GMM MUSIC เตรียม Spin-Off เข้าตลาด สร้าง New Music Economy พร้อม 7 ยุทธศาสตร์สำคัญ

GMM MUSIC เตรียม Spin-Off เข้าตลาด สร้าง New Music Economy พร้อม 7 ยุทธศาสตร์สำคัญ

GMM MUSIC เตรียม Spin-Off เข้าตลาด สร้าง New Music Economy พร้อม 7 ยุทธศาสตร์สำคัญ

ทุกวันนี้บอกได้เลยนะคะว่าวงการอุตสาหกรรมเพลงในปัจจุบันกำลังกลับมาสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง!  และกำลังเติบโตไปกลับมาถึงจุดที่เรียกว่า “Music Second Wave” หรือหมายความว่า อุตสาหกรรมทั่วโลกมียอดรายรับ “ทะลุจุดสูงสุดที่เคยสร้างไว้ในอดีต” นั่นเองค่ะ

ทางบริษัท GRAMMY เองก็เตรียมขยายวงการเพลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ทำการอนุมัติแผนการ Spin-Off ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (GMM MUSIC) ซึ่งเป็น Flagship Company ของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในการดำเนินธุรกิจเพลงแบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น

“New Music Economy” ขยายอุตสาหกรรมเพลง เน้น 7 ยุทธศาสตร์สำคัญ

มีการระดมเงินทุนในการสร้างการเจริญเติบโตให้กับอุตสาหกรรมเพลง ภายใต้คอนเซ็ปต์ “New Music Economy” โดยเงินลงทุนในครั้งนี้จะนำไปใช้เพื่อการขยายธุรกิจในหลายภาคส่วน โดยมุ่งหวังที่จะสะท้อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ ขยายอุตสาหกรรมเพลงทั้งตลาด พร้อมเน้น 7 ยุทธศาสตร์การขยาย ได้แก่ 

1. Double Up Production

ขยายการผลิต เป็นอีกเท่าตัวจากการผลิตในปัจจุบัน โดย GMM MUSIC มีแผน “จะเพิ่มการผลิต”

  • เพลงจาก 400 เพลงต่อปี เป็น 1,000 เพลงต่อปี
  • ศิลปินจาก 120 ศิลปิน เป็น 200 ศิลปินภายใน 5 ปี
  • Playlist เข้าสู่ Streaming Platform จาก 3,000 Playlists เป็น 6,000 Playlists ต่อปี
  • Full Album จาก 30 อัลบั้มต่อปี เป็น 50 อัลบั้มต่อปี
  • ศิลปินฝึกหัดจาก 150 ศิลปิน เป็น 300 ศิลปินต่อปี 

2. Showbiz Expansion

ขยาย Scale ของ Music Festival ที่ครอบคลุมสูงสุดทั่วประเทศ สู่การรองรับจำนวนผู้ชมซึ่งจะมากกว่า 500,000 คนต่อปี ด้วยความตั้งใจร่วมมือกับทุกค่ายเพลง พร้อมต่อยอดแหล่งรายได้ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว กวาดรายได้ทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศ

ในขณะที่ Arena Concert นอกจากจะมี Line Up ที่ครอบคลุมตั้งแต่ศิลปินยุคแจ้งเกิดของบริษัทจนถึงศิลปินยุคปัจจุบัน GMM MUSIC จะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งใน และต่างประเทศในการขยาย Segment เดินหน้าสู่การเป็นผู้จัด International Fan Meeting & Concert อย่างเป็นรูปธรรม และพร้อมจับมือกับ Promoter เจ้าต่าง ๆ ใน Southeast Asia เพื่อการขยายตัว 

3. Local Alliance

ขยายพันธมิตรทางดนตรี ร่วมจับมือกับค่ายเพลงในประเทศไทย ผ่านการ M&A (Mergers &  Acquisitions) หรือ JV (Joint Venture) เพื่อสร้าง Synergy Value ในการขยายการผลิต และการเติบโตทางธุรกิจทุกช่องทาง ร่วมกันสร้างให้อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตใหญ่ยิ่งขึ้นในระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยสามารถสร้างการขยายตัวได้ทั้งในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ พร้อมการสร้างรายได้ที่มากขึ้น 

4. Global Strategic Partner

ขยายการจับมือกับบริษัทชั้นนำในต่างชาติผ่านการ JV (Joint Venture) เพื่อการสร้างผลงานเพลง และส่งเสริมศิลปินไทย เดินหน้าสู่ศักยภาพ และมาตรฐานใหม่ในระดับสากล (Thailand Soft Power) 

ซึ่งการเดินหน้าจับมือในครั้งนี้ บริษัทได้วางแผนที่จะจับมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำในภูมิภาคต่าง ๆ (Global Leader) เช่น สหรัฐอเมริกา, สแกนดิเนเวีย, จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในแถบ Southeast Asia ซึ่งการเดินหน้า JV ต่าง ๆ นี้จะคล้ายคลึงกับการ JV ของ GMM MUSIC กับ บริษัท YG Entertainment ในการจัดตั้ง JV YGMM เพื่อคัดสรร และผลิตศิลปินไทยป้อนสู่ระดับสากลที่ได้เกิดขึ้นแล้ว 

5. Media Networking

ขยายวงล้อมการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพในทุกรูปแบบ และทุกช่องทางการสื่อสารผ่านการสร้าง Partnership Deal หรือ JV เพื่อแลกเปลี่ยนศักยภาพทางธุรกิจที่ต่อยอดได้ไม่รู้จบทั้งสื่อทางด้าน On Air  On Board Online และ On Ground ส่งเสริมการ Promote ศิลปินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

6. Data Intelligent

ขยายศักยภาพการบริหารจัดการข้อมูล Big Data ผ่านการลงทุนเพิ่มด้าน Data Scientist Machine Learning และระบบ AI พร้อมสร้าง Tools ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในเชิงการค้า การบริหารจัดการ และการพัฒนาศิลปิน รองรับธุรกิจแห่งอนาคตที่ให้ความสำคัญด้าน Personalization Offering

7. New World Talent

ขยายทีมงานแห่งอนาคตด้วยการลงทุนในบุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเชี่ยวชาญใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเติมเต็ม สืบทอด ต่อยอด รองรับการก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจเพลง

อุตสาหกรรมเพลงกลับมาสู่จุดรุ่งเรืองอีกครั้ง และกำลังเติบโตขึ้น

จากตัวเลขการคาดการณ์รายรับ (World Business Projection) อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกจะเติบโตขึ้นอีกเป็นเท่าตัว (X2) ภายในปี 2030 ซึ่งแน่นอนว่าเหตุผลหลักของการเติบโตนั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลักค่ะ นั่นก็คือ 

  • การเติบโตของธุรกิจ Digital Streaming
  • การเติบโตของธุรกิจ Showbiz ที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ 

โดย GMM MUSIC ในปัจจุบัน มีที่มาของรายได้จาก 5 แหล่งธุรกิจหลัก ได้แก่

1. Music Digital Business มียอดรายได้ที่ 1,152 ล้านบาท* คิดเป็นสัดส่วนที่ 34%

2. Music Artist Management Business มียอดรายได้ที่ 1,177 ล้านบาท* คิดเป็นสัดส่วนที่ 35%

3. Showbiz Business มียอดรายได้ที่ 678 ล้านบาท* คิดเป็นสัดส่วนที่ 20%

4. Right Management Business มียอดรายได้ที่ 234 ล้านบาท* คิดเป็นสัดส่วนที่ 7%

5. Physical Business มียอดรายได้ที่ 147 ล้านบาท* คิดเป็นสัดส่วนที่ 4%

*หมายเหตุ: ข้อมูลอ้างอิงจากรายได้ 12 เดือนย้อนหลังของธุรกิจเพลง นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 ถึงไตรมาส 1 ปี 2566

(ด้านซ้าย) นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค
(ด้านขวา) นายฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค

โดยนายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กล่าวว่า “อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกได้เติบโตกลับมาถึงจุดที่เรียกว่า “Music Second Wave” ซึ่งหมายความว่า อุตสาหกรรมทั่วโลกมียอดรายรับ “ทะลุจุดสูงสุดที่เคยสร้างไว้ในอดีต” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “อุตสาหกรรมเพลงได้กลับมาสู่จุดรุ่งเรืองสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง และกำลังเติบโตขึ้น” 

นายฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กล่าวเสริมว่า “การ Spin-Off ที่จะเกิดขึ้นนี้ บริษัทตั้งอยู่บนพื้นฐานของธุรกิจที่มีความแข็งแรง ทั้งขนาดรายได้ ขนาดกำไร คุณภาพของศิลปิน และคุณภาพของทีมงาน ผมมั่นใจว่าหากเราผลักดัน New Music Economy ได้ อาจหมายถึงการเติบโตการผลิตได้ถึง 2 เท่า เราก็ควรที่จะสร้างรายได้เติบโตได้เป็น 2 เท่าเช่นกัน และหากเราสามารถสร้างความร่วมมือ และพันธมิตรได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า ตลาดก็น่าที่จะเติบโตได้เป็น 2 เท่าเช่นกัน” 

การเดินทางของอุตสาหกรรมเพลงไทยที่จะก้าวไกลไปกว่าเดิม

ขนาด GMM GRAMMY และ GMM MUSIC ที่ถือได้ว่ามีชื่อเสียงในวงการอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทยมาก ๆ แล้ว แต่เป็นกรณีศึกษาที่ดีมาก ๆ ในการที่ไม่หยุดพัฒนาไปสู่จุดที่ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม หาแนวทางที่จะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตไปสู่ตลาดโลก และในปีนี้เป็นปีที่บริษัทมีอายุครบรอบ 40 ปี ด้วยค่ะ แต่แกรมมี่ไม่ได้มองแค่ความสำเร็จในวันนี้ แต่ยังมองการณ์ไกลไปถึงอนาคตอีก 40 ปีข้างหน้าเลย 

การสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่จะเติบโตไม่แพ้สัดส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจเพลงในตลาดโลก ภายใต้กรอบความคิดใหม่ ๆ จากคนรุ่นใหม่ และคนหัวคิดสมัยใหม่ ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา แกรมมี่เดินทางสร้างตลาด เปลี่ยนผ่านจากความเป็น Music Company สู่ Music Infrastructure จนวันนี้จะเดินหน้าสู่การเป็น New Music Economy แล้ว เพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ให้กับทุกคนในอุตสาหกรรมเพลงไทยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของแบรนด์ที่ต้องการจะขยายธุรกิจต่อไปในหลาย ๆ ภาคส่วน หรือมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ในวงการธุรกิจของตัวเอง เช่น ระบบเศรษฐกิจใหม่ และขยายอุตสาหกรรมเพลงไทยให้ก้าวไกลกว่าเดิม ผ่านการวางแผนอย่างครอบคลุม อย่าง 7 ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยในการขยายธุรกิจและเติบโตไปอย่างมีประสิทธิภาพ หวังว่าทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้จะได้ความรู้หรือไอเดียที่ดีกลับไปปรับใช้กับแบรนด์ตัวเองกันได้นะคะ

สามารถติดตามบทความด้านการตลาดเพิ่มเติมได้จากเพจการตลาดวันละตอน ที่ เว็บไซต์ Facebook Instagram Twitter Youtube และ Blockdit ได้เลยค่า

Fern Panassaya

เฟิร์น Junior Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *