Social Media Trends 2021 เทรนด์พฤติกรรมการออนไลน์ที่เปลี่ยนไป ตอนที่ 2

Social Media Trends 2021 เทรนด์พฤติกรรมการออนไลน์ที่เปลี่ยนไป ตอนที่ 2

จากบทความสรุป Social Media Trends 2021 จากรายงาน Think Forward 2021 ของ We Are Social ตอนที่ 1 ที่ผมได้สรุปไว้ให้ถึง 3 เทรนด์พฤติกรรมการออนไลน์ที่ไม่ใช่แค่เปลี่ยนไป แต่เกิดขึ้นใหม่แบบไม่เคยมีมาก่อนในปี 2020 ที่มีสาเหตุหลักมาจากเจ้าเชื้อไวรัส Covid-19 ที่แพร่ระบาดออกมาจนทำให้ประชากรกว่าครึ่งโลกต้องล็อคดาวน์อยู่บ้านเป็นเดือนๆ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเจ้าเชื้อโควิด19 นี้ นั่นทำให้ผู้คนทั่วโลกล้วนใช้โซเชียลมีเดียด้วยพฤติกรรมบนออนไลน์แบบใหม่ๆ ซึ่งกลายเป็นเทรนด์สำคัญทั้ง 6 ประเด็นในปี 2021 นี้

Recap สั้นๆ กับ 3 เทรนด์แรกที่เล่าไปในตอนที่ 1 ประกอบด้วย

The Simple Life คนในวันนี้ใช้โซเชียลมีเดียหรือออนไลน์เพื่อหาแก่นแท้ของชีวิตที่เรียบง่ายแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รวมไปถึงเทรนด์ Facebook Group ที่แยกย่อยตามความสนใจปลีกย่อยมากมาย จากเดิมที่การออนไลน์มีไว้อวดชีวิต กลายเป็นออนไลน์เพื่อให้ได้เชื่อต่อกับคนเหมือนกันจริงๆ มากขึ้น

Practical Advocacy เมื่อการรวมตัวประท้วงเรื่องจริงจังทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้บนออนไลน์ แล้วกลายเป็นการรวมตัวใหญ่ที่ส่งผลต่อรัฐบาลในหลายประเทศอย่างจริงจังพร้อมกันไปทั่วโลก

In-feed Intimacy จากเดิมการเล่นโซเชียลมีเดียหรือออนไลน์ถูกมองว่าทำให้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวนั้นห่างเหิน กลายเป็นว่าตั้งแต่ล็อคดาวน์มาคนทั่วโลกล้วนออนไลน์เพื่อให้ได้ใกล้ชิดกับคนในครอบครัวจริงๆ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

3 เทรนด์พฤติกรรมการออนไลน์ของผู้คนในปี 2021

จาก 3 เทรนด์แรกที่เล่าไปในบทความตอนที่ 1 จะเห็นว่า Insight การเล่นโซเชียลมีเดียหรือการออนไลน์ของผู้คนนั้นเปลี่ยนไปจากปี 2020 หรือปีก่อนหน้าอย่างฟ้ากับเหว แต่ในความเป็นจริงน่าจะบอกว่าอย่างเหวกับฟ้า

เพราะจากเดิมการออนไลน์นานๆ ถูกมองว่าไม่ดี เปลืองเวลา และดูไร้สาระ แต่พอโควิดมากลายเป็นว่าการออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักหรือแทบจะช่องทางเดียวที่เราจะยังเชื่อมต่อกับคนที่สำคัญในชีวิตเราจริงๆ ได้

ลองมาดูอีก 3 เทรนด์ที่เหลือกันนะครับว่า ในปี 2021 นี้ทาง We Are Social มองว่าพฤติกรรมการออนไลน์ของผู้คนหลังโควิด19 จะเป็นอย่างไร กับรายงาน Think Forward 2021 ที่ผมตั้งใจสรุปมาให้นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจได้เอาไปอ่านแล้วประยุกต์ใช้ในการทำ Marketing และ Communication ทั้งหลายครับ

4. Reliable Idols เทรนด์ Influencer ในปี 2021 ไม่เน้นสวยหล่อแต่ขอสาระ

Image result for superhero covid
Credit – https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2020-05-28/superspreader-events-might-actually-help-control-covid-19

นี่ก็ถือเป็นอีกเทรนด์สำคัญในปี 2021 ในด้าน Influencer Marketing 2021 เพราะจากเดิมทีการเลือกติดตามใครสักคนบนออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียนั้น ล้วนมาจากหน้าตาหรือรูปลักษณ์ภายนอกเป็นส่วนใหญ่

นั่นเลยทำให้ Infleuncer มากมายโดยเฉพาะดาราคนที่หน้าตาดีๆ มักจะมีแต่คนอยากรู้อยากเห็น Lifestyle ในชีวิตเขา ว่ากินอยู่อย่างไร ใช้ชีวิตแบบไหน แต่พอโควิด19 เข้ามาเราก็ไม่มี Lifestyle ดีๆ ให้โชว์ และที่สำคัญกว่านั้นคือเราอยากจะอัพเดทข่าวหรือเนื้อหาที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ในวันนี้รู้จักตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแต่ละคอนเทนต์เป็นอย่างดี เรียกได้ว่านักสืบพันทิปในอดีตชิดซ้ายไปเลย

ดังนั้นถ้า Influencer คนไหนมาโพสอะไรมั่วๆ โพสอะไรที่ดูไม่น่าเชื่อถือ ก็จะถูกมองว่าเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือและส่งผลให้ไม่น่าติดตามเสียยอด Follow ในทันที

ในช่วงปีที่ผ่านมาเราน่าจะได้ยินคำว่า Fake News บ่อยมาก ถึงขนาดที่เห็นหลายคนบนออนไลน์ก็สับสนงุงงงกับประกาศของรัฐบาลเสียเหลือเกินจนบอกว่ารัฐบาลนี่แหละเป็นคนโพสและแชร์ Fake News ด้วยตัวเอง

เช้าประกาศนโยบายอย่าง พอกลางวันถูกต่อว่ามากๆ เข้า ตกบ่ายหรือเย็นก็มาประกาศว่าข่าวตอนเช้าห้ามแชร์ อันนั้นมัน Fake News ที่จริงคือยังไม่เปลี่ยนแปลงหรือยังไม่ห้ามใดๆ

และนั่นก็ทำให้ผู้คนในวันนี้เลือกที่จะตาม Influencer ที่เป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เทรนด์ในบ้านเรากลายเป็นคุณหนุ่ม กรรชัย ที่ถูกยกให้เป็นคนที่น่าเชื่อถือในอันดับต้นๆ นั่นก็เพราะเขาเป็นคนที่อ่านข่าวเล่าเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมาในภาษาที่เข้าใจง่ายผ่านรายการ ข่าวใส่ไข่ ทำให้ชาวบ้านมากมายเลือกไว้วางใจคุณหนุ่ม กรรชัย มากกว่าประกาศจากโฆษกหน่วยงานบางคนด้วยซ้ำ

หรือคุณอนุวัต จัดให้ เองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่คนเลือกติดตามเรื่องโควิด และเรื่องเงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกันในช่วงล็อคดาวน์ครั้งแรกมากๆ ไม่น่าเชื่อเลยนะครับว่านักข่าวที่เคยถูกมองว่าธรรมดา ไม่มีสีสันน่าติดตาม กลายเป็น Influencer คนสำคัญที่ใครๆ ก็เฝ้าติดตามในช่วงโควิด19 ที่ผ่านมา

แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเลิกติดตามบรรดา Influencer สวยหล่อหน้าตาดีที่เคยตามไปเสียทั้งหมด พวกเขายังคงกดติดตามเหมือนเดิมไม่ได้ Unfollow แต่อย่างไร แต่พวกเขาก็เลือกที่จะติดตาม Influencer ที่มีความน่าเชื่อถือในการแชร์ข่าวต่างๆ ออกมามากขึ้น และนั่นก็หมายความว่าเทรนด์ผู้คนหลังโควิดจะมีเวลาสนใจ Lifestyle ดาราคนดัง Influencer หน้าตาดีน้อยลงกว่าปีก่อนครับ

และนั่นหมายความว่า Influencer เดิมที่เคยดังมาได้เพราะหน้าตาหรือความสามารถด้าน Entertrainer ต้องสนใจในประเด็นสำคัญที่ผู้คนให้ความสนใจ ไม่ใช่จะคอยแต่โพสลั้นลาไปเพราะแบบนั้นก็จะทำให้ผู้คนโบกมือลา

ก็บ้านเมืองมันซีเรียสขนาดนี้จะทำไม่รู้ร้อนรู้หนาวได้อย่างไรจริงไหมครับ

พฤติกรรมการออนไลน์ของผู้คนที่เปลี่ยนไปในประเด็น Reliable Idols ในช่วงโควิด19

1. ย่อยเรื่องยากแล้วเล่าออกมาให้ง่าย

ท่ามกลางความปวดหัวชวนสับสนจากเจ้าโรคระบาดอุบัติใหม่โควิด19 ทำให้ผู้คนต่างมองหาคนที่จะสามารถเล่าเรื่องยากให้กลายเป็นง่าย แต่ยังสามารถอธิบายทุกประเด็นที่สำคัญได้อย่างครบถ้วนไม่ตกหล่น

และไม่ใช่แค่เรื่องโรคระบาดเท่านั้นที่ผมคนอยากจะรู้ แต่ตอนนี้ผู้คนอยากรู้ทุกเรื่องเพราะล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตเขาไปทุกด้าน

ไม่ว่าจะเรื่องนโยบายการเมืองสาธารณะต่างๆ อย่างบ้านเราก็มีผู้คนเสิร์จหาเป็นจำนวนมากว่าการจะลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน เราชนะ หรือคนละครึ่งนั้นต้องทำอย่างไร

ส่งผลให้เรื่องที่เคยถูกมองว่าถ้าเอามาโพสหรือ LIVE บนออนไลน์นั้นจะน่าเบื่อมากจนไม่มีใครให้ความสนใจ แต่เมื่อวันนี้ทุกคนล้วนออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความต้องการคนที่สามารถเล่าเรื่องยากๆ ให้ง่ายและนำไปใช้งานได้จริงจนกลายเป็นอีกหนึ่ง Influencer Trends 2021 ที่ต้องจับตามองครับ

และนั่นก็หมายความว่านี่เป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์จะอาสาเข้ามาเป็นผู้ย่อยเรื่องยากให้ง่าย เพื่อจะทำให้คนอยากเลือกที่จะตามเรามากกว่าแค่วัตถุประสงค์แบบเดิมๆ อีกต่อไป คุณจะกลายเป็นแบรนด์ที่ดูมีความน่าเชื่อถือได้ในระยะเวลาอันเร็ว

2. เมื่อหมอกลายเป็น Influencer ที่ใครๆ ก็ต้องมีตามไว้สักคน

May be an image of 1 person and text that says 'f X workpoint so SO SOCIAL CIAL ICON วันจันทร์ 20:05 น. หมอ หมอแล็บ หมอแล็บแพนด้า บแพนด้า'

จากเดิมหมอฟังดูน่าเบื่อไม่น่าสนใจ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่อยากจะเข้าใกล้หมอสักเท่าไหร่ แต่พอโควิด19 เข้ามาเรื่องสุขภาพกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนทั่วโลกล้วนให้ความสนใจและสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง

และนั่นก็ส่งผลให้บรรดาคุณหมอหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ กลายเป็น Influencer คนดังและคนสำคัญในทันที พวกผู้คนในวันนี้ต้องการความรู้จริงๆ ที่น่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญ คนที่สามารถบอกพวกเขาได้แล้วไม่ต้องไปรีเช็คว่าตกลงที่โพสมานั้น Fake News หรือไม่

บ้านเราเองหมอแล็บแพนด้าก็กลายเป็น Influencer คนดังที่สำคัญมากในช่วงโควิด19 ที่ผ่านมา ตั้งแต่การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด19 แบบถูกๆ ที่ไม่ต้องไปคอยรีเช็คว่าต้นตอมาจากไหน

หรือแม้แต่การที่หมอแล็บแพนด้าไปโพสเรื่องการลักลอบข้ามชายแดนของชาวพม่า ที่ทำเอาทางการวิ่งแก้ปัญหาตามโพสหมอแล็บแพนด้าแทบไม่ทันก่อนหน้านี้

ยังไม่นับถือคุณหมออีกมากมายที่อยู่ดีๆ ก็มีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นมหาศาล Influencer สายหมอไม่เหมือนกับสายสุขภาพแต่เดิม เพราะสายสุขภาพอาจจะเป็นหมอหรือไม่หมอก็ได้ แค่เป็นคนธรรมดาทั่วไปที่ดูแลใส่ใจในสุขภาพเป็นอย่างดีก็เพียงพอ

แต่ Doctor Influencer นั้นต้องเป็นหมอเท่านั้นคนถึงจะยอมรับและให้ความเชื่อถือ ซึ่งเหตุผลสำคัญผมคิดว่าเป็นเรื่องจรรยาบรรณของหมอที่สูงมากพก่อนจะโพสเนื้อหาใดๆ ออกไป ทำให้เมื่อหมอโพสแล้วคนส่วนใหญ่แทบจะร้อยทั้งร้อยก็เลือกที่จะวางใจเชื่อหมอในทันที

ถามง่ายๆ ณ วันนี้คุณติดตามหมอคนในบนโซเชียลมีเดียบ้างครับ คอมเมนต์แชร์ให้ฟังหน่อย

3. คนจะชื่นชม Influencer ที่โพสถึงประเด็นสำคัญ ทั้งการเมือง สังคม และโควิด19

แม้ Macro Influencer หรือ Influencer เบอร์ใหญ่คนดังบนออนไลน์ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีความรู้เรื่องสุขภาพเท่ากับผู้เชี่ยวชาญ หรืออาจจะไม่สามารถรวบรวมความรู้เรื่องยากแล้วเอามาสังเคราะห์ย่อยออกมาเล่าให้ง่ายได้

แต่อีกหนึ่งความคาดหวังของผู้คนที่มีต่อ Influencer ตั้งแต่โควิด19 ระบาดมาก็คือ พวกเขาคาดหวังว่าบรรดา Influencer เหล่านี้จะโพสอะไรที่เป็นประโยชน์หรือสำคัญต่อสถานการณ์บ้างเมืองจริงๆ ไม่ใช่แค่โพสสวยหล่อโชว์ไลฟ์สไตล์ไปวันๆ

ในตัวอย่างที่รายงาน Think Forward 2021 ของ We Are Social เอามาเล่าให้ฟังคือ Selena Gomez เองก็เลือกที่จะเป็นปากเป็นเสียงให้กับการประท้วง Black Live Matter ในอเมริกาอย่างจริงจัง

จน Account บน Social media ของเธอนั้นแทบจะไม่ได้โพสอะไรที่เกี่ยวกับตัวเธอเลยด้วยซ้ำ เพราะเธอเอาแต่โพสถึง Brittany Packnett นักรณรงค์หรือแกนนำการประท้วงคนสำคัญเป็นส่วนใหญ่

ในบ้านเราเองก็เห็นดาราคนดังหรือ Online Influencer มากมายที่ออกมาโพสถึงประเด็นทางการเมืองไม่มากก็น้อย แต่ที่เห็นจะโพสไปในทิศทางเดียวกันคือวันที่เกิดการฉีดน้ำใส่ผู้ประท้วงที่สยามเป็นครั้งแรก

จะเห็นว่าการประท้วงทางการเมืองไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่ประเทศไทยเล็กๆ ประเทศเดียวบนโลกเท่านั้น แต่อยากจะบอกว่าหลายประเทศทั่วโลกล้วนเกิดการประท้วงกันไม่แพ้ในบ้านเรา เพราะประชาชนส่วนใหญ่เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของราชการหรือหน่วยงานรัฐที่ไม่สามารถทำสิ่งที่ผู้คนคาดหวังได้อย่างที่ควรจะเป็น

สรุป Trustworthiness คือหัวใจสำคัญที่ Influencer ในปี 2021 ต้องมี

เมื่อ Trust หรือความน่าเชื่อถือกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนมองหาจาก Influencer ในปี 2021 มากกว่ารูปร่างหน้าตา ความตลก หรือความสามารถในการร้องเล่นเต้นรำ

เพราะโควิด19 ทำให้เรากลัวเรื่อง Fake News เป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าดังแล้วแชร์อะไรมั่วซั่วออกไปบอกได้เลยจากปังจะกลายเป็นพังในพริบตา และคนก็จะเลิกติดตามกันไปมากมาย

2 แนวทาง Branded Content Marketing 2021 กับประเด็นนี้

1. Brand Become Expertise

แนวทางการทำ Content Marketing ของแบรนด์ในปี 2021 จะไม่ได้โฟกัสกับเรื่อง Lifestyle ชีวิตดี๊ดีเหมือนเคยเป็นมาอีกต่อไป แต่ต้องรู้จักวางตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในประเด็นสำคัญที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้น

โดยเริ่มจากหาผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในองค์กรของเราที่เดิมทีอาจจะอยู่หลังบ้านซอกหลืบที่ลึกที่สุด ผลักดันให้พวกเขาออกมาอยู่หน้าบ้านเป็นตัวแทนของแบรนด์ในการสื่อสารออกไปบนออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ

เช่น ถ้าเดิมทีแบรนด์เครื่องสำอางอาจจะใช้ดาราหรือ Beauty เป็นคีย์หลักในการสื่อสารผ่านคอนเทนต์ แต่มาวันนี้ต้องเอาผู้เชี่ยวชาญภายในแบรนด์ออกมา หรือจะเป็นฝ่ายอื่นๆ ที่ต้องแน่ใจว่าเป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นจริงๆ

หรืออีกแง่มุมหนึ่งอาจจะเปิดพื้นที่ภายออนไลน์ของแบรนด์ให้ผู้คนได้เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นสำคัญที่ตรงกับจุดยืนหรือ Vision ของแบรนด์ก็เป็นได้

เกมดังอย่าง Fortnite เองก็อาสาให้เหล่าผู้เล่นเกมได้เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง Racism หรือการเหยียดเชื้อชาติต่างๆ ภายในเกมกับกิจกรรมที่มีชื่อว่า We The People

ส่วนบน TikTok เองจากที่เคยเอาไว้เต้นก็กลายเป็นพื้นที่ร่วมมือกันในประเด็นเรื่อง LGBT หรือความหลากหลายทางเพศ โดยมี Chipotle ร่วมมือกับ Karamo ดารานำจากซีรีส์ Queer Eye เพื่อให้คนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับประเด็นเรื่อง Pride บน TikTok ในตอนนั้น

2. ตรวจสอบ Influencer ให้ดีว่าไม่มีประวัติด่างพร้อยที่เคยโพสสวนทางกับความเห็นมวลชนในช่วงเวลานั้น

การจะทำ Influencer Marketing 2021 นั้นไม่ใช่แค่เลือกจากจำนวนผู้ติดตาม เลือกจากคาแรคเตอร์ว่าตรงกับแบรนด์ หรือเลือกจากสิ่งที่เขาเลือกแสดงออกในเวลานั้น แต่ต้องสาวประวัติย้อนไปถึงโพสในอดีตเก่ากรุว่าเคยโพสใดๆ ที่ดูจะเป็นความสุ่มเสี่ยงต่อสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันหรือไม่

เพราะเหล่าแฟนคลับหรือนักสืบโซเชียลนั้นเก่งกว่านักสิบพันทิปมาก พวกเขาสามารถขุดหาโพสเก่าแก่เป็นสิบปีขึ้นมาทำลายชื่อเสียง Influencer ที่คุณจ้างมาแพงได้ เช่น ในบ้านเราก็มีการขุดสาวใส้ว่าดาราหรือ Online Influencer คนไหนที่เคยโพสเข้าข้างเชียร์ฝ่ายไหนมาก่อนในอดีตหรือไม่ครับ

ส่งผลให้ในบ้านเรามีดารามากมายหลายคนถูกแบนไปในช่วงเวลานั้น ทางแบรนด์เองก็เลือกที่จะถอนงานออกเพราะกลัวว่าจะกระทบกับชื่อเสียงของแบรนด์ที่อุตส่าห์ทุ่มเทสร้างมาปีละเป็นสิบเป็นร้อยล้าน

ในต่างประเทศเคสที่โด่งดังมากจนข้ามโลกก็คือนักแสดงนำหญิงของภาพยนต์ฟอร์มยักษ์ก้องโลกเรื่อง Mulan ที่ถูกเหล่าคนบนออนไลน์ขุดขึ้นมาว่า Liu Yifei เคยโพสสนับสนุนรัฐบาลฮ่องกงในการปราบปรามเหล่าผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงมาก่อน

หรือ Gal Gadot นักแสดงนำเรื่อง Wonder Woman เองก็ถูกคนบนออนไลน์ทัวร์ลงร่วมกัน Boycott ไม่สนับสนุนภาพยนต์เรื่องนี้เพราะเธอโพสบนโซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคมออนไลน์ของเธอว่า เธอสนับสนุนกองกำลังป้องกันตนเองของอิสราเอลในสงครามฉนวนกาซ่าที่ทำให้คนบาดเจ็บและล้มตายมากมายทั้งสองฝ่าย

นี่คือสิ่งที่แบรนด์ต้องระวังในการเลือกใช้ดาราหรือ Influencer คนดังในปี 2021 นี้

อาจจะต้องทำสัญญาไว้เลยว่าห้ามโพสความเห็นทางการเมืองใดๆ ในช่วงนี้ หรือถ้าจะโพสก็อาจจะห้ามไปเลยว่าโพสไปฝ่ายไหน และอาจจะต้องสอบถามว่าในอดีตเคยโพสอะไรที่สุ่มเสี่ยงสวนทางกับความเห็นของสาธารณะชนหรือกลุ่มเป้าหมายหรือไม่

เพราะไม่อย่างนั้นที่อุตส่าห์เลือกจ้างคนดังเพราะหวังให้แบรนด์ปัง อาจจะกลายเป็นปังพินาศโดยไม่ทันตั้งตัวก็เป็นได้ครับ

5. Unbound Platforms เทรนด์การใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ที่แตกต่างจากเดิมไปโดยสิ้นเชิง

Social media influencer receiving likes and positive reactions Free Photo

เดิมทีเราเคยใช้ Facebook เพื่ออัพเดทเรื่องราวในชีวิตประจำวันกับเพื่อนๆ เราเคยใช้ Instagram เพื่ออัพโหลดรูปภาพ Lifestyle เป็นหลัก เราเคยใช้ TikTok แบบปล่อยให้คอนเทนต์ที่เคยโพสหรือดูต่างๆ ไหลผ่านไป เราเคยใช้เกมเพื่อเล่นเกมตามนิยามที่มันเป็น

เมื่อผู้คนในวันนี้สรรหาวิธีใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหลักๆ เพื่อการออนไลน์แบบใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม นั่นก็เพราะว่าในช่วงล็อคดาวน์เพราะโควิด19 จากปี 2020 ที่ผ่านมา บรรดา Creator, Brand และแพลตฟอร์มต่างๆ ถูกขยี้วิธีการใช้และนิยามใหม่โดยผู้คนบนออนไลน์ที่เจ้าของผู้สร้างเดิมก็ไม่อาจคาดเดาได้

ทั้งการบูมของ TikTok ที่อยู่มาหลายปีเพิ่งจะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีคนใข้จริงจังทั่วโลกขึ้นมา ยังไม่นับแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Twitch ที่จากเคยพูดคุยเรื่องเกมกลายเริ่มมีแบรนด์เห็นโอกาสที่จะเอาแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ใส่เข้าไปเพื่อจับใจคนกลุ่ม Twitch ก่อนคู่แข่งแบรนด์อื่นจะได้ไป

แพลตฟอร์มน้องใหม่ที่ว่ามากลายเป็น Mainstream ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แม้หลายฟีเจอร์ที่แพลตฟอร์มน้องใหม่เหล่านั้นมีอย่างการ LIVE จะมีมานานแล้วในแพลตฟอร์มออนไลน์พี่ใหญ่ไม่ว่าจะ Facebook หรือ Instagram เองก็ตาม

นั่นก็เพราะนิยามการใช้ฟีเจอร์ที่ถูกนิยามต่างกันตามพฤติกรรมของผู้ใช้ในแต่ละแพลตฟอร์ม

การ LIVE ในเฟซบุ๊คถูกนิยามว่าต้อง LIVE เพื่อขายของ การ LIVE ใน TikTok ถูกนิยามว่าต้องเป็นการ Crazy แบบสุดเหวี่ยงและ Entertain แบบสุดๆ

แม้แต่พื้นที่บนโลกออนไลน์อย่างเกมต่างๆ ก็ถูกนิยามเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเกม Fortnite ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อแค่เล่นเกมอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว

หรือ Strava เองก็ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากการวิ่งหรือปั่นจักรยานออกกำลังกาย ด้วยการที่เส้นการวิ่งสามารถถูกวาดออกมาได้ บางคนก็ใช้การวิ่งเพื่อสื่อสารออกมาเป็นคอนเทนต์ในแบบที่ต้องมีความพยายามเกินคนธรรมดาถึงจะโพสอะไรแบบนั้นได้ครับ

ทั้งหมดนี้จะเห็นว่าผู้คนต่างนิยามการออนไลน์ด้วยโซเชียลมีเดียเดิมๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ การใช้โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันจริงๆ ไปแล้วในวันที่พวกเขาออกไปพบหน้ากันจริงๆ ไม่ได้ ชีวิตประจำวันบนออนไลน์เกิดขึ้นจริงในช่วงล็อคดาวน์เพราะโควิด19

ว่าแล้วก็ลองมาดูเทรนด์พฤติกรรมของการออนไลน์ของผู้คนทั่วโลกที่เปลี่ยนไปเพราะโควิด19 ในปี 2021 นี้ ว่าในประเด็นเรื่อง Unbound Platforms นั้นมีประเด็นหลักๆ อะไรที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดและคนทำธุรกิจอย่างเรา

3 พฤติกรรมการออนไลน์ต่อโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เปลี่ยนไปในปี 2021

1. พยายามจัดการกับ Content มากมายให้เป็นระเบียบเพื่อง่ายต่อการค้นหา

เมื่อวันนี้มีโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นในช่วงโควิด19 เช่น TikTok ก็ทำให้คนกลุ่มหนึ่งอยากจะจัดการกับคอนเทนต์ที่ตัวเองชอบเพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาดูอีกครั้ง

หลายคนใช้วิธี Save Video จาก TikTok มาเก็บไว้ในเครื่องแล้วแยกตาม Folder ต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาดู แต่บางคนก็โพสบนออนไลน์บอกทาง TikTok ว่าช่วยทำให้การ Save Video เอาไว้กลับมาดูแยกเป็นหมวดหมู่เหมือนบน Instagram ได้สักทีเถอะ!

แม้จะเป็นแพลตฟอร์มใหม่แต่พวกเขาก็ยังมีความคุ้นเคยกับระบบเดิมของแพลตฟอร์มเก่าที่ทำไว้ได้ดีกว่า ทางที่ดีคนที่คิดจะทำแพลตฟอร์มใหม่ลองศึกษาจากแพลตฟอร์มเก่าดูดีๆ นะครับว่าอะไรที่เขาทำได้ดีแล้วผู้คนชอบ ก็ควรจะเอามาใส่ไว้ในแอปตัวเองเช่นกัน

2. เทรนด์การเข้าร่วม Event บนออนไลน์อย่างจริงจัง

แต่เดิมทีกิจกรรมบนออนไลน์เช่นการ LIVE ไม่ค่อยได้รับความนิยมหรือสนใจมากนัก แต่ตั้งแต่โควิดมาผู้คนก็เรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วการเฝ้ารอดู LIVE นั้นให้อรรถรสที่ไม่เหมือนกับการดูคลิปการ LIVE ย้อนหลังโดยสิ้นเชิง

เพราะการรอดู LIVE จากเพจหรือ Influencer ที่เราชอบนั้นเราสามารถ Engage ผ่านการพูดคุยหรือถามตอบแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนๆ ใน LIVE หรือกับเจ้าของเพจหรือ Influencer คนนั้นได้

แน่นอนว่าผมเองตั้งแต่ทำเพจการตลาดวันละตอนมาก็ไม่เคยคิดจะ LIVE แต่อย่างไร แต่พอได้ลอง LIVE ในช่วงล็อคดาวน์เพราะโควิด19 ที่ผ่านมาก็ค้นพบว่ามันเป็นอะไรที่สนุกและก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ได้เช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวลา LIVE แล้วให้คนมารอดู หรือจะเปิดคลาสสอนออนไลน์แบบ LIVE ที่ก็มีคนมาลงทะเบียนเรียนจนเต็มแทบทุกรอบเช่นกัน

หรือแม้แต่การจะจัด LIVE Event แล้วเก็บ Ticket เป็นงานสัมมนาออนไลน์ก็พบว่าประสบความสำเร็จกันไปไม่น้อย

สรุปได้ว่าตั้งแต่โควิด19 มาการร่วม Online Event นั้นกลายเป็นเรื่องปกติธรรมหาหรือ New Normal ไปแล้วแม้จะเลิกล็อคดาวน์ไป

3. เมื่อเกมไม่ได้มีไว้เพื่อเล่น แต่มีไว้เพื่อเข้ามาพูดคุยชิลๆ และทำกิจกรรมอื่นร่วมกันมากขึ้นในเกมแทน

พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ในปี 2021 ก็เปลี่ยนไปมากตั้งแต่เกิดล็อคดาวน์ในปี 2020 เพราะคนที่เข้ามาในเกมจำนวนหนึ่งก็ไม่ได้เข้ามาเพื่อเล่นเกมฆ่าฟัน หรือเอาชนะกันเหมือนเดิม

แต่เข้ามาเพื่อนั่งเล่นพูดคุยกัน หรือแม้แต่ดูหนังร่วมกันภายในเกมอีกทีหนึ่ง พวกเขาอาจจะมาเข้าร่วมฟังเพลงดูคอนเสิร์ตกันแทน หรือแม้แต่การเข้ามาจับกลุ่มพูดคุยเรื่องการเมืองและประเด็นทางสังคมกันแทนก็มีให้เห็นมากมาย

ดังนั้นเกมในวันนี้จึงเป็นพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ที่จริงจัง นักการตลาดอย่างเราอย่าหลงคิดว่าเกมก็เป็นแค่เกมอีกต่อไป ไม่อย่างนั้นคุณจะพลาดโอกาสใหม่มากมายจนตามคู่แข่งไม่ทันครับ

และอีกหนึ่งพฤติกรรมการออนไลน์ที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยยะสำคัญจนน่าสนใจ นั่นก็คือการโพสบน Instagram ทั่วโลกเปลี่ยนไปโดยที่เราหลายคนอาจจะไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน

จากรายงานของ Refinery29 บอกให้รู้ว่าเดิมทีคนเล่น Instagram มีการโพสเป็นข้อความหรือ Text-based แค่ 41% เท่านั้นตอนต้นปี 2020 แต่พอกลางปีเข้าสู่เดือนกรกฎาคมเท่านั้นแหละ อัตราการโพสแบบรูปภาพลดลงจนทำให้การโพสแบบ Text-based เพิ่มขึ้นไปเป็น 72% เลยทีเดียว

เราจะเห็นว่าพฤติกรรมการใข้โซเชียลมีเดียในปี 2021 ในทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ล้วนเปลี่ยนไปอย่างมาก ลองมาดูกันว่าแบรนด์อย่างเราควรจะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมใหม่ๆ ของผู้คนบนออนไลน์ในปี 2021 ครับ

2 แนวทางการปรับตัวของแบรนด์ต่อเทรนด์การใช้โซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไปในปี 2021

1. แบรนด์ต้องปรับตัวต่อวิธีการทำ Content Marketing 2021 ในแต่ละแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

Image result for facebook text 20%

Social media แพลตฟอร์มต่างๆ ก็ปรับตัวอยู่ตลอดเวลาไม่มีวันหยุดนิ่ง ตัวอย่าง Facebook เองที่เคยออกกฏ Text 20% แบบเข้มงวดมาก กลายเป็นว่าอยู่ดีๆ ก็ยกเลิกกฏนี้ออกไปโดยสิ้นเชิง ปล่อยให้นักการตลาดหลายคนงงไปตามๆ กัน

แถมยังมีการผลักดันให้ Post เป็น Taxt-based มากขึ้น ด้วยการเพิ่มลูกเล่นการโพสเป็น Text ที่มีพื้นหลังภาพกราฟิกสวยงามมากมาย ดังนั้นถ้าแบรนด์ไหนหรือนักการตลาดคนใดยังทำ Social Media Marketing แบบเดิมๆ ในปี 2021 บอกได้เลยว่าคุณกำลังตกขวบนโอกาสสำคัญไปอย่างน่าเสียดาย

2. แบรนด์ต้องพร้อมขยับตัวไปสู่แพลตฟอร์มใหม่ๆ แต่ก็ต้องเข้าใจพฤติกรรม Insight การเล่นของแต่ละแพลตฟอร์มด้วย

การที่แบรนด์ไหนจะเข้าไปเปิด Official account ใน TikTok คุณไม่สามารถเอา Video Content แบบเดิมที่เคยโพสบน Facebook หรือ Instagram มายัดลงดื้อๆ แล้วหวังว่าจะได้ Engagement แบบเดิมได้

เพราะแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีพฤติกรรมการใช้งานที่แตกต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างท่น่าสนใจคือ Gucci เห็นโอกาสทางการตลาดในแพลตฟอร์ม Game Streaming ก็เลยเข้าไปทำการตลาดข้างในนั้นแต่ไม่ใช่การสร้างช่องของตัวเองแล้วใส่ชุด Gucci Stream Game

แต่พวกเขาเลือกที่จะจับมือกับ Fnatic ที่เป็น Influencer ด้าน e-sports ให้มาช่วยทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในหมู่เหล่า Gamer กระเป๋าหนักที่พร้อมเปย์เพื่อไอเท็มเจ๋งๆ ในเกมได้ไม่อั้น แล้วนับประสาอะไรกับการแบ่งเงินบางส่วนมาเปย์กับไอเท็ม Gucci สุด Cool เพื่อเอาไว้ใส่เล่นเกมกันบ้างหละ

สรุป Unbound Platforms เทรนด์ที่ 5 ของ Social Media Marketing 2021

เมื่อแพลตฟอร์มต่างๆ ก็ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา และสาเหตุการปรับตัวนั้นก็ล้วนมาจาก Users ผู้ใช้งานที่เป็นคนนำทิศทางของแต่ละแพลตฟอร์มให้เป็นไปตามพฤติกรรมการใช้ของตัวเอง

ดูเหมือนว่าแบรนด์หรือการตลาดมักจะเป็นผู้ที่ปรับตัวหลังสุด ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากจะเป็นแบรนด์ที่ล้าหลังกว่าใคร ต้องรีบปรับตัวให้ไวตาม Audience บนออนไลน์ในแพลตฟอร์มที่มี ถึงเวลาที่แพลตฟอร์มปรับตัวแล้วคนอื่นเริ่มปรับคุณก็จะนำหน้าคู่แข่งทั้งหมดไปหลายก้าวเรียบร้อยครับ

6. Open-source Creativity ความคิดสร้างสรรค์มาจากการฟังเสียงคนรอบข้าง

Social media network Free Vector

เดิมทีคำว่า Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์แต่เดิมทีคือสิ่งที่ต้องเป็นของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้นถึงจะควรค่าแก่การนิยามว่าความคิดสร้างสรรค์ การจะไปเอาสิ่งที่คนอื่นทำมาต่อยอดจะไม่ค่อยได้รับการยอมรับ แต่ในวันที่สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียต่างเปิดกว้าง โดยเฉพาะตั้งแต่โลกเรารับ TikTok เข้ามาเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มใหญ่ ก็ทำให้นิยามของคำว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเปลี่ยนไปในปี 2021

เพราะคนรุ่นใหม่นั้นไม่คิดหวงไอเดียว่าอันไหนเป็นของใคร หรืออันไหนห้ามทำตาม แต่พวกเขาเลือกที่จะช่วยกันปั้นและดันมันให้ไปปังยิ่งกว่าต้นทาง จนแทบจะหาคำว่า Original ไม่เจออีกแล้วในวันนี้

เพราะพวกเขาค้นพบว่าการจะทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งดังจนเป็นเทรนด์ขึ้นมาได้ ไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่งทำแล้วดังเหมือนวันวาน แต่เกิดจากทุกคนช่วยกันทำตามและก็กลายเป็นสาธารณะสมบัติของทุกคนไป

เมื่อ TikTok ก้าวเข้ามาทำให้การต่อยอดไอเดียคนอื่นหรือ Co-Creation เป็นเรื่องปกติ การจะมาบอกว่าตัวเองทำคลิปไหนเป็นคนแรกแล้วดังช่างเป็นอะไรที่ไม่ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันของผู้ใช้ TikTok เอาเสียเลย

เมื่อต้นกำเนิดโพสนั้นอาจจะดูจืดชืดเฉยชาอย่างไม่น่าสนใจ แต่พอมีใครสักคนหยิบขึ้นไป Remake ทำใหม่แล้วสามารถทำให้คนนับล้านๆ ทั่วโลกสนใจได้นั่นต่างหากครับคือสิ่งที่เรียกว่า Creativity ในวันนี้

เพราะเครื่องมือในการ Create Content วันนี้นั้นแสนจะง่ายเพราะเราสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยโทรศัพท์มือถือในมือแค่เครื่องเดียว แต่การจะทำคอนเทนต์ให้ปังจะมานั่งทำเรียบง่ายเหมือนเดิมนั้นแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะบรรดา Creator ชั้นนำล้วนแต่ประดิษฐ์สร้างสรรค์คอนเทนต์กันจนยากจะบรรยายว่าพวกเขาเหล่านี้ทำมันขึ้นมาได้อย่างไร

และใน Culture ของ TikTok นั้นบรรดา Creator ต่างก็ชักชวนให้ทุกคนโดยเฉพาะ Follower ได้ทำตาม พวกเขาไม่สนหรอกว่าใครจะทำให้มันดัง พวกเขาแค่อยากมีส่วนร่วมกับกระแสความดังของเทรนด์ Challenge ไปด้วยกันในช่วงเวลานั้นเท่านั้นเอง

และนิยามที่น่าสนใจของคำว่า Creativity ในปี 2021 นี้ก็คือการ Collaboration ที่กำลังเป็นเทรนด์แรง ซึ่งการ Collaboration ในปีนี้จะไม่เหมือนกับปีก่อนๆ ที่จะเป็นการสร้างผลงานหรือ Content ร่วมกันระหว่าง Creator หรือ Influencer ที่มีความดังในระดับเดียวกันในแบบที่ผ่านมา

แต่เป็นการ Collaboration กันในระดับ Community ที่แท้จริง Creator หรือ Influencer บางคนก็เลือกที่จะให้เหล่าแฟนเพจหรือ Follower ช่วยกันคิดและออกไอเดียให้จนเอามาผลิตเป็นผลงานใหญ่ชิ้นสำคัญกันมากนักต่อนักแล้วในปี 2020 ที่ผ่านมา

เทรนด์นี้ถ้านึกย้อนไปก็จะเห็นว่าเริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2019 แล้ว ตอนที่ Twitter เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่เป็นเทรธ จนมาตอนนี้มา Co-Fleets คือจากเดิมที่เคยทวีตใครทวีตมัน สามารถเอามาเชื่อมโยงกันให้ตามเลื่อนอ่านได้ทั้งวันเหมือนที่ชอบพูดกันว่า อย่าเข้ามาใน Twiitter ตอนนี้ไม่งั้นจะถูกดูดจนออกไปไม่ได้ง่ายๆ เลยทีเดียว

ลองมาดูกันนะครับว่าเทรนด์ Open-source Creativity นั้นเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มกันที่ 3 พฤติกรรมการออนไลน์และโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไปในปี 2021 กันครับ

3 พฤติกรรมของคนบนออนไลน์ที่เปลี่ยนไปกับนิยามใหม่ของคำว่า Creativity

ก่อนอื่นต้องบอกว่าเพราะ Gen Z นั้นเป็นกลุ่มคนที่ชอบที่จะเปิดเผยเรื่องราวต่างๆ และกล้าแสดงออกมากที่สุดซึ่งก็เป็นไปตามช่วงวัย

เพราะวันนี้พวกเขาส่วนใหญ่ล้วนเป็นวัยรุ่นคนสำคัญในโลกยุคปัจจุบัน ไม่ใช่ Gen Y หรือ Millennials ในแบบไม่กี่ปีก่อนอีกต่อไป

และพวกเขาก็โตมาพร้อมกับการเล่นโซเชียลมีเดียตั้งแต่ยังเด็กหรือเริ่มจำความได้ นั่นทำให้พวกเขาเรียนรู้ว่าการจะเป็นคนสำคัญในวันนี้ได้ไม่ต้องพึ่งพาสื่ออย่างทีวีหรือหนังสือพิมพ์ หรือแมกกาซีนแบบคนยุคก่อน

แต่พวกเขาสามารถสร้างตัวเองให้เป็น Creator หรือ Influencer ชื่อดังจนมีรายได้ไหลเข้ามาอย่างงามด้วยตัวเองได้ไม่ยาก ด้วยการที่ทำอย่างไรก็ได้ให้คนบนออนไลน์หันมาสนใจในสิ่งที่พวกเขาทำจนอยากจะติดตามและที่เหลือรายได้ก็จะไหลเข้ามาด้วยวิธีต่างๆ มากมาย

แถมพอโลกเราเกิดการล็อคดาวน์ในต้นปี 2020 ส่งผลให้จากเดิมที่คนกลุ่มนี้ใช้มือถือหนักมากก็ยิ่งเพิ่มเวลาในการใช้หน้าจอเพิ่มขึ้นไปอีก 4 เท่า

ที่สำคัญกว่านั้นคือพวกเขาเรียนรู้ที่จะ Work Smarter แทนที่จะเป็น Work Harder แบบคนรุ่นก่อนที่แท้จริง เพราะมีที่ไหนแค่เป็น YouTuber ก็สามารถทำเงินได้เป็นล้านๆ เทียบกับคน Generation ก่อนนี่เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ที่คนธรรมดาจะสามารถหาเงินล้านได้ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น

1. Followers ช่วยแชร์ไอเดียให้ Creator ไป Do

ในเทรนด์นี้มี case study ที่น่าสนใจ นั่นก็คือ Charli XCX บอกว่าตัวเธอเองอยากให้แฟนๆ เข้ามาช่วยกันแต่งเพลงในอัลบั้มใหม่ของเธอหน่อยได้ไหม

ผลคือมีแฟนเพลงมากมายที่อาสาเข้าร่วมออกไอเดียช่วยเธอ ซึ่งทำให้เธอก็เลือกที่จะประชุมกับแฟนเพลงผ่านทาง Zoom แล้วก็เก็บรวบรวมไอเดียดีๆ ได้มากมายจนกลายเป็นผลงานอัลบั้มล่าสุดครับ

ส่วนในธุรกิจภาพยนต์ก็มี Miranda July บอกว่าอยากได้ไอเดียจากทุกคนมาช่วยกันคิดบทภาพยนต์เรื่องใหม่ของเธอหน่อย

ผลคือไม่ใช่แค่เหล่า Followers ของเธอเท่านั้นที่มาร่วมออกไอเดียกันมากมาย แต่กลายเป็นว่าคนที่ไม่ใช่ Followers เธอก็ยังอาสามาช่วยระดมไอเดียหรือที่เรียกว่า Brain Strom กันอย่างแท้จริง

2. Community Driven Creator

เดิมทีการจะเป็น Content Creator หรือ Influencer นั้นต้องเป็นคนที่สามารถคิดและสร้างสรรค์คอนเทนต์ดีๆ ออกมาโดนใจคนได้ไม่รู้จบ หรือไม่มีไอเดียตัน

แต่กลับกันกับ Platform อย่าง TikTok ที่มีวัฒนธรรมการใช้งานแบบไม่เหมือนแพลตฟอร์มอื่น เช่น เมื่อ Melissa Ong บอกว่าคิดไม่ออกว่าจะทำคอนเทนต์แบบไหนดีให้ Followers ชอบ ก็เลยเปิดถามเหล่า Followers มากมายไปเลยว่าอยากทำเธอทำอะไรที่จะอยากดู

ปรากฏว่ามีคอมเมนต์นึงอยากให้เธอเต้นท่าไก่ จนทำให้ท่าเต้นไก่ดังกล่าวนั้นดังจนกลายเป็นข่าวดังออกสื่ออย่าง The New York Times เลยทีเดียว

ดังนั้นการเป็น Creator ในวันนี้นั้นอาจจะไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าคุณรู้จักถามเหล่า Followers ให้มากขึ้นว่าวันนี้พวกเขาอยากเห็นคุณทำอะไรครับ

3. Everyday #Challenge

เมื่อ #Challenges กลายเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ทำกัน จากเดิมการจะสร้าง Challenge ขึ้นมาบนออนไลน์สักอันให้คนทำตามนั้นเป็นเรื่องที่ยากและต้องผ่านการวางแผนทางการตลาดของแบรนด์เป็นอย่างมาก

แต่มาวันนี้การจะสร้าง Challenge ใดๆ ก็ตามให้คนทำตามจนกลายเป็นกระแสนั้นไม่ยากอีกต่อไป เพราะใน TikTok ใครๆ ก็สามารถสร้าง Challenge ขึ้นมาได้จนทำให้มี Challenge ใหม่ๆ ที่มีคนทำตามนับล้านเกิดขึ้นทุกวันไม่รู้จบ

จากคอนเทนต์ที่นานทีมีครั้งกลายเป็นคอนเทนต์ประเภท evergreen ทุกวันให้ดูไม่มีเบื่อ อย่างซีรีส์ดังในเมริกาเรื่อง Euphoria เองก็สร้าง Challenge บน TikTok ให้แฟนซีรีส์ได้ทำตาม ด้วยการเล่นกับ Filter ภายใต้แฮชแท็กว่า #euphoriamakeupchallenge ครับ

TikTok เปิดเผยว่าเมื่อ Dua Lipa เปิดให้คนเข้ามาแข่งขันกันผ่าน Challenge ด้วยการให้คนมา Cover เพลงใหม่ของเธอย่าง Levitating

ผลคือมี User Generated Content มากมายจนได้วิวไปกว่า 4.7 ล้านครั้งภายใน 6 สัปดาห์ครับ

2 แนวทางการปรับตัวของแบรนด์ต่อเรื่อง Community Driven Creativity

ดังนั้นสิ่งที่แบรนด์ต้องปรับตัวกับการทำ Social media marketing ในปี 2021 กับประเด็น Open-source Creativity คือต้องหมั่นปรับตัวและเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ ของแพลตฟอร์มต่างๆ ตลอดเวลา

ต้องรู้ว่าแต่ละฟีเจอร์นั้นสามารถใช้งานอย่างไร หรือผู้คนเอาไปใช้งานแบบไหนเพื่อจะได้ Create Content ได้ไม่น้อยหน้า User และที่สำคัญคือต้องรู้จักขอความเห็นหรือขอไอเดียจาก Follower แฟนเพจผู้ติดตามที่เรามีอยู่มากมาย ตัวผมเองเวลาคิดไม่ออกว่าจะเขีบนเรื่องอะไรก็จะโพสถามแฟนเพจตรงๆ ว่าช่วงนี้อยากอ่านหรืออยากรู้เรื่องอะไรกัน

ตอนนี้เราอยู่ในจุดที่มีผู้ติดตามากพอแล้วอย่าลืมใช้ประโยชน์จากตรงนั้นให้คุ้มค่า เพราะพวกเขาเองก็อยากให้คุณรับฟังพวกเขาบ้าง ยิ่งเป็นการขอไอเดียแล้วนำไปปรับใช้หรือสร้างเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ขึ้นมา ยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกว่าแบรนด์คุณช่างเป็นแบนด์ที่ใส่ใจเหลอเกิน

1. แบรนด์ที่ดีต้องเลิกทำตัวเป็นผู้คุม แต่ต้องกระตุ้นให้ผู้คนออกาแชร์ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองกับเรา

แต่เดิมทีแบรนด์พยายามผูกขาดการสื่อสารจากกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคมาตลอด เพราะนักการตลาดยุคเก่ายังคงเคยชินกับ one way communication แบบวันวาน

แต่ในโลกปี 2021 นั้นต่างออกไปจากปี 2020 โดยชิ้นเชิงมาก อย่างที่เราได้เห็นแล้วว่าผู้คนมากมายพร้อมจะแชร์ไอเดียดีๆ ให้กับคนที่ตัวเองชื่นชอบโดยไม่หวงไอเดียดีๆ แต่อย่างไร

ดังนั้นแบรนด์ที่ฉลาดก็ต้องรู้จักกระตุ้น Audience ของตัวเองที่มีให้มาช่วยกันออกไอเดียดีๆ ให้เราเอาไปต่อยอดทางธุรกิจ หรือถ้าจะให้ดีไปกว่านั้นคุณควรจะส่งเครื่องมือที่ช่วยให้การต่อยอดไอเดียที่จะกลับมายังแบรนด์คุณได้ดีขึ้น อย่างที่แฟชั่นดีไซเนอร์คนนึงทำ ที่ชื่อว่า Reese Cooper เปิดตัว RCI – DIY collection ที่เอาเครื่องมือการออกแบบเสื้อผ้าต่างๆ พร้อมกับคู่มือวิธีการใช้งานส่งไปให้เหล่าผู้ติดตามคนรุ่นใหม่ของพวกเขาได้สร้างเสื้อผ้าของตัวเองขึ้นมา

ไม่ต้องเอาแต่รอซื้อคอลเลคชั่นใหม่จากดีไซเนอร์เหมือนเดิมเสมอไป

ในช่วงโควิดบ้านเราก็จะเห็นร้านขนมเบื้องบางร้านเริ่มขายเป็นชุด DIY ให้คนเอาไปทำกินเองที่บ้านได้ง่ายๆ ดังนั้นจะเห็นว่านี่เป็นโอกาสใหม่ที่จะเปิดให้ลูกค้าสามารถเอาสินค้าหรือบริการเราไปดัดแปลงสร้างสรรค์ในแบบฉบับของตัวเองเอง เป็นอีกหนึ่ง Business model ที่น่าสนใจและคุณก็ต้องอย่ามองข้าไปเป็นอันขาด

ไม่อย่างนั้นถ้าคู่แข่งทำแล้วปังจะมานั่งเสียใจตอนหลังอันนี้ผมได้แต่บอกว่า ก็วันนั้นผมบอกแล้วให้คุณรีบทำแล้วคุณมัวรออะไร

2. From Comment to Content

เดิมทีการทำคอนเทนต์ให้ออกมาดีเป็นหน้าที่ของ Creative ภายในแบรนด์ที่ต้องคิด คิด คิด และก็คิด แต่ในวันนี้เราเห็นแล้วว่าผู้คนมากมายยินดีช่วยแชร์ไอเดียดีๆ ที่ใช้ได้จริงให้กับ Creator และ Influencer แล้วจะผิดอะไรถ้าแบรนด์อย่างเราจะลองเอ่ยปากขอไอเดียจาก Audience ตรงๆ ดูบ้างจริงไหมครับ

อย่าง Gymshark ก็ใช้วิธีที่ว่าด้วยการโพสรูปภาพชุดฟิตเนสออกกำลังกายของสาวพลัสไซส์ แล้วก็ขอความเห็นและฟังฟีดแบคของ Followers บน Instagram ของแบรนด์ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ด้วยการเข้าไปตอบทุกคอมเมนต์ของ Follower ด้วยความตั้งใจและขอบคุณต่อทุกความเห็นจริงๆ (ผมก็ทำแบบนี้เป็นประจำในการตลาดวันละตอนนะครับ)

ดังนั้นจะเห็นว่า Creativity ของเรานั้นอยู่ใน Community ของเรามากมาย เราต้องรู้จักเดินเข้าไปหา ขอความช่วยเหลือ เชื่อเถอะครับว่าจะมีคนมากมายอยากจะช่วยให้คุณทำธุรกิจได้ดีขึ้น เพราะนั่นหมายความว่าพวกเขาเองก็จะได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการไปพร้อมกัน

ทุกคอมเมนต์ล้วนมีค่า อย่าปล่อยผ่านโดยไม่ใส่ใจ จงเปลี่ยน Comments ทั้งหลายให้เป็น Creativity ดีๆ ที่แบรนด์อย่างเราต้องการครับ

สรุป 6 Social media & Content Marketing Trends ในปี 2021

จากทั้งหมด 6 เทรนด์นี้จะเห็นว่าล้วนมีบริบทของบ้านเรามากกว่าทุกๆ ปีที่เคยเป็นมา อาจจะเพราะว่าด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่เกิดขึ้นและกระจายตัวออกไปจนส่งกระทบพร้อมกันทั่วโลกจนทำให้ทุกคนรู้สึกแบบเดียวกันถ้วนหน้า

และนั่นก็เลยทำให้ทาง We Are Social สรุปออกมาเป็นรายงาน Think Forward 2021 ฉบับนี้ครับ

นี่เป็นอีกหนึ่งรายงานสำคัญที่นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจต้องรู้เพื่อที่จะได้เอาไปปรับใช้กับแผนการตลาด และแผนธุรกิจของตัวเองเพื่อให้เข้ากับบริบทใหม่ของการออนไลน์และการเล่นโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไปจากปี 2020 หรือก่อนโควิด19 มาโดยสิ้นเชิง

รอดูกันอีกครั้งนะครับว่า Social media trends 2022 จะเป็นอย่างไร ก็ได้แต่หวังว่าสถานการณ์โควิด19 จะไม่ทำให้เศรษฐกิจทั้งโลกหลักหนาเท่ากับปี 2020 ที่ผ่านมาครับ

6 Social Media Marketing Trends 2021 – The Social Reset ตอนที่ 1

อ่านสรุป Social media trends 2021 ตอนที่ 1 > https://www.everydaymarketing.co/knowledge/social-media-marketing-trends-2021-we-are-social-think-forward-the-social-reset/

ดาวน์โหลดรายงาน Think Forward 2021 ของ We Are Social ตัวเต็มได้ที่ > http://bit.ly/3pAOXgO

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

One thought on “Social Media Trends 2021 เทรนด์พฤติกรรมการออนไลน์ที่เปลี่ยนไป ตอนที่ 2

  1. เป็นบทความที่ดี มีประโยชน์ ให้ความรู้ ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่