Reward Travel Marketing การตลาดแก้ปัญหาเดียวแต่ได้ถึงสองของปาเลา

Reward Travel Marketing การตลาดแก้ปัญหาเดียวแต่ได้ถึงสองของปาเลา

เรามาในฝั่งของ Travel Marketing หรือการทำการตลาดสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวกันบ้างนะครับ ในวันนี้ผมจะขอมาเล่าสู่กันฟัง ในกณณีของ ‘เกาะปาเลา’ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นราวแปดเท่าเกือบทุกปี จนเรียกได้ว่าเกิดสภาวะ Overtourism หรือ ภาวะที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากเกินไปจนทำลายสิ่งแวดล้อม

(ถ้าใครนึกไม่ออกให้คิดถึงข่าวที่มีการแอบล่าสัตว์สงวน นักท่องเที่ยวการเหยียบปะการัง ให้อาหารผิดประเภทแก่สัตว์ป่าอะไรทำนองนี้ก็ได้ครับ ยิ่งมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากเคสแบบนี้ก็มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นอีกมาเลยครับ)

มาดูกันครับว่ากลยุทธ์แก้ไขปัญหานี้ โดยไม่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ทั้งยังสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมเอาไว้ได้อย่างยั่งยื่น ด้วยความคิดสร้างสรรค์ในการทำการตลาดของสาธารณรัฐปาเลาเป็นอย่างไรกันบ้าง

Travel Marketing : Palau Legacy Project

ปาเลาเป็นประเทศเกาะขนาดเล็ก (เล็กกว่าสิงค์โปรไปอีกครับ) เป็นหมู่เกาะบนมหาสมุทรแปซิฟิคข้างประเทศฟิลิปปินส์ ประชากรในประเทศนี้ค่อนข้างน้อยมากครับราว 2 หมื่นกว่าคนเท่านั้นเองครับ

ด้วยความที่เป็นประเทศขนาดเล็กและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและทะเลที่ค่อนข้างสวยงามมาก ที่นี่จึงเป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวจากหลายประเทศที่ต้องการพักผ่อนและสัมผัสกับธรรมชาติครับ โดยเฉพาะเรื่องของการดำน้ำที่ถูกเรียกว่า สวรรค์ของนักดำน้ำจากทั่วทุกมุมโลกเลยก็ว่าได้ครับ

ภาพประกอบจาก Diversiondivetravel

อย่างที่ผมได้เกริ่นไปในช่วงต้น การแก้ไขปัญหานั้นเริ่มต้นจากการที่ ทางการท่องเที่ยวของสาธารณรัฐปาเลา หรือ Palau Visitors Authority พบว่า การท่องเที่ยวในประเทศที่เติบโตสูงขึ้น กำลังทำให้เกิดภาวะ Overtourism ที่จะทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกาะปาเลาะมีอยู่ไปด้วยในเวลาเดียวกันอย่างน่าเฝ้าระวัง

เพราะอาจทำให้ไม่เหลือธรรมชาติที่ดีที่จะทำให้คนในประเทศสามารถอยู่ร่วมได้รวมไปถึงการไม่สามารถดึงดูดให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วในอนาคต

จึงมีโจทย์ที่จะต้องแก้ไขปัญหานี้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของเกาะไว้ โดยมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยที่ควรระวังที่สำคัญ คือต้องไม่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจลดลงไปด้วย

ในเวลาเดียวกันนั้นเองเป็นช่วงที่มีการวิจัยตลาดเผยข้อมูลว่า กว่า 90 % ของนักท่องเที่ยวมีความต้องการสัมผัสสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม รวมไปถึงได้เรียนรู้วิธีการอนุรักษ์และปกป้องสถานที่ที่ไประหว่างการเข้าพักไปด้วย

แถมยังพบว่ากว่า 87% ของคนทั่วไปมักจะใช้ช่วงวันหยุดมากขึ้นในจุดหมายปลายทางที่มีการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมอีกด้วย

เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว จึงเกิดเป็นความคิดและสร้างสรรค์ออกมาในโปรเจ็คที่ชื่อว่า Palau Legacy Project โดยให้นักท่องเที่ยวสามารถนำคะแนน Reward มาแลกเพื่อรับสิทธิ์ในการทำกิจกรรมต่างๆภายในเกาะเพื่อเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยว ซึ่งหากไม่ได้ร่วมโปรเจ็คนี้จะไม่สามารถเข้าไปได้ครับ

(*ชื่อเรียกของคะแนนคือคำว่า Ol’au’ ในภาษาปาเลามีความหมายว่าเรียกเพื่อนเพื่อนเชิญเข้ามาในพื้นที่ของเรา)

โดยคะแนนนั้นสามารถเก็บสะสมได้ในแอพพลิเคชั่น Ol’au Palau ด้วยกิจกรรมที่เป็นการชดเชย Carbon Footprint ที่เรามีส่วนร่วมในการทำลายสิ่งแวดล้อมไป

ยกตัวอย่างเช่น
การใช้ครีมกันแดดที่ปลอดภัยต่อแนวปะการัง การทำธุรกิจที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม การเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเข้าไปกินอาหารจากแหล่งอาหารท้องถิ่น การเข้าร่วมโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รวมไปถึงการเลี่ยงการใช้พลาสติกแบบ Single use

ซึ่งกิจกรรมที่ทางการท่องเที่ยวของปาเลานำเสนอนั้นล้วนแล้วเป็นการท่องเที่ยวแนว Unseen ที่จะสร้างประสบการณ์ในการท่องเที่ยวในเกาะปาเลาได้อย่างดี

ไม่ว่าจะเป็น การได้สำรวจสถานที่เก่าแก่รวมถึงสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ในส่วนต่างๆของเกาะ การเยี่ยมชมหมู่บ้านท่องถิ่น การพบปะผู้เฒ่าในท้องที่ การกินอาหารกลางววันกับชุมชน การได้เดินตามเส้นทางลับหรือว่ายน้ำในถ้ำที่ซ่อนอยู่ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ที่หาได้ยาก ทั้งยังได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติและวัฒนธรรมอีกด้วย

Travel Marketing ที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ผมมองว่าเป็นการ Personalize ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มาท่องเที่ยวในเกาะปาเลาได้อย่างชัดเจนตามข้อมูลที่ได้รับมาที่นำมาเพิ่ม Context จากจุดแข็งที่เกาะปาเลามีได้อย่างถูกจุดมากๆครับ

การที่กลุ่มเป้าหมายหลักของเราคือ นักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติอยู่แล้ว การเพิ่มกิมมิคลูกเล่นให้มีกิจกรรมได้ร่วมสนุกและเปิดประสบการณ์ไปด้วย โดยสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาธรรมชาติยิ่งเป็นส่วนที่น่าดึงดูดและทำให้เกิดความประทับใจในหลายๆส่วนเลยครับ

นำไปสู่การออกแบบ Customer Experience ในตัวกิจกรรมที่ทางเกาะปาเลาให้คนที่มีคะแนนสามารถ Access ได้ยังมีความน่าสนใจและยังทำให้นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้อย่างลื่นไหลและใกล้ชิดกับปาเลามากยิ่งขึ้นไปอีก

เกิดเป็นความรู้สึกพิเศษที่น่าจะทำให้เกิดความประทับใจในการท่องเที่ยวที่เกาะปาเลาแห่งนี้ไม่รู้ลืม ดังคำกล่าวในแคมเปญที่ว่า Arrive as a visitor and leave as a friend.

และในส่วนท้ายที่สุดความประทับใจเหล่านี้ยังสามารถูกเอาไป Review หรือพูดปากต่อปากกันเชิญชวนให้ไปเที่ยวที่ปาเลาและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติในครั้งนี้ได้อีกด้วย

บทสรุป

ไม่ใช่เรื่องบ่อยนักที่จะเห็นการตลาดในเชิงของการต้องเที่ยวที่เป็นแคมเปญในเชิงความคิดสร้างสรรค์แบบนี้ เท่าที่ผมนึกออกก็จะเป็นกิมมิคการท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น ที่มีการจำหน่ายสินค้าเฉพาะท้องถิ่น กาชาปองหรือของที่ระลึกเฉพาะท้องถิ่น รวมไปถึงการ Stamp ลายภาพตามจุดต่างๆเพื่อเช็คอินเป็นหลักฐานว่าเราเคยมาเที่ยวที่นี่แล้ว

หรือตาม สวนสนุกต่างๆที่หาก Stamp ตามจุดต่างๆได้ครบจะสามารถนำไปแลกของที่ระลึกได้ เพื่อเป็นตัวดึงดูดให้นักท่องเที่ยวร่วมสนุกที่จะได้ไปในจุดต่างๆที่ได้ถูกวางเอาไว้จนครบถ้วน

ทั้งนี้สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการสนับสนุนจากภาครัฐและการเห็นชอบจากภาคเอกชนร่วมมือกันด้วยนะครับ

ในกรณีของเกาะปาเลานี้ผมมองว่า เป็นการนำวิธีแก้ไขปัญหามาแก้สิ่งที่เกิดขึ้นที่ยังคงส่งเสริมผลประโยชน์ให้กับตนเองอยู่ได้อย่างน่าสนใจ ที่คิดว่าเป็นแก่นหลักในการคิดแก้ไขปัญหาโดยไม่ทำให้เราต้องเสียต้นทุนในการทำธุรกิจเพิ่มเติมแต่ยังสามารถต่อยอดประโยชน์จากมันที่สามารถนำมาปรับใช้กับแบรนด์เราได้อย่างสร้างสรรค์เลยทีเดียวครับ

สำหรับใครที่สนใจในแคทเปญนี้สามารถคลิกไปดูเพิ่มเติมได้ที่ https://palaupledge.com/

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับเทรนด์การท่องเที่ยวของการตลาดวันละตอนได้ที่ คลิก

Ref.
https://www.thedrum.com/creative-works/project/hosthavas-palau-legacy-project-palau-pledge
https://campaignbrief.com/the-palau-legacy-project

Watcharapon Kittipodpong

ลงมือเขียนเพื่อทบทวน และเข้าใจตัวเอง คนที่สนใจ Marketing คนหนึ่งที่อยากส่งต่อเหมือนที่ได้รับมา หวังว่าสิ่งที่เขียนจะมีประโยชน์กับคนอ่านทุกคนนะครับ :)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *