data Visualization เพื่อทำให้อีกฝั่งเข้าใจสิ่งที่เราต้องการสื่อได้ง่ายขึ้น เช่น ทำไมยอดขายของปีนี้จึงต่างจากปีที่แล้วมาก ทำไมยอดขายของจังหวัดหนึ่งถึงต่างกับอีกจังหวัดหนึ่งอย่างหน้ามือกับหลังเท้า

และก็ระวังการเลือก Visualization ที่ผิด หรือเลือก Data ที่นำมาแสดงผลผิด เพราะนั่นจะทำให้เราตัดสินใจพลาดมหาศาลได้ครับ

Understand Data ก่อนจะเริ่มต้นทำ Visual Analytics

Data Visualization จุดเริ่มต้นของการทำ Data Analytics แบบง่ายๆ ทักษะที่นักการตลาดยุคดาต้า 5.0 ควรมีไว้ กับการใช้ Google Data Studio ครับ

ก่อนจะกินเราต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะกินอะไร ก่อนเราจะปรุงอาหารจานนั้นออกมากินเราต้องรู้ก่อนว่าวัตถุดิบเรามาจากไหน กับ Data ก็เช่นกัน ก่อนจะเริ่มต้องวิเคราะห์ข้อมูลใดเราต้องทำความเข้าใจ Data ชุดนั้นให้ดีเสียก่อน

หลายครั้งเกิดความเข้าใจผิด ตีความว่าข้อมูลชุดนั้นหมายถึงแบบนี้ ส่งผลให้วิเคราะห์เพี้ยนจนธุรกิจพังพินาศได้

เช่น ข้อมูลตัวเลขระยะทาง ประเทศหนึ่งใช้หน่วยเป็นไมล์ ประเทศหนึ่งใช้หน่วยเป็นกิโลเมตร กว่าจะรู้ก็สายไปเสียแล้ว ทั้งที่เป็นเรื่องง่ายๆ แต่กลับทำให้เกิดความเสียหายมหาศาล

ต้องเข้าใจด้วยว่าการแสดงผลข้อมูลบางชุดอาจไม่เหมาะกับ Visualized บางประเภท เช่นการ Visualized ในรูปแบบ Chart ไม่เหมาะกับชุดข้อมูลที่มีจำนวนมากๆ และซับซ้อนเกินไป เพราะจะเกิดแท่งชาร์จมากมายจนอ่านไม่เข้าใจและก็วิเคระาห์ไม่ได้ในที่สุดครับ

ดังนั้นเราต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ เข้าใจข้อจำกัดของ Data ที่เรามี แล้วก็ประเมินก่อนว่าเราจะสามารถรู้อะไรได้บ้างจาก Data ชุดนี้ แล้วเราจะนำเสนออะไรให้คนที่เราต้องการดู หรือเราต้องการให้เขาเข้าใจแบบไหนครับ

ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของการทำ Data Visualization ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการ Analytics Data ผ่านการทำที่เรียกว่า Visual Analytics นั่นก็คือการเปลี่ยน Data ที่มีแต่ตัวเลขหรือชุดข้อความ ให้กลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก และที่สำคัญคือทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นด้วยครับ

เพราะทักษะการทำ Data Visualization คือทักษะสำคัญของนักการตลาดยุคดาต้า 5.0 ทางการตลาดวันละตอนเองเพิ่งเปิดคลาสเรียนออนไลน์ Data Thinking & Visualization รุ่นที่ 8 สอนวันเสาร์ที่ 28 พ.ค. ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ > https://bit.ly/dataviz8

อ่านบทความที่เกี่ยวกับ Data Visualization ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/?s=data+studio

Source

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่