แจกสูตร Storytelling : สร้างคอนเทนต์ให้ทรงพลังด้วย 3 Act Structure

แจกสูตร Storytelling : สร้างคอนเทนต์ให้ทรงพลังด้วย 3 Act Structure

3 Act Structure นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ แต่เป็นรูปแบบที่ถูกใช้ในการเขียนบทละครมาเนิ่นนานแล้ว โดย Three Act Structure นั้นจะมีอยู่ 3 บทดังชื่อนั่นก็คือ จุดเริ่ม จุดพีค และจุดจบ โดยในแต่ละบทนั้นก็จะมีบทย่อยลงไปอีกบทละ 3 บทย่อย ทำให้ได้พลอตทั้ง 9 จุดดังนี้

  • บทเริ่ม
    • บทเริ่ม 1 – อธิบายพื้นฉากและสิ่งแวดล้อม
    • บทเริ่ม 2 – ใส่เรื่องราวเข้าไป
    • บทเริ่ม 3 – ประเด็นสำคัญของเรื่อง หรือจุดแตกหัก
  • บทพีค
    • บทพีค 1 – แอคชั่นที่เพิ่มขึ้น
    • บทพีค 2 – ครึ่งทางของเรื่อง
    • บทพีค 3 – ประเด็นสำคัญที่ 2 ของเรื่อง
  • บทจบ
    • บทจบ 1 – จุดมืดที่ดิ่งที่สุด
    • บทจบ 2 – จุดพีคที่สุดของเรื่อง
    • บทจบ 3 – อธิบายส่วนจบของเรื่อง

ตัวอย่างจากบทละครจะเห็นได้ในเกือบทุกๆเรื่อง เช่นหนังเรื่อง Toy Story

บทเริ่มจะเป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Woody ที่เป็นผู้นำในหมู่ของเล่นของ Andy จากนั้นการใส่เรื่องราวก็ตามมาด้วยงานวันเกิดของ Andy ที่เขาได้รับของเล่นชิ้นใหม่ นั่นก็คือ Buzz Lightyear ซึ่งของเล่นชิ้นอื่นก็ดีใจ ในขณะที่ Woody นั้นเกิดความอิจฉา นั่นก็เป็นประเด็นสำคัญที่นำไปสู่บทพีค

ช่วงบทพีคนั้นจะมาต่อที่ Woody นั้นพยายามกำจัด Buzz โดยที่ของเล่นชิ้นอื่นก็ไม่ได้พอใจ ระหว่างที่แม่ของ Andy กำลังพาเด็กๆไปร้านพิซซ่าและหยุดที่ปั๊มน้ำมันนั้น Woody กับ Buzz ก็ถูกแยกอยู่กันเพียงสองคน ทำให้เกิดจุดแอคชั่น ที่ทั้งคู่พยายามตามไปที่ร้านพิซซ่า แต่แล้วก็มาที่จุดกลางเรื่องที่พวกเขาถูกตกขึ้นมาโดยเด็กที่ชื่อ Syd และนำพวกเขากลับไปเล่นที่บ้าน

โดยการเริ่มบทจบนั้นเริ่มที่ Syd นั้นทรมาน Woody อย่างสาหัสและ Buzz ก็ได้เห็นโฆษณา Buzz ตัวอื่นทำให้เขาไม่อยากจะเชื่อในความไม่วิเศษของตัวเอง และเขาได้พยายามบินหนี แต่ก็ได้ตกลงมาแขนหักไปอีกข้าง นั่นทำให้พวกเขาทั้งสองนั้นเข้าตาจน เป็นจุดดิ่งของบทจบ เพราะ Woody เองนั้นก็เก่าแล้ว ส่วน Buzz เองก็ไม่ใช่ตำรวจอวกาศอย่างที่คิด ซึ่งพวกเขาต้องหาทางกลับไปให้ไวที่สุด เพราะวันนี้เป็นวันที่ Andy จะย้ายบ้านแล้ว ซึ่งเป็นจุดพีคที่ดึงผู้ชมไปยังบทจบ

จุดพีคที่สุดของเรื่องนั้นจะเป็นการหลบหนีจากบ้านของ Syd และหาทางไปยังรถของแม่ Andy ด้วยรถแข่งของเล่น ซึ่ง Woody และ Buzz นั้นก็ได้ใช้จรวดที่หลังของ Buzz ในการบินขึ้น และร่วงลงมาบนรถของแม่ Andy ในที่สุด จากนั้นก็มีการสาธยายความรู้สึกของตัวละครเล็กน้อยเป็นบทจบที่สมบูรณ์

ดูแบบนี้แล้ว อาจจะสงสัยว่า Three Act Structure นั้นจะเกี่ยวกับการสร้างคอนเทนท์ได้ยังไง แต่มั่นใจได้เลยว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน เราไปดูกันเลย!

3 Act Structure ใช้กับอะไรบ้าง 

อันดับแรกเลยก็คือการเล่าเรื่อง แต่จะเล่าเรื่องอะไรถ้าไม่ใช่บทละคร? ในยุคสมัยนี้ก็ต้องเป็นเรื่องราวของแบรนด์นั่นเอง ซึ่งจะทำให้เหล่าลูกค้าและผู้ใช้ต่างเข้าใจในตัวแบรนด์มากขึ้น และทำให้แบรนด์นั้นเป็นที่รู้จักไปในวงกว้างอีกด้วย

นอกจากการเล่าเรื่องของแบรนด์แล้ว แน่นอนว่าการทำคอนเทนท์นั้น จำเป็นต้องมีด้านที่ ขายได้ อีกด้วย ฉะนั้นอีกด้านหนึ่งที่ Three Act Structure สามารถใช้งานในสายการตลาดได้ ก็คือการผลักดันให้เกิดยอดขาย

 3 Act Structure ทำงานยังไง

การใช้งาน Three Act Structure ในด้านการตลาดนั้นคล้ายกับด้านบทละครที่เป็นต้นกำเนิดเช่นกัน โดยคร่าวๆแล้ว ก็ยังคงแบ่งเป็น 3 ส่วนได้เล่นกัน เพียงแค่แต่ละบทนั้นจะเป็นไปดังนี้

  • บทเริ่ม – แนะนำปัญหาที่ลูกค้าอาจจะรู้หรือไม่รู้ ให้เข้ามาอยู่ในความสนใจ
    • โดยปัญหานี้ จะทำให้ลูกค้าต้องการทราบทางออก หรือทางแก้ปัญหา และสนใจติดตามดูคอนเทนท์ต่อไป
  • บทพีค – แนะนำวิธีแก้ปัญหา ซึ่งก็คือสินค้าของแบรนด์นั่นเอง
    • เมื่อลูกค้าทราบวิธีแก้ปัญหา หรือทางออกแล้ว สิ่งสุดท้ายที่ลูกค้าต้องการ ก็คือวิธีได้มันมา นั่นจึงนำไปสู่บทสุดท้าย
  • บทจบ – ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อแบรนด์ได้
    • สินค้านั่นถึงจะดีแค่ไหน หรือจะเป็นที่รู้จักมากเท่าไหร่ แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ก็ไม่มีความหมาย ดังนั้นการติดต่อลูกค้าให้ได้ หรือให้ลูกค้าติดต่อเราให้ได้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน

ตัวอย่างจากการทำ 3 Act Structure 

หลังจากที่ทราบแล้วว่า Three Act Structure เป็นอย่างไร เราก็มาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า

อันดับแรก ถึงแม้จะขึ้นด้วยชื่อของการเล่าเรื่อง แต่คอนเทนท์แบบ Three Act Structure นั้นไม่จำเป็นต้องยาวเลย ดังตัวอย่างของ Dr Juice ที่อาจจะดูต่างออกไปแต่ก็ยังมีโครงของ Three Act Structure อยู่ ไม่จำเป็นต้องมีข้อความหรือบทพูดอธิบายให้มากความ แต่แสดงให้เห็นสภาพต่างๆนั้นก็สามารถเล่าเรื่องได้เช่นกัน

  • บทเริ่ม – เป็นการแสดงให้เห็นผู้คนที่ดูมีเอเนอร์จี้ต่างๆ
    • ให้ผู้ชมสงสัยว่า นี่คือโฆษณาหรือกำลังจะขายอะไร
  • บทพีค – อย่ารอช้าที่จะฟิต
    • ให้ผู้ชมตั้งคำถามว่าพวกเขาพร้อมจะฟิตขึ้นหรือยัง
  • บทจบ – ทิ้งท้ายด้วยการให้ดาวน์โหลด Dr Juice
    • ให้คำตอบว่า หากอยากเริ่มฟิตแล้วล่ะก็ Dr Juice คือจุดเริ่มต้นที่ดี

ตัวอย่างถัดมาก็จะมีตัวอย่างการเล่าเรื่องที่ไม่สั้นมาก อย่างคลิปของ Blue Apron

โดย Blue Apron นั้นเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าสามารถซื้อวัตถุดิบในการทำอาหารที่ถูกเตรียมมาแล้ว ตามเมนูที่ลูกค้านั้นเลือกได้ โดยวัตถุดิบนั้นจะถูกส่งถึงบ้านในพัสดุอย่างดี และมีคู่มือให้ลูกค้าสามารถทำอาหารในเมนูที่ตัวเองต้องการได้โดยง่ายและมีรสชาติที่อร่อย

  • บทเริ่ม – เกริ่นนำให้เห็นถึงเนื้อหาของคลิป นั่นก็คือให้เชฟ Blue Apron อัดคลิปทำอาหารส่งประกวด
    • ให้ผู้ชมรับรู้ว่าในคลิปจะมีอะไรบ้าง นั่นก็คือการทำอาหารในเมนู ราเม็งเนื้อ อย่างเป็นขั้นตอน โดยพ่อครัว/แม่ครัว จากทั่วทุกมุมโลก
  • บทพีค – เมื่อถึงช่วงชิมแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ใครๆก็สามารถทำอาหารให้ออกมาดูดี และอร่อยได้
    • ทำให้ผู้ชมเข้าถึงได้ และสามารถเชื่อมสิ่งที่เห็นกับตัวเอง
  • บทจบ – ทิ้งท้ายเชิญชวนให้เข้ามาเป็นเชฟ Blue Apron เหมือนกัน ผ่านลิงค์เว็บ
    • เปิดช่องทางการติดต่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึง และสร้างยอดขายเพิ่มเติม

อีกตัวอย่างที่เป็นโฆษณาความยาวครึ่งนาทีก็คือ Golfetta

  • บทเริ่ม – เกริ่นนำด้วยการตั้งคำถามว่า ทำยังไงถึงจะเป็นผู้จัดปาร์ตี้ที่ดีได้?
    • ทำให้ผู้ชมรู้สึกอยากรู้คำตอบ เผื่อว่าตัวเองจะต้องจัดงานให้เพื่อนหรือคนรู้จักในอนาคต
  • บทพีค – จุดต่างๆเช่นเพลงหรือการให้ถอดรองเท้าก็สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คืออาหารที่ดี
    • ผู้ชมก็จะตระหนักในข้อนี้ และเริ่มคิดถึงอาหารที่ตนจะเสิร์ฟ
  • บทจบ – เป็นการชูจุดขายด้วยข้อความที่ว่า Golfetta นั้นมีไขมันน้อยกว่าถึง 60%
    • มอบคำตอบให้ผู้ชมพร้อมอธิบายว่ามันดีอย่างไร

เห็นแบบนี้แล้ว เราก็สามารถนำรูปแบบ Three Act Structure มาใช้กับแฟลทฟอร์มยุคใหม่อย่าง TikTok, Blog, หรือคอนเทนท์ขายของได้เช่นกัน เช่น TikTok ก็สามารถเล่าเรื่องหรือปัญหาที่เจอ แล้วก็นำสิ่งที่อยากนำเสนอมาเป็นคำตอบ หรือแม้จะเป็นทาง Blog ก็สามารถเล่าทั้งเรื่อง และจุดเด่นของสิ่งที่อยากชูโรงขึ้นมาได้ด้วย และท้ายที่สุด ในการขายนั้น สินค้าที่เราต้องการจะขาย ก็สามารถเป็นตัวชูโรงในคอนเทนท์แบบ Three Act Structure ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแพลทฟอร์มไหนด็ตาม

ท้ายนี้ ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์แนวไหน หรือว่าแพลตฟอร์มอะไร การเล่าเรื่องที่ดีก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป้าหมายทางการตลาดเสมอ เพราะคอนเทนท์ที่ไม่น่าเบื่อและมีแบบแผนนั้นจะต้องมีคนติดตามแน่นอน ฉะนั้นผู้อ่านอย่าลืมเอา Act Structure ไปลองใช้กับคอนเทนท์ของตัวเองดูนะคะ

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *