วิธี Research ข้อมูลแบบสาย Consult

วิธี Research ข้อมูลแบบสาย Consult
วิธี Research ข้อมูลแบบสาย Consult

วิธีการ Research ข้อมูลแบบสาย Consult เขามีวิธีการหาข้อมูลยังไงและเลือกข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์หรือมาใช้อย่างไรให้ตอบโจทย์ในสิ่งที่เราตามหามากที่สุด วันนี้ผู้เขียนอยากจะแชร์ประสบการณ์การหาข้อมูลหรือ Research จากประสบการณ์ตรงในการทำงานกับบริษัท Consult ที่ค่อนข้างใช้ข้อมูลจากทั้ง Primary research และ Secondary research หรือในที่ทำงานเราชอบเรียกกันว่า Desktop research มาเปรียบเทียบกันให้มากที่สุดเพื่อหาข้อสรุปที่ตรงกับโจทย์ที่ลูกค้าต้องการและเป็นจริง ในความเป็นจริงเวลาที่เราหาข้อมูลเรื่องนึง ก็คงใช้เวลาในการหาค่อนข้างนานกว่าจะเอามาเขียนสรุปหรือเรียบเรียงออกมาให้เป็นข้อสรุปที่ดีได้ ดังนั้นผู้เขียนอยากจะมาแชร์ทริคเล็กน้อย เพื่อให้ผู้อ่านได้ลองนำไปใช้กับงานที่ทำอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้คุณประหยัดเวลาในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น

กำหนด Scope การหาข้อมูล

ตอนช่วงเริ่มต้นของการทำ Research อาจจะมีหลาย ๆ คนที่เริ่มต้นจากการค้นหาข้อมูลนั้น ๆ ตรง ๆ หรือเริ่มหาจาก Keywords หรือคำใกล้เคียงเพื่อให้เห็นภาพกว้างของข้อมูล ซึ่งการทำวิธีนี้ก็ไม่ผิด เพราะเราอาจจะต้องเห็นภาพรวมเพื่อเข้าใจในเบื้องต้นก่อนที่จะเจาะลึกลงรายละเอียด

แต่ขั้นตอนหลังจากนั้นคือเราอาจจะอ่านบทความหรือข้อมูลเป็นจำนวนมาก แต่สุดท้ายก็ไม่รู้จะย่อยหรือเริ่มสรุปจากตรงไหน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำก่อนจะ Research ต่อเลยก็คือการ “ตั้งคำถามและสมมติฐานของคำตอบ” โดยปกติทีมเราจะสร้าง Excel ไฟล์ขึ้นมาและทำคอลัมน์แยกให้แต่ละคนไปหาข้อมูลมาและสรุป Key findings หรือเนื้อหาสำคัญที่เจอในบทความนั้น ๆ ข่าว หรือรายงานเพื่อมา Discuss หาความเข้าใจร่วมกันกับคนในทีมว่าจริง ๆ ข้อมูลมันมีแนวโน้มจะไปทางไหนหรือสามารถต่อยอดได้จากทางไหน

ตั้งเวลาในการหาข้อมูล

หลังจากที่เราได้พูดคุยกับคนในทีมที่ไปหาข้อมูลเหมือนเรามาแล้ว เราก็จะได้มุมมองข้อมูลที่ต่างกันออกไป ซึ่งจุดนี้จะทำให้เราได้ทั้งจุดร่วมและจุดที่แตกต่างกัน ทำให้ง่ายต่อการแบ่งงานไปค้นหาต่อว่าใครอยากสืบค้นต่อในส่วนไหน แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เพราะถ้าเปิดกว้างให้คนไปหาข้อมูล เนื่องจากมีข้อมูลใน Internet ที่เยอะมาก หลากหลายแหล่งที่มา ต่อให้หาทั้งวันทั้งคืนก็อาจจะหาไม่จบไม่สิ้น ไม่ได้ข้อสรุป แต่เนื่องจากงานเรามี Deadline ต้องไปต่อหรือนำเสนอลูกค้า ดังนั้นการหาข้อมูลที่ดีและมีประสิทธิภาพในระยะเวลาสั้น ๆ จะมีประโยชน์กว่าการหาข้อมูลได้ในปริมาณเยอะ ๆ แต่ไม่สามารถสรุปได้

หา Stakeholders

นอกจากการตั้งคำถามในการหาข้อมูลและตั้งเวลาแล้ว อีก 1 ตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถหาข้อมูลได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นคือการกำหนด Key Stakeholders หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Research ของเรา อาจจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ Internal กับ External เพื่อแยก Impact ของทั้งสอง Stakeholders ได้อย่างชัดเจน ซึ่งการใช้วิธีนี้จะช่วยทำให้เวลาเรา Research เราจะเข้าในมุมมองของข้อมูลมากขึ้นว่าใครเป็นคนเขียนบทความ ข่าวหรือรายงาน และเขียนถึงใคร ในท้ายที่สุดวิธีนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เพิ่มความแม่นยำให้กับข้อมูลที่หาได้

Validate ข้อมูลตลอดจนกว่าจะส่งงาน

ถ้าหากข้อมูลที่คุณทำการ Research เป็นข้อมูลแนวอัพเดทที่ระยะเวลาการค้นคว้าใกล้เคียงกับปัจจุบันมาก ๆ หลังจากที่เริ่มทำการเขียนสรุปงานไปสักพักแล้ว ควรทำการ Research แบบ Weekly หรือ Daily เพื่อ Track ด้วยว่าข้อมูลที่เราเขียนอยู่ปัจจุบันมันอัพเดทล่าสุดแล้วหรือยัง สิ่งที่ทางทีมเราจะกลัวที่สุดคือการที่มีข้อมูลอัพเดทแบบ 1 วันก่อนที่จะนำเสนอลูกค้า เพราะเวลาที่เรานำเสนออะไรก็ตาม ลูกค้าอาจจะเสิร์ชขณะที่เรานำเสนออยู่และได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกับที่เราหามาได้ ดังนั้นคนในทีมต้องพยายามแบ่งกันลองอัพเดทหรือเสิร์ชหาถี่ ๆ ช่วงก่อนส่งงานเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้อมูลไม่ตรงให้มากที่สุด

มี Ai แล้วใช้ให้เป็นประโยชน์

แน่นอนว่า Ai อาจจะไม่สามารถให้ข้อมูลกับเราแบบละเอียดมากได้ แต่การที่ Ai แนะนำหรือ Guideline คร่าว ๆ ให้เราตั้งแต่เริ่มว่าเราควรเริ่มหาข้อมูลที่ตรงไหน อย่างไร มีข้อสังเกตยังไง จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้ค่อนข้างเยอะมาก เพราะการถาม Ai จะช่วยทำให้เรา Scope การทำงานได้ดีขึ้นและช่วยตั้ง Key questions ให้กับตัวเราเองเวลาหาข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นด้วย

สัมภาษณ์ Expert

บางครั้งการหาข้อมูลผ่าน Google หรือ Desktop research อาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากเป็นข้อมูลแบบ Secondary ทำให้การ Validate ข้อมูลเป็นเรื่องยาก เพระหลาย ๆ บทความก็อาจจะอ้างอิงมาจากแหล่งที่มาเดียวหรือบางครั้งอาจจะไม่ได้ใส่แหล่งที่มาให้เราทราบเลยก็ได้ ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือถามผู้เชี่ยวชาญใน Industry นั้น ๆ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจากประสบการณ์ของคนในอุตสาหกรรมนั้น ๆ จริง ๆ แต่ในบางครั้ง ทีมเราก็เคยสัมภาษณ์คนในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่ได้คำตอบคนละทางกันเลยก็มี ทีมเราจึงแก้ไขปัญหาด้วยการสัมภาษณ์คนเพิ่มเพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงกันมากที่สุดควบคู่ไปกับการทำ Desktop research เพื่อ Validate ข้อมูลด้วย

นำเสนอให้เข้าใจง่ายที่สุด

ความยากด่านสุดท้ายก็คือการทำ Slide เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่เราหรือทีมหาไม่ได้ค่อนข้างเยอะและจำเป็นที่จะต้องใส่เข้าไปเพื่อเป็นอ้างอิงในรายงานหรือการกรอกให้ครบเพื่อให้ข้อมูลไม่ผิดพลาด เราไม่สามารถอัดข้อมูลที่หามาได้ทั้งหมดลงในสไลด์เดียว หรือหากมีการแบ่งสไลด์แล้วแต่ขาดการวางองค์ประกอบที่ดี อาจจะทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนและไม่เข้าใจ Key message ที่เราจะสื่อได้ ดังนั้นทีมจึงต้องช่วยกันคุยและวางแผนสไลด์คร่าว ๆ ก่อน เพราะแต่ละคนได้ข้อมูลมาคนละที่ และแต่ละคนก็จะมีความรู้ในการย่อแหล่งที่มาของตัวเองได้ดีที่สุด ดังนั้นกฎเหล็กของการทำ Research ในสาย Consult คือการทำลูกค้าต้องเข้าใจแบบ High level ได้แม้จะยังไม่มีการนำเสนอจากทางทีม

ตัวอย่างการทำ Research เรื่องรถยนต์ไฟฟ้า

หากดูจากหัวข้ออาจจะมองเป็นภาพกว้างและไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน โดยสิ่งแรกที่ควรทำก็คือการตั้ง Scope ในการ Research ก่อนว่าเราจะศึกษาของประเทศไหนบ้าง อาจจะลองดูจากเคสประเทศที่มีจำนวนยอดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสูงที่สุดหรือประเทศที่มีมูลค่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าสูงที่สุดเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างความพร้อมของประเทศนั้น ๆ ในการใช้รถไฟฟ้า แล้วค่อยเจาะลึกลงไปที่พฤติกรรมของผู้ใช้งานในประเทศนั้น ๆ

เมื่อกำหนด Scope ของประเทศในการศึกษาข้อมูลได้แล้ว หลังจากนั้นก็ควรสร้าง Excel sheet ขึ้นมาเพื่อให้คนในทีมใส่รายละเอียดที่ตัวเองหาข้อมูลได้ใส่รายละเอียดโดยรวมและสรุปเป็น Bullet point ถึงใจความสำคัญที่ได้จากแหล่งที่มานั้น ๆ สิ่งสำคัญคือควรมีการแบ่ง Category สำหรับข้อมูลที่หามาด้วยว่าเกี่ยวข้องกับ Research ของเราอย่างไร เช่น อาจจะแบ่งเป็นโครงสร้างของประเทศ พฤติกรรมคนใช้รถยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า หลังจากนั้นก็กำหนดเวลาให้แต่ละคนในทีมไปหาข้อมูลและสรุปเพื่อให้คนในทีมได้อ่านในสิ่งที่แต่ละคนหามาก่อนที่จะมาคุยหารือกันเพื่อทำ Research ต่อ

ในบางครั้งบางประเทศอาจจะหาข้อมูลได้ยาก ทีมก็ควรเริ่มวิเคราะห์ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อจะได้ลองเปลี่ยน Keyword ให้ดียิ่งขึ้น เช่น ภาครัฐบาล ภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม มีมุมมองต่อรถยนต์ไฟฟ้าหรือมีความเกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างไรในอนาคต 5 ปี 10 ปี หากลองหาภาษาไทยไม่เจอ แนะนำว่าควรลองปรับเปลี่ยนเป็นการหาภาษาอังกฤษจะช่วยทำให้สามารถหาข้อมูลได้กว้างยิ่งขึ้น

พอหาข้อมูลได้ส่วนหนึ่งแล้วก็ควรเริ่มทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในประเทศนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลและมุมมองเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้ามาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เราทำการ Desktop research ว่าตรงกันมากน้อยแค่ไหน และข้อมูลจากทางฝั่งไหนมีความน่าเชื่อถือมากกว่ากัน สิ่งสำคัญของพาร์ทนี้คือการที่เราอาจจะได้คำยืนยันมาจากผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็ไม่ควรเชื่อทั้งหมด ควร Validate หรือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจนกว่าจะส่งถึงมือลูกค้า

เมื่อได้ข้อมูลที่ตรงกันกับหลายแหล่งที่มาแล้วก็สามารถนำมาต่อยอดเป็นสไลด์เตรียมนำเสนอให้กับลูกค้า ควรทำให้เข้าใจง่ายที่สุด โดยปกติทีมเราจะลองนำเสนอให้กับหัวหน้าทีมดูก่อนที่จะเสนอลูกค้าเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ถ้าเป็นคนที่ไม่เคยเห็นสไลด์หรือไม่มีความเข้าใจในโปรเจคมาก่อน จะสามารถทำความเข้าใจสไลด์ของเราได้ไหม

สุดท้ายนี้ในปัจจุบันมีเครื่องมือ Ai ในการช่วยทำงานค่อนข้างมาก หากเราไม่รู้จะเริ่มตรงไหนจริง ๆ สามารถลองถาม Ai หรือ Chat gpt ก่อนเพื่อให้เราพอทราบว่าจะสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากตรงไหนบ้าง จะทำให้เราประหยัดเวลาในการทำ Research ได้มากยิ่งขึ้น

สรุป

วิธีการ Research ข้อมูลแบบสาย Consult ก็อาจจะไม่ได้ต่างไปจากการทำ Research ทั่ว ๆ ไป แต่เนื่องจากผู้เขียนคิดว่าบางท่านหรือบางทีมอาจจะกำลังประสบปัญหา หาข้อมูลไม่ได้ หาข้อมูลได้เยอะแต่ไม่รู้จะสรุปยังไง ดังนั้นจึงมาแชร์ประสบการณ์ที่ทีมของตัวเองทำการ Research ให้ฟัง หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ

Brainbruch

Analyst คนนึงที่ชื่นชอบการหาความรู้ใหม่ ๆ และอยากจะมาแชร์ให้ทุกคนได้ลองอ่านกันครับ!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *