Data-Driven Culture เผยความลับเงินติดล้อ สร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วย Data

Data-Driven Culture เผยความลับเงินติดล้อ สร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วย Data

Data-Driven Culture กับ เงินติดล้อตามติด Data ว่าใครเป็นพนักงานที่ Popular ในหมู่พนักงานด้วยกัน แล้วก็ให้พนักงานนั้นเป็นตัวเชื่อมต่อสิ่งที่องค์กรอยากบอกไปถึงพนักงานทุกคนได้อย่างใจ

จากงานเปิดบ้านรับสื่อแสดงวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กรของเงินติดล้อเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ผม(การตลาดวันละตอน)ได้รับคำเชิญจากเงินติดล้อ(ลูกค้าเก่าสมัยอยู่เอเจนซี่ที่หนึ่ง)ให้ไปร่วมงานนี้ เลยขอหยิบเอาบางส่วนในงานที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง ว่าแท้จริงแล้วเงินติดล้อองค์กรที่ดูติดดินนั้น ล้ำหน้าในด้าน Data และก็เอามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้ดีได้อย่างทุกวันนี้

Data-Driven Culture ใครจะคิดว่าจะสนิทได้จาก Data

ในยุคแห่ง Data หรือบางคนอาจเรียกว่า Big Data ก็ตาม เมื่อหลายสิ่งรอบตัวเก็บเป็น Data เพื่อตามผล หนึ่งในนั้นก็คือความสัมพันธ์ระหว่างคน โดยเฉพาะคนในองค์กรของเงินติดล้อครับ

เนื่องจากบริษัทเงินติดล้อนั้นมีพนักงานเยอะมากกว่า 5,500 คน ดังนั้นการจะสื่อสารสิ่งที่องค์กรต้องการไปยังพนักงานทุกคนอาจไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเราสามารถส่ง email ให้พนักงานทุกคน หรืออาจส่งผ่านไลน์ต่อๆกันไปจนครบทุกผู้ แต่การจะสื่อสารให้พนักงานกว่า 5,500 คนเข้าใจจริงๆว่าองค์กรนั้นต้องการอะไร หรือเรากำลังจะไปในทิศทางไหน นั้นเป็นคำถามคนละระดับ เป็นโจทย์ที่ยากกว่ามหาศาลเลยครับ

ทางเงินติดล้อเลยโชว์ให้ดูในงานว่า ในช่วงปี 2017 เค้ามีการทำระบบภายในหลังบ้านที่ทุกเช้าหรือทุกครั้งที่เปิดคอมพิวเตอร์จะเข้าทำงาน พนักงานทุกคนจะต้องร่วมเล่นเกมบททดสอบตอบคำถามว่า เพื่อนร่วมบริษัทที่เห็นบนหน้าจอนั้นชื่ออะไร ถ้ารู้จักชื่อแล้วจากนั้นรู้มั้ยว่าเค้าเป็นคนยังไง หรือคุณกับเค้าสนิทกันแค่ไหนครับ

Data-Driven เงินติดล้อ

ดูเผินๆนี่อาจเป็นการทำให้พนักงานในองค์กรที่มีหลายพันหลายหมื่นรู้จักกันดีมากขึ้น แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งจะพบว่านี่คือการเก็บข้อมูลหรือ data relationship ระหว่างพนักงานภายในองค์กร เพื่อหาว่าใครกันที่เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างกลุ่มพนักงานด้วยกันที่ไม่ใช่แค่หัวหน้างานตามตำแหน่ง

Data-Driven เงินติดล้อ

จากภาพด้านซ้ายเราจะเห็นว่าจุดการเชื่อมต่อของพนักงานนั้นแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่าย ยังไม่เชื่อมโยงเข้าหากัน เช่น แผนกนี้ก็จะสนิทกันเฉพาะในแผนก หรือภูมิภาคนี้ก็จะรู้จักกันแค่ในกลุ่มเท่านั้น แต่หลังจากผ่านไปหนึ่งปีที่เล่นเกมถามคำว่าว่า “เพื่อนพนักงานในรูปเป็นใคร ชื่ออะไร เค้าชอบอะไร หรือมีนิสัยแบบไหน” ทำให้จุดความสัมพันธ์ของพนักงานระหว่างหน่วยงานนั้นเชื่อมโยงเข้าหากันมากขึ้น

นอกจากเกมนี้จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในองค์กรแล้ว ยังทำให้องค์กรรู้ด้วยว่าใครกันนะที่เป็นคนที่เชื่อมโยงกับพนักงานคนอื่นมากที่สุด เพื่อให้เวลาจะองค์กรจะสื่อสารอะไรออกไปก็ให้พนักงานที่เป็นที่รู้จักในหมู่พนักงานด้วยกันเป็นตัวแทนได้ ทำให้การสื่อสารนอกจากจะประหยัดเวลาขั้นตอนแล้ว ยังสื่อสารได้ผิดพลาดน้อยลงกว่าที่เคยอย่างมากด้วย

เห็นมั้ยครับว่าแค่เกมทายหน้าเพื่อนทุกครั้งที่เปิดคอม หนึ่งปีผ่านไปความสัมพันธ์ภายในก็สนิทกันมากขึ้น หรือทำให้คนข้ามแผนกข้ามท้องที่รู้จักกันได้ง่ายขึ้น เวลาจะติดต่องานกันก็น่าจะราบรื่นขึ้นเพราะเค้าก็คือคนที่เรารู้จัก หรืออย่างน้อยก็เคยคุ้นหน้าจากหน้าคอมมาก่อนแล้ว

ที่สำคัญคือองค์กรได้ค้นพบว่าพนักงานคนไหนที่เป็น Influencer ตัวจริงโดยไม่ต้องจ้างคนนอกหรือสแตนอินขึ้นมา เห็นแบบนี้อยากจะบอกว่า ยังมีการใช้ Data ภายในเงินติดล้ออีกมากที่ขอเก็บเอาไว้เล่าให้ฟังในครั้งหน้าแล้วกันครับ

Data-Driven เงินติดล้อ

Source : https://www.ngerntidlor.com/th

ติดตามเรื่องราวการตลาดวันละตอน สดใหม่ทุกวันได้ที่ : https://www.everydaymarketing.co/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *