Community Store ถูกดี มีมาตรฐาน ยกระดับร้านโชห่วยชุมชนให้มีมาตรฐาน แข่งขันกับ Convenience Store ได้

Community Store ถูกดี มีมาตรฐาน ยกระดับร้านโชห่วยชุมชนให้มีมาตรฐาน แข่งขันกับ Convenience Store ได้

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราใช้ชีวิตแบบขาดร้านสะดวกซื้อหรือ Convenience store ที่หลายคนคุ้นเคยไม่ได้ แต่แน่นอนว่าในมุมหนึ่งเราคงเห็นกระแสในแง่ลบว่าร้านสะดวกซื้อกำลังกัดกินธุรกิจร้านโชห่วยชุมชนรายย่อย วันนี้ผมจึงอยากจะพาเพื่อนๆ นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจในการตลาดวันละตอนไปรู้จักร้านสะดวกซื้อโมเดลใหม่ ที่ทำธุรกิจแบบกินแบ่ง ไม่กินรวบ ให้เจ้าของร้านที่เป็นชาวบ้านคนในชุมชนได้ก่อน ส่วนที่เหลือจากกำไรค่อยแบ่งให้ ถูกดี มีมาตรฐานครับ

Traditional Convenience store Business Model โมเดลธุรกิจร้านสะดวกซื้อแบบเดิมที่เน้นกินรวบ

ไม่กี่สิบปีหลังมานี้ ร้านสะดวกซื้อหรือ Convenience store ก้าวเข้ามาแทนที่ร้านโชห่วยตามตรอกซอกซอยในบ้านเราไปมากพอสมควร ในแง่มุมหนึ่งก็เข้าใจได้ว่าทำไมธุรกิจร้านสะดวกซื้อรูปแบบใหม่จึงก้าวเข้ามาแทนที่ร้านโชห่วยเดิมได้ไม่ยาก

  1. ความมีมาตรฐาน 

มาตรฐานของร้านที่ดูสะอาด สว่าง มีการจัดของที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ลูกค้าสามารถเดินเข้าไปค้นหาสิ่นค้าที่ตัวเองต้องการได้ไม่ยาก ทำให้คนทั่วไปที่เป็นลูกค้ารู้สึกว่า เข้าร้านสะดวกซื้อไหนๆ ก็เหมือนๆ กัน มีสินค้าแบบเดียวกัน ได้รับบริการแบบเดียวกับ เทียบกับร้านโชห่วยเดิมที่อาจจะบริหารแบบตามใจฉัน สะดวกแบบไหนจัดร้านแบบนั้น เรียกได้ว่าถ้าเอาร้านโชห่วยหนึ่งร้อยร้านมาตั้งเรียงกัน ก็คงจะพบกันความวาไรตี้ของแต่ละร้านที่แล้วแต่เจ้าของสะดวกไป

  1. ราคาที่ชัดเจน 

เดิมทีร้านโชห่วยต้องถามเจ้าของว่าแต่ละชิ้นราคาเท่าไหร่ บางวันให้ลูกจ้างหรือคนในบ้านมาขายก็อาจได้อีกราคานึง ถ้าเจ้าของขายเองก็อีกราคานึง และธรรมชาติคนไทยส่วนใหญ่ก็อาจไม่ชอบถาม จึงทำให้เมื่อมีร้านสะดวกซื้อเข้ามาทำให้การเดินเลือกราคาก่อนซื้อสินค้า เป็นเรื่องที่ทำได้อย่างสะดวกใจมากขึ้น

แต่นานวันเข้ารูปแบบธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่รุกทุกตรอก ซอก ซอย ก็เริ่มส่งผลกระทบต่อเจ้าของร้านโชห่วยเล็กๆ เดิมที่ต้องสูญเสียรายได้ไป หลายร้านพยายามปรับตัวให้สามารถแข่งขันหรืออยู่รอดได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีน้อยร้านโชห่วยมากที่สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้จริงๆ

ร้านสะดวกซื้อที่ดูทันสมัยมีไฟส่องสว่างโอ่อ่าทั้งวัน ในแง่มุมหนึ่งก็ถูกคนในชุมชนมองว่านี่เป็นการทำธุรกิจแบบกินรวบ คือตรงไหนพอมีคนเดิน ตรงนั้นพร้อมตั้งร้านขึ้นมาเปิดแย่งลูกค้าร้านโชห่วยเดิมทันที ในแง่มุมของผู้บริโภคทั่วไปมองว่าตัวเองได้ประโยชน์ แต่ในแง่ของเศรษฐกิจชุมชนต้องบอกตามตรงว่าค่อนไปทางเสียมากกว่าได้ครับ

คำถามคือ ร้านโชห่วยเดิมจะปรับตัวให้แข่งกับร้านสะดวกซื้อที่ทั้งเก่งและใหญ่ได้อย่างไร?

ถูกดี มีมาตรฐาน ร้านสะดวกซื้อ สนิทใจ กับรูปแบบ Business Model ใหม่ จาก Convenience store สู่ Community store ที่คนซื้อคนขายสนิทกัน

ร้านสะดวกซื้อเดิมคนซื้อคนขายไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว เพราะพนักงานถูกจ้างโดยบริษัท อาจเป็นคนในพื้นที่บ้าง แต่ก็ต้องหมุนเวียนเปลี่ยนกะ ทำให้ขาดในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างคนซื้อกับคนขาย ผิดกับร้านโชห่วยเดิมที่อาจไม่มีมาตรฐานอะไรมากมาย แต่ก็มีความสนิทกับลูกค้าที่เข้ามาซื้อได้ อารมณ์เหมือนคุณป้าเจ้าของร้านที่จำเราได้ว่า เราชอบกินนมรสอะไร ชอบขนมแบบไหน เมื่อไหร่ของหมดก็บอกล่วงหน้า แต่ถ้าเมื่อไหร่สินค้ามาก็บอกให้เรารีบซื้อได้ทันที

นี่คือรูปแบบการตลาดแบบ Personalized Marketing แบบรู้ใจลูกค้าโดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีใดๆ แต่เกิดจากการใช้ความเอาใจใส่ ใส่ใจในลูกค้าทุกคน เพราะทุกคนที่เดินเข้ามาล้วนเป็นคนในหมู่บ้าน หรือไม่ก็เป็นเพื่อนบ้านในชุมชมเดียวกันทั้งนั้น

ถูกดี มีมาตรฐาน เองจึงเอาจุดแข็งนี้มาผสมผสานกับความรู้ ความชำนาญ และเทคโนโลยี ด้วยการอาสาเข้าไปช่วยร้านโชห่วยเดิมที่มีความตั้งใจดี ให้สามารถแข่งขันกับร้านสะดวกซื้ออื่นๆ ได้อย่างมีมาตรฐานที่จับต้องได้ แถมยังมีความเข้าใจและใส่ใจลูกค้าเพื่อนร่วมชุมชนที่ดีกว่า

และเรื่องราวทั้งหมดก็ถูกถ่ายทอดผ่านภาพยนต์โฆษณาเรื่องนี้ นี่คือหนังภาพยนต์ที่ไม่ใช้สแตนอิน ไม่ใช้ตัวแสดงแทน ใช้เจ้าของร้านจริงๆ ลูกค้าจริงๆ มาร่วมด้วยช่วยแสดงกัน แสงและสีที่ไม่ได้ประดิษฐ์แบบภาพยนต์โฆษณาฟอร์มใหญ่ ไม่ได้ใช้การปรับแต่งเรื่องราวให้อิมแพคโดนใจน้ำตาไหลแบบโฆษณาทุนหนาใดๆ แต่ถ้าดูอย่างเปิดใจจะเห็นว่า นี่คือเรื่องราวของร้านสะดวกซื้อจริงๆ ที่ชื่อร้าน น้ำขิง น้ำชา ที่เจ้าของมีตัวตนจริงๆ ชื่อพี่จ๋าครับ

พี่จ๋าเล่นหนังโฆษณากับลูกค้าตัวจริงที่เป็นเด็กตัวเล็กๆ มากมาย ที่ฉายเรื่องราวให้เห็นว่าร้านสะดวกซื้อ สนิทใจ ที่ชื่อว่าร้านน้ำขิง น้ำชา ร้านนี้ไม่ได้เป็นแค่ร้านที่คนเข้ามาซื้อของที่อยากได้เท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนพื้นที่ของคนในชุมชน ที่เด็กๆ มักจะแวะเวียนเข้ามาหลังเลิกเรียน มาหาขนมอร่อยๆ กิน หรือแม้แต่มานั่งเล่นทำการบ้าน ทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามกับเพื่อนๆ ก่อนจะแยกย้ายกลับบ้านแต่ละคนครับ

ร้านสะดวกซื้อ สนิทใจ แห่งนี้ไม่ได้เชียร์ให้ลูกค้าต้องซื้อเยอะๆ ทุกครั้งเสมอไป ถ้าใครดูเรื่องราวจากคลิปวิดีโอนี้อีกสักหน่อยจะเห็นว่า พี่จ๋าเจ้าของร้านถึงกับเตือนลูกค้าที่เป็นเด็กตัวเล็กๆ ว่า อย่ากินขนมมากเกินไปนะ เรียกได้ว่ารักและดูแลเด็กๆ ในชุมชนจนน่าจะเปลี่ยนจากร้าน Convenience store มาเป็น Community store จริงๆ

สรุป ถูกดี มีมาตรฐาน ร้านสะดวกซื้อ สนิทใจ เน้นกินแบ่งไม่กินรวบ เจ้าของร้านได้ก่อน บริษัทค่อยได้ตาม

ทั้งหมดนี้คงทำให้เห็นแล้วว่า การจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่จำเป็นต้องสำเร็จคนเดียว แต่เราสามารถทำธุรกิจที่ทำให้ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกันได้ เหมือนกับที่ ถูกดี มีมาตรฐาน สร้าง Business model ของ Convenience store ใหม่ ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านเองให้มากที่สุดเพื่อเติบโต 

แต่ใช้การอาสาเข้าไปช่วยร้านโชห่วยชุมชนให้มีมาตรฐานมากที่สุดแทน จนกลายเป็น Community store ที่รู้ใจคนในพื้นที่จริงๆ เพราะทำธุรกิจโดยเจ้าของร้านที่เป็นชาวบ้านจริงๆ ซึ่งวันนี้ก็มีร้านโชห่วยเข้าร่วมถูกดี มีมาตรฐาน ในการอัพเกรดเป็นร้านสะดวกซื้อ สนิทใจ ไปแล้วกว่า 5,000 ร้านค้าทั่วประเทศครับ

ซึ่งวันนี้จากที่ผมสอบถามทาง ถูกดี มีมาตรฐาน ก็พบว่า ยังมีร้านโชห่วยอีกมากที่ต่อคิวเข้าร่วมกับ ถูกดี มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจนะครับ เพราะนี่คือสัญญาณบอกว่าชาวบ้านตัวเล็กๆ เองก็อยากจะทำธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้ พวกเขาอยากจะไปต่อให้ได้ ที่ผ่านมาขาดก็แค่คนที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ใหญ่บ้าน ที่จะนำพาลูกบ้านในประเทศให้ไม่ถูกกลืนจากทุนใหญ่ทั้งหมด

เห็นแบบนี้แล้ววันหน้า ถ้าใครเดินทางไปต่างจังหวัดแล้วเห็นป้ายชื่อร้านค้าชุมชนใดก็ตามที่เป็นสีแดงๆ พร้อมกับป้าย ถูกดี มีมาตรฐาน กำกับ มั่นใจได้เลยว่านี่คือร้านโชห่วยในเวอร์ชั่นอัปเกรด มีสินค้ามากมายให้เลือกซื้อในราคาที่มีมาตรฐาน แต่ที่มีมากกว่าคือการบริการให้ด้วยใจ รู้แล้วก็รีบเดินเข้าไปสนับสนุนร้านโชห่วยชุมชนให้อยู่คู่กับประเทศไทยไปนานๆ ครับ

ส่วนใครที่เป็นเจ้าของร้านโชห่วยเดิม อยากจะยกระดับอัปเกรดร้านของตัวเองให้แข่งขันกับร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ๆ ได้ ก็ลองติดต่อไปที่ ถูกดี มีมาตรฐาน เค้าจะเข้ามาช่วยร้านคุณให้เป็นเหมือนกับ 5,000 ร้านที่ทำมา เหมือนกับร้านของพี่จ๋า เจ้าของร้านน้ำขิง น้ำชา ร้านสะดวกซื้อชุมชนที่ตั้งชื่อร้านจากชื่อลูกสาวทั้งสองคนของเค้าครับ

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *