วิเคราะห์สงครามส่วนลด Grab และ foodpanda

วิเคราะห์สงครามส่วนลด Grab และ foodpanda
วิเคราะห์สงครามส่วนลด Grab Foodpanda

สงครามส่วนลดระหว่าง Grab และ foodpanda ส่งผลให้บริษัท Delivery Hero ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ foodpanda แพลตฟอร์ม Food delivery รายใหญ่ ได้มีการยืนยันการเจรจาที่จะขายธุรกิจในเอเชียบางส่วน โดยมูลค่าของข้อตกลงอยู่ระหว่างการเจรจา

แหล่งที่มา : Daily Guardian

บริษัท GRAB ของสิงคโปร์จะเป็นผู้เข้าซื้อกิจการของ foodpanda ทั้งในประเทศ สิงคโปร์, กัมพูชา, สปป.ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 1000 ล้านยูโร แต่ปัจจุบันทาง GRAB ยังไม่ออกมายืนยันข้อมูลดังกล่าวข้างต้น

เมื่อได้มีข่าวนี้ออกมาทำให้หุ้นของบริษัท Delivery Hero ปรับตัวเพิ่ม 13.5 % หลังมีข่าวที่จะขายกิจการบางส่วนในเอเชียออกไป ซึ่งปัจจุบันบริษัทมุ่งเน้นไปที่การทำกำไรเพื่อรักษาการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดน้อยลงตั้งแต่ช่วงเกิด COVID-19

Delivery Hero คืออะไร

บริษัทจัดส่งอาหารที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหารออนไลน์ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในทุกทวีปด้วยการให้บริการการส่งอาหารออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันและ เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถสั่งอาหารจากร้านอาหารท้องถิ่นและร้านรายการโปรดได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน Delivery Hero

แหล่งที่มา : GrundErszene

บริษัทกำลังเจรจาขายกิจการบางส่วนในอาเซียนให้ Grab โดยธุรกิจของ Delivery Hero ดำเนินงานภายใต้แบรนด์ foodpanda ในหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงสิงคโปร์, กัมพูชา, สปป.ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์, ไทย

ส่วนแบ่งการตลาดของแอป Delivery ในไทยเป็นยังไงบ้าง

เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาดแอปพลิเคชั่น Food delivery จะเห็นได้ว่า Grab มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด โดยครอบครองสัดส่วนมากถึงร้อยละ 54  ในขณะที่แอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้แก่ LINE MAN Wongnai อันดับ 2 ครองส่วนแบ่ง 24% และ Foodpanda อันดับ 3 ครองส่วนแบ่ง 16% อันดับที่ 4 คือ Robinhood ครองส่วนแบ่งตลาด 6%

กลยุทธ์ของ Delivery Hero เป็นยังไง

1.การขยายตัวในตลาด Delivery Hero มุ่งเน้นการขยายตัวในตลาดการจัดส่งอาหารออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการเปิดและ รวมกิจการในพื้นที่ที่มีโอกาสในการเจริญเติบโตเช่น การซื้อส่วนหนึ่งของบริษัทอื่นหรือเจาะตลาดใหม่

2. การสร้างพันธมิตร บริษัทนี้อาจจะทำการร่วมงานกับร้านอาหารท้องถิ่นและร้านอาหารรายใหญ่เพื่อเพิ่มสินค้าและบริการในแพลตฟอร์มของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีการร่วมงานกับบริษัทอื่น เช่น บริษัทชั้นนำในด้านการจัดส่ง หรือเทคโนโลยี

แหล่งที่มา : PYMNTS

3. พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์ม Delivery Hero การลงทุน เพื่อให้บริการการส่งอาหารออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและความสะดวกสบายสำหรับลูกค้าและร้านอาหาร

4. การปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า Delivery Hero ใส่ใจในการฟังความคิดเห็นและความต้องการของลูกค้าเพื่อปรับปรุงบริการและสินค้าของพวกเขาให้ตรงกับความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า

5. ความยั่งยืนและความรับผิดชอบสังคม Delivery Hero อาจมีความรับผิดชอบทางสังคมและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น การลดการปล่อยคาร์บอน และการสนับสนุนโครงการสังคมที่ดี

โดยทั่วไปแล้วกลยุทธ์ของ Delivery Hero เน้นการขยายตัวและการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดการจัดส่งอาหารออนไลน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในทุกทวีป

กลยุทธ์ของ Grab เป็นอย่างไร

แหล่งที่มา : Maketeer

  1. การขยายบริการ Grab มุ่งหวังที่จะเป็นสุดยอดแอป โดยนำเสนอบริการที่หลากหลายนอกเหนือจากการเรียกรถโดยสาร ซึ่งรวมถึง GrabFood สำหรับบริการส่งอาหาร, GrabExpress สำหรับบริการจัดส่ง, GrabPay สำหรับการชำระเงินผ่านมือถือ และ GrabFinancial สำหรับบริการทางการเงิน
  1. ความเป็นผู้นำตลาด Grab กำลังแข่งขันกับบริษัทเรียกรถโดยสาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศในประเทศไทย เพื่อสร้างตัวเองให้เป็นผู้นำในตลาดบริการเรียกรถร่วมกัน โดยทางบริษัทมีการเสนอโปรโมชั่น และ สิ่งจูงใจต่างๆ เพื่อดึงดูดทั้งผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ และผู้ขับขี่รถยนต์
  1. บริการส่งอาหารGrabFood เป็นหนึ่งในบริการที่โดดเด่นของ Grab ในประเทศไทย บริษัทมุ่งเน้นไปที่การขยายความร่วมมือด้านร้านอาหารและเครือข่ายการจัดส่งเพื่อจัดหาตัวเลือกอาหารที่หลากหลายให้กับลูกค้า 
  1. บริการทางการเงิน GrabPay เป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ของ Grab โดยมีเป้าหมายเพื่อการชำระเงินดิจิทัล และ บริการทางการเงินแก่ผู้ใช้งาน
  1. ความร่วมมือในท้องถิ่น Grab สร้างความร่วมมือกับธุรกิจ ร้านอาหาร และร้านค้าปลีกในท้องถิ่น 
  1. ความปลอดภัย และ คุณภาพ การดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร และผู้ขับขี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของบริษัท Grab มีการฝึกอบรมผู้ขับขี่เพื่อรักษาคุณภาพการบริการในระดับสูง 
  1. เทคโนโลยีและนวัตกรรม Grab ลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับบริการ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงอินเทอร์เฟซผู้ใช้ของแอป การพัฒนาโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อการปรับเส้นทางให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และ การสำรวจเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ 
  1. ความยั่งยืน Grab มีการสำรวจทางเลือกต่างๆ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การแนะนำการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า และ การส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

ผลประกอบการเปรียบเทียบบริษัท บริษัท เดลิเวอรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) จำกัด (Foodpanda) และ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด (Grab)

บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด

แหล่งที่มา : Creden.co

บริษัท เดลิเวอรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) จำกัด

แหล่งที่มา : Creden.co

หากเปรียบเทียบระหว่าง 2 บริษัท Delivery สำหรับ Grab Taxi และ Delivery Hero ทางผู้อ่านอาจจะสามารถสังเกตได้ถึงอัตราการเติบโตของบริษัท Delivery Hero นั้นมีการเติบโตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

โดยสาเหตุที่ Delivery Hero ขายกิจการ ก็คือ Delivery Hero มีการเติบโตลดลงตั้งแต่เกิดการ Lock Down จาก COVID-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติเนื่องจากคนไม่สามารถออกมาใช้ชีวิตได้ปกติแถมห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ต่าง ๆ ก็จำกัดจำนวนคนเข้าทำให้คนต้องอยู่บ้านและเลือกสั่งบริการ Delivery

ดังนั้นการมี Growth Rate ที่ต่ำในช่วง COVID-19 จึงเป็นสิ่งที่ไม่ปกติสำหรับบริษัท Delivery เพราะหากเทียบกับ Grab แล้วจะเห็นได้ว่ามีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นมาก หรือหากจะมองอีกแง่หนึ่งคือทาง Delivery Hero โดนแย่งลูกค้าในตลาดหรือ Grab สามารถวางแผนกลยุทธ์ที่ดึงดูดลูกค้าได้ดีกว่านั่นเอง

สรุปทำไม Delivery Hero ถึงเลือกขายกิจการให้ Grab 

จากการวิเคราะห์บริษัท Delivery ที่อยู่ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบริษัทที่อยู่ในตลาดไม่กี่รายที่สามรถซื้อกิจการของ foodpanda ได้ ได้แก่ Grab และ Goto โดยหากดูจากมุมมองทางการตลาดแล้ว Grab น่าสนใจมากที่สุด 

หาก GRAB สามารถเข้าซื้อกิจการของ foodpanda ได้ อาจทำให้บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น สามารถกำหนด หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ รวมถึงสามารถเพิ่มสัดส่วนรายได้ และกำไรของบริษัทได้อีกด้วย ดังนั้นหากซื้อกิจการสำเร็จ ทาง foodpanda มารวมกับ Grab ส่วนแบ่งการตลาดก็จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 70%

ดังนั้นเมื่อเกิดการขายกิจการเรียบร้อย ในประเทศไทยก็จะเหลือบริษัทเกี่ยวกับ Food Delivery ดังนี้

  1. Grab 70%
  2. LINE MAN 24%
  3. อื่น ๆ 6% (Robinhood ,Shopee Food , True food)

จึงแสดงให้เห็นชัดเลยว่าเมื่อมีบริษัทลดลง ทำให้ผู้ให้บริการมีอำนาจต่อรองกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น สามารถกำหนดราคาให้สูงกว่าเดิม ค่าบริการก็จะมีราคาแพงขึ้น โดยมีผลมาจากตัวเลือกในการใช้บริการลดลงหรือเรียกง่าย ๆ ก็คือไม่มีให้เลือกนั่นเอง ผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องยอมรับและใช้บริการที่ราคาสูงจากสงครามนี้

เมื่อมาดูในมุมมองของทาง GRAB เอง บริษัทก็จะมีฐานลูกค้ามากขึ้น ข้อมูล ลักษณะนิสัยการใช้จ่าย การวิเคราะห์ การเก็บสถิติ มีมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน บริษัทอื่นที่อยู่ในส่วนแบ่งการตลาดก็จะเกิดการแข่งขันสูงมากขึ้น เนื่องจาก GRAB มีอำนาจในด้านข้อมูลและการเป็นผู้นำตลาดที่สามารถเล่นในเรื่องของส่วนลดหรือการดึงดูดลูกค้า

Reference

อ้างอิง1, อ้างอิง2, อ้างอิง3, อ้างอิง4, อ้างอิง5, อ้างอิง6,อ้างอิง7, อ้างอิง8, อ้างอิง9, อ้างอิง10

Brainbruch

Analyst คนนึงที่ชื่นชอบการหาความรู้ใหม่ ๆ และอยากจะมาแชร์ให้ทุกคนได้ลองอ่านกันครับ!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *