Privacy Actives ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ใส่ใจ Data Privacy

Privacy Actives ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ใส่ใจ Data Privacy

ในยุค Data-Driven Age ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่หลายคนเริ่มใส่ใจว่าบริษัทหรือแบรนด์ต่างๆ เอา Data ของพวกเขาไปใช้งานอย่างไร และไม่ใช่แค่ใช้งานรวมไปถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นกังวลถึงความปลอดภัยในการเก็บรักษาว่าแบรนด์ต่างๆ นั้นดูแลข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาเป็นอย่างดีสมกับที่วางใจหรือไม่ ก่อให้เกิด Segmentation ใหม่ที่ชื่อว่า Privacy Actives จากรายงาน Data Privacy ของ Cisco ครับ

ไม่ว่ากฏหมายข้อบังคับเรื่อง Data ต่างๆ จากเริ่มทยอยเข็นออกมามากขึ้นทั่วโลก ทั้ง GDPR หรือ PDPA ไปจนถึง CCPA ก็ตาม ทั้งหมดคือการออกกฏระเบียบข้อบังคับที่บอกไปถึงบรรดาภาคธุรกิจว่าแต่ละคนต้องใส่ใจเรื่อง Data Privacy & Secuerity เป็นอย่างดีถ้าไม่อยากถูกปรับเป็นเงินมหาศาลในทางกฏหมาย

แต่ในขณะเดียวกันเรื่อง Data Privacy & Secuerity นี้ก็ส่งผลต่อเรื่องภาพลักษณ์หรือ Branding ไม่น้อยเช่นเดียวกัน แบรนด์ที่ดีในวันนี้ต้องทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่ไว้วางใจว่าพวกเขาจะเอา Consumer Data ไปใช้ตามที่ขออนุญาตไว้อย่างตรงไปตรงมา และให้ผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของ Data สามารถเพิกถอนการอนุญาตที่เคยให้ไว้ได้ง่ายๆ และข้อสุดท้ายคือพวกเขาคาดหวังว่าเมื่อวางใจให้ Data ไปจะต้องไม่ปล่อยให้รั่วไหลถูกแฮกหรือเจาะออกไปได้ง่ายๆ

วันนี้ผมจะพาพวกคุณมารู้จักผู้บริโภคกลุ่มใหม่ในยุค Data ที่ถูกนิยามว่าเป็น Privacy Active ซึ่งพร้อมจะเปลี่ยนแบรนด์ทันทีถ้ารู้สึกว่าคุณไม่โปร่งใสในเรื่อง Data กับพวกเขาครับ

Privacy Active ที่มาพร้อมกับ 3 ประเด็นหลักที่ชี้วัดว่าใครใส่ใจในเรื่อง Privacy

รายงานเรื่อง Personal data จาก Cisco ผู้บริโภคยุค Data กลุ่มใหม่ Privacy Actives พร้อมเปลี่ยนแบรนด์ถ้าละเลย Data Privacy , GDPR หรือ PDPA

จากการสำรวจของ Cisco บอกให้รู้ว่าผู้บริโภคยุคใหม่ในวันนี้มีมากถึง 32% ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Privacy Actives ซึ่งวัดจาก 3 สิ่งหลักที่พวกเขาให้ความสำคัญร่วมกัน ประกับด้วยความใส่ใจในเรื่องของความเป็นส่วนตัว ความพร้อมที่จะลงมือเปลี่ยนแปลงทำอะไรบางอย่าง และสุดท้ายพวกเขาเคยเปลี่ยนแบรนด์มาแล้วไม่ใช่แค่พูดว่าจะเปลี่ยน

จากตัวเลขทั้งหมดจะเห็นว่าผู้บริโภคยุคใหม่ในวันนี้ ใส่ใจเรื่อง Privacy มากถึง 84% อีก 80% บอกว่าถ้าแบรนด์ไหนหรือธุรกิจใดทำให้พวกเขารู้สึกว่าเอา Data ไปใช้แบบน่าสงสัยไม่ตรงไปตรงมา ก็ยินดีที่จะลงมือทำอะไรบางอย่างเช่นการเปลี่ยนแบรนด์ในวันหน้ามากถึง 80%

แต่ที่น่าสนใจว่านั้นคือทั้งหมดนี้มี 48% ที่บอกว่าเคยเปลี่ยนแบรนด์มาแล้วด้วยเหตุผลเรื่อง Privacy เมื่อนำทั้ง 3 หัวข้อมารวมกันพบว่ามีผู้บริโภคที่จัดอยู่ในกลุ่ม Privacy Actives ถึง 32% ที่นอกจากจะใส่ใจเรื่อง Privacy แล้วยังพร้อมลงมือทำถ้าแบรนด์ไหนไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ครับ

ทัศนคติของกลุ่ม Privacy Actives ที่มีต่อเรื่อง Data Privacy

รายงานเรื่อง Personal data จาก Cisco ผู้บริโภคยุค Data กลุ่มใหม่ Privacy Actives พร้อมเปลี่ยนแบรนด์ถ้าละเลย Data Privacy , GDPR หรือ PDPA

เมื่อถามถึงทัศนคติหรือ Attitudes ของกลุ่ม Privacy Actives พบว่าผู้บริโภคยุค Data กลุ่มนี้รู้สึกว่าสิ่งที่ธุรกิจทำกับ Data พวกเขาก็เป็นภาพสะท้อนถึงสิ่งที่ธุรกิจทำกับพวกเขาเช่นกันถึง 90%

เช่น ถ้าธุรกิจไม่ได้ใส่ใจในเรื่องการดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาเป็นอย่างดี หรือไม่ปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ธุรกิจดังกล่าวก็ไม่น่าจะจริงใจกับพวกเขา เรียกได้ว่าเรื่อง Data Privacy เป็นภาพสะท้อนของแบรนด์ในยุค Data ได้เป็นอย่างดีครับ

และอีก 91% ที่คิดว่าพวกเขาจะไมาซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์หรือธุรกิจที่พวกเขารู้สึกว่ามีการบริการจัดการ Data ของพวกเขาอย่างไม่น่าไว้วางใจ เช่น ขออย่างเอาไปใช้งานอย่าง พวกเขาจะรู้สึกไม่ไว้ใจและไม่ใช้เงินกับคุณอีกต่อไป เท่ากับว่านิยามของการสร้างแบรนด์จะเริ่มเปลี่ยนไปอีกมาก ในยุคที่คนยุคใหม่ใส่ใจกับเรื่อง Data เพิ่มเติมจากการใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมหรืมนุษยธรรมอื่นๆ ที่ผ่านมาครับ

GDPR หรือ PDPA อาจจะไม่ได้ทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกมั่นใจว่า Data ของพวกเขาจะปลอดภัยอย่างที่ควรจะเป็น

รายงานเรื่อง Personal data จาก Cisco ผู้บริโภคยุค Data กลุ่มใหม่ Privacy Actives พร้อมเปลี่ยนแบรนด์ถ้าละเลย Data Privacy , GDPR หรือ PDPA

เมื่อดูจากภาพนี้ที่แสดงการสำรวจความคิดเห็นหรือความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อกฏหมายข้อบังคับเรื่อง Data อย่าง GDPR ที่ถูกนำไปปฏิบัติใช้อย่างแพร่หลายนั้นจะเห็นว่า ยังมีกลุ่มคนอีกมากที่ไม่ได้ตระหนักถึงข้อดีของ GDPR อย่างที่ควรจะเป็น

บางประเทศอาจรู้สึกไม่น้อยว่ากฏระเบียบข้อนี้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาปลอดภัยขึ้น แต่ในขณะเดียวกันในบางประเทศก็ยังไม่ค่อยรู้สึกว่า GDPR จะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาถูกปฏิบัติอย่างที่ควรจะเป็นเช่นเดียวกัน

นั่นอาจจะบอกให้เรารู้ว่ากฏหมายข้อบังคับต่างๆ อาจจะเป็นแค่เสือกระดาษในความรู้สึกของผู้คนทั่วโลกจำนวนมาก อาจจะเนื่องด้วยความล้มเหลวของภาครัฐในการบังคับใช้กฏหมายต่างๆ กับบริษัทยักษ์ใหญ่ในอดีตที่ผ่านมาแบบไม่ค่อยเห็นผล ก็คงจะไม่แปลกถ้าคนมากมายจะรู้สึกว่ากฏหมายส่วนใหญ่ไม่ได้มีไว้ปกป้องพวกเขาจริงๆ สุดท้ายแต่ละคนก็อาจจะต้องหาทางดิ้นรนกันไป

แต่นั่นก็บอกให้รู้อีกเช่นกันว่าภาคธุรกิจต่างๆ ต้องยกระดับความน่าเชื่อถือในเรื่องนี้ขึ้นและทำให้คนรู้สึกว่าแบรนด์ตัวเองใส่ใจกับเรื่อง Privacy มากกว่าแค่ที่กฏหมายบังคับ นั่นจะทำให้แบรนด์คุณกลายเป็นที่รู้จักและได้ใจของผู้บริโภคยุค Data ไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่เรียกว่า Privacy Actives ครับ

ผู้บริโภคยุค Data รู้สึกเรื่อง Data Privacy เป็นหน้าที่ของเอกชนมากกว่าภาครัฐ

รายงานเรื่อง Personal data จาก Cisco ผู้บริโภคยุค Data กลุ่มใหม่ Privacy Actives พร้อมเปลี่ยนแบรนด์ถ้าละเลย Data Privacy , GDPR หรือ PDPA

เมื่อสำรวจลึกลงไปผู้บริโภคยุค Data กลับรู้สึกว่าภาครัฐควรเป็นพระเอกหลักในการจัดการเรื่อง Data Privacy แค่ 45% นั่นหมายความว่าผู้บริโภควันนี้กลับมองว่าเรื่องนี้ควรเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนเสียมากกว่า

ในแง่หนึ่งเพราะข้อมูลของเราล้วนอยู่กับภาคธุรกิจเสียยิ่งกว่าภาครัฐ ตั้งแต่ข้อมูลการซื้อขายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ดังนั้นไม่แปลกใจว่าทำไมพวกเขาถึงมองว่าเรื่องนี้อาจไม่ใช่หน้าที่หลักของภาครัฐที่จะต้องเป็นผู้ลงมารับผิดชอบเป็นหลักครับ

เมื่อดูถึงความรู้สึกที่มีต่อกฏหมายในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลหรือ GDPR ก็พบว่ากว่า 55% บอกว่า GDPR นั้นทำให้พวกเขารู้สึกดีและมั่นใจปลอดภัยขึ้น แต่ก็ยังมีอีก 40% ที่รู้สึกเฉยๆ และมี 5% ที่บอกว่า GDPR ไม่ได้ช่วยทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจหรือปลอดภัยขึ้นแต่อย่างไร

ความท้าทายเรื่อง Data Privacy จากความรู้สึกของผู้บริโภคยุค Data

รายงานเรื่อง Personal data จาก Cisco ผู้บริโภคยุค Data กลุ่มใหม่ Privacy Actives พร้อมเปลี่ยนแบรนด์ถ้าละเลย Data Privacy , GDPR หรือ PDPA

ยังมีงานอีกมากที่นักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ ต้องทำ เมื่อผู้บริโภคยุค Data แค่ 43% เท่านั้นที่รู้สึกว่าวันนี้พวกเขาสามารถควบคุม Data ของตัวเองได้อย่างที่ควรจะเป็น

73% บอกว่ายากที่จะไปสืบรู้ว่าบริษัทต่างๆ ที่ได้ Data พวกเขาไปนั้นเอาไปใช้งานต่ออย่างไรจริงๆ กันแน่ ใช้ตามที่บอกไว้จริงหรือ?

49% บอกว่าถ้าจะใช้บริการใดๆ ต้องถูกบังคับให้เก็บ Data ไปแม้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริการที่ใช้เลยก็ตาม

46% รู้สึกว่าข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Personal data ของพวกเขาน่าจะพร้อมให้เอาไปใช้งานอยู่แล้วในวันนี้

41% บอกว่าไม่ไว้ใจว่าบริษัทต่างๆ ที่เอา Personal data ของพวกเขาไปจะปฏิบัติตามกฏหมายหรือข้อบังคับที่ระบุไว้อย่างจริงจัง

41% บอกว่าไม่เข้าใจว่าตัวเลือกในการใช้บริการต่างๆ ที่ต้องกดยินยอมให้ Personal data ไปนั้นคืออะไร

ถ้าให้สรุปภาพรวมในส่วนนี้สั้นๆ สำหรับผมๆ มองว่าเพราะผู้บริโภคยุค​ Data ต่างรู้สึกว่า Data นั้นเป็นอะไรที่ไม่เหมือนอย่างอื่น เป็นแค่ข้อมูลที่ไม่มีตัวตน ทำให้ไม่แน่ใจว่าเมื่อถูกเก็บ Personal data ไปแล้วจะอย่างไรต่อ ถ้าขอให้ลบจะลบจริงไหม ก็เหมือนกับให้ไปแล้วก็ยากที่จะทวงคืนในสิ่งนั้นได้

สรุป Privacy Actives ผู้บริโภคยุค Data ที่ใส่ใจกับเรื่อง Data Privacy

เมื่อเรื่อง Data ไม่ใช่เรื่องของ IT หรือ Technology อีกต่อไป เมื่อ Data หมายถึงความเชื่อใจและไว้วางใจ นั่นย่อมส่งผลกระทบต่อการสร้าง Branding อย่างมากในศตวรรษที่ 21 นี้

กว่า 32% ของผู้บริโภคยุค Data ที่พร้อมจะเปลี่ยนใจจากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งในทันทีถ้าทำให้พวกเขาไม่ไว้ใจว่า Personal data ที่ให้ไปจะไม่ปลอดภัยหรือปล่อยให้เกิดอัตรายขึ้นมา

ปัญหาการทำตามสัญญาของการใช้งาน Personal data ของลูกค้าสำคัญมาก ปัญหาการให้สิทธิในการควบคุมและเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าก็สำคัญยังไม่แพ้กัน

รายงานฉบับนี้ของ Cisco ยังไม่ได้พูดถึงการรั่วไหลของ Data ที่เป็นข่าวและคดีความต่างๆ มากมาย เอาไว้ในวันหน้าผมจะหยิบเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังต่ออีกครั้ง ว่านักการตลาดอย่างเราจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรให้ผู้บริโภคยุคใหม่วางใจในแบรนด์เราและกล้าที่จะมอบ Data ให้กับเราเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายมากขึ้นครับ

อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวกับ Data Privacy และ Personal Data ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/?s=data+privacy

รายงานเรื่อง Personal data จาก Cisco ผู้บริโภคยุค Data กลุ่มใหม่ Privacy Actives พร้อมเปลี่ยนแบรนด์ถ้าละเลย Data Privacy , GDPR หรือ PDPA

ดาวน์โหลดไฟล์ Cisco 2019 Consumer Privacy ไปศึกษาใช้งานต่อ > https://bit.ly/3sSd50O

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน