ช่วง “Dry January” แบรนด์เหล้าเบียร์ พากันเจาะตลาด เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

ช่วง “Dry January” แบรนด์เหล้าเบียร์ พากันเจาะตลาด เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

ปัจจุบันหลายแบรนด์ที่ขายแอลกอฮอล์อยู่ เริ่มหันมาผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นค็อกเทลไร้แอลกอฮอล์ของ Sipsmith หรือ เบียร์ไร้แอลกอฮอล์ของ Heineken เป็นต้น เพราะว่าล่าสุดปลื้มได้เห็นว่าแบรนด์เหล่านี้พยายามที่จะหาจุดขายในช่วง “Dry January” ก็เลยออกมาทำแคมเปญโฆษณาเจาะตลาด เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ หวังดึงดูดผู้คนและดึงยอดขายให้กลับมาพุ่งอีกครั้งนั่นเองค่ะ เดี๋ยวปลื้มจะมาเล่าให้ฟังว่าแต่ละแบรนด์ใช้วิธีไหนในการโปรโมตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์กันบ้าง

แต่ก่อนอื่นมีใครคุ้นๆ กับคำว่า “Dry January” กันบ้างคะ มันคือการรณรงค์ให้คนอังกฤษงดเหล้าในเดือนมกราคม ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับบ้านเราเหมือนกันนะคะ ที่มีการรณรงค์ให้งดเหล้าเข้าพรรษา แต่ถึงอย่างไรก็ตามแบรนด์ที่ขายแอลกอฮอล์ต่างได้รับผลกระทบไปมิใช่น้อยเลยค่ะ แน่นอนว่ายอดขายต้องลดลงในช่วงที่มีการรณรงค์ รวมถึงสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น ในประเทศไทยเองก็มีการประกาศงดขายเหล้าขายแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกันค่ะ

แบรนด์เบียร์ Heineken 

สำหรับแบรนด์เบียร์อย่าง Heineken ที่เน้นขายเอกลักษณ์ของขวดสีเขียว ก็ได้เปิดตัวแคมเปญระดับโลกเพื่อเจาะเข้าตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่กำลังเติบโตในงานสังคม พร้อมทั้งรับมือกับช่วง Dry January นี้ด้วย 

ซึ่งโฆษณาล่าสุด แบรนด์ได้สื่อสารว่าเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ Heineken 0.0 เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เพลิดเพลินกับช่วงเวลาแห่งการดื่มทางสังคมร่วมกัน ไม่ว่าจะมีแอลกอฮอล์หรือไม่ก็ตาม ผ่านแคมเปญ “Cheers with no alcohol. Now you can” ที่แสดงให้เห็นว่าคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์จะไม่ถูกกีดกันให้ร่วมเข้าสังคมอีกต่อไปเพราะ Heineken 0.0  เป็นตัวเลือกให้คนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ได้รับโอกาสในการเข้าสังคมอย่างสบายใจ

ในขณะเดียวกัน Bram Westenbrink ผู้อำนวยการแบรนด์ Heineken กล่าวว่า “ เขาพยายามหาทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คนนำมาสังสรรค์ในช่วงมื้อเย็น ยิ่งโดยเฉพาะช่วง Dry January ทำให้กลุ่มเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์เนี่ยกลายเป็นกระแสในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Heineken เองต้องการที่จะอยู่ในระดับแถวหน้าของเทรนด์นั้น เพราะหลังจากที่เขาเปิดตัว Heineken 0.0 ไปในปี 2560  จนถึงปัจจุบันเขาบรรลุเป้าหมายในการขายตลาดกว่า 100 แห่ง แล้วตอนนี้เขาพยายามที่จะดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาอยู่ในสายนี้มากขึ้น ”

โดยแคมเปญนี้เปิดตัวทั่วโลกตลอดปี 2565 ในประเทศต่างๆ อาทิ ออสเตรีย บราซิล แคนาดา โครเอเชีย อิตาลี โปแลนด์ สเปน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้นค่ะ

แบรนด์เหล้า Sipsmith

ช่วง "Dry January" แบรนด์เหล้าเบียร์ พากันเจาะตลาด เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

ค็อกเทลไร้แอลกอฮอล์ของ Sipsmith ก็ออกมาโปรโมตแรงไม่แพ้กัน โดยการบริการเสิร์ฟค็อกเทลที่ไม่มีแอลกอฮอล์ถึงหน้าบ้าน และตลอดเดือนมกราคม “Dry January” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี้ แบรนด์ต้องการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคได้มีช่วงเวลาพิเศษ หลังจากที่ผ่านช่วงเวลาที่ไม่ค่อยดีนักจากโรคระบาดครั้งใหญ่นี้มา

Sipsmith ก็เลยจัด “FreeGlider swancierge service” เป็นบริการคอนเซียร์จสุดหรูฟรีทั่วประเทศที่ให้บริการค็อกเทลไร้แอลกอฮอล์แสนอร่อยที่ชงโดย Bartender มืออาชีพ ทั้งนี้ก็แล้วแต่ข้อจำกัดของเจ้าของบ้านด้วยว่าที่ต้องการให้แบรนด์ทำค็อกเทลข้างนอกบ้าน หรือในโซนห้องครัวภายในบ้านได้

โดยเคมเปญนี้ Sipsmith ผู้ที่สนใจทั่วสหราชอาณาจักรจะต้องส่งชื่อเข้ามา เพื่อที่แบรนด์จะสุ่มเลือกผู้โชคดี 1 คนในแต่ละวันที่จะได้รับประสบการณ์การดื่มค็อกเทลไร้แอลกอฮอล์ฟรีที่บ้านของตัวเอง 

แบรนด์เบียร์ Lucky Saint 

Lucky Saint เป็นผู้ผลิตเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งล่าสุดนี้ได้รับรางวัลเบียร์ปลอดแอลกอฮอล์ระดับพรีเมียม และได้เปิดตัวในฐานะ “เบียร์ที่ปราศจากแอลกอฮอล์อย่างเป็นทางการของการรณรงค์งดเหล้า Dry January นี้” โดยเขาทุ่มทำแคมเปญจัด Out of Home และได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สัญจรบนไซต์ Clear Channel และ Ocean Outdoor ทั่วสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีการขึ้นปกนิตยสาร The Times และ Sunday Times อีกด้วย

จะเห็นว่าทั้ง 3 แบรนด์นี้ได้มีการลงมาเล่นในตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อย่างหนักและพยายามทำการตลาดเพื่อให้แบรนด์ตัวเองเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น และปลื้มเชื่อว่ายังมีแบรนด์แอลกอฮอล์หลายแบรนด์ที่เริ่มจะขยับตัวเอง เพื่อแตกไลน์โปรดักส์ให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มยอดขายในช่วงวิกฤตนี้มากขึ้นค่ะ 

หากเรามองในแง่ของโอกาสในการขายสินค้าที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระยะเวลาช่วงโรคระบาดที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ด้วยข้อจำกัดในการจำหน่าย ทำให้แบรนด์เหล่านี้ต้องดิ้นรนในการทำการตลาดเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มโปรดักส์ใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ซึ่งเคสเหล่านี้มีความน่าสนใจในการเอามาปรับใช้กับการตลาดในแบรนด์อื่นๆ นะคะ เพราะขนาด แอลกอฮอล์เหล้าหรือเบียร์ ที่มีข้อจำกัดในการทำการตลาดอยู่แล้วจะต้องเผชิญกับวิกฤตเหล่านี้อีก ยังสามารถพลิกวิกฤตและสร้างโอกาสกระตุ้นยอดขาย โดยการหาช่องว่างของธุรกิจและดึงแบรนด์ตัวเองกลับมาได้

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source : Heineken Sipsmith Lucky Saint

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ทุกวันนี้ใช้งบยิงแอดเดือนละเท่าไหร่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอ 1 คำถามให้เอาไปทำโพลแชร์ลงหน้าเพจหน่อยนะ

อยากรู้ว่าทุกวันนี้คุณใช้เงินยิงแอดโฆษณาเดือนละประมาณเท่าไหร่ครับ ?

ทุกวันนี้ใช้งบยิงแอดเดือนละเท่าไหร่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอ 1 คำถามให้เอาไปทำโพลแชร์ลงหน้าเพจหน่อยนะ

อยากรู้ว่าทุกวันนี้คุณใช้เงินยิงแอดโฆษณาเดือนละประมาณเท่าไหร่ครับ ?