อากาศร้อนจัดที่ UK สามารถจับ กลยุทธ์ Localization มาใช้ได้อย่างไร

อากาศร้อนจัดที่ UK สามารถจับ กลยุทธ์ Localization มาใช้ได้อย่างไร

สหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างก็ประสบกับอุณหภูมิที่สูงมากในขณะนี้ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 อุณหภูมิ 40.3°C ถูกบันทึกในหมู่บ้าน Coningsby ของอังกฤษ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นวันที่ร้อนที่สุดในประเทศเท่านั้น แต่วันก่อนหน้ายังเป็นวันที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับที่ 4 อีกด้วย ดังนั้น Brandwatch จึงสำรวจดูว่าประเทศเหล่านี้รับมือกับความร้อนจัดได้อย่างไร และ เราจะสามารถนำข้อมูลในบทความไปใช้ กลยุทธ์ Localization ได้อย่างไร

การใช้การ Emoji 🥵 ที่เพิ่มขึ้น

อากาศร้อนจัดที่ UK สามารถจับ กลยุทธ์ Localization มาใช้ได้อย่างไร

ด้วยอากาศร้อนมาก ทำให้ผู้คนออกมาแสดงความคิดเห็น รวมถึงการแสดงถึงอากาศที่ร้อนโดยใช้อิโมจิร้อนจนเหงื่อแตกบนโซเชียล ซึ่งจะเห็นว่าวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมาผู้คนใช้ Emoji 🥵 มากกว่าทุกปี โดยสหราชอาณาจักรให้ข้อมูลเชิงลึกว่าผู้คนในประเทศที่ไม่คุ้นเคยกับอุณหภูมิที่สูงแบบนี้มากก่อน และน่ากลัวยิ่งขึ้นหากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เคยอากาศร้อนแบบนี้?

หลายคนอ้างถึงฤดูร้อนปี 1976 ซึ่งมีอุณหภูมิสูงและแห้งแล้งอย่างรุนแรงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม มีการเตือนผู้คนถึงวิธีเตรียมตัวและวิธีป้องกันตนเองในสภาพอากาศร้อนจัด ด้วยคลื่นความร้อนที่ใกล้เข้ามาซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก คนรุ่นก่อน ๆ ของสหราชอาณาจักรจึงมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัว

ฤดูร้อนปี 1976 นั้นรุนแรงกว่าในบางด้าน รวมทั้งระยะเวลาและความแห้งแล้ง ในทางกลับกัน อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ในตอนนั้นคือ ‘เพียง’ 35.9°C ในขณะเดียวกันความถี่ที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ร้อนเหล่านี้ไม่ได้เป็นปัญหาหลักในยุค 70 สักเท่าไหร่ แต่สิ่งนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมากในการค้นหา Google เกี่ยวกับประวัติการณ์ความร้อนในปี 1976 ซึ่งเป็นหัวข้อที่แทบไม่เคยค้นหามาก่อน

พฤติกรรมของผู้คนในช่วงอากาศร้อนๆ

ในวันที่ 18 และ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ปลื้มเชื่อผู้คนต้องกำลังมองหาวิธีลดอุณหภูมิให้ตัวเองอยู่แน่ๆ ดังนั้นเราจึงสงสัยว่าสิ่งนี้เปลี่ยนปริมาณการพูดคุยเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มบางชนิดหรือไม่ 

เมื่อใช้ Social Analytics ได้ตั้งค่าการสำรวจค้นข้อมูลเพื่อติดตามรายการต่างๆ โดยเปรียบเทียบวันที่ 18 และ 19 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันจันทร์และวันอังคารที่ 3 ของเดือน กับวันจันทร์และวันอังคารเดียวกันของปี 2018, 2019 และ 2021 (ยกเว้นปี 2020 เนื่องจากผลกระทบของการระบาดใหญ่ของ) นี่คือลักษณะของข้อมูลที่ได้

จากกราฟกาแฟเย็น มีการพูดถึงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดมากกว่าไอศกรีมเสียอีกค่ะ บางทีนี่อาจสะท้อนให้เห็นว่าวันนี้เป็นวันทำงานของหลายๆ คน และหลายคนยังคงต้องการคาเฟอีน หวังว่าจะช่วยให้ร้านกาแฟชดเชยการลดลง 14% สำหรับกาแฟร้อน

ส่วนในแง่ของการตลาด เราสามารถใช้ กลยุทธ์ Localization มาต่อยอดในประเทศไทย แต่ก่อนอื่นหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Localization คืออะไร? มันคือ การปรับหรือพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิภาค เพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค และเพื่อให้ตรงใจความต้องการของคนท้องถิ่นนั้นๆ 

ช่วงฤดูร้อนมากๆ ของไทย อากาศน่าจะอยู่ประมาณนี้เลย และเมื่อเรารู้ว่าผู้คนหรือพฤติกรรมผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงแน่นอนแล้วเนี่ย ที่แน่ๆ คือเรื่องอารมณ์ และความรูสึก ก็สามารถต่อยอดเป็นไอเดียในการทำแคมเปญ สร้างการมีส่วนร่วม หรือส่งเสริมการขาย เช่น สร้างเกมคลายร้อนในรูปแบบต่างๆ ลดราคาสินค้าตามอุณหภูมิที่สูง หรือกระตุ้นการซื้อจากอากาศร้อนด้วยความเย็น เป็นต้น 

ที่สำคัญประเทศไทยร้อนมากและนานกว่าแน่นอนมีเวลาให้นักการตลาดได้วางแผนทำแคมเปญกันยาวๆ แต่เพื่อให้แคมเปญการตลาดของเรามีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ควรที่จะศึกษาและ Research กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของเราด้วยจะดีมากเลยค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source : www.brandwatch.com

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่