Twitter Trends คนไทยคุยเรื่องเกมบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น 97%

Twitter Trends คนไทยคุยเรื่องเกมบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น 97%

รายงาน Twitter Trends ล่าสุดจาก Twitter ประเทศไทยบอกให้รู้ว่าคนไทยคุยเรื่องเกมบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น 97% รายงานผลสำรวจของทวิตเตอร์เผยเกมยอดนิยม 3 อันดับแรกคือ เกมแนวฆ่าเวลา เกมโซเชียล และ เกม RPG

จากวิวัฒนาการของเครื่องเล่นวิดีโอเกมในยุค 90 มาเป็นเครื่องเล่นเกมพกพาในยุค 2000s กระทั่งถึงยุค 2010s ที่เกมมือถือเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวงการเกมเมอร์ และคงไม่มีใครไม่รู้จัก Wii, Candy Crush Saga และ Pokemon GO โดยวงการเกมในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากที่คนไทยสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตพร้อมกับความนิยมของอีสปอร์ตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทวิตเตอร์เองที่กลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเกมเมอร์ และทำให้ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของประเทศที่พูดเรื่องการเล่นเกมมากที่สุดในโลก

รายงานล่าสุดจาก Twitter ประเทศไทยบอกให้รู้ว่าคนไทยคุยเรื่องเกมบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น 97% รายงานผลสำรวจของทวิตเตอร์เผยเกมยอดนิยม 3 อันดับแรกคือ เกมแนวฆ่าเวลา เกมโซเชียล และ เกม RPG

จากวิวัฒนาการของเครื่องเล่นวิดีโอเกมในยุค 90 มาเป็นเครื่องเล่นเกมพกพาในยุค 2000s กระทั่งถึงยุค 2010s ที่เกมมือถือเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวงการเกมเมอร์ และคงไม่มีใครไม่รู้จัก Wii, Candy Crush Saga และ Pokemon GO โดยวงการเกมในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากที่คนไทยสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตพร้อมกับความนิยมของอีสปอร์ตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทวิตเตอร์เองที่กลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเกมเมอร์ และทำให้ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของประเทศที่พูดเรื่องการเล่นเกมมากที่สุดในโลก

มร.มาร์ติน ยูเรน หัวหน้าแผนกงานวิจัยทวิตเตอร์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกับภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ กล่าวว่า “เราเห็นถึงการเติบโตอย่างมหาศาลของบทสนทนาเรื่องเกมบนทวิตเตอร์ประเทศไทย การเล่นเกมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเล่นเกมในประเทศไทยเป็นกิจกรรมทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเราเห็นได้จากบทสนทนาที่เกมเมอร์มีส่วนร่วมและคอนเน็คกัน ตลอดจนการแข่งขันอีสปอร์ตก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึงเกมใหม่ๆ ที่กำลังจะเปิดตัว เราจึงคาดว่าบทสนทนาเกี่ยวกับเกมในไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในปีนี้และปีต่อๆ ไป”

รายงานล่าสุดจาก Twitter ประเทศไทยบอกให้รู้ว่าคนไทยคุยเรื่องเกมบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น 97% รายงานผลสำรวจของทวิตเตอร์เผยเกมยอดนิยม 3 อันดับแรกคือ เกมแนวฆ่าเวลา เกมโซเชียล และ เกม RPG
เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/TRINITYwithSub/status/1276395360114491392

ข้อมูลของทวิตเตอร์ระบุว่า การเล่นเกมกำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมาก เกมเมอร์หลายคนใช้ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่ในการแสดงออกถึงความหลงใหลในการเล่นเกม รวมไปถึงรีวิวเกม และพูดคุยกับเหล่าเกมเมอร์คนอื่นๆ โดยข้อมูลสำคัญของเกมเมอร์ชาวไทยและเทรนด์การเล่นเกมบนทวิตเตอร์ประเทศไทยมีดังนี้

1. การเล่นเกมคือการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง

คนไทยไม่ได้เล่นเกมเพื่อเอาชนะหรือเพราะต้องการความท้าทายเสมอไป แต่คือการเข้าไปพบปะพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้การเล่นเกมเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงที่ทุกคนต่างต้องกักตัวในช่วงก่อนหน้านี้ เกมเมอร์ต่างกระชับความสัมพันธ์ขณะ #อยู่บ้าน ด้วยการจัดการแข่งขันอีสปอร์ต และมีเกมเมอร์มากมายที่เข้ามาทวีตหาเพื่อนเล่นเกมร่วมกัน

2. เล่นเกมเพื่อผ่อนคลาย

รายงานล่าสุดจาก Twitter ประเทศไทยบอกให้รู้ว่าคนไทยคุยเรื่องเกมบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น 97% รายงานผลสำรวจของทวิตเตอร์เผยเกมยอดนิยม 3 อันดับแรกคือ เกมแนวฆ่าเวลา เกมโซเชียล และ เกม RPG
เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/meiguidiary/status/1249674625207824385

ผลการสำรวจล่าสุดของทวิตเตอร์พบว่า ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในประเทศไทยเกินครึ่งเล่นเกมเพื่อ “ฆ่าเวลา” เกมเมอร์ส่วนมากอยู่ในช่วงวัยที่เป็นกลุ่ม Gen Z (58%) และกลุ่มมิลเลนเนียล (56%) ซึ่งเล่นเกมเพื่อสร้างกิจวัตรประจำวันใหม่ให้กับตัวเอง ในขณะที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการเล่นเกมนี้กลายเป็นวิธีที่ช่วยลดความเครียดและสร้างความปกติในรูปแบบใหม่ในสถานการณ์อันไม่ปกติที่เกิดขึ้นได้

3. การเล่นเกมคือกิจกรรมยอดนิยมของชาว Gen Z และมิลเลนเนียล

ข้อมูลจากการสำรวจของทวิตเตอร์ในเดือนเมษายน 2563 พบว่าในช่วง 30 วันก่อนหน้า เกมเมอร์ชาวไทยที่อยู่ในช่วงวัย Gen Z (37%) และที่อยู่ในกลุ่มมิลเลนเนียล (32%) นิยมเล่นเกมประเภทที่มีผู้เล่นหลายคน ซึ่งเป็นกลุ่มที่พูดถึงการเล่นเกมมากที่สุดบนทวิตเตอร์ในประเทศไทย และ มากกว่า 1 ใน 3 ของเกมเมอร์วัย Gen Z (34%) กล่าวว่าการเล่นเกมคืองานอดิเรก โดยนอกจากจะแบ่งปันเคล็ดลับในการเล่นเกมแล้ว พวกเขายังชอบแชร์ช่วงเวลาที่ประทับใจจากการดูสตรีมมิ่งเกมที่ชื่นชอบอีกด้วย

3 เคล็ดลับที่ช่วยให้เกมเมอร์ได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นบนทวิตเตอร์

ทวิตเตอร์เป็นสถานที่ที่ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อและแบ่งปันประสบการณ์การเล่นเกมของตัวเองได้ โดยมีเคล็ดลับ 3 ข้อง่ายๆ ที่เหล่าเกมเมอร์ชาวไทยบนทวิตเตอร์สามารถสร้างประสบการณ์ในการเล่นเกมได้อย่างเต็มที่ ด้วยการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเกมบนทวิตเตอร์ประเทศไทย ได้แก่

  • ติดตามบทสนทนาเกี่ยวกับเกม ผ่านทางชุมชนของเหล่าเกมเมอร์บนทวิตเตอร์ประเทศไทยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อเรียนรู้ภาษาของชาวเกมเมอร์ และติตตามเทรนด์ล่าสุดเพื่อให้ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวของทุกเกมฮิต
  • เข้าร่วมบทสนทนาด้วยการติดแฮชแท็กยอดนิยม โดยร่วมสนทนาในหัวข้อที่กำลังเป็นกระแสในแวดวงของเกมเมอร์ในประเทศไทย หรือจะร่วมพูดคุยถึงเกมใหม่ล่าสุด เกมยอดนิยมและอื่นๆ อีกมากมาย
  • เรียนรู้จากผู้อื่น เพราะบรรดาเกมเมอร์มักจะแชร์เคล็ดลับต่างๆ ในการเล่นเกม รีวิวเกม และแสดงความคิดเห็นต่อเกมประเภทต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ลองติดตามและเรียนรู้จากชุมชนเกมเมอร์บนทวิตเตอร์ เพื่อดูว่าเกมประเภทไหนที่เหมาะกับคุณมากที่สุดและพร้อมที่จะสนุกไปกับเกมนั้น Game on! 
รายงานล่าสุดจาก Twitter ประเทศไทยบอกให้รู้ว่าคนไทยคุยเรื่องเกมบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น 97% รายงานผลสำรวจของทวิตเตอร์เผยเกมยอดนิยม 3 อันดับแรกคือ เกมแนวฆ่าเวลา เกมโซเชียล และ เกม RPG

การเล่นเกมกลายเป็นสิ่งที่มากกว่าความบันเทิง เพราะได้กลายเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้คุณกับเพื่อนสามารถมีส่วนร่วมกันได้ และยังเป็นการสร้างคอนเนคชั่นใหม่ๆ กับเกมเมอร์คนอื่นๆ อีกด้วย หากคุณกำลังเริ่มเล่นเกม ลองใช้แฮชแท็กเหล่านี้เพื่อศึกษาและติดตามเกี่ยวกับเกมในประเทศไทย อาทิ #เกมดีบอกต่อ #รีวิวเกมมือถือ #รีวิวเกม #เกม #แนะนำเกม ดูสิ! แล้วอย่าลืมทวีตและแท็กมาพูดคุยกับเราที่ @TwitterThailand!

ข่าวประชาสัมพันธ์

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน