ส่งข่าว PR อย่างไรให้ไม่ได้ข่าว PR กับ 5 พื้นฐานที่นัก PR New Gen ควรรู้

ส่งข่าว PR อย่างไรให้ไม่ได้ข่าว PR กับ 5 พื้นฐานที่นัก PR New Gen ควรรู้

บทความนี้จะเป็นการแชร์ประสบการณ์ตรงตั้งแต่การตลาดวันละตอนเริ่มทำเว็บ www.everydaymarketing.co มา ก็ได้รับ email จากขอพื้นที่ข่าว PR จากทั้งเอเจนซี่และบริษัทอยู่เป็นประจำ เลยอยากจะแชร์ให้นัก PR New Gen ได้รู้ว่าการส่งข่าว PR ในวันนี้ควรส่งข่าวอย่างไรเพื่อให้มีโอกาสได้พื้นที่ PR มากขึ้น และแบบไหนที่ควรเลิกทำได้แล้วครับ

1. เรียนท่านสื่อมวลชนที่เคารพ แต่ดันส่งแบบ BCC

เรื่องนี้เป็นเรื่องของความรู้สึกจากการอ่าน เพราะถ้าเปิดหัวมาด้วยความเคารพ แต่ทำไมถึงไม่ระบุชื่อผู้รับแต่ละคนหละครับ อีเมลแบบนี้มีโอกาสจะถูกกดลบทิ้งทันทีสูงมาก เพราะแค่วิธีการก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกเคารพจริงเหมือนที่พูดแล้ว

ถ้านัก PR คนไหนอยากได้พื้นที่ข่าวฟรีจากเค้า ก็กรุณาส่งหาทีละคนจะดีกว่า มันมีโอกาสที่อีเมลของคุณจะถูกอ่านจนจบมากขึ้น นั่นหมายความว่าก็จะทำให้เนื้อหาข่าวคุณมีโอกาสที่จะได้พื้นที่ของเค้ามากขึ้นครับ

2. ส่งเนื้อหามาเป็นพรืด ไม่ SEO friendly เอาเสียเลย

หลังจากดูว่าอีเมลนี้ส่งแบบเฉพาะเจาะจงมาที่เราด้วยความตั้งใจไม่ใช่หว่านแบบ bcc แล้ว ผมจะก็มาดูต่อว่าเนื้อหาที่ส่งมานั้น seo friendly มั้ย

หลายครั้งที่ผมเจอคือนัก PR ส่งเนื้อหามาเป็นพรืด ซึ่งยังคงเป็นวิธีการทำเนื้อหาแบบเก่าสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ไม่ใช่สำหรับสื่อดิจิทัลโดยเฉพาะเว็บไซต์ทุกวันนี้ครับ

เพราะถ้าเนื้อหาของคุณติดมาเป็นพรืดเป็นก้อนใหญ่ๆ มันจะมีผลต่อ SEO ซึ่งจะส่งผลต่อเว็บไซต์ของสื่อที่จะลง ทำให้เค้าอาจจะมองข้ามเนื้อหาคุณไปได้ไม่ยาก

จากประสบการณ์ตรงของผมคือ ถ้าอ่านเร็วๆดูแล้วเนื้อหาดีมากจริงๆ ผมถึงจะเข้ามาจัดหน้าข้อความใหม่ให้เหมาะกับ SEO ซึ่งบอกตรงๆว่าจาก 10 จะมีซัก 1 ข่าวที่มีเนื้อหาดีขนาดนั้น ถ้าคุณไม่ชัวร์ว่าเนื้อหาข่าวของคุณจะเป็น rare item มากขนาดนั้น ก็ช่วยปรับแต่งเนื้อหาข่าว PR ให้ SEO friendly ด้วยนะครับ

ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของคุณเอง เวลาคนเสริช google จะได้มีโอกาสเจอเนื้อหาข่าว PR ของคุณง่ายๆ และลูกค้าก็จะยิ่งรู้สึกปลื้มในผลงานคุณ ไม่ได้เกี่ยวกับเจ้าของเว็บอย่างผมเท่าไหร่ครับ

3. ส่งมาแต่เนื้อหา ไม่ส่งภาพประกอบบทความมาให้เลย

หลายครั้งที่พบว่าเนื้อหาข่าวที่ PR ส่งมานั้นดีมาก แต่น่าเสียดายที่ไม่มีรูปภาพประกอบบทความใดๆเลย อย่าลืมว่ารูปภาพที่ดีก็มีผลต่อความอยากอ่านของคน ทำให้คนอ่านไม่เบื่อ แถมยังทำให้คนลงอยากลงให้ด้วยครับ

4. ไม่เตรียมภาพแนวนอนที่จะเป็นภาพหลักของบทความมาให้พร้อม

หลายครั้งที่นัก PR ส่งภาพหลักของบทความที่เป็นแนวตั้ง อารมณ์เอา artwork ที่เป็นโปสเตอร์ส่งมาให้แบบเพรียวๆ โดยขาดการ adaptation ขนาดภาพให้เป็นแนวนอนที่จะแสดงผลเวลาแชร์ลิงก์ออกไปที่ fanpage

ข้อแนะนำคือทำภาพหลักของเนื้อหามาให้พร้อม ด้วยการเตรียมขนาดประมาณ 2:1 เพื่อให้เวลาแชร์ออกไปที่เฟซบุ๊กแล้วจะได้แสดงผลอย่างสวยงาม หัวไม่ขาด ข้อความไม่หาย เพราะถ้าส่งเนื้อหาข่าวมาให้แล้วต้องให้มา crop ภาพให้ด้วยก็คงไม่ใช่เรื่องครับ

5. ไม่คิดรายละเอียดมาให้ครบ

PR new gen seo friendly

แทบทุกครั้งที่สื่อออนไลน์ต้องมานั่งคิดรายละเอียดให้ว่า เนื้อหาข่าวนี้ควรจะตั้ง slug แบบไหน (slug คือ url ของเนื้อหาข่าวนี้ที่จะใช้ หรือต้องใช้ focus keyphase แบบไหน (focus keyphase คือคำหลักที่คิดว่าคนเสริชคำไหนแล้วจะเจอบทความนี้คุณ) หรือต้องมานั่งคิด meta description (คำอธิบายย่อยๆเวลาแสดงผลที่ google) หรือแม้แต่ต้องมานั่งคิด seo title ให้ ซึ่งหลายครั้งนัก PR มักจะส่ง title หรือหัวข้อของบทความที่ยืดยาวมาก มากจนไม่ seo friendly เหมือนเนื้อหาที่ส่งมาเป็นพรืด

คำแนะนำของผมคือ นัก PR New Gen ต้องเก็บรายละเอียดปลีกย่อยของเนื้อหาพวกนี้ให้ครบ แล้วโอกาสที่ข่าว PR ของคุณจะได้พื้นที่สื่อก็จะเพิ่มมากขึ้นครับ

ทั้งหมดนี้คือปัญหาของการเรียนการเขียนทั้งหลายยังอยู่บทรูปแบบวิธีการเขียนแบบเดิม คือเขียนด้วยศิลป์แต่ขาดความเข้าใจศาสตร์ของ digital ในวันที่เนื้อหาดีแค่ไหนก็ไม่มีค่าถ้าคนเสริชหาแล้วไม่เห็น การเข้าใจเรื่องพื้นฐาน SEO ของคนเขียนข่าวในวันนี้จึงสำคัญมาก รวมถึงถ้ารู้จักประยุกต์ใช้ data ในการกำหนดเนื้อหาหัวข้อข่าวว่าควรจะใช้คำว่าอะไรคนถึงจะเสริชเจอเยอะขึ้นก็จะเป็นข้อได้เปรียบอีกมากด้วยครับ

สุดท้ายนี้ผมแนะนำง่ายๆว่า ให้ลองใช้ Yoast SEO ซึ่งเป็น plugin ใน wordpress ที่จะช่วยเช็คว่าบทความของคุณ seo friendly แล้วหรือยัง ถ้ายังก็ค่อยๆปรับไป แล้วทีนี้ผมเชื่อว่าเนื้อหาข่าว PR ของคุณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจนลูกค้าไม่หนีไปไหนแน่นอนครับ

รู้จัก Yoast SEO > https://yoast.com/wordpress/plugins/seo/

PR new gen seo friendly

อ่านบทความเกี่ยวกับ SEO ต่อ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/voice-search-content-seo-2019/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่