แคมเปญการตลาด Burger King สร้างยอดขายแบบเสิร์ฟถึงที่ในช่วงรถติด

แคมเปญการตลาด Burger King สร้างยอดขายแบบเสิร์ฟถึงที่ในช่วงรถติด

อ่านชื่อบทความเสร็จคงคิดว่าเกิดขึ้นในประเทศไทยกันใช่ไหมล่ะคะ? แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ แคมเปญการตลาด Burger King ที่เราจะนำมาแชร์กันในบทความนี้ส่งตรงมาจากประเทศเม็กซิโก หนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดสุด ๆ ไม่แพ้บางกอกบ้านเรา

โดยแคมเปญนี้มีชื่อว่า Traffic Jam Whopper เป็นแคมเปญที่ผู้เขียนมองว่าสามารถสร้างยอดขายและเพิ่มยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้อย่างแยลยล แถมยังเป็นการปรับใช้ Real-time Data ที่เกิดขึ้นมาเล่นกับผู้คนในละแวกนั้น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดขายแบบลูกโซ่ติดตามกันมา

และอย่างที่เราคุ้นหน้าค่าตากันดีอยู่แล้วกับชื่อเสียงการทำ Real-time Marketing ของ Burger King แคมเปญนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแคมเปญที่ผู้เขียนมองว่าสามารถนำมาปรับใช้กับบริบทคนไทยได้เป็นอย่างดี เผื่อใครที่ต้องการเสาะหาไอเดีย หวังว่าแคมเปญนี้จะถูกใจผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ที่มาที่ไปของแคมเปญ⏤ ท้องร้องหิวแต่รถติด ไปไหนไม่ได้

อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนแรก Traffic Jam Whopper เป็นแคมเปญที่เกิดขึ้นในประเทศเม็กซิโก ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่รถติดที่สุดในโลก ในบางครั้งถ้าสภาพการจราจรเข้าขั้นแสนสาหัสคนเม็กซิกันต้อง

ทนรถติดยาวนานถึง 5 ชั่วโมง! เรียกได้ว่าติดจนต้องร้องขอชีวิต ใช้ชีวิตบนรถคงไม่เกินจริง

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ กองทัพต้องเดินด้วยท้อง รถติดนาน ๆ ยังไงคนจะต้องหิวอย่างแน่นอน Burger King จึงปิ๊งไอเดีย  ช่วยแก้ปัญหาลูกค้าที่รถติดแหงกคาถนน แต่เกิดอาการหิว จับ Pain Point นี้มาทำเป็นแคมเปญส่งเสริมการตลาดไปซะเลย โดยการออกเป็นแคมเปญที่ชื่อว่า Traffic Jam Whopper

แน่นอนว่าคนหิวไปไหนไม่ได้ เพราะงั้นการส่งเดลิเวอรี่เสิรฟ์ถึงรถจึงเป็นโซลูชันของแคมเปญนี้ ซึ่งหลักการทำงานของแคมเปญนี้จะคล้าย ๆ กับการสั่งเดลิเวอรี่ออนไลน์ผ่านแอปฯ ของ Burger King นั่นเองค่ะ แต่ความพิเศษจะอยู่ตรงที่ Burger King ได้มีการผสมผสานสื่อโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ และ Real-time Data เข้ามาปรับใช้ในแคมเปญ

แคมเปญการตลาด Burger King สร้างยอดขายแบบเสิร์ฟถึงที่ในช่วงรถติด

ทางแบรนด์ได้มีการใช้ข้อมูล Real-time data (ข้อมูลการจราจรและพฤติกรรมของผู้ขับขี่ (ตำแหน่งและความเร็วรถ) ตำแหน่งของป้ายบิลบอร์ด ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาที่เหลือบนท้องถนนในการส่ง และอัพเดตสถานะการส่ง) เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายคนที่หิวตอนรถติดบนท้องถนนและทางด่วนเพื่อส่งอาหารผ่านมอเตอร์ไซค์ โดยระบบใช้ประโยชน์จากการแจ้งเตือนของแอป Burger King และขึ้นข้อความกระตุ้นการสั่งซื้อบนป้าย Digital Billboards ที่ติดตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ บนถนนใกล้กับร้าน Burger King

เช่น คุณจะติดอยู่บนถนนนี้อีก 50 นาที สั่งออเดอร์มากินบนรถของคุณได้เลย!

ที่น่าสนใจคือ นอกจากจะมีข้อความกระตุ้นการสั่งซื้อแล้ว แบรนด์ยังทำการ Personalized Message แจ้งสถานะออเดอร์ของลูกค้าแต่ละอันแล้วแจ้งบนป้ายบิลบอร์ด เช่น @Paul อีก 2 นาทีอาหารที่คุณสั่งกำลังจะถึง เป็นการกระตุ้นไปอีกระดับให้คนหิวแล้วก็หิวอีก คนที่สั่งก็มีความสุขรอจะได้กิน คนที่ยังไม่สั่งก็จะอยากสั่ง

แคมเปญการตลาด Burger King สร้างยอดขายแบบเสิร์ฟถึงที่ในช่วงรถติด

โดยใต้ข้อความขึ้นโลโก้เบอร์เกอร์คิง และดีไซน์ที่เป็นสี CI ของเบอร์เกอร์คิง แม้จะไม่มีรูปเบอร์เกอร์ขายแต่คนกำลังหิวเห็นแบบนี้ยังไงก็ต้องสั่งแล้ว มากไปกว่านั้นถึงแม้จะพ้นมุมเสาไปก็ใช่ว่าโฆษณาจะหยุดอยู่แค่นั้น เพราะแบรนด์ยังโหมโฆษณาข้อความทำนองเดียวกันบนสมาร์ตโฟนผ่าน Traffic app Waze หรือแอปฯ ที่แจ้งสภาพการจราจรด้วย (เป็นแอปฯ คล้าย ๆ Google Map ที่คนเดินทางมักใช้เพื่อตรวจสอบเส้นทาง)

แคมเปญการตลาด Burger King สร้างยอดขายแบบเสิร์ฟถึงที่ในช่วงรถติด

ดังนั้น ข้อความเหล่านี้ก็ส่งตรงถึง Target คนหิวที่คาอยู่บนถนนให้ตัดสินใจง่ายขึ้นได้ทันที ส่วนใครไม่มีแอปฯ มันยังสร้าง Hyperlink ให้เรากดเข้าไปดาวน์โหลดต่อได้ใน Playstore และ Apple Store พร้อมสั่งอาหารได้เลย

เนื่องด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลาทำให้ถูกจำกัดเมนูไว้แค่ Whopper Combos เพื่อการเตรียมอาหารที่รวดเร็ว และเมื่อคำสั่งซื้อพร้อมส่ง พนักงานส่งอาหารจะใช้ Google Maps และ GPS ที่ทำงานบนแอป เพื่อค้นหาตำแหน่งรถที่สั่งอาหาร จากนั้นคนส่งจะค้นหาว่ารถคันนั้นอยู่ตรงไหน

ในกรณีที่สั่งมาแล้วไฟเกิดเขียวขึ้นมาล่ะ?

การสั่งอาหารบนแอปฯ รองรับการสั่งงานด้วยเสียง ทำให้เราสามารถออเดอร์ได้ผ่านเสียงทันทีและแจ้งเวลาจัดส่งคร่าว ๆ ให้เราด้วย คนรอก็ไม่หงุดหงิดและเข้าถึงอาหารอิ่มท้องพร้อมเดินทางต่อได้ไม่มีปัญหา ไม่ต้องกลัวว่าต้องกดหน้ากดมือถือ แค่กดปุ่มแล้วสื่อสารพร้อมสั่งผ่านเสียงได้เลยนั่นเอง

ผลตอบรับของแคมเปญ Traffic Jam Whopper ภายในหนึ่งสัปดาห์ของแคมเปญ ร้านอาหาร Burger King ที่เข้าร่วมมีคำสั่งซื้อแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น 63% ยอดดาวน์โหลดแอปของ Burger King ยังสูงถึง 100,000 ครั้งในหนึ่งเดือน ซึ่งเท่ากับยอดดาวน์โหลดทั้งหมดในปี 2018 จำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปของ Burger King ต่อวันเพิ่มขึ้น 44 เท่า ทำให้เป็นแอปฟาสต์ฟู้ดอันดับ 1 ในเม็กซิโกนั่นเองค่ะ

สรุป แคมเปญการตลาด Burger King สร้างยอดขายแบบเสิร์ฟถึงที่ในช่วงรถติด

Ai Generated image by Shutterstock
Prompt: Animated character 3D image of a woman is eating a burger sitting in a car with a happy expression, surrounded by traffic jams.

Traffic Jam Whopper แคมเปญการตลาด Burger King อันนี้ทำให้เราได้เห็นว่าแทนที่เราจะมาแก้ปัญหารถติด Burger King กลับพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ไม่รอยอดให้คนมาหาร้าน แต่ร้านบุกไปหาคนเองถึงที่แทน สร้างบริการที่แตกต่างจากความเข้าใจ Pain Point

ผู้เขียนมองว่าแคมเปญนี้เป็นตัวอย่างของการนำ IoT เข้ามาช่วยให้เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจ เปลี่ยนการจราจรที่เป็นอัมพาตให้กลายมาเป็นศูนย์อาหารเคลื่อนที่ ทั้งเพิ่มยอดขายและเพิ่มยอดดาวน์โหลดได้อย่างมหาศาล

หวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source: https://www.networkworld.com/article/967411/the-traffic-jam-whopper-project-may-be-the-coolestdumbest-iot-idea-ever.html

https://www.marketingdive.com/news/burger-king-drives-app-downloads-with-traffic-jam-whopper-deliveries/554507/

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *